ชื่อสินค้า:
ต้นคนทา
รหัส:
312225
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ร้านวรากรสมุนไพร ขายต้นสมุนไพร ว่านมงคลและพันธุ์ไม้ไทยหายากทุกชนิด
ชื่อต้นไม้หรือสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ คนทา
ประเภท สมุนไพร ไม้หายาก สมุนไพรในตำรับยา 5 ราก
ราคา ต้นละ 200 บาท
ติดต่อสอบถามร้านวรากรสมุนไพร
โทร 0616499298
ไอดีไลน์ herbsddd
https://line.me/ti/p/9zQwrzbtSh
คนทา
ชื่ออื่น กะลันทา โกทา ขี้ตำตา จี้ สีเตาะ สีฟัน สีฟันคนตาย สีฟันคนทา หนามจี้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Harrisonia perforata (Blanco) Merr.
ชื่อวงศ์ Simaroubaceae
คนทาเป็นไม้พุ่มแกมเถา พบขึ้นทั่วไปตามที่โล่งในป่าผลัดใบ ป่าละเมาะและป่าเขาหินปูน ตั้งแต่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับสูงกว่าน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๙๐๐ เมตร ตามเถาและกิ่งก้านมักจะมีหนามแข็งอยู่ เมื่อใบยังอ่อนจะมีสีแดง ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับกันแบบขนนก ก้านและแกนใบจะแผ่ออกเป็นปีกแคบๆ มีใบย่อย ๑-๑๕ ใบ เป็นใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง ๑-๑.๕ ซม. ยาว ๒-๒.๕ ซม. ขอบใบย่อยมีหยักห่างๆ ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ ๔-๕ กลีบ เป็นรูปขอบขนาน กลีบดอกที่อยู่ด้านนอกจะมีสีม่วงแดง ด้านในเป็นสีขาวนวล ผลค่อนข้างกลม มีผิวด้านนอกคล้ายแผ่นหนัง เมล็ดมีลักษณะแข็ง ขนาด ๑-๒ ซม.
ใบ ผล และรากของคนทาจะมีรสขม
สรรพคุณ
เปลือกและรากมาต้มน้ำกินแก้ท้องเสีย แก้บิด เป็นยาลดความร้อนในร่างกาย ใช้กระทุ้งพิษไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
ในเปลือกรากของคนทามีสารที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ เช่น perforatic acid, perforatin A, perforatin เป็นต้น
ตำรายาไทย ราก รสขมเฝื่อนฝาดเย็น แก้ท้องร่วง บิด ลดความร้อนในร่างกาย กระทุ้งพิษไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัวลมทุกชนิด แก้ไข้เส้น ไข้เหนือและไข้พิษ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นส่วนประกอบในยาแก้ไข้เบญจโลกวิเชียร รากอ่อนและต้น แก้ท้องร่วง แก้บิด
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้คนทาในตำรับ “ยาห้าราก” มีส่วนประกอบของรากคนทาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้
ยาห้าราก ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของตำรับยาเดียวกัน ยาห้ารากเป็นตำรับยาแผนโบราณของไทยที่มีการใช้กันมานานแล้ว โดยมีสรรพคุณในการใช้แก้ไข้ กระทุ้งพิษ หรือถอนพิษต่างๆ ตำรับยาจะประกอบด้วยรากสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ คนทา (Harrisonia perforata (Blanco) Merr.) ชิงชี่ (Capparis micracantha DC.) เท้ายายม่อม (Clerodendrum indicum (L.) Kuntze) มะเดื่อชุมพร (Ficus racemosa L.) และย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) ในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ประโยชน์
