ชื่อสินค้า:
ต้นช้างน้าว
รหัส:
329044
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นช้างน้าว
ติดต่อสอบถามร้านวรากรสมุนไพร
โทร 0616498997,0616499298
ไอดีไลน์ herbsddd,0616498997
ช้างน้าว
ชื่อสามัญ Vietnamese mickey mouse plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochna integerrima (Lour.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Elaeocarpus integerrimus Lour., Ochna harmandii Lecomte)
จัดอยู่ในวงศ์ช้างน้าว (OCHNACEAE)
ชื่ออื่น ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ร้อยเอ็ด), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), แง่ง (บุรีรัมย์), ฝิ่น (ราชบุรี), กระแจะ ช้างโน้ม ช้างโหม (ระยอง), ตาลเหลือง (ภาคเหนือ), กำลังช้างสาร (กลาง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), กระโดงแดง เป็นต้น
ลักษณะของช้างน้าว
ต้นช้างน้าว มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย เขมร) โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นไม้ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 3-8 เมตรและอาจสูงได้ถึง 12 เมตร กิ่งก้านแผ่ขยายออก ลำต้นมักคดงอ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องลึก ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาลักษณะแข็งและแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ช้า เติบโตได้ในสภาพดินทุกชนิดแม้พื้นที่แห้งแล้ง แต่ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดจัด ทนแล้งและทนไฟป่าได้ดี ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าสน และป่าชายหาด ที่ระดับความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,200 เมตร
สรรพคุณของช้างน้าว
- ผลมีรสมันสุขุม เป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนตำรายาไทยใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม และตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล, ต้น, ลำต้น)
- ตำรายาไทยใช้ต้นช้างน้าวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือจะใช้ต้นช้างน้าวผสมกับต้นนมสาว เถาตาไก้ รากน้ำเต้าต้น รากลกครก อย่างละเท่ากัน มาต้มกินเป็นยาบำรุงกำลังก็ได้ ส่วนชาวเขาเผ่ามูเซอจะใช้ราก โดยนำมาตากแห้ง หรือดองกับเหล้า หรือต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ต้น, ราก)
เปลือกต้นมีรสขม ช่วยบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)
เนื้อไม้มีรสจืดเย็น ช่วยแก้กษัย ส่วนตำรายาไทยต้นก็มีสรรพคุณแก้กษัยเช่นกัน (ต้น, เนื้อไม้)
หมอยาไทยใหญ่จะใช้สมุนไพรช้างน้าวเพื่อรักษาเด็กที่เป็นซางจ่อยผอม หรือสภาวะที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ดี เป็นโรคเรื้อรัง มีการติดเชื้อบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ (ราก)
ช่วยแก้ดีซ่าน (ราก)
เปลือกต้นมีรสขม ใช้ปรุงเป็นยาช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
ช่วยแก้โลหิตพิการ (เนื้อไม้)
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)
ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (เนื้อไม้)]
แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ประดง (แก่น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ (เปลือกต้น)
ส่วนในประเทศอินเดียจะใช้ใบและรากช้างน้าวเป็นยาลดไข้ (ใบ, ราก)
รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ผิดสำแดง (ราก)
ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร (ราก)
ช่วยขับผายลม (เปลือกต้น)
ในประเทศอินเดียจะใช้ส่วนของใบและรากเป็นยาแก้บิด (ใบ, ราก)
รากเป็นยาขับพยาธิ (ราก)
รากช่วยฟอกน้ำเหลือง แก้โรคน้ำเหลืองเสีย หรือสภาวะที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี (ราก)
ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ส่วนรากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง (ต้น, ราก)
รากช้างน้าวช่วยรักษาโรคปวดขา (ราก)
ช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี ด้วยการใช้ต้นช้างน้าวผสมกับต้นนมสาว รากน้ำเต้าแล้ง รากลกครก เถาตาไก้ อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกินเป็นยา (ต้น)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของช้างน้าว
จากการศึกษาพบว่าสารสกัดที่ได้จากเปลือกช้างน้าวมีฤทธิ์ต่อต้านมาลาเรียได้ดีมาก
พบว่าช้างน้าวมีสาร Bioflavonoid ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ต้านเชื้อวัณโรค มีฤทธิ์ต้านอักเสบ แก้ไข้ และแก้ปวด
ประโยชน์ของช้างน้าว
เปลือกนอกของต้นช้างน้าวที่มีลักษณะนิ่ม ๆ คล้ายไม้คอร์ก นำมาบดให้เป็นผงซึ่งจะมีสีเหลืองเข้มสด นำมาใช้ทาแก้สิวฝ้า หรือใช้ทาแทนแป้งได้ (เปลือกนอก)
ชาวบ้านจะนิยมตัดกิ่งช้างน้าวขนาดประมาณ 1 ฟุตครึ่ง เพื่อนำมาจำหน่าย (กิ่งละประมาณ 10 บาท) โดยจะเรียกกิ่งไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกตรุษจีน" เนื่องจากจะออกดอกในช่วงตรุษจีนพอดี โดยกิ่งของช้างน้าวนั้นเมื่อนำมาแช่น้ำประมาณ 3-4 วัน ก็จะผลิดอกสวยงามจนเต็มกิ่งก้าน คนเวียดนามจึงนิยมปลูกและนำมาใช้ปักแจกัน เพราะมีความเชื่อว่าดอกไม้สีเหลืองเป็นดอกไม้ที่จะนำโชคและความอุดมสมบูรณ์มาสู่บ้านเรือน
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ดอกมีกลิ่นหอมตลอดทั้งวันและจะหอมมากในช่วงอากาศเย็น ต้นช้างน้าวยังเป็นพันธุ์พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดมุกดาหารอีกด้วย (ในช่วงฤดูกาลออกดอก ควรงดการให้น้ำเพื่อให้ใบร่วงพร้อมกันทั้งต้น จะทำให้ออกดอกพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก) แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:34
ติดต่อสอบถามร้านวรากรสมุนไพร
โทร 0616498997,0616499298
ไอดีไลน์ herbsddd,0616498997
ช้างน้าว
ชื่อสามัญ Vietnamese mickey mouse plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ochna integerrima (Lour.) Merr. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Elaeocarpus integerrimus Lour., Ochna harmandii Lecomte)
จัดอยู่ในวงศ์ช้างน้าว (OCHNACEAE)
ชื่ออื่น ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ร้อยเอ็ด), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), แง่ง (บุรีรัมย์), ฝิ่น (ราชบุรี), กระแจะ ช้างโน้ม ช้างโหม (ระยอง), ตาลเหลือง (ภาคเหนือ), กำลังช้างสาร (กลาง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), กระโดงแดง เป็นต้น
ลักษณะของช้างน้าว
ต้นช้างน้าว มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย ลาว พม่า มาเลเซีย เขมร) โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก เป็นไม้ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 3-8 เมตรและอาจสูงได้ถึง 12 เมตร กิ่งก้านแผ่ขยายออก ลำต้นมักคดงอ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องลึก ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาลักษณะแข็งและแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ช้า เติบโตได้ในสภาพดินทุกชนิดแม้พื้นที่แห้งแล้ง แต่ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดจัด ทนแล้งและทนไฟป่าได้ดี ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน สามารถพบได้ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าสน และป่าชายหาด ที่ระดับความสูงใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,200 เมตร
สรรพคุณของช้างน้าว
