ชื่อสินค้า:
ต้นศรีมหาโพธื์
รหัส:
332153
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
โพธิ์
โพธิ์ ชื่อสามัญ Sacred tree, Sacred fig, Sacred fig Tree, The peepal tree, Peepul tree, Peepul of India, Pipal tree, Pipal of India, Bo tree, Bodhi Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa L. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
ชื่ออื่น สลี (ภาคเหนือ), สี สะหลี (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), โพ โพธิ โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง), ย่อง (แม่ฮ่องสอน), ปู (เขมร), โพธิใบ เป็นต้น
ในปัจจุบันต้นโพธิ์เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ลักษณะ
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ตามกิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เมตร และมีน้ำยางสีขาว เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเทา โคนต้นเป็นพูพอนขนาดใหญ่ โดยจัดเป็นพรรณไม้ที่มีรูปทรงของลำต้นส่วนงามชนิดหนึ่ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ใช้กิ่งชำ หรือใช้กระโดงจากราก แต่ส่วนมากแล้วจะเจริญเติบโตจากสัตว์นำพา เช่น นกมากินเมล็ดและไปถ่ายทิ้งไว้ ก็จะเกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมา เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง พบขึ้นทั่วไปทั้งในทวีปเอเชีย ปากีสถาน จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบในธรรมชาติน้อยมาก เข้าใจว่ากระจายพันธุ์มาจากต้นที่มีการนำมาปลูกเอง และพบขึ้นมากตามซากอาคาร และนิยมปลูกกันทั่วไปในวัดทุกภาคของประเทศไทย
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปใจ ปลายใบแหลมและมีติ่งหรือหางยาว (ปลายติ่งบางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของใบ) โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-24 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบมีลักษณะห้อยลง แผ่นใบเป็นสีเขียวนวล ๆ ส่วนยอดอ่อนหรือใบอ่อนนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบยาวและอ่อน มีความยาวได้ประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
หมายเหตุ : ต้นโพธิ์ในสกุล Ficus จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ โพธิใบ (Ficus religiosa Linn.) ซึ่งกล่าวถึงในบทความนี้ และโพธิขี้นกหรือโพธิประสาท (Ficus rumphii Bl.) ข้อแตกต่างของโพธิทั้ง 2 ชนิดนี้คือ ใบและผลของใบโพธิขี้นกจะมีขนาดเล็กกว่าใบโพธิใบมาก ส่วนผลสุกของโพธิใบจะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีม่วงดำ ในขณะที่ผลสุกของโพธิขี้นกจะเป็นสีดำ
สรรพคุณของต้นโพธิ์
-ใบมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการนำใบแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว ใช้แบ่งกินก่อนอาหารเช้าและเย็น
-ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหัวใจ
-ผลมีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับพิษ
-เมล็ดใช้เป็นยาลดไข้
-ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง
-เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
-ผลช่วยแก้อาการกระหายน้ำ
-น้ำจากเปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน รักษารากฟันเป็นหนอง
-รากใช้เป็นยารักษาโรคเหงือก
-ใบใช้รักษาโรคคางทูม
-ผลช่วยรักษาโรคหืด
-ใบใช้รักษาโรคท้องผูก ท้องร่วง
-ลำต้น ใบมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย
-ผลใช้รับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ และช่วยในการย่อยอาหาร
-เมล็ดใช้เป็นยา มีสรรพคุณช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และมีฤทธิ์เป็นยาระบายเช่นเดียวกับผล
-เมล็ดใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
-ยางใช้รักษาริดสีดวงทวาร
-เปลือกต้นใช้ทำเป็นยาชงกินแก้โรคหนองใน
-เปลือกต้นใช้เป็นยาล้างแผล ช่วยรักษาแผลเปื่อย
-เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยสมานบาดแผล ห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง
-ลำต้น ใบใช้เป็นยาบำบัดโรคผิวหนัง ส่วนเปลือกต้นใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง
-ยางใช้เป็นยารักษาโรคหูด
-ยางมีสรรพคุณเป็นยาแก้เท้าเป็นหน่อ แก้เท้าเป็นพยาธิ
-ช่วยแก้กล้ามเนื้อช้ำบวม