ในสมัยโบราณ มักจะใช้กิ่งไม้คนทาขนาดโตเท่านิ้วก้อยปอกเปลือกออกให้เห็นเนื้อขาว ด้านหนึ่งเหลาให้แหลม แล้วจักตอนปลายอีกด้านหนึ่ง ยีเนื้อไม้ส่วนปลายให้อ่อน เพื่อใช้เป็นไม้สีฟันกับไม้จิ้มฟันถวายพระภิกษุสงฆ์เมื่อมีการถวายพุ่มเทียนพรรษา ซึ่งมักเรียกกันว่า “ไม้สีฟันคนทา” หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า “ไม้โกทา”
ไม้ก้านห้า คือ ไม้สำหรับร้อยไพรห้า ลำต้นโกทา ตรง แข็งแรง มอดไม่เจาะ และมีหนามตะปุ่มตะป่ำ ถากหนามออกบ้างเมื่อเอาไพรห้ามาร้อยใส่จะไม่หลุดไหลลื่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีเมื่อต้องการทำไพรห้าสำหรับมุงหลังคาบ้าน หรือเถียงนา (ขนำน้อยกลางนา)
ปัจจุบันนิยมใช้ไม้ไผ่แทน เนื่องจากหาง่ายกว่า แต่ทนทานไม่เท่าไม้โกทา
สีฟันคนทา หรือสีฟัน หรือคนทา เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดที่นำมาใช้ปรุงยาสีฟัน คนสมัยก่อนเขาใช้กิ่งคนทาแปรงฟัน จึงมักเรียกสีฟันคนทา เช่นเดียวกับข่อย ส่วนของกิ่งก้านจะมีรสขมเฝื่อน ช่วยรักษาฟันให้แข็งแรง
แปรงสีฟันสมุนไพร พระสายป่าทำขึ้นใช้เองไม่ต้องพึ่งแปรงสีฟันทันสมัยที่วางขายในท้องตลาด เผยเป็นภูมิปัญญาของพระป่าสายหลวงปู่มั่นที่ใช้กันมานาน ป้องกันกลิ่นปาก รักษารากฟัน และขับเสมหะ เพราะในเนื้อไม้เป็นยาสมุนไพรอย่างดี
ที่วัดป่าทองบาง พุฒาราม ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี ได้มีพระสงฆ์ที่ผลิตแปรงสีฟันใช้เองโดยไม่ต้องพึ่งแปรงสีฟันที่วางขายในท้องตลาด แปรงสีฟันแบบนี้เรียกว่าแปรงสีฟันสมุนไพร เป็นการถ่ายทอดสืบกันมาตามภูมิปัญญาโบราณในพระสายป่าของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก อันดับแรกต้องไปหาต้นไม้คนทาให้ได้ก่อน จากนั้นก็นำลำต้นหรือรากมาตัดให้ได้ขนาด 20 เซนติเมตร แล้วก็ใช้ก้อนหินหรือของแข็งทุบปลายด้านหนึ่งให้เป็นฝอย
จากนั้นก็เหลาให้เรียว ปลายอีกด้านหนึ่งทำให้แหลม แล้วก็นำกระดาษมาขัดให้ผิวเรียบเป็นอันว่าเสร็จ แต่ละวันสามารถทำได้วันละ 2-3 อัน โดยส่วนใหญ่แปรงสีฟันสมุนไพรนี้จะนำไปถวายพระเถระชั้นผู้ใหญ่
สำหรับแปรงสีฟันดังกล่าว หากนำไปใช้แล้วจะมีรสชาติขมเหมือนยา ซึ่งรสขมนี้จะช่วยระงับกลิ่นปาก รักษารากฟัน และขับเสมหะไปในตัวด้วย เพราะในเนื้อไม้ถือว่าเป็นยาสมุนไพรอย่างดี
แปรงสีฟันแบบนี้มีแต่พระสายป่ากรรมฐานทำขึ้นมาใช้ ส่วนแปรงสีฟันสมุนไพรใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง หากนำไปล้างน้ำหรือทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้อีกจะเป็นการผิดวินัยของสงฆ์ได้
องค์ประกอบทางเคมี:
นำรากของต้นคนทามาสกัดด้วยเมทานอล แล้วนำมาสกัดต่อด้วยเฮกเซน และคลอโรฟอร์ม นำสิ่งสกัดในแต่ละส่วนมาทำการแยกโดยวิธีคอลัมน์โครมาโทรกราฟี และควิกคอลัมน์โครมาโทรกราฟี สามารถแยกสารได้ 4 ชนิด คือ heteropeucenin-7-methyl ether, perforaticacid, ของผสมสเตอรอยด์พวก beta-sitosterol, stigmasterol, campesterol และของผสมของ beta–sitosteryl-3-Oglucopyranoside,stigmasteryl-3-O-glucopyranoside, chloresteryl-3-O-glucopyranoside นอกจากนี้ยังได้รายงานการวิเคราะห์สิ่งสกัดในชั้นนํ้า พบพวกเกลือคลอไรด์, นํ้าตาล และกรดแอมิโน (ผกามาศ, 2533)
