ชื่อสินค้า:
ต้นมะกอกเหลื่อม ผลไม้โบราณ น่าอนุรักษ์
รหัส:
332723
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นมะกอกเหลื่อม ผลไม้โบราณ น่าอนุรักษ์
ติดต่อสอบถามร้านวรากรสมุนไพร
ไอดีไลน์ herbsddd,0616498997
โทร 0616498997
มะกอกเลื่อม
ชื่ออื่น กอกกัน (อีสาน) มะกอกเกลื้อน (ราชบุรี) มะเลื่อม (จันทบุรี, พิษณุโลก) มะกอกเลือด (ใต้) โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี) มะเกิ้ม (เหนือ) มักเหลี่ยม (จันทบุรี) มะเหลี่ยม (นครราชสีมา) มะเหลี่ยมหิน (มหาสารคาม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium sabulatum Guillaumin
ชื่อวงศ์ Burseraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10-25 เมตร ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดกลม เปลือกสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ แตกเป็นสะเก็ด หรือแตกเป็นร่องตามยาว มียางใสหรือขาวขุ่น เมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลดำ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาวๆ กิ่งอ่อนมีขนสี้น้ำตาอมส้มหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อย 2-5 คู่ เรียงตรงข้าม ใบประกอบยาว 12-14 ซม. แกนกลางยาว 8.5-12 ซม. ใบรูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 8-9 ซม. ยาว 10-18 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนมนหรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบจักฟันเลื่อยถี่ แผ่น ใบกึ่งหนา คล้ายแผ่นหนัง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขน เส้นแขนงใบ ข้างละ 8-15 เส้น ก้านใบย่อยยาว 0.5-1.2 ซม. ก้านใบร่วมมีหูใบแคบ 1 คู่ ขนาด 10-25 มิลลิเมตร ใบแก่สีแดงเข้ม ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ยาว 7-25 ซม.ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้มักเป็นแบบช่อกระจุกแยกแขนงยาว 7-25 เซนติเมตร ช่อดอกเพศเมียมักเป็นแบบช่อกระจะยาว 8-10 เซนตเมตร กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนกลีบเชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วย ยาว 2-3 มม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก ยาว 0.5-1 มม. มีขนนุ่มทั้งสองด้าน กลีบดอก 3 กลีบ รูปขอบขนาน กว้าง 2-2.5 มม. ยาว 7-8 มม. เกสรเพศผู้ 6 อัน เชื่อมกันที่ฐานเป็นท่อสั้นๆ ช่อดอกเพศผู้ยาว 7-11 มม. มีขนทั่วไป รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรีมี 3 ช่อง แต่ละช่อง มีออวุล 2 เม็ด ผลสดรูปกระสวย ช่อยาว 2.5-8 เซนติเมตร มีประมาณ 1-4 ผลต่อช่อ ผลอ่อนสีเหลือง ผลแก่สีเขียวอมเหลือง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. โคนผลมีกลีบเลี้ยงติดทน ขนาดกว้าง 6-15 มิลลิเมตร เมล็ดรูปกระสวย 3 เมล็ด เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ชั้นหุ้มเมล็ดแข็งมาก พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะและป่าหญ้าทั่วไป ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-1,200 เมตร ออกดอกราวเดือน มกราคมถึงพฤษภาคม ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ยาง รสฝาด ทาแก้เม็ดผื่นคัน และเป็นเครื่องหอม ผล เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก่น รสเฝื่อน แก้โลหิตระดูพิการ แก้ประดง ผลสด มีรสฝาดเปรี้ยว นำมาดองและแช่อิ่ม กินเป็นอาหาร
เนื้อในเมล็ด สีขาวรับประทานได้ มีรสมัน
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เปลือกต้น ใช้รักษาโรคลักปิดลักเปิด ผล แก้ไอ ขับเสมหะ
ชาวเขาเผ่าแม้ว ใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำอาบ บำรุงร่างกายให้มีกำลัง แข็งแรง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:36
