ชื่อสินค้า:
ย่านางแดง
รหัส:
310243
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นย่านางแดง หรือ เถาขยัน
ย่านางแดง
ชื่ออื่น สยาน (ตาก ลำปาง) หญ้านางแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เครือขยัน (เหนือ) เถาขยัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia strychnifolia Craib.
ชื่อวงศ์ Leguminosae (Fabaceae)-Caesalpinioideae
ลักษณะ
ไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ 3-5 เส้น ปลายเส้นใบโค้งจรดกัน ก้านใบยาว 2-3.5 เซนติเมตร หูใบรูปเคียว ร่วงง่าย ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง รูปทรงกระบอกแคบ โค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลง ยาว 15-100 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีแดงสด มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร มีขนสีขาวปกคลุม ปลายกลีบดอกแหลมมน ฐานรองดอกรูประฆัง เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านเกสรสีแดง ยื่นพ้นกลีบดอก เกสรเพศผู้เป็นหมัน 7 อัน ยาวไม่เท่ากัน รังไข่ยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร มีขนสั้นปกคลุม ก้านสั้น ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยอดเกสรเพศเมียไม่ชัดเจนใบประดับรูปลิ่ม ติดทน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง 5 กลีบ รูปถ้วย ยาว 0.5-1 เซนติเมตร มีขนสั้นปกคลุม สีชมพูอ่อนหรือสีแดง ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนฝักเป็นรูปหอก สีเขียวอ่อน เปลือกแข็ง เมื่อแก่แตกอ้า ยาว 15-16 เซนติเมตร เมล็ด 8-9 เมล็ด รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร พบตามป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง และที่โล่งแจ้ง ออกดอกช่วงเดือน พฤษภาคม ถึงสิงหาคม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอุบลราชธานี ใช้ ราก แก้ไข้ แก้พิษเบื่อเมา
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ลำต้น หรือราก เข้ายาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
ตำรายาไทย ใช้ ใบ เถา และราก ใช้แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูกไม่ถ่าย ใช้ฝนกับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มน้ำดื่ม สรรพคุณเหมือนย่านางขาวทุกประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า
หมอยาพื้นบ้านและชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันดีในสรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ปวดหลังปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย จนมีอีกชื่อหนึ่งว่า เถาขยัน คือ กินแล้วทำงานได้ทนนานไม่ปวดเมื่อย แถมเป็นสมุนไพรแก้พิษ พิษเบื่อเมา พิษเหล้า ยาสั่ง ยาสำแดง คล้ายกับย่านางและรางจืด สำหรับผู้หญิงใช้เข้ายาบำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังคลอดขณะอยู่ไฟ ไข้ทับระดู เนื่องจากมีสรรพคุณเป็นยาเย็น
นอกจากใช้ในทางยาแล้ว ยอดอ่อนของย่านางแดงกินเป็นผักได้ มีรสชาติออกหวานและขมนิดๆ นำมากินกับแจ่วปู แจ่วกุ้ง แจ่วปลา ลาบหวาย ลาบเนื้อก็อร่อยดี ส่วนใหญ่กินยอดกันสดๆ ไม่ต้องนึ่งต้มหรือลวก ส่วนทางสามจังหวัดภาคใต้นั้น กินทั้งสดและลวกจิ้มน้ำพริก แล้วยังนำมาทำแกงจืด แกงเลียง แกงกะทิ
จากงานศึกษาวิจัยที่พบว่า สมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลายประการ ได้แก่ มีฤทธิ์แก้พิษจากสารเคมีได้เช่นเดียวกับรางจืด สารสกัดใบย่านางแดงมีปริมาณสารกลุ่มฟีนอลสูง ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดี จึงเป็นสิ่งที่สนับสนุนการใช้ใบย่านางแดงเพื่อการล้างพิษในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดอนุมูลอิสระ ย่านางแดงยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกได้ดี แต่ไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบได้ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านเชื้อเอชไอวี และฤทธิ์ต้านภูมิแพ้
ประโยชน์
-เป็นไม้ประดับสวยงาม ใบมันสวย ดอกเป็นช่อสีแดงออกดอกตลอดปี
-รากต้นขยันคนสมัยก่อนนำมากินกับหมาก วิธีการกินก็คือนำต้นและรากมาตำแล้วนำไปตากแดดก็จะได้รากขยันเป็นฝอย ๆ ลักษณะคล้าย ๆ กับเส้นยาสูบ
-ทำเป็นชารักษาอาการกรดไหลย้อน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:31
ย่านางแดง
ชื่ออื่น สยาน (ตาก ลำปาง) หญ้านางแดง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) เครือขยัน (เหนือ) เถาขยัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bauhinia strychnifolia Craib.