การแยกและหาสูตรโครงสร้างของสารประกอบจากรากคนทา พบ 2-hydroxymethyl-3-methylalloptaeroxylin และสารประกอบอื่น ๆ อีกแปดชนิด คือ heteropeucenin-7-methylether, perforarotic acid,lupeol, คูมารินที่ไม่มีหมู่แทนที่ 5-hydroxy-6,7-dimethoxycoumarin, ของผสมของแอลกอฮอล์โซ่ตรง (C31-C35), ของผสมสเตียรอยด์ (betasitosterol,campesterol และ stigmasterol) และของผสมของสเตียรอยด์กลัยโคไซด์ (beta-sitosteryl-3-O-glucopyranoside,chloresteryl-3-O-glucopyranoside, stigmasteryl-3-O-glucopyranoside) (มนิดา, 2535)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลจากรากคนทา แบ่งเป็นการทดสอบในสัตว์ทดลองและทดสอบในหลอดทดลอง การศึกษาในสัตว์ทดลอง ทำการศึกษาฤทธิ์ลดการบวมเฉียบพลันที่อุ้งเท้าหนูขาว หลังจากฉีด carrageenan ที่เวลา 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ชั่วโมง โดยใช้หนูเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์ ให้สารสกัดคนทาในขนาด 5-400 mg/kg เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน indomethacin 5 mg/kg การทดสอบในหลอดทดลอง ดูผลการแสดงออกของ mRNA expression ของสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ได้แก่ TNF- , IL-6 และ IL-1 ศึกษาในเซลล์แมคโครฟาจ J774A.1 ของหนู ที่ถูกเหนี่ยวนำการอักเสบด้วย Lipopolysaccharide (LPS) โดยให้สารสกัดจากรากคนทาในขนาด12.5-50 g/ml วิเคราะห์ผลด้วยเครื่อง real-time RT-PCR ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดขนาด 50, 100,200 และ 400 mg/kg สามารถลดการอักเสบได้ที่เวลา 2 ชม. หลังฉีดคาราจีแนน โดยลดการบวมที่อุ้งเท้าหนูได้ 28.49, 31.18, 47.85 และ 65.05% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Indomethacin ขนาด 5 mg/kg ลดการบวมได้ 37.10% และผลลดการแสดงออกของ mRNA ของสารในกระบวนการอักเสบ หรือ proinflammatory cytokines พบว่าสารสกัดขนาด 50 g/ml สามารถยับยั้ง TNF- และ IL-1 ได้เท่ากับ 49.833.77 และ 47.273.77% ตามลำดับ แต่การยับยั้ง IL-6 จะใช้สารสกัดขนาด 12.5 และ 25 g/mlยับยั้งได้ 43.935.65% เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน dexamethasone ขนาด 10 M ยับยั้ง TNF-, IL-1 และ IL-6 mRNA expression ได้เท่ากับ 30.064.09%, 77.962.09% และ 89.440.54% ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากรากคนทามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยลดการแสดงออกของไซโตคายน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ (Somsil, et al., 2012)
สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากผลและรากคนทา คือ harperfolide ออกฤทธิ์แรงในการต้านการอักเสบในหลอดทดลอง โดยยับยั้งการสร้าง nitric oxide (NO) เมื่อทดสอบโดยใช้เซลล์แมคโครฟาจของหนูที่ถูกกระตุ้นการอักเสบด้วย LPS โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.512.10 M โดยมีผลลดการแสดงออกของ iNOS protein ที่ทำหน้าที่สร้างสารในกระบวนการอักเสบ คือไนตริกออกไซด์ โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน indomethacin ค่า IC50 เท่ากับ 28.423.51 M (Choodej, et al., 2013)
สารสกัดรากคนทาด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง nitric oxide (NO) ในหลอดทดลอง ทำการทดสอบโดยใช้ LPS กระตุ้นให้เกิดการอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจของหนู โดยสารสกัดขนาด 50 g/ml ยับยั้งการสร้าง NO โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 23.14 g/ml ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน dexamethasone ผลการทดสอบสารสกัดจากรากคนทาในการลดการแสดงออกของ mRNA ของเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) ซึ่ง COX-2 เป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้าง prostaglandin ในกระบวนการอักเสบ พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 g/ml ลดการแสดงออกของ COX-2 ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน dexamethasone (10 M) และสารสกัดที่ความเข้มข้น 25 และ 50 g/ml ลดการแสดงออกของ iNOS ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน dexamethasone (10 M) โดยสรุปสารสกัดรากคนทาด้วยเอทานอลมีผลลดการอักเสบ และลดไข้ได้ เนื่องจากสามารถยับยั้ง iNOS และ COX-2 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดไข้ ได้แก่ NO และ PGE2 ตามลำดับ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:32
ชื่อต้นไม้หรือสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์ คนทา
ประเภท สมุนไพร ไม้หายาก สมุนไพรในตำรับยา 5 ราก
ราคา ต้นละ 200 บาท
ติดต่อสอบถามร้านวรากรสมุนไพร
โทร 0616499298
ไอดีไลน์ herbsddd
https://line.me/ti/p/9zQwrzbtSh
คนทา
ชื่ออื่น กะลันทา โกทา ขี้ตำตา จี้ สีเตาะ สีฟัน สีฟันคนตาย สีฟันคนทา หนามจี้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Harrisonia perforata (Blanco) Merr.
ชื่อวงศ์ Simaroubaceae
คนทาเป็นไม้พุ่มแกมเถา พบขึ้นทั่วไปตามที่โล่งในป่าผลัดใบ ป่าละเมาะและป่าเขาหินปูน ตั้งแต่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับสูงกว่าน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๙๐๐ เมตร ตามเถาและกิ่งก้านมักจะมีหนามแข็งอยู่ เมื่อใบยังอ่อนจะมีสีแดง ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับกันแบบขนนก ก้านและแกนใบจะแผ่ออกเป็นปีกแคบๆ มีใบย่อย ๑-๑๕ ใบ เป็นใบรูปไข่หรือรูปรี กว้าง ๑-๑.๕ ซม. ยาว ๒-๒.๕ ซม. ขอบใบย่อยมีหยักห่างๆ ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ ๔-๕ กลีบ เป็นรูปขอบขนาน กลีบดอกที่อยู่ด้านนอกจะมีสีม่วงแดง ด้านในเป็นสีขาวนวล ผลค่อนข้างกลม มีผิวด้านนอกคล้ายแผ่นหนัง เมล็ดมีลักษณะแข็ง ขนาด ๑-๒ ซม.
