ค้นหาสินค้า

ต้นว่านหางช้างราคาต่นละ390฿

ร้าน สายทองพืชสมุนไพร
ต้นว่านหางช้างราคาต่นละ390฿
ต้นว่านหางช้างราคาต่นละ390฿
ชื่อสินค้า:

ต้นว่านหางช้างราคาต่นละ390฿

รหัส:
306982
ราคา:
390.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณสายทอง พิลัยพงษ์
ที่อยู่ร้าน:
อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
ร้านนี้แจ้งเลขทะเบียนพานิชย์แล้ว เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 2 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ว่านหางช้าง
ว่านหางช้าง ชื่อสามัญ Blackberry lily, Leopard lily (Leopard flower)
ว่านหางช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Iris domestica (L.) Goldblatt & Mabb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Belamcanda chinensis (L.) DC.)[1],[2] จัดอยู่ในวงศ์ว่านแม่ยับ (IRIDACEAE)

สมุนไพรว่านหางช้าง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านมีดยับ ว่านแม่ยับ (ภาคเหนือ), ตื่นเจะ (ม้ง), ว่านพัดแม่ชีม, เชื่อกัง (จีน) เป็นต้น[1],[2],[4],[5],[7]
หมายเหตุ : "สมุนไพรว่านหางช้าง" ที่เรากำลังกล่าวถึงในบทความนี้ เป็นพืชคนละชนิดกันกับ "ว่านเพชรหึง" ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Grammatophyllum speciosum Blume เพียงแต่ว่านเพชรหึงนี้มีชื่อเรียกในท้องถิ่นทางภาคใต้ว่า "ว่านหางช้าง" และมีลักษณะของดอกที่คล้ายกัน จึงอาจทำให้เกิดความสับสนและการเข้าใจผิดได้
สรรพคุณของว่านหางช้าง
เนื้อในของลำต้นใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เนื้อในของลำต้น[1],[5], เหง้า[6])
ลักษณะว่านหางช้างเหง้าใช้เป็นยาแก้ไข้ (เหง้า)[6]
ช่วยรักษาอาการไอหรืออาการหอบหืด ด้วยการใช้เหง้าแห้งประมาณ 6 กรัม, ขิงแห้ง 3 กรัม, ลูกพรุนจีน 4 ผล, มั่วอึ้งแห้ง 3 กรัม, โส่ยชินแห้ง 2 กรัม, โงวบี่จี้แห้ง 2 กรัม, จี่อ้วงแห้ง 10 กรัม, จี้ปั้วแห่แห้ง 10 กรัม, และค่วงตังฮวยแห้ง 6 กรัม, นำทั้งหมดมาต้มรวมกัน แล้วเอาแต่น้ำที่ได้มากิน (เหง้า)[3],[6]
รากหรือเหง้าสดช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยให้ใช้รากหรือเหง้าสดประมาณ 5-10 กรัม (ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ 3-6 กรัม) นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เหง้าสดประมาณ 15 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำชุบสำลีอมแล้วกลืนแต่น้ำช้า ๆ (เหง้า)[1],[3]
เหง้ามีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ (เหง้า)[6]
ช่วยบำบัดโรคต่อมทอนซิลอักเสบ (เนื้อในลำต้น)[1]
ช่วยรักษาโรคคางทูม ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 10-15 กรัม นำไปต้มน้ำกินหลังอาหารวันละ 2 เวลา (เหง้า)[3]
ทั้งต้นนำมาต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการท้องผูก อาหารไม่ย่อยได้ (ทั้งต้น)[3]
ช่วยรักษาอาการท้องมาน ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำกินบ่อย ๆ (เหง้า)[3]
ใบใช้เป็นยาระบายอุจจาระ ด้วยการใช้ใบว่านหางช้าง 3 ใบ นำมาปรุงเป็นยาต้มรับประทาน (ใบ)[1],[3],[5],[6] เนื้อในของลำต้นใช้เป็นยาถ่าย (เนื้อในของลำต้น[1], เหง้า[6])
ช่วยแก้ระดูพิการ ประจำเดือนไม่ปกติของสตรีได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ใบ 3 ใบ นำมาปรุงเป็นยาต้