-รากใช้เป็นยารักษาโรคเกาต์ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:35
โพธิ์ ชื่อสามัญ Sacred tree, Sacred fig, Sacred fig Tree, The peepal tree, Peepul tree, Peepul of India, Pipal tree, Pipal of India, Bo tree, Bodhi Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus religiosa L. จัดอยู่ในวงศ์ขนุน (MORACEAE)
ชื่ออื่น สลี (ภาคเหนือ), สี สะหลี (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), โพ โพธิ โพศรีมหาโพ (ภาคกลาง), ย่อง (แม่ฮ่องสอน), ปู (เขมร), โพธิใบ เป็นต้น
ในปัจจุบันต้นโพธิ์เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ลักษณะ
มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายกิ่งลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ตามกิ่งมีรากอากาศห้อยลงมาบ้าง ลำต้นมีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-3 เมตร และมีน้ำยางสีขาว เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลปนเทา โคนต้นเป็นพูพอนขนาดใหญ่ โดยจัดเป็นพรรณไม้ที่มีรูปทรงของลำต้นส่วนงามชนิดหนึ่ง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ใช้กิ่งชำ หรือใช้กระโดงจากราก แต่ส่วนมากแล้วจะเจริญเติบโตจากสัตว์นำพา เช่น นกมากินเมล็ดและไปถ่ายทิ้งไว้ ก็จะเกิดเป็นต้นใหม่ขึ้นมา เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง พบขึ้นทั่วไปทั้งในทวีปเอเชีย ปากีสถาน จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบในธรรมชาติน้อยมาก เข้าใจว่ากระจายพันธุ์มาจากต้นที่มีการนำมาปลูกเอง และพบขึ้นมากตามซากอาคาร และนิยมปลูกกันทั่วไปในวัดทุกภาคของประเทศไทย
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปใจ ปลายใบแหลมและมีติ่งหรือหางยาว (ปลายติ่งบางใบมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของใบ) โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-24 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบมีลักษณะห้อยลง แผ่นใบเป็นสีเขียวนวล ๆ ส่วนยอดอ่อนหรือใบอ่อนนั้นเป็นสีน้ำตาลแดง ก่อนใบจะร่วงหล่นจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ก้านใบยาวและอ่อน มีความยาวได้ประมาณ 8-12 เซนติเมตร มีหูใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร
หมายเหตุ : ต้นโพธิ์ในสกุล Ficus จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ โพธิใบ (Ficus religiosa Linn.) ซึ่งกล่าวถึงในบทความนี้ และโพธิขี้นกหรือโพธิประสาท (Ficus rumphii Bl.) ข้อแตกต่างของโพธิทั้ง 2 ชนิดนี้คือ ใบและผลของใบโพธิขี้นกจะมีขนาดเล็กกว่าใบโพธิใบมาก ส่วนผลสุกของโพธิใบจะเป็นสีแดงคล้ำหรือสีม่วงดำ ในขณะที่ผลสุกของโพธิขี้นกจะเป็นสีดำ
สรรพคุณของต้นโพธิ์
-ใบมีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการนำใบแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว ใช้แบ่งกินก่อนอาหารเช้าและเย็น
-ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหัวใจ
-ผลมีสรรพคุณเป็นยาช่วยขับพิษ
-เมล็ดใช้เป็นยาลดไข้
-ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้จับสั่นเรื้อรัง
-เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
-ผลช่วยแก้อาการกระหายน้ำ
-น้ำจากเปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน รักษารากฟันเป็นหนอง
-รากใช้เป็นยารักษาโรคเหงือก
-ใบใช้รักษาโรคคางทูม
-ผลช่วยรักษาโรคหืด
-ใบใช้รักษาโรคท้องผูก ท้องร่วง
-ลำต้น ใบมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย
-ผลใช้รับประทานเป็นยาระบายอ่อน ๆ และช่วยในการย่อยอาหาร
-เมล็ดใช้เป็นยา มีสรรพคุณช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และมีฤทธิ์เป็นยาระบายเช่นเดียวกับผล
-เมล็ดใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
-ยางใช้รักษาริดสีดวงทวาร
-เปลือกต้นใช้ทำเป็นยาชงกินแก้โรคหนองใน
-เปลือกต้นใช้เป็นยาล้างแผล ช่วยรักษาแผลเปื่อย
-เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยสมานบาดแผล ห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง
-ลำต้น ใบใช้เป็นยาบำบัดโรคผิวหนัง ส่วนเปลือกต้นใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง
-ยางใช้เป็นยารักษาโรคหูด
-ยางมีสรรพคุณเป็นยาแก้เท้าเป็นหน่อ แก้เท้าเป็นพยาธิ
-ช่วยแก้กล้ามเนื้อช้ำบวม
-รากใช้เป็นยารักษาโรคเกาต์ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:35