ค้นหาสินค้า

เมล็ดพร้อมเพาะต้นหมี่

ร้าน เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย
เมล็ดพร้อมเพาะต้นหมี่
เมล็ดพร้อมเพาะต้นหมี่
ชื่อสินค้า:

เมล็ดพร้อมเพาะต้นหมี่

รหัส:
337069
ราคา:
1.00 บาท /เมล็ด
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 9 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายเมล็ดพร้อมเพาะ ต้นหมี่ เมล็ดละ1บาทต้นกล้าละ50-150ตามขนาดความสูงคะส่งเคอรี่เก็บปลายทางสนใจโทร0876069955ไอดีไลน์aungsara09#ประโยชน์ต้นหมี่
1. ใบหมี่ มีส่วนประกอบของสารเมือก (mucilage) ชาวบ้านในชนบทจึงนิยมนำใบหมี่มาบด และคั้นเอาน้ำสำหรับใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางต่างๆ อาทิ ใช้เป็นส่วนผสมของยาสระผม ครีมนวดผม และสบู่ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังนำน้ำคั้นมาใช้สำหรับสระผมโดยตรง ซึ่งมีคุณสมบัติในการบำรุงเส้นผม ช่วยให้ผมดกดำ ป้องกันการหลุดร่วงของเส้นผมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังนิยมใช้ส่วนอื่นมาสระผมเช่นกัน อาทิ ผลดิบ และผลสุก
2. ใบนำมาตำพอกศรีษะสำหรับฆ่าเหา หรือ รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อราบนศรีษะ เช่น เกลื้อน กลาก ชันตุ เป็นต้น
3. เปลือกลำต้นใช้ต้มฟอกย้อมไหม แห อวน และผ้าต่างๆ ให้สีแดงเรื่ออ่อนๆ
4. ใบ หรือ เปลือก บดเป็นผง ก่อนผสมกาว ใช้ทำเป็นธูปสำหรับจุดไล่ยุงหรือแมลงรบกวน
5. ยางจากเปลือกนำมาทาเครื่องจักรสาน ช่วยป้องกันแมลงเข้ากัดทำลาย ช่วยให้เครื่องจักรสานมีความคงทน
6. ดอกนำมาตากแห้งก่อนนำไปสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยสำหรับใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของเครื่องสำอาง
7. ใบใช้รองอาหาร ใช้ห่อขนม เป็นต้น
8. แก่นใช้ทำเป็นช่อฟ้าอุโบสถ
9. ในด้านความเชื่อ ใบถูกใช้ประกอบในพิธีบายศรีสู่ขวัญ และใช้ประกอบพิธีขับไล่ภูตผี ส่วนลำต้นมักเชื่อว่ามีภูตผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่ จึงมักถากเปลือกทาแป้งเพื่อการขอหวยเช่นกัน รวมถึงเชื่อว่าคนท้องที่สระผมด้วยใบหมี่ที่ขยำผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วจะทำให้คลอดลูกง่าย
10. เนื้อไม้ใช้ประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์ใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ด้ามจอบ ด้ามเสียม ด้ามมีด เขียง เป็นต้น
11. เนื้อไม้แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้สอยในครัวเรือน อาทิ โต๊ะ เก้าอี้ เตียงนอน เป็นต้น
12. เนื้อไม้ใช้แปรรูปเป็นไม้ก่อสร้าง อาทิ ไม้วงกบ ไม้แปร ไม้ฝ้า ไม้แผ่นปูพื้น เป็น รวมถึงทำเป็นเสาหรือส่วนประกอบอื่นๆของบ้าน