ใบ ผล และรากของคนทาจะมีรสขม
สรรพคุณ
เปลือกและรากมาต้มน้ำกินแก้ท้องเสีย แก้บิด เป็นยาลดความร้อนในร่างกาย ใช้กระทุ้งพิษไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ
ในเปลือกรากของคนทามีสารที่เป็นองค์ประกอบทางเคมีอยู่หลายชนิด ที่สำคัญ เช่น perforatic acid, perforatin A, perforatin เป็นต้น
ตำรายาไทย ราก รสขมเฝื่อนฝาดเย็น แก้ท้องร่วง บิด ลดความร้อนในร่างกาย กระทุ้งพิษไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัวลมทุกชนิด แก้ไข้เส้น ไข้เหนือและไข้พิษ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นส่วนประกอบในยาแก้ไข้เบญจโลกวิเชียร รากอ่อนและต้น แก้ท้องร่วง แก้บิด
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้คนทาในตำรับ “ยาห้าราก” มีส่วนประกอบของรากคนทาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการไข้
ยาห้าราก ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของตำรับยาเดียวกัน ยาห้ารากเป็นตำรับยาแผนโบราณของไทยที่มีการใช้กันมานานแล้ว โดยมีสรรพคุณในการใช้แก้ไข้ กระทุ้งพิษ หรือถอนพิษต่างๆ ตำรับยาจะประกอบด้วยรากสมุนไพร 5 ชนิด ได้แก่ คนทา (Harrisonia perforata (Blanco) Merr.) ชิงชี่ (Capparis micracantha DC.) เท้ายายม่อม (Clerodendrum indicum (L.) Kuntze) มะเดื่อชุมพร (Ficus racemosa L.) และย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels) ในอัตราส่วนที่เท่ากัน
ประโยชน์
ในสมัยโบราณ มักจะใช้กิ่งไม้คนทาขนาดโตเท่านิ้วก้อยปอกเปลือกออกให้เห็นเนื้อขาว ด้านหนึ่งเหลาให้แหลม แล้วจักตอนปลายอีกด้านหนึ่ง ยีเนื้อไม้ส่วนปลายให้อ่อน เพื่อใช้เป็นไม้สีฟันกับไม้จิ้มฟันถวายพระภิกษุสงฆ์เมื่อมีการถวายพุ่มเทียนพรรษา ซึ่งมักเรียกกันว่า “ไม้สีฟันคนทา” หรือที่ชาวอีสานเรียกกันว่า “ไม้โกทา”
ไม้ก้านห้า คือ ไม้สำหรับร้อยไพรห้า ลำต้นโกทา ตรง แข็งแรง มอดไม่เจาะ และมีหนามตะปุ่มตะป่ำ ถากหนามออกบ้างเมื่อเอาไพรห้ามาร้อยใส่จะไม่หลุดไหลลื่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีเมื่อต้องการทำไพรห้าสำหรับมุงหลังคาบ้าน หรือเถียงนา (ขนำน้อยกลางนา)
ปัจจุบันนิยมใช้ไม้ไผ่แทน เนื่องจากหาง่ายกว่า แต่ทนทานไม่เท่าไม้โกทา
สีฟันคนทา หรือสีฟัน หรือคนทา เป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดที่นำมาใช้ปรุงยาสีฟัน คนสมัยก่อนเขาใช้กิ่งคนทาแปรงฟัน จึงมักเรียกสีฟันคนทา เช่นเดียวกับข่อย ส่วนของกิ่งก้านจะมีรสขมเฝื่อน ช่วยรักษาฟันให้แข็งแรง
แปรงสีฟันสมุนไพร พระสายป่าทำขึ้นใช้เองไม่ต้องพึ่งแปรงสีฟันทันสมัยที่วางขายในท้องตลาด เผยเป็นภูมิปัญญาของพระป่าสายหลวงปู่มั่นที่ใช้กันมานาน ป้องกันกลิ่นปาก รักษารากฟัน และขับเสมหะ เพราะในเนื้อไม้เป็นยาสมุนไพรอย่างดี
ที่วัดป่าทองบาง พุฒาราม ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี ได้มีพระสงฆ์ที่ผลิตแปรงสีฟันใช้เองโดยไม่ต้องพึ่งแปรงสีฟันที่วางขายในท้องตลาด แปรงสีฟันแบบนี้เรียกว่าแปรงสีฟันสมุนไพร เป็นการถ่ายทอดสืบกันมาตามภูมิปัญญาโบราณในพระสายป่าของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ขั้นตอนการทำก็ไม่ยุ่งยาก อันดับแรกต้องไปหาต้นไม้คนทาให้ได้ก่อน จากนั้นก็นำลำต้นหรือรากมาตัดให้ได้ขนาด 20 เซนติเมตร แล้วก็ใช้ก้อนหินหรือของแข็งทุบปลายด้านหนึ่งให้เป็นฝอย