ติดต่อสอบถามร้านวรากรสมุนไพร
ไอดีไลน์ herbsddd,0616498997
โทร 0616498997
มะกอกเลื่อม
ชื่ออื่น กอกกัน (อีสาน) มะกอกเกลื้อน (ราชบุรี) มะเลื่อม (จันทบุรี, พิษณุโลก) มะกอกเลือด (ใต้) โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี) มะเกิ้ม (เหนือ) มักเหลี่ยม (จันทบุรี) มะเหลี่ยม (นครราชสีมา) มะเหลี่ยมหิน (มหาสารคาม)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Canarium sabulatum Guillaumin
ชื่อวงศ์ Burseraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 10-25 เมตร ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดกลม เปลือกสีน้ำตาลอมเทาถึงเทาแก่ แตกเป็นสะเก็ด หรือแตกเป็นร่องตามยาว มียางใสหรือขาวขุ่น เมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลดำ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนมีขีดเส้นขาวๆ กิ่งอ่อนมีขนสี้น้ำตาอมส้มหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน ใบย่อย 2-5 คู่ เรียงตรงข้าม ใบประกอบยาว 12-14 ซม. แกนกลางยาว 8.5-12 ซม. ใบรูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 8-9 ซม. ยาว 10-18 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม โคนมนหรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบจักฟันเลื่อยถี่ แผ่น ใบกึ่งหนา คล้ายแผ่นหนัง หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขน เส้นแขนงใบ ข้างละ 8-15 เส้น ก้านใบย่อยยาว 0.5-1.2 ซม. ก้านใบร่วมมีหูใบแคบ 1 คู่ ขนาด 10-25 มิลลิเมตร ใบแก่สีแดงเข้ม ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ยาว 7-25 ซม.ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกเพศผู้มักเป็นแบบช่อกระจุกแยกแขนงยาว 7-25 เซนติเมตร ช่อดอกเพศเมียมักเป็นแบบช่อกระจะยาว 8-10 เซนตเมตร กลีบดอกสีขาวแกมเหลือง กลีบเลี้ยงโคนกลีบเชื่อมติดกัน เป็นรูปถ้วย ยาว 2-3 มม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก ยาว 0.5-1 มม. มีขนนุ่มทั้งสองด้าน กลีบดอก 3 กลีบ รูปขอบขนาน กว้าง 2-2.5 มม. ยาว 7-8 มม. เกสรเพศผู้ 6 อัน เชื่อมกันที่ฐานเป็นท่อสั้นๆ ช่อดอกเพศผู้ยาว 7-11 มม. มีขนทั่วไป รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรีมี 3 ช่อง แต่ละช่อง มีออวุล 2 เม็ด ผลสดรูปกระสวย ช่อยาว 2.5-8 เซนติเมตร มีประมาณ 1-4 ผลต่อช่อ ผลอ่อนสีเหลือง ผลแก่สีเขียวอมเหลือง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม. โคนผลมีกลีบเลี้ยงติดทน ขนาดกว้าง 6-15 มิลลิเมตร เมล็ดรูปกระสวย 3 เมล็ด เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ชั้นหุ้มเมล็ดแข็งมาก พบขึ้นตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าละเมาะและป่าหญ้าทั่วไป ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-1,200 เมตร ออกดอกราวเดือน มกราคมถึงพฤษภาคม ติดผลเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ยาง รสฝาด ทาแก้เม็ดผื่นคัน และเป็นเครื่องหอม ผล เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว แก่น รสเฝื่อน แก้โลหิตระดูพิการ แก้ประดง ผลสด มีรสฝาดเปรี้ยว นำมาดองและแช่อิ่ม กินเป็นอาหาร
เนื้อในเมล็ด สีขาวรับประทานได้ มีรสมัน
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เปลือกต้น ใช้รักษาโรคลักปิดลักเปิด ผล แก้ไอ ขับเสมหะ
ชาวเขาเผ่าแม้ว ใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำอาบ บำรุงร่างกายให้มีกำลัง แข็งแรง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:36
คำสำคัญ:
ไม้หายาก
พันธุ์ไม้หายาก