13. เนื่องจากเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ใบเขียวสดตลอดทั้งปี ทรงพุ่มหนาทึบ ทำให้เป็นร่มเงาได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจใช้ปลูกภายในบ้านหรือตามไร่นาสำหรับพักอาศัยเป็นร่มกันแดดกันฝน
14. ผลสุกมีรสหวาน จึงเป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่าได้อย่างดี โดยเฉพาะนก และกระแต กระอก
สรรพคุณต้นหมี่ อ้างถึงในเอกสารหลายฉบับ
รากต้นหมี่ (ใช้ตำบดทาหรือพอกภายนอก)
– ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
– ใช้ทารักษาฝี
– ใช้ทาแผล แผลสดหรือแผลเป็นหนอง
รากต้นหมี่ (ใช้ต้มน้ำดื่มหรือผสมเป็นตำรับยารับประทาน)
– ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
– ช่วยแก้อาการท้องร่วง
– แก้โรคซาง
รากต้นหมี่ (ใช้ดองเหล้าดื่ม)
– แก้ระดูมาไม่ปกติ
– แก้อาการลมชัก
เปลือกต้นหมี่ (มีรสฝาด ใช้ต้มน้ำดื่ม)
– ต้านมะเร็ง หรือ เนื้องอก
– ใช้ป้องกันเชื้อรา
– แก้อาการท้องอืด
– แก้อาการแสบร้อนบริเวณผิวหนัง
– แก้อาการเจ็บปวดหรือปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ
– แก้อาการฟกซ้ำดำเขียวตามร่างกาย
เปลือกต้นหมี่ (เคี้ยวอม)
– แก้อาการปวดฟัน
– แก้กลิ่นปากเหม็น
เปลือกต้นหมี่ (ใช้บดทาภายนอก หรือต้มน้ำอาบ)
– แก้อาการระคายเคืองหรือคันตามผิวหนัง
– แก้อาการแสบร้อน อาการฟกซ้ำดำเขียวตามร่างกาย
– ทาพอกรักษาฝี
ใบหมี่ (บดรับประทานหรือต้มน้ำดื่ม)
– แก้อาการปวดมดลูก
– ช่วยบรรเทาอาการปวดฝี
– ช่วยถอนพิษไข้
– แก้อาการท้องร่วง
– แก้อาการท้องอืด
ใบหมี่ (นำมาตำพอกภายนอก)
– แก้อาการฟกช้ำดำเขียว
– ใช้ทารักษาแผลต่างๆ
– ทารักษาโรคผิวหนังต่างๆ
– ทาแก้พิษแมลงกัดต่อย ช่วยลดอาการปวดบวม
– ใช้ตำบดขยำหรือพอกหนังศรีษะ แก้โรคผิวหนังบนศรีษะ เช่น รังแค
ผลหมี่ และเมล็ด (นำมาตำพอกภายนอก)
– ช่วยพอกฝี ลดอาการปวดฝี
– แก้พิษอักเสบต่างๆ
– ตำบดใช้ทาหรือสระศรีษะ ช่วยรักษารังแค และเชื้อราบนศรีษะ
การปลูกต้นหมี่
ต้นหมี่ตามธรรมชาติจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด และการปลูกในปัจจุบันจะใช้วิธีนำต้นกล้าจากเมล็ดมาปลูกเท่านั้น เนื่องจาก ต้นหมี่ เป็นไม้เนื้อแข็ง ทำให้การขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นทำได้ยาก อาทิ การปักชำ หรือ การตอนกิ่ง อีกทั้ง การขยายพันธุ์วิธีอื่นจะได้ต้นหมี่ที่แตกกิ่งน้อย ไม่ได้ทรงพุ่มใหญ่เหมือนการปลูกจากต้นเมล็ด
การปลูกต้นหมี่จากต้นกล้าเมล็ดทำได้ด้วยการนำเมล็ดที่แก่จัด โดยเฉพาะเมล็ดที่ล่นจากต้นมาเพาะจนไดต้นกล้า สูง 20-30 เซนติเมตร จึงย้ายปลูกตามจุดที่ต้องการ หรือ ใช้วิธีหาขุดต้นกล้าตามป่าต่างๆ แต่วิธีนี้จะใช้ได้ผลเฉพาะต้นกล้าที่ยังมีขนาดเล็กที่ความสูงไม่เกิน 5-10 เซนติเมตร เพราะหากต้นสูงกว่านี้ ลำต้นจะมีรากยาวลึกลงดิน เวลาขุดมักทำให้รากขาด เมื่อย้ายมาปลูกก็จะปลูกติดได้ยาก แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Apr 23 09:44
คำสำคัญ: หมี่