ค้นหาสินค้า

หญ้าพันงูขาวตากแห้ง

ร้าน เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย
หญ้าพันงูขาวตากแห้ง
หญ้าพันงูขาวตากแห้ง
ชื่อสินค้า:

หญ้าพันงูขาวตากแห้ง

รหัส:
326317
ราคา:
200.00 บาท
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 8 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ครึ่งโล200สนใจแจ้งจำนวนที่ต้องการและแจ้งที่อยู่จัดส่งได้เลยคะส่งเคอรี่เก็บเงินปลายทางสนใจโทร0876069955ไอดีไลน์aungsara09.จัดส่งทั่วประเทศมีบริการเก็บเงินปลายทาง #สรรพคุณของหญ้าพันงูขาว
ลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงธาตุไฟ (ลำต้น,ทั้งต้น)[1],[2]
ช่วยฟอกโลหิต (ทั้งต้น)[3]
ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น (ราก[4], ทั้งต้น[6],[9])
ช่วยทำให้นอนหลับ (ราก)[9]
ช่วยลดความดันโลหิต (ทั้งต้น)[6],[9]
ทั้งต้นมีรสขม เผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็นจัด ออกฤทธิ์ต่อปอดและไต ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้อาการร้อนใน ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)[3]
ทั้งต้นนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ตรีโทษ (ทั้งต้น)[2]
ตำรับยาแก้ไข้จับสั่นหรือไข้มาลาเรีย ให้ใช้หญ้าพันงูขาวประมาณ 30-45 กรัม นำมาต้มกับเนื้อสันในของหมูรับประทาน (ทั้งต้น)[3] ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้จับสั่นเช่นกัน (ราก)[4]
ใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดไข้ ตัวร้อน แก้เจ็บคอ ให้ใช้หญ้าพันงูขาวนำมาต้มกับน้ำกินหรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น (ทั้งต้น)[3],[7],[9]
ดอกใช้เป็นยาแก้และขับเสมหะ ช่วยแก้เสมหะที่คั่งค้างในทรวงอก แก้เสมหะในท้อง (ดอก)[1],[4],[9] ส่วนอีกตำรับให้ใช้รากพันงูขาว รากขัดน้อย พริก เหง้าขิง นำมาบดให้เป็นผงกินเป็นยาขับเสมหะ (ราก)[2]

ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นนำมาต้มเอาน้ำกินแก้โรคในลำคอ (ทั้งต้น)[2] ใบมีสรรพคุณช่วยแก้โรคในลำคอ แก้คออักเสบเป็นเม็ดยอดในคอ โรคในลำคอเป็นเม็ดเป็นตุ่ม (ใบ)[4],[9]
ผลมีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ผล)[4] ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าส่วนของใบมีสรรพคุณทำให้อาเจียน (ใบ)[9]
ช่วยแก้สะอึก (ดอก)[4],[9]
ใช้รักษาหูน้ำหนวก หรือหูชั้นกลางอักเสบ ด้วยการใช้รากสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้หยอดหู (ราก)[6]
ใช้รักษาคางทูม (ทั้งต้น)[3]
ช่วยแก้คอตีบ ด้วยการใช้รากสด รากบ่วงหนี่แช นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลทรายพอสมควร ใช้ชงกับน้ำอุ่นกิน (ราก[6],ทั้งต้น[3])
ช่วยรักษาต่อมต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้รากแห้ง รากจ้ำเครือแห้ง และพิมเสน นำมาบดให้เป็นผงละเอียดใช้เป่าคอ (ราก)[6]
ในอินเดียจะใช้รักษาหญ้าพันงูขาวเป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หอบ หืด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
ช่วยรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ด้วยการใช้รากสด รากบ่วงหนี่แช นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลทรายพอสมควร ใช้ชงกับน้ำอุ่นกิน (ราก)[6]
ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับปอด ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำกิน (ลำต้น)[1] แก้ปอดบวม (ทั้งต้น)[7],[9]
ช่วยแก้อาการท้องร่วง ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำกิน (ลำต้น)[1]
ใช้เป็นยาแก้บิด ด้วยการใช้หญ้าพันงูขาว 50-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำชงกับน้ำผึ้งกิน (ทั้งต้น)[3] ส่วนรากก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้บิดเช่นกัน ตำรับยาก็คือ ให้ใช้รากสด รากขี้ครอก ผักกาดน้ำ และแชกัว นำมาต้มน้ำผสมกับน้ำผึ้งกิน (ราก)[4],[6]
ยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้รากนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง เจ็บท้องน้อย (ราก)[2] ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวดท้อง (ทั้งต้น)[9]
รากนำมาต้มกับน้ำกินแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก (ราก)[2]
ช่วยในการย่อยอาหาร (ทั้งต้น)[4],[9]
ใช้เป็นยาระบาย ด้วยการใช้ลำต้นนำมาต้มกับน้ำกิน (ลำต้น,ทั้งต้น)[1],[9]
ในบางตำราจะใช้หญ้าพันงูขาวนำมาตากแห้งต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้มะเร็งลำไส้ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
ลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา และแก้นิ่ว (ลำต้น,ทั้งต้น)[1],[2],[3],[4] ดอกมีสรรพคุณช่วยละลายก้อนนิ่ว (ดอก)[4] ส่วนรากนำมาต้มเอาแต่น้ำกินจะเป็นยาแก้นิ่ว ขับปัสสาวะได้เช่นกัน (ราก)[1],[9]
แก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ราก)[4],[6]
ช่วยแก้โรคริดสีดวงทวาร (ลำต้น,ทั้งต้น)[1],[4]
ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (ลำต้น)[1] รักษาหนองใน (ทั้งต้น)[7]
ชาวเขาจะใช้ใบหรือทั้งต้น นำมาต้มกับน้ำให้หญิงหลังคลอดกิน และยังช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนได้อีกด้วย (ใบ,ทั้งต้น)[2],[4]
ต้นมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน (ต้น)[4],[9] ช่วยแก้ประจำเดือนไม่มาตามปกติของสตรี (ราก)[4],[6]
ในอินเดียจะใช้หญ้าพันงูเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของสตรี และใช้เป็นยาคุมกำเนิด รวมไปถึงใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[8]
ช่วยแก้ไตอักเสบ บวมน้ำ (ทั้งต้น)[3],[6],[7],[9] ช่วยแก้ท้องมาน บวมน้ำ (ราก)[4],[6],[8]
รากมีสรรพคุณช่วยแก้โรคไตพิการ (ราก)[5]
ช่วยรักษาโรคไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย (ราก)[6]
ใบนำมาขยี้ใช้ทารักษาแผลสด และช่วยห้ามเลือด (ใบ)[8]
ใบใช้พอกแก้อาการอักเสบ ทาแก้โรคผิวหนัง ถูกตะขาบกัด (ใบ)[8]
ใช้รักษาแผลหนองบวมอักเสบ และฝี ด้วยการใช้ทั้งต้นสดนำมากับเหล้า เอาแต่น้ำมากิน ส่วนกากที่เหลือใช้เป็นยาบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[6]
รากใช้ฝนกับน้ำทารักษาฝี (ราก)[2] หรือจะใช้ทั้งต้นนำมาตำพอกรักษาฝีก็ได้เช่นกัน (ทั้งต้น)[2]
ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยแก้พิษฝี (ทั้งต้น)[2]
ช่วยรักษาโรคเรื้อน (ทั้งต้น)[6]
ช่วยแก้แมลงสัตว์กัดต่อย (ดอก)[4]
ช่วยแก้อาการฟกช้ำอันเกิดจากการกระทบกระแทกหรือหกล้ม ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มผสมกับเหล้ากิน หรือจะใช้ทั้งต้นสด และผมคน 1 กระจุก นำมาต้มน้ำใช้ชะล้างบ่อย ๆ (ราก,ทั้งต้น)[3],[6]
รากใช้ฝนกับน้ำทาแก้เล็บเป็นห้อเลือด (ราก)[2]
น้ำคั้นจากทั้งต้นนำมาดื่มหรือใช้ตำพอกแก้อาการปวดกระดูกได้ (ทั้งต้น)[2]
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ไขข้ออักเสบ ปวดเมื่อยจากโรคไขข้ออักเสบ ปวดเอว ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาต้มกินหรืออาจต้มรวมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อเสริมฤทธิ์กันก็ได้ (ทั้งต้น)[3],[4],[8]
รากมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดข้อ โดยใช้รากสดหรือรากแห้ง นำมาต้มกับขาหมูกินกับเหล้าแดงและน้ำอย่างละเท่ากัน (ราก)[4],[6]
ใช้ผสมเข้าตำรับยาแก้ปวดหลัง ด้วยการใช้รากพันงูขาวหรือรากพันงูน้อย รากพันงูแดง และรากเดือยหิน นำมาต้มกับน้ำกิน จะช่วยแก้อาการปวดหลังได้ (ราก)[2]
หมอยาพื้นบ้านที่ปราจีนบุรีจะใช้หญ้าพันงูนำมาต้มเป็นยาบำรุงกำลังร่างกายของหญิงวัยหมดประจำเดือน (ทั้งต้น)[8]
หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [3],[6] ในส่วนของทั้งต้น หากใช้ภายในให้ใช้ต้นสดครั้งละ 35-60 กรัม ส่วนต้นแห้งให้ใช้เพียง 10-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ส่วนการใช้ภายนอกให้นำมาตำพอกหรือต้มเอาน้ำมาชะล้างบริเวณที่เป็น โดยกะปริมาณได้ตามความเหมาะสม[3],[6] การใช้รากเป็นยาตาม [6] หากไม่ได้ระบุวิธีใช้ไว้ให้ใช้รากสดประมาณ 30-60 กรัม ถ้าแห้งใช้เพียง 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน[6] ส่วนการใช้ตาม [9] ให้ใช้ต้นใบ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว ประมาณ 15 นาที ใช้ดื่มเช้าและเย็น[9] หญ้าพันงูขาวมักถูกนำมาใช้ร่วมกับหญ้าพันงูแดง หรือที่เรียกว่า "หญ้าพันงูทั้งสอง"[2]

ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรหญ้าพันงูขาว
สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้[3]
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าพันงูขาว
สารที่พบคือสารจำพวก Flavone เช่นสาร Oleanolic acid, Ecdysterone ส่วนในเมล็ดพบสาร Alkaloid 1%[3] ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งระบุว่าสารสำคัญที่พบ ได้แก่ Saponin, Saponin C, D arginine, Betaine, Histidine, Lysine, Sitostrol, Steric acid, Stimasterol, Tryptophan[9]
สารสกัดจากทั้งต้นของหญ้าพันงูขาวสามารถลดไขมันและระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังไม่พบพิษเฉียบพลัน[2]
สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จากทั้งต้นของหญ้าพันงูขาวมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูใหญ่สีขาวทดลองได้[6]
น้ำสกัดและสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จากรากหญ้าพันงูขาวมีผลในการลดความดันเลือดได้อย่างรวดเร็ว แต่ออกฤทธิ์สั้น และไม่มีผลต่อการหายใจ หากใช้ยานี้มากจะมีฤทธิ์ไปกดการหายใจเล็กน้อย และในรากจะมีสารอัลคาลอยด์ Achy rantine ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิต กดหัวใจ และขายหลอดเลือด ช่วยเพิ่มจังหวะและความแรงของการหายใจของสุนัขที่ทำให้สลบ[6]
เมื่อปี ค.ศ.1992 ที่ประเทศอินเดีย ได้ทำการทดลองโดยให้หนูกินหญ้าพันงูขาวเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ภายหลังการทดลองพบว่า หนูดังกล่าวมีน้ำหนักลดลงและมีค่าคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ลดลง[9]
รากหญ้าพันงูขาวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อที่ทำให้เกิดโรคคอตีบได้[3]
เมื่อนำสารสกัดที่ได้จากหญ้าพันงูขาว มาฉีดข้ากล้ามเนื้อของกระต่ายทดลอง พบว่าสามารถกระตุ้นหัวใจของกระต่ายให้เต้นแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะตอนที่หัวใจกำลังเต้นอ่อนลง จะเห็นผลได้อย่างชัดเจน[3]
เมื่อนำหญ้าพันงูขาวทั้งต้นมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ พบว่ามีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็กและมดลูกที่มีการหดเกร็งได้ด้วย[3]
ในเมล็ดหญ้าพันงูขาวมีสารจำพวก Saponins ที่มีฤทธิ์ทำให้หัวใจที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา กระต่าย และกบ บีบแรงขึ้น และยังมีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อที่หัวนมหดตัวแรงขึ้น นอกจากนี้สารดังกล่าวยังมีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ และสามารถรักษาฤทธิ์ในการลดการขับปัสสาวะของ Adrenaline ในหนูใหญ่สีขาวได้ ส่วนผลในการขับปัสสาวะจะมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มการขับโซเดียมและโพแทสเซียมในการปัสสาวะ เช่นเดียวกับ Acetazolamide[6]
น้ำที่สกัดมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้เล็กที่แยกจากตัวของกระต่ายเกิดการบีบตัวมากขึ้นและแงขึ้น น้ำที่สกัดในนาด 5 มิลลิลิตร เมื่อนำไปให้กระต่ายกิน จะเพิ่มการขับปัสสาวะมากขึ้น ส่วนเถ้าจากทั้งต้นหญ้าพันงูขาว จะมีปริมาณของโพแทสเซียมสูง และมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ[6]
นอกจากนี้หญ้าพันงูยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดน้ำตาลในเลือด ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิตสูง ยับยั้งคอเลสเตอรอลสูงในเลือด ต้านมาลาเรีย ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อรา ต้านแบคทีเรีย ต้านโรคเรื้อน ทำให้แท้ง มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจน ยับยั้งปริมาณของ Oxalate ในปัสสาวะสูงที่กว่าปกติ และยังมีรายการศึกษาในคนที่พบว่าหญ้าพันงูมีแนวโน้มที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหอบหืด[8],[9]
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 22 Jan 20 01:54
คำสำคัญ: ชาสมุนไพร