- ผลมีรสมันสุขุม เป็นยาบำรุงร่างกาย ส่วนตำรายาไทยใช้ต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม และตำรายาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานีจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย (ผล, ต้น, ลำต้น)
- ตำรายาไทยใช้ต้นช้างน้าวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือจะใช้ต้นช้างน้าวผสมกับต้นนมสาว เถาตาไก้ รากน้ำเต้าต้น รากลกครก อย่างละเท่ากัน มาต้มกินเป็นยาบำรุงกำลังก็ได้ ส่วนชาวเขาเผ่ามูเซอจะใช้ราก โดยนำมาตากแห้ง หรือดองกับเหล้า หรือต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ต้น, ราก)
เปลือกต้นมีรสขม ช่วยบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)
เนื้อไม้มีรสจืดเย็น ช่วยแก้กษัย ส่วนตำรายาไทยต้นก็มีสรรพคุณแก้กษัยเช่นกัน (ต้น, เนื้อไม้)
หมอยาไทยใหญ่จะใช้สมุนไพรช้างน้าวเพื่อรักษาเด็กที่เป็นซางจ่อยผอม หรือสภาวะที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ดี เป็นโรคเรื้อรัง มีการติดเชื้อบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดได้ (ราก)
ช่วยแก้ดีซ่าน (ราก)
เปลือกต้นมีรสขม ใช้ปรุงเป็นยาช่วยทำให้เจริญอาหาร (เปลือกต้น)
ช่วยแก้โลหิตพิการ (เนื้อไม้)
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้เบาหวาน (ราก)
ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (เนื้อไม้)]
แก่นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ประดง (แก่น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาแก้ไข้ (เปลือกต้น)
ส่วนในประเทศอินเดียจะใช้ใบและรากช้างน้าวเป็นยาลดไข้ (ใบ, ราก)
รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ผิดสำแดง (ราก)
ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร (ราก)
ช่วยขับผายลม (เปลือกต้น)
ในประเทศอินเดียจะใช้ส่วนของใบและรากเป็นยาแก้บิด (ใบ, ราก)
รากเป็นยาขับพยาธิ (ราก)
รากช่วยฟอกน้ำเหลือง แก้โรคน้ำเหลืองเสีย หรือสภาวะที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี (ราก)
ลำต้นนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ส่วนรากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปวดหลัง (ต้น, ราก)
รากช้างน้าวช่วยรักษาโรคปวดขา (ราก)
ช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี ด้วยการใช้ต้นช้างน้าวผสมกับต้นนมสาว รากน้ำเต้าแล้ง รากลกครก เถาตาไก้ อย่างละเท่ากัน นำมาต้มกินเป็นยา (ต้น)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของช้างน้าว
จากการศึกษาพบว่าสารสกัดที่ได้จากเปลือกช้างน้าวมีฤทธิ์ต่อต้านมาลาเรียได้ดีมาก
พบว่าช้างน้าวมีสาร Bioflavonoid ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ต้านเชื้อวัณโรค มีฤทธิ์ต้านอักเสบ แก้ไข้ และแก้ปวด
ประโยชน์ของช้างน้าว
เปลือกนอกของต้นช้างน้าวที่มีลักษณะนิ่ม ๆ คล้ายไม้คอร์ก นำมาบดให้เป็นผงซึ่งจะมีสีเหลืองเข้มสด นำมาใช้ทาแก้สิวฝ้า หรือใช้ทาแทนแป้งได้ (เปลือกนอก)
ชาวบ้านจะนิยมตัดกิ่งช้างน้าวขนาดประมาณ 1 ฟุตครึ่ง เพื่อนำมาจำหน่าย (กิ่งละประมาณ 10 บาท) โดยจะเรียกกิ่งไม้ชนิดนี้ว่า "ดอกตรุษจีน" เนื่องจากจะออกดอกในช่วงตรุษจีนพอดี โดยกิ่งของช้างน้าวนั้นเมื่อนำมาแช่น้ำประมาณ 3-4 วัน ก็จะผลิดอกสวยงามจนเต็มกิ่งก้าน คนเวียดนามจึงนิยมปลูกและนำมาใช้ปักแจกัน เพราะมีความเชื่อว่าดอกไม้สีเหลืองเป็นดอกไม้ที่จะนำโชคและความอุดมสมบูรณ์มาสู่บ้านเรือน
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ดอกมีกลิ่นหอมตลอดทั้งวันและจะหอมมากในช่วงอากาศเย็น ต้นช้างน้าวยังเป็นพันธุ์พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดมุกดาหารอีกด้วย (ในช่วงฤดูกาลออกดอก ควรงดการให้น้ำเพื่อให้ใบร่วงพร้อมกันทั้งต้น จะทำให้ออกดอกพร้อมกันทั้งต้นดูสวยงามมาก) แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:34
คำสำคัญ:
ช้างน้าว
พันธุ์ไม้หายาก