ชื่อวงศ์ Leguminosae (Fabaceae)-Caesalpinioideae
ลักษณะ
ไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ ใบดกหนาทึบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม ปลายใบเว้าตื้น กึ่งเรียวแหลมถึงมีติ่งหนาม โคนใบกลมถึงรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ 3-5 เส้น ปลายเส้นใบโค้งจรดกัน ก้านใบยาว 2-3.5 เซนติเมตร หูใบรูปเคียว ร่วงง่าย ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง รูปทรงกระบอกแคบ โค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลง ยาว 15-100 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีแดงสด มี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.2-1.5 เซนติเมตร มีขนสีขาวปกคลุม ปลายกลีบดอกแหลมมน ฐานรองดอกรูประฆัง เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านเกสรสีแดง ยื่นพ้นกลีบดอก เกสรเพศผู้เป็นหมัน 7 อัน ยาวไม่เท่ากัน รังไข่ยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร มีขนสั้นปกคลุม ก้านสั้น ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 0.7 เซนติเมตร ยอดเกสรเพศเมียไม่ชัดเจนใบประดับรูปลิ่ม ติดทน ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดง 5 กลีบ รูปถ้วย ยาว 0.5-1 เซนติเมตร มีขนสั้นปกคลุม สีชมพูอ่อนหรือสีแดง ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ปลายแหลม โคนฝักเป็นรูปหอก สีเขียวอ่อน เปลือกแข็ง เมื่อแก่แตกอ้า ยาว 15-16 เซนติเมตร เมล็ด 8-9 เมล็ด รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1.7 เซนติเมตร พบตามป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณที่แห้งแล้ง และที่โล่งแจ้ง ออกดอกช่วงเดือน พฤษภาคม ถึงสิงหาคม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ
ยาพื้นบ้านอุบลราชธานี ใช้ ราก แก้ไข้ แก้พิษเบื่อเมา
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ลำต้น หรือราก เข้ายาบำรุงโลหิต สำหรับสตรีหลังคลอด ขณะอยู่ไฟ ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น
ตำรายาไทย ใช้ ใบ เถา และราก ใช้แก้พิษ ถอนพิษยาเมา ยาเบื่อ ยาสั่ง ถอนพิษผิดสำแดง ถอนพิษและแก้ไข้พิษทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูกไม่ถ่าย ใช้ฝนกับน้ำ หรือน้ำซาวข้าว หรือต้มน้ำดื่ม สรรพคุณเหมือนย่านางขาวทุกประการ แต่มีฤทธิ์แรงกว่า
หมอยาพื้นบ้านและชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันดีในสรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ปวดหลังปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย จนมีอีกชื่อหนึ่งว่า เถาขยัน คือ กินแล้วทำงานได้ทนนานไม่ปวดเมื่อย แถมเป็นสมุนไพรแก้พิษ พิษเบื่อเมา พิษเหล้า ยาสั่ง ยาสำแดง คล้ายกับย่านางและรางจืด สำหรับผู้หญิงใช้เข้ายาบำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังคลอดขณะอยู่ไฟ ไข้ทับระดู เนื่องจากมีสรรพคุณเป็นยาเย็น
นอกจากใช้ในทางยาแล้ว ยอดอ่อนของย่านางแดงกินเป็นผักได้ มีรสชาติออกหวานและขมนิดๆ นำมากินกับแจ่วปู แจ่วกุ้ง แจ่วปลา ลาบหวาย ลาบเนื้อก็อร่อยดี ส่วนใหญ่กินยอดกันสดๆ ไม่ต้องนึ่งต้มหรือลวก ส่วนทางสามจังหวัดภาคใต้นั้น กินทั้งสดและลวกจิ้มน้ำพริก แล้วยังนำมาทำแกงจืด แกงเลียง แกงกะทิ
จากงานศึกษาวิจัยที่พบว่า สมุนไพรชนิดนี้มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลายประการ ได้แก่ มีฤทธิ์แก้พิษจากสารเคมีได้เช่นเดียวกับรางจืด สารสกัดใบย่านางแดงมีปริมาณสารกลุ่มฟีนอลสูง ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระได้ดี จึงเป็นสิ่งที่สนับสนุนการใช้ใบย่านางแดงเพื่อการล้างพิษในศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดอนุมูลอิสระ ย่านางแดงยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกได้ดี แต่ไม่สามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบได้ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านเชื้อเอชไอวี และฤทธิ์ต้านภูมิแพ้
ประโยชน์
-เป็นไม้ประดับสวยงาม ใบมันสวย ดอกเป็นช่อสีแดงออกดอกตลอดปี
-รากต้นขยันคนสมัยก่อนนำมากินกับหมาก วิธีการกินก็คือนำต้นและรากมาตำแล้วนำไปตากแดดก็จะได้รากขยันเป็นฝอย ๆ ลักษณะคล้าย ๆ กับเส้นยาสูบ
-ทำเป็นชารักษาอาการกรดไหลย้อน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:31
คำสำคัญ:
กล้าย่านางแดง
เถาย่านาง