ชื่อสินค้า:
ต้นยมหิน
รหัส:
345704
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นยมหิน พันธุ์ไม้พระราชทานประจำจังหวัดแพร่
ยมหิน
ชื่อสามัญ Almond-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chukrasia tabularis A.Juss.
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่ออื่น ฝักดาบ (จันทบุรี),เสียดกา (ปราจีนบุรี),เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี),ยมขาว (ภาคเหนือ), มะเฟือง ต้น มะเฟืองช้าง ยมหิน สะเดาหิน สะเดาช้าง (ภาคกลาง), ช้ากะเดา (ภาคใต้), มะยมหลวง (ไทใหญ่), โค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ริ้งบ้าง รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),ลำชา (ลั้วะ),ตุ๊ดสะเต๊ะ(ขมุ)
ลักษณะ
ลำต้นเปลาตรง มีพูพอนที่โคนต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลคล้ำ สีเทา หรือสีเทาปนดำ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมีอายุมากขึ้น แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น เปลือกชั้นในเป็นสีแดงออกน้ำตาลหรือสีชมพู ส่วนกระพี้เป็นสีเหลืองคล้ายฟางข้าว และแก่นไม้เป็นสีเหลืองเข้มถึงสีน้ำตาล กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง จัดเป็นไม้กลางแจ้ง พบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป ป่าดิบแล้ง และป่าผลัดใบผสม ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปัจจุบันนี้มีจำนวนที่พบได้ในธรรมชาติลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเดิมทีแล้วต้นยมหินเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นตามป่า มีการกระจัดกระจายไปตามภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันเกิดปัญหาการบุกรุกป่าและการเสื่อมของดิน ทำให้ต้นยมหินได้รับผลกระทบไปด้วย
ใบยมหิน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเยื้องกันเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 6-20 คู่ จัดเรียงตัวกันแบบสลับ แต่ใบย่อย 2 คู่แรกจะเรียงตัวกันแบบตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-17.5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนอ่อนนุ่ม 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นขนยาว ปลายแหลม อ่อนนุ่ม ส่วนอีกชนิดจะมีจำนวนน้อยกว่าและสั้นกว่า มีลักษณะปลายขนมนแข็งกว่าชนิดแรก ขึ้นปกคลุมด้านหลังใบเป็นจำนวนมาก ก้านใบยาวประมาณ 2-8 มิลลิเมตร
ดอกยมหิน ออกดอกเป็นช่อตามมุมกิ่งอ่อนหรือตามปลายยอด ปลายช่อห้อยลง มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร กิ่งหลักของช่อดอกยาวประมาณ 16 เซนติเมตร ส่วนกิ่งย่อยยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกนมหินมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอม มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เป็ดดอกชนิดมีเพศเดียวและดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีใบประดับขนาดประมาณ 2-7 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ และจะหลุดร่วงไปเมื่อดอกบาน ก้านดอกยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร อยู่ติดกับก้านดอกเทียมซึ่งยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร และอยู่ติดกับกลีบเลี้ยงซึ่งเป็นสีเขียวออกม่วงหรือสีแดง มีกลีบ 4-5 กลีบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3.5 มิลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกมีปลายมน ส่วนกลีบดอกมีกลีบ 4-5 กลีบ แยกจากกันอย่างอิสระ โดยจะมีความยาวมากกว่ากลีบเลี้ยง หรือยาวประมาณ 12-20 มิลลิเมตร มีรูปร่างเป็นแผ่นยาวแคบ ปลายมน เป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองปนสีม่วง มีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งกลีบดอก ก้านชูเกสรเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ปลายเรียวแคบ ขอบหยักเล็กน้อย เกสรเพศผู้ติดอยู่บนขอบทรงกระบอกนี้ ไม่มีขน มีสีเหมือนกลีบดอก มีรูปทรงแบบขอบขนาน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ เป็นรูปทรงคล้ายแจกัน ภายในมีช่องประมาณ 3-5 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีไข่เป็นจำนวนมาก ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียจะมีลักษณะยาวแคบ ส่วนปลายมีรอยหยัก แบ่งออกเป็น 3-5 หยัก มีน้ำเหนียว ๆ และมีขนอ่อนนุ่มปกคลุม เรณูมีลักษณะเป็นเรณูเดี่ยวขนาดเล็ก เรณูมีขั้วและได้สัดส่วนกันทุกด้าน ขนาดความยาวของแนวแกนระหว่างขั้วต่อความกว้างของแนวแก่นเส้นศูนย์สูตรเฉลี่ยเท่ากับ 