ค้นหาสินค้า

กระทกรกป่าตากแห้งหรือเมล็ดพันธุ์

ร้าน เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย
กระทกรกป่าตากแห้งหรือเมล็ดพันธุ์
กระทกรกป่าตากแห้งหรือเมล็ดพันธุ์
ชื่อสินค้า:

กระทกรกป่าตากแห้งหรือเมล็ดพันธุ์

รหัส:
326185
ราคา:
1.00 บาท
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 9 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
สมุนไพรกระทกรกป่าตากแห้งครึ่งโล200 ขายเมล็ดพันธุ์กระทกรกป่า เมล็ดละ1บาทสนใจโทร0876069955 ไอดีไลน์ aungsara09. สรรพคุณของกะทกรก
เปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง (เปลือก)
เนื้อไม้ใช้เป็นยาควบคุมธาตุในร่างกาย (เนื้อไม้)ส่วนเถาใช้เป็นยาธาตุ (เถา)
รากสดหรือรากตากแห้งใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา จะช่วยทำให้สดชื่น (ราก)
ผลดิบมีรสเมาเบื่อ ส่วนผลสุกมีรสหวานเย็น ช่วยบำรุงปอด (ผล)
ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงหัวใจ (ทั้งต้น)
ช่วยถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิด (เนื้อไม้)
ช่วยแก้ความดันโลหิตสูง (ราก)
แพทย์ชาวเวียดนามใช้ใบเป็นสงบระงับ ระงับความเครียดและความวิตกกังวล ด้วยการใช้ใบแห้งประมาณ 10-15 กรัม (ต่อวัน) นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)
ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการใช้ใบนำมาตำใช้พอกหรือประคบที่ศีรษะ (ใบ)
รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้จับสั่น (ราก)

ใบใช้ตำพอกศีรษะ ช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูก (ใบ)
ช่วยแก้อาการไอ (ใบ, ดอก, ต้น, ทั้งต้น)
ช่วยขับเสมหะ (ใบ, ต้น, ทั้งต้น)
เมล็ดใช้แก้เด็กที่มีอาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยทำให้ผายลม ด้วยการนำเมล็ดมาตำให้ละเอียด ใช้ผสมกับน้ำส้มและรมควันให้อุ่น แล้วเอาไปทาท้องเด็ก (เมล็ด)
ใบนำมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาเบื่อและยาขับพยาธิ (ใบ)
ดอก ใบ และทั้งต้นมีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก, ต้น, ทั้งต้น)
เถาและรากสดใช้ต้มเป็นยาแก้ปัสสาวะขุ่นข้น (ราก)
ช่วยแก้กามโรค (ราก)
ช่วยรักษาบาดแผล (เนื้อไม้, ใบ, ผล และเถาใช้เป็นยาพอกรักษาแผล (เถา)
ใบใช้ตำพอกฆ่าเชื้อบาดแผล (ใบ)
เปลือกใช้ตำเคี่ยวกับน้ำมะพร้าว ช่วยแก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก (เปลือก)
เปลือกช่วยทำให้แผลเน่าเปื่อยแห้ง (เปลือก)
ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำพอสมควร นำมาทาวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อใช้รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการคัน แก้หิด แก้หืด (ใบ)
ช่วยแก้อาการปวด (ผล)
ช่วยแก้อาการบวม (ใบ, ต้น, ทั้งต้น) แก้อาการบวมที่ไม่รู้สาเหตุ (ทั้งต้น)
ช่วยแก้อาการเหน็บชา โดยนำมาสับตากแดด แล้วนำมาต้มกิน (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ใบนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำใช้พอกรักษาสิว (ใบ)
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกะทกรก
ผลอ่อนและใบอ่อนมีสารประกอบไซยาไนต์คือ ไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ ส่วนอีกรายพบว่าใบกะทกรกมีกรดไฮโดรไซยานิก ซึ่งเป็นสารพิษ แต่พิษจะสลายไปเมื่อถูกความร้อนที่นานพอ และในงานวิจัยยังใช้ส่วนของลำต้นและใบ เพื่อนำมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมี โดยสกัดด้วยวิธีการสกัดต่อเรื่องด้วยเครื่องสกัดต่อเนื่อง ด้วยเอทานอล 95% จะได้ปริมาณสารสกัดเท่ากับ 23.37% โดยน้ำหนัก ซึ่งสารสกัดที่ได้จะเป็นของเหลวที่มีลักษณะข้นหนืด เป็นสีน้ำตาล และมีกลิ่นเฉพาะตัว
เมื่อให้สารสกัดกะทกรกทางปากในสัตว์ทดลองซึ่งเป็นหนูตัวผู้พันธุ์วิสตาร์ที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในช่วง 180-220 กรัม เป็นระยะเวลา 28 วัน พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอย่างกว้างขวาง มีฤทธิ์ทำให้สงบระงับได้ สามารถช่วยระงับความวิตกกังวล ช่วยลดอาการซึมเศร้า ลดอาการความจำบกพร่อง และยังช่วยเพิ่มความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส นอกจากนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาเป็นสารสกัดกะทกรกด้วยเอทานอลในรูปแบบของยาเม็ดขนาด 125 มิลลิกรัมต่อเม็ด ซึ่งจะได้เป็นยาเม็ดที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของการผลิตเป็นยาสมุนไพรที่เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ และยังมีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพดี มีความคงตัวสูง
ประโยชน์ของกะทกรก
ยอดอ่อน ผลอ่อน ผลสุก ผลแก่ รวมทั้งรกหุ้ม สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และแกงเลียง ผลสามารถนำมาปั่นเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มได้
ในด้านทางการเกษตร เนื่องจากต้นกะทกรกมีสารพิษชื่อว่า Cyanpgenetic glycosides ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นยาฆ่าและป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ โดยเฉพาะตัวด้วงถั่วเขียว ซึ่งสารพิษดังกล่าวจะไปยับยั้งการเกิดเป็นตัว
ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักได้ เนื่องจากต้นกะทกรกมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลายได้
ข้อควรระวังในการรับประทานกะทกรก
ทั้งต้นสดมีรสเบื่อเมาและเป็นพิษ หากนำมากินอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่พิษจะสลายไปเมื่อถูกความร้อน ดังนั้นจึงต้องนำไปต้มให้สุกก่อนนำมาใช้[1]
ผลอ่อนมีพิษ เนื่องจากมีสารไซยาโนจีนิก ไกลโคไซด์ (Cyanogenetic glucoside) เปลือกผล เมล็ด และใบมีสารที่ไม่คงตัว เมื่อสารดังกล่าวสลายตัวจะทำให้ Acetone และ Hydrocyanic acid (สารชนิดหลังเป็นพิษ) ทำให้เม็ดเลือดแดงขาดออกซิเจน ทำให้เกิดอาการอาเจียน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 19 Jan 20 08:24
คำสำคัญ: ชาสมุนไพร