ชื่อสินค้า:
ต้นสีเสียดแก่น
รหัส:
332718
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นสีเสียดแก่น ไม้ในพุทธประวัติ ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ติดต่อสอบถามร้านวรากรสมุนไพร
ไอดีไลน์ herbsddd,0616498997
โทร 0616498997
สีเสียด (Acacia catechu Willd.)
ชื่อพันธุ์ไม้ สีเสียดแก่น
ชื่อสามัญ Catechu Tree, Cutch Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu Willd.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), สีเสียด (ภาคเหนือ), สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดแก่นเหนือ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เรือนยอดโปร่ง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไปเปลือกสีเทาคล้ำหรืออมน้ำตาลค่อนข้างขรุขระ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้น รูปไข่แกมขอบขนานโคนใบเบี้ยวมีขนห่างๆ ออกดอกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ตามง่ามใบ ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือขาวอมเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปบรรทัดแบน ยาว 5–10 ซ.ม.เมล็ดแบนสีน้ำตาลอมเขียว
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขัง
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทางภาคเหนือ ป่าละเมาะบนพื้นที่ราบและแห้งแล้งทั่วไป
ออกดอก เมษายน - พฤษภาคม เป็นผลระหว่างเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม
สีเสียด หรือที่ชาวฮินดูเรียก “แคร” หรือที่ทางการค้าเรียกว่า Catechu tree นี้ ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญานได้ 8 พรรษา ก็ได้เสด็จไปประทับภูสกภวันคือป่าไม้สีเสียด ใกล้สูงสุมารคีรีในภัคคฎฐี
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ไสกบตบแต่งยาก ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น เสา ตง คาน สะพาน ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตร แก่นให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนังและให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แห อวน
สรรพคุณ
ก้อนสีเสียดเป็นยาสมานอย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ ใช้เป็นยารักษาเหงือก ลิ้นและฟัน รักษา แผลในลำคอ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:36
ติดต่อสอบถามร้านวรากรสมุนไพร
ไอดีไลน์ herbsddd,0616498997
โทร 0616498997
สีเสียด (Acacia catechu Willd.)
ชื่อพันธุ์ไม้ สีเสียดแก่น
ชื่อสามัญ Catechu Tree, Cutch Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia catechu Willd.
วงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่ออื่น สะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), สีเสียด (ภาคเหนือ), สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดแก่นเหนือ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เรือนยอดโปร่ง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไปเปลือกสีเทาคล้ำหรืออมน้ำตาลค่อนข้างขรุขระ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้น รูปไข่แกมขอบขนานโคนใบเบี้ยวมีขนห่างๆ ออกดอกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ตามง่ามใบ ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือขาวอมเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปบรรทัดแบน ยาว 5–10 ซ.ม.เมล็ดแบนสีน้ำตาลอมเขียว
ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสม เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขัง
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทางภาคเหนือ ป่าละเมาะบนพื้นที่ราบและแห้งแล้งทั่วไป
ออกดอก เมษายน - พฤษภาคม เป็นผลระหว่างเดือน พฤษภาคม - กรกฎาคม
สีเสียด หรือที่ชาวฮินดูเรียก “แคร” หรือที่ทางการค้าเรียกว่า Catechu tree นี้ ตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า เมื่อพระองค์สำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญานได้ 8 พรรษา ก็ได้เสด็จไปประทับภูสกภวันคือป่าไม้สีเสียด ใกล้สูงสุมารคีรีในภัคคฎฐี
การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ไสกบตบแต่งยาก ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมาก ๆ เช่น เสา ตง คาน สะพาน ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตร แก่นให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนังและให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า แห อวน
สรรพคุณ
ก้อนสีเสียดเป็นยาสมานอย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ ใช้เป็นยารักษาเหงือก ลิ้นและฟัน รักษา แผลในลำคอ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:36
คำสำคัญ:
สีเสียด
พันธุ์ไม้หายาก