21:19.74 ไมโครมิเตอร์ รูปทรงของเรณูเป็นแบบ prolate-spheroidal มีช่องเปิดแบบผสมจำนวน 4 ช่อง และมีผนังเรณูเป็นแบบร่างแห ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลยมหิน ผลออกเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ ผลเป็นแบบผลแห้งมีเปลือกแข็งสีน้ำตาล ปลายผลเป็นติ่งแหลม ผลมีขนาดยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-4 เซนติเมตร ผลเป็นสีน้ำตาล เมื่อสุกจะเปลี่ยนสีดำ เมื่อแห้งหรือแก่จะแตกเป็น 3-5 เสี่ยง ภายในผลแบ่งออกเป็นช่องประมาณ 3-5 ช่อง มีเมล็ดลักษณะแบน เป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาล มีความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง โดยมีขนาดกว้างประมาณ 0.4-1.0 เซนติเมตรและยาวประมาณ 0.8-1.8 เซนติเมตร ในแต่ละช่องของผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 60-100 เมล็ด ซึ่งการเรียงตัวของเมล็ดยมหินจะเรียงตัวกันแบบสลับกันระหว่างส่วนหัวและปลายเมล็ดที่อยู่ในช่องแต่ละช่อง
สรรพคุณของยมหิน
เปลือกจากเนื้อไม้ใช้ผสมเป็นยาปรุงแก้ไข้เปลี่ยนฤดู หนาว ๆ ร้อน ๆ ไข้จับสั่น (เปลือกจากเนื้อไม้)
เปลือกใช้เป็นยาสมานแผล
ประโยชน์ของยมหิน
ผลสุกใช้รับประทานได้
เนื้อไม้ยมหินมีลายไม้ที่สวยงามและเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองเป็นมัน เนื้อไม้ละเอียด ไสกบตกแต่งได้ง่าย ชักเงาได้ดี เป็นไม้ที่เหมาะสำหรับงานไม้ที่ใช้ในที่ร่ม และไม่ควรให้ส่วนหนึ่งส่วนใดสัมผัสกับดิน โดยเนื้อไม้ไม้ท่อนและไม้ยมหินแปรรูปเป็นไม้ที่มีคุณค่าเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่นำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ที่มีราคาแพง หรือนำไปใช้ในงานก่อสร้างบ้านเรือน งานโครงสร้างอื่น ๆ เครื่องจักสาน และเครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ เช่น การนำมาใช้ทำเสา ขื่อ รอด ตง ปูพื้นห้อง กระดาน หน้าต่าง ประตู ฝาบ้าน ไม้อัด ทำด้ามเครื่องมือ รวมทั้งการนำมาใช้ในการทำกล่องใส่ใบชา ไม้อัด และลังบรรจุสิ่งของต่าง ๆ
ส่วนประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น การนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ในงานศิลปะ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 Apr 21 04:04
ยมหิน
ชื่อสามัญ Almond-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chukrasia tabularis A.Juss.
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่ออื่น ฝักดาบ (จันทบุรี),เสียดกา (ปราจีนบุรี),เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี),ยมขาว (ภาคเหนือ), มะเฟือง ต้น มะเฟืองช้าง ยมหิน สะเดาหิน สะเดาช้าง (ภาคกลาง), ช้ากะเดา (ภาคใต้), มะยมหลวง (ไทใหญ่), โค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ริ้งบ้าง รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),ลำชา (ลั้วะ),ตุ๊ดสะเต๊ะ(ขมุ)
ลักษณะ
ลำต้นเปลาตรง มีพูพอนที่โคนต้น เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลคล้ำ สีเทา หรือสีเทาปนดำ เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมีอายุมากขึ้น แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น เปลือกชั้นในเป็นสีแดงออกน้ำตาลหรือสีชมพู ส่วนกระพี้เป็นสีเหลืองคล้ายฟางข้าว และแก่นไม้เป็นสีเหลืองเข้มถึงสีน้ำตาล กิ่งอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกมีขนนุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง จัดเป็นไม้กลางแจ้ง พบได้ตามป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป ป่าดิบแล้ง และป่าผลัดใบผสม ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-800 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในปัจจุบันนี้มีจำนวนที่พบได้ในธรรมชาติลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเดิมทีแล้วต้นยมหินเป็นพรรณไม้ที่ขึ้นตามป่า มีการกระจัดกระจายไปตามภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย แต่ในปัจจุบันเกิดปัญหาการบุกรุกป่าและการเสื่อมของดิน ทำให้ต้นยมหินได้รับผลกระทบไปด้วย
ใบยมหิน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกออกเยื้องกันเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 6-20 คู่ จัดเรียงตัวกันแบบสลับ แต่ใบย่อย 2 คู่แรกจะเรียงตัวกันแบบตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-6.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-17.5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีขนอ่อนนุ่ม 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นขนยาว ปลายแหลม อ่อนนุ่ม ส่วนอีกชนิดจะมีจำนวนน้อยกว่าและสั้นกว่า มีลักษณะปลายขนมนแข็งกว่าชนิดแรก ขึ้นปกคลุมด้านหลังใบเป็นจำนวนมาก ก้านใบยาวประมาณ 2-8 มิลลิเมตร
