ชื่อสินค้า:
กิ่งสดคะน้าเม็กซิโก 10 กิ่ง
รหัส:
309542
ประเภท:
ราคา:
10.00 บาท
ติดต่อ:
คุณWarabhorn Rueangsak
ที่อยู่ร้าน:
อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 5 ปี 8 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
การขยายพันธุ์คะน้าเม็กซิโก
การขยายพันธุ์ทำได้โดยการนำกิ่งที่ค่อนข้างแก่มาตัดเป็นท่อนๆ แล้วชำลงถุงดำ ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์กิ่งจะเริ่มแตกใบอ่อน รอให้ต้นแข็งแรงจึงย้ายลงปลูกในดิน การดูแลรักษาค่อนข้างง่าย เพราะคะน้าเม็กซิโกเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว และไม่ค่อยมีแมลงรบกวน (3) สำหรับต้นที่ตัดกิ่งมาปลูกทางผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรรอให้ต้นไม้มีอายุประมาณ 2 ปี เพื่อให้ต้นแข็งแรงเสียก่อนจึงค่อยเก็บมาบริโภค และไม่ควรเก็บใบจากต้นเกินกว่า 50% เพราะจะทำให้ต้นโทรมได้ง่ายๆ (4)
การใช้พื้นบ้าน
การใช้พื้นบ้านในต่างประเทศคือ ใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยย่อยอาหาร (1-2) คุณค่าทางโภชนาการ คะน้าเม็กซิโกเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ใบคะน้าเม็กซิโก 100 ก. ประกอบด้วย น้ำ 85.3%, คาร์โบไฮเดรตรวม 4.2%, โปรตีน 5.7%, ไขมัน 0.4%, ใยอาหาร 1.9% มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม 199.4 มก., โพแทสเซียม 217.2 มก., ฟอสฟอรัส 39.0 มก., เหล็ก 11.4 มก. มีวิตามิน เช่น วิตามินซี 164.7 มก. และวิตามินเอ 0.085 มก. นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าคะน้าเม็กซิโกเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าผักใบเขียวอื่นๆ 2-3 เท่า (1, 5)
การนำมารับประทาน
ส่วนที่นิยมนำมารับประทานคือใบและยอดอ่อน ซึ่งมีรสชาติคล้ายกับคะน้า หลังจากเด็ดยอดอ่อนมา ให้นำมาปอกเปลือก ตัดใบ แล้วแยกก้านใบทิ้งเพราะส่วนนี้จะแข็งมาก ไม่นิยมนำมารับประทาน หลังจากล้างน้ำให้สะอาดแล้วจึงนำไปประกอบอาหาร เช่นเดียวกับผักคะน้าหรือผักทั่วๆ ไป เช่น ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอด ลวกทำยำหรือจิ้มกับน้ำพริก ผัดเผ็ด ผัดน้ำมันจิ้มน้ำพริก ทำราดหน้า ผัดกับไข่ หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ หรือทำแกงส้ม (3) แม้ในบางพื้นที่จะมีการรับประทานคะน้าเม็กซิโกแบบดิบและขณะนี้ยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการรับประทานในรูปแบบดังกล่าว แต่เนื่องจากใบและยอดของคะน้าเม็กซิโกมีสารพิษในกลุ่มไฮโดรไซยานิก ไกลโคไซด์ (hydrocyanic glycosides) หากได้รับในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดอาการพิษจากการได้รับสารไซยาไนด์ (cyanide) ได้ ซึ่งสารดังกล่าวสามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้นก่อนรับประทานทุกครั้ง ควรทำให้สุกโดยการผ่านความร้อนอย่างน้อย 15-20 นาที และไม่แนะนำให้รับประทานแบบดิบ (1, 6-7)
หลายคนอาจสับสนระหว่างคะน้าเม็กซิโกกับพืชอื่นๆ เช่น มะละกอ และฝิ่นต้น เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกัน โดยที่ฝิ่นต้นนั้นเป็นพืชพิษ หากน้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง คัน บวมแดง อักเสบ ปวดแสบปวดร้อน พองเป็นตุ่มน้ำใส ถ้าโดนตาจะทำให้ตาอักเสบ อาจทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือถาวร ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้ปากบวมพอง น้ำลายไหล เยื่อบุแก้ม ลิ้น เพดาน และหน้าบวม ลิ้นเคลื่อนไหวลำบาก กลืนอาหารยาก พูดไม่ถนัด กระเพาะอักเสบ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชาตามแขนขาหรือเป็นอัมพาตชั่วคราว และหากรับประทานเมล็ดในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นก่อนรับประทานควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นคะน้าเม็กซิโกไม่ใช่พืชชนิดอื่นที่เป็นพิษ