จากนั้นก็เหลาให้เรียว ปลายอีกด้านหนึ่งทำให้แหลม แล้วก็นำกระดาษมาขัดให้ผิวเรียบเป็นอันว่าเสร็จ แต่ละวันสามารถทำได้วันละ 2-3 อัน โดยส่วนใหญ่แปรงสีฟันสมุนไพรนี้จะนำไปถวายพระเถระชั้นผู้ใหญ่
สำหรับแปรงสีฟันดังกล่าว หากนำไปใช้แล้วจะมีรสชาติขมเหมือนยา ซึ่งรสขมนี้จะช่วยระงับกลิ่นปาก รักษารากฟัน และขับเสมหะไปในตัวด้วย เพราะในเนื้อไม้ถือว่าเป็นยาสมุนไพรอย่างดี
แปรงสีฟันแบบนี้มีแต่พระสายป่ากรรมฐานทำขึ้นมาใช้ ส่วนแปรงสีฟันสมุนไพรใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง หากนำไปล้างน้ำหรือทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้อีกจะเป็นการผิดวินัยของสงฆ์ได้
องค์ประกอบทางเคมี:
นำรากของต้นคนทามาสกัดด้วยเมทานอล แล้วนำมาสกัดต่อด้วยเฮกเซน และคลอโรฟอร์ม นำสิ่งสกัดในแต่ละส่วนมาทำการแยกโดยวิธีคอลัมน์โครมาโทรกราฟี และควิกคอลัมน์โครมาโทรกราฟี สามารถแยกสารได้ 4 ชนิด คือ heteropeucenin-7-methyl ether, perforaticacid, ของผสมสเตอรอยด์พวก beta-sitosterol, stigmasterol, campesterol และของผสมของ beta–sitosteryl-3-Oglucopyranoside,stigmasteryl-3-O-glucopyranoside, chloresteryl-3-O-glucopyranoside นอกจากนี้ยังได้รายงานการวิเคราะห์สิ่งสกัดในชั้นนํ้า พบพวกเกลือคลอไรด์, นํ้าตาล และกรดแอมิโน (ผกามาศ, 2533)
การแยกและหาสูตรโครงสร้างของสารประกอบจากรากคนทา พบ 2-hydroxymethyl-3-methylalloptaeroxylin และสารประกอบอื่น ๆ อีกแปดชนิด คือ heteropeucenin-7-methylether, perforarotic acid,lupeol, คูมารินที่ไม่มีหมู่แทนที่ 5-hydroxy-6,7-dimethoxycoumarin, ของผสมของแอลกอฮอล์โซ่ตรง (C31-C35), ของผสมสเตียรอยด์ (betasitosterol,campesterol และ stigmasterol) และของผสมของสเตียรอยด์กลัยโคไซด์ (beta-sitosteryl-3-O-glucopyranoside,chloresteryl-3-O-glucopyranoside, stigmasteryl-3-O-glucopyranoside) (มนิดา, 2535)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ต้านการอักเสบ
ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลจากรากคนทา แบ่งเป็นการทดสอบในสัตว์ทดลองและทดสอบในหลอดทดลอง การศึกษาในสัตว์ทดลอง ทำการศึกษาฤทธิ์ลดการบวมเฉียบพลันที่อุ้งเท้าหนูขาว หลังจากฉีด carrageenan ที่เวลา 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ชั่วโมง โดยใช้หนูเพศผู้สายพันธุ์วิสตาร์ ให้สารสกัดคนทาในขนาด 5-400 mg/kg เปรียบเทียบกับยามาตรฐาน indomethacin 5 mg/kg การทดสอบในหลอดทดลอง ดูผลการแสดงออกของ mRNA expression ของสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ ได้แก่ TNF- , IL-6 และ IL-1 ศึกษาในเซลล์แมคโครฟาจ J774A.1 ของหนู ที่ถูกเหนี่ยวนำการอักเสบด้วย Lipopolysaccharide (LPS) โดยให้สารสกัดจากรากคนทาในขนาด12.5-50 g/ml วิเคราะห์ผลด้วยเครื่อง real-time RT-PCR ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดขนาด 50, 100,200 และ 400 mg/kg สามารถลดการอักเสบได้ที่เวลา 2 ชม. หลังฉีดคาราจีแนน โดยลดการบวมที่อุ้งเท้าหนูได้ 28.49, 31.18, 47.85 และ 65.05% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน Indomethacin ขนาด 5 mg/kg ลดการบวมได้ 37.10% และผลลดการแสดงออกของ mRNA ของสารในกระบวนการอักเสบ หรือ proinflammatory cytokines พบว่าสารสกัดขนาด 50 g/ml สามารถยับยั้ง TNF- และ IL-1 ได้เท่ากับ 49.833.77 และ 47.273.77% ตามลำดับ แต่การยับยั้ง IL-6 จะใช้สารสกัดขนาด 12.5 และ 25 g/mlยับยั้งได้ 43.935.65% เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน dexamethasone ขนาด 10 M ยับยั้ง TNF-, IL-1 และ IL-6 mRNA expression ได้เท่ากับ 30.064.09%, 77.962.09% และ 89.440.54% ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่าสารสกัดเอทานอลจากรากคนทามีฤทธิ์ต้านการอักเสบ โดยลดการแสดงออกของไซโตคายน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ (Somsil, et al., 2012)
สารบริสุทธิ์ที่แยกได้จากผลและรากคนทา คือ harperfolide ออกฤทธิ์แรงในการต้านการอักเสบในหลอดทดลอง โดยยับยั้งการสร้าง nitric oxide (NO) เมื่อทดสอบโดยใช้เซลล์แมคโครฟาจของหนูที่ถูกกระตุ้นการอักเสบด้วย LPS โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 6.512.10 M โดยมีผลลดการแสดงออกของ iNOS protein ที่ทำหน้าที่สร้างสารในกระบวนการอักเสบ คือไนตริกออกไซด์ โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน indomethacin ค่า IC50 เท่ากับ 28.423.51 M (Choodej, et al., 2013)
สารสกัดรากคนทาด้วยเอทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง nitric oxide (NO) ในหลอดทดลอง ทำการทดสอบโดยใช้ LPS กระตุ้นให้เกิดการอักเสบในเซลล์แมคโครฟาจของหนู โดยสารสกัดขนาด 50 g/ml ยับยั้งการสร้าง NO โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 23.14 g/ml ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน dexamethasone ผลการทดสอบสารสกัดจากรากคนทาในการลดการแสดงออกของ mRNA ของเอนไซม์ cyclooxygenase-2 (COX-2) ซึ่ง COX-2 เป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้าง prostaglandin ในกระบวนการอักเสบ พบว่าสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 g/ml ลดการแสดงออกของ COX-2 ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน dexamethasone (10 M) และสารสกัดที่ความเข้มข้น 25 และ 50 g/ml ลดการแสดงออกของ iNOS ได้ดีกว่าสารมาตรฐาน dexamethasone (10 M) โดยสรุปสารสกัดรากคนทาด้วยเอทานอลมีผลลดการอักเสบ และลดไข้ได้ เนื่องจากสามารถยับยั้ง iNOS และ COX-2 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ในการสร้างสารที่ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดไข้ ได้แก่ NO และ PGE2 ตามลำดับ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:32
คำสำคัญ:
คนทา
ต้นสมุนไพร