ดอกยมหิน ออกดอกเป็นช่อตามมุมกิ่งอ่อนหรือตามปลายยอด ปลายช่อห้อยลง มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร กิ่งหลักของช่อดอกยาวประมาณ 16 เซนติเมตร ส่วนกิ่งย่อยยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ดอกนมหินมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอม มีความยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร เป็ดดอกชนิดมีเพศเดียวและดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีใบประดับขนาดประมาณ 2-7 มิลลิเมตร ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแคบ และจะหลุดร่วงไปเมื่อดอกบาน ก้านดอกยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร อยู่ติดกับก้านดอกเทียมซึ่งยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร และอยู่ติดกับกลีบเลี้ยงซึ่งเป็นสีเขียวออกม่วงหรือสีแดง มีกลีบ 4-5 กลีบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-3.5 มิลิเมตร กลีบเลี้ยงดอกมีปลายมน ส่วนกลีบดอกมีกลีบ 4-5 กลีบ แยกจากกันอย่างอิสระ โดยจะมีความยาวมากกว่ากลีบเลี้ยง หรือยาวประมาณ 12-20 มิลลิเมตร มีรูปร่างเป็นแผ่นยาวแคบ ปลายมน เป็นสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองปนสีม่วง มีขนสั้น ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งกลีบดอก ก้านชูเกสรเพศผู้มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ปลายเรียวแคบ ขอบหยักเล็กน้อย เกสรเพศผู้ติดอยู่บนขอบทรงกระบอกนี้ ไม่มีขน มีสีเหมือนกลีบดอก มีรูปทรงแบบขอบขนาน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ เป็นรูปทรงคล้ายแจกัน ภายในมีช่องประมาณ 3-5 ช่อง ในแต่ละช่องจะมีไข่เป็นจำนวนมาก ส่วนก้านชูเกสรเพศเมียจะมีลักษณะยาวแคบ ส่วนปลายมีรอยหยัก แบ่งออกเป็น 3-5 หยัก มีน้ำเหนียว ๆ และมีขนอ่อนนุ่มปกคลุม เรณูมีลักษณะเป็นเรณูเดี่ยวขนาดเล็ก เรณูมีขั้วและได้สัดส่วนกันทุกด้าน ขนาดความยาวของแนวแกนระหว่างขั้วต่อความกว้างของแนวแก่นเส้นศูนย์สูตรเฉลี่ยเท่ากับ 21:19.74 ไมโครมิเตอร์ รูปทรงของเรณูเป็นแบบ prolate-spheroidal มีช่องเปิดแบบผสมจำนวน 4 ช่อง และมีผนังเรณูเป็นแบบร่างแห ออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ผลยมหิน ผลออกเป็นพวง ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรีหรือรูปไข่ ผลเป็นแบบผลแห้งมีเปลือกแข็งสีน้ำตาล ปลายผลเป็นติ่งแหลม ผลมีขนาดยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-4 เซนติเมตร ผลเป็นสีน้ำตาล เมื่อสุกจะเปลี่ยนสีดำ เมื่อแห้งหรือแก่จะแตกเป็น 3-5 เสี่ยง ภายในผลแบ่งออกเป็นช่องประมาณ 3-5 ช่อง มีเมล็ดลักษณะแบน เป็นแผ่นบาง ๆ สีน้ำตาล มีความยาวเป็น 2 เท่าของความกว้าง โดยมีขนาดกว้างประมาณ 0.4-1.0 เซนติเมตรและยาวประมาณ 0.8-1.8 เซนติเมตร ในแต่ละช่องของผลจะมีเมล็ดอยู่ประมาณ 60-100 เมล็ด ซึ่งการเรียงตัวของเมล็ดยมหินจะเรียงตัวกันแบบสลับกันระหว่างส่วนหัวและปลายเมล็ดที่อยู่ในช่องแต่ละช่อง
สรรพคุณของยมหิน
เปลือกจากเนื้อไม้ใช้ผสมเป็นยาปรุงแก้ไข้เปลี่ยนฤดู หนาว ๆ ร้อน ๆ ไข้จับสั่น (เปลือกจากเนื้อไม้)
เปลือกใช้เป็นยาสมานแผล
ประโยชน์ของยมหิน
ผลสุกใช้รับประทานได้
เนื้อไม้ยมหินมีลายไม้ที่สวยงามและเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองเป็นมัน เนื้อไม้ละเอียด ไสกบตกแต่งได้ง่าย ชักเงาได้ดี เป็นไม้ที่เหมาะสำหรับงานไม้ที่ใช้ในที่ร่ม และไม่ควรให้ส่วนหนึ่งส่วนใดสัมผัสกับดิน โดยเนื้อไม้ไม้ท่อนและไม้ยมหินแปรรูปเป็นไม้ที่มีคุณค่าเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่นำมาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ที่มีราคาแพง หรือนำไปใช้ในงานก่อสร้างบ้านเรือน งานโครงสร้างอื่น ๆ เครื่องจักสาน และเครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ เช่น การนำมาใช้ทำเสา ขื่อ รอด ตง ปูพื้นห้อง กระดาน หน้าต่าง ประตู ฝาบ้าน ไม้อัด ทำด้ามเครื่องมือ รวมทั้งการนำมาใช้ในการทำกล่องใส่ใบชา ไม้อัด และลังบรรจุสิ่งของต่าง ๆ
ส่วนประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น การนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ในงานศิลปะ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 Apr 21 04:04
คำสำคัญ:
ยมหิน
พันธุ์ไม้หายาก