สารสำคัญ
สารสำคัญที่พบในคะน้าเม็กซิโกเป็นสารในกลุ่ม flavonoids และ phenolic acids นอกจากนี้ยังพบสารในกลุ่ม saponins และ alkaloids ด้วย (8-9)
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าคะน้าเม็กซิโกมีฤทธิ์ต้านจุลชีพหลายชนิด (10) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (11) ช่วยปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ (11) ต้านอนุมูลอิสระ (8) (11-12) ลดน้ำตาลในเลือด (1, 9, 12-13) และลดไขมันในเลือด (14) แต่ทั้งหมดเป็นการศึกษาในรูปแบบของสารสกัดและสารสำคัญที่แยกได้จากส่วนใบ เช่น สารในกลุ่ม flavonoids, alkaloids และยังเป็นเพียงการศึกษาในระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง
การศึกษาความเป็นพิษ
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัด CHCl3:MeOH (1:1) ของใบในหนูเม้าส์ พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่ามากกว่า 2 ก./กก. และการให้สารสกัดในขนาด 1 ก./กก. เป็นเวลานาน 28 วัน ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษกับสัตว์ทดลอง เมื่อให้สารสกัดเข้าทางกระเพาะอาหาร (10) และขณะนี้ยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการรับประทานในรูปแบบของอาหาร แต่สำหรับผู้ที่แพ้พืชในวงศ์ EUPHORBIACEAE ควรหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการรับประทานคะน้าเม็กซิโก
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Apr 19 04:27
การขยายพันธุ์ทำได้โดยการนำกิ่งที่ค่อนข้างแก่มาตัดเป็นท่อนๆ แล้วชำลงถุงดำ ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์กิ่งจะเริ่มแตกใบอ่อน รอให้ต้นแข็งแรงจึงย้ายลงปลูกในดิน การดูแลรักษาค่อนข้างง่าย เพราะคะน้าเม็กซิโกเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว และไม่ค่อยมีแมลงรบกวน (3) สำหรับต้นที่ตัดกิ่งมาปลูกทางผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าควรรอให้ต้นไม้มีอายุประมาณ 2 ปี เพื่อให้ต้นแข็งแรงเสียก่อนจึงค่อยเก็บมาบริโภค และไม่ควรเก็บใบจากต้นเกินกว่า 50% เพราะจะทำให้ต้นโทรมได้ง่ายๆ (4)
การใช้พื้นบ้าน
การใช้พื้นบ้านในต่างประเทศคือ ใช้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยย่อยอาหาร (1-2) คุณค่าทางโภชนาการ คะน้าเม็กซิโกเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ใบคะน้าเม็กซิโก 100 ก. ประกอบด้วย น้ำ 85.3%, คาร์โบไฮเดรตรวม 4.2%, โปรตีน 5.7%, ไขมัน 0.4%, ใยอาหาร 1.9% มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม 199.4 มก., โพแทสเซียม 217.2 มก., ฟอสฟอรัส 39.0 มก., เหล็ก 11.4 มก. มีวิตามิน เช่น วิตามินซี 164.7 มก. และวิตามินเอ 0.085 มก. นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าคะน้าเม็กซิโกเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าผักใบเขียวอื่นๆ 2-3 เท่า (1, 5)
การนำมารับประทาน
ส่วนที่นิยมนำมารับประทานคือใบและยอดอ่อน ซึ่งมีรสชาติคล้ายกับคะน้า หลังจากเด็ดยอดอ่อนมา ให้นำมาปอกเปลือก ตัดใบ แล้วแยกก้านใบทิ้งเพราะส่วนนี้จะแข็งมาก ไม่นิยมนำมารับประทาน หลังจากล้างน้ำให้สะอาดแล้วจึงนำไปประกอบอาหาร เช่นเดียวกับผักคะน้าหรือผักทั่วๆ ไป เช่น ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอด ลวกทำยำหรือจิ้มกับน้ำพริก ผัดเผ็ด ผัดน้ำมันจิ้มน้ำพริก ทำราดหน้า ผัดกับไข่ หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ หรือทำแกงส้ม (3) แม้ในบางพื้นที่จะมีการรับประทานคะน้าเม็กซิโกแบบดิบและขณะนี้ยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการรับประทานในรูปแบบดังกล่าว แต่เนื่องจากใบและยอดของคะน้าเม็กซิโกมีสารพิษในกลุ่มไฮโดรไซยานิก ไกลโคไซด์ (hydrocyanic glycosides) หากได้รับในปริมาณมากหรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้เกิดอาการพิษจากการได้รับสารไซยาไนด์ (cyanide) ได้ ซึ่งสารดังกล่าวสามารถถูกทำลายได้ด้วยความร้อน ดังนั้นก่อนรับประทานทุกครั้ง ควรทำให้สุกโดยการผ่านความร้อนอย่างน้อย 15-20 นาที และไม่แนะนำให้รับประทานแบบดิบ (1, 6-7)
หลายคนอาจสับสนระหว่างคะน้าเม็กซิโกกับพืชอื่นๆ เช่น มะละกอ และฝิ่นต้น เนื่องจากมีลักษณะที่คล้ายกัน โดยที่ฝิ่นต้นนั้นเป็นพืชพิษ หากน้ำยางถูกผิวหนังจะระคายเคือง คัน บวมแดง อักเสบ ปวดแสบปวดร้อน พองเป็นตุ่มน้ำใส ถ้าโดนตาจะทำให้ตาอักเสบ อาจทำให้ตาบอดชั่วคราวหรือถาวร ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้ปากบวมพอง น้ำลายไหล เยื่อบุแก้ม ลิ้น เพดาน และหน้าบวม ลิ้นเคลื่อนไหวลำบาก กลืนอาหารยาก พูดไม่ถนัด กระเพาะอักเสบ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง อาจมีอาการชาตามแขนขาหรือเป็นอัมพาตชั่วคราว และหากรับประทานเมล็ดในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นก่อนรับประทานควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่าเป็นคะน้าเม็กซิโกไม่ใช่พืชชนิดอื่นที่เป็นพิษ
สารสำคัญ
สารสำคัญที่พบในคะน้าเม็กซิโกเป็นสารในกลุ่ม flavonoids และ phenolic acids นอกจากนี้ยังพบสารในกลุ่ม saponins และ alkaloids ด้วย (8-9)
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าคะน้าเม็กซิโกมีฤทธิ์ต้านจุลชีพหลายชนิด (10) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (11) ช่วยปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ (11) ต้านอนุมูลอิสระ (8) (11-12) ลดน้ำตาลในเลือด (1, 9, 12-13) และลดไขมันในเลือด (14) แต่ทั้งหมดเป็นการศึกษาในรูปแบบของสารสกัดและสารสำคัญที่แยกได้จากส่วนใบ เช่น สารในกลุ่ม flavonoids, alkaloids และยังเป็นเพียงการศึกษาในระดับหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง
การศึกษาความเป็นพิษ
การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัด CHCl3:MeOH (1:1) ของใบในหนูเม้าส์ พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่งมีค่ามากกว่า 2 ก./กก. และการให้สารสกัดในขนาด 1 ก./กก. เป็นเวลานาน 28 วัน ไม่ก่อให้เกิดความเป็นพิษกับสัตว์ทดลอง เมื่อให้สารสกัดเข้าทางกระเพาะอาหาร (10) และขณะนี้ยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการรับประทานในรูปแบบของอาหาร แต่สำหรับผู้ที่แพ้พืชในวงศ์ EUPHORBIACEAE ควรหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการรับประทานคะน้าเม็กซิโก
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Apr 19 04:27
คำสำคัญ:
คะน้าเม็กซิโก
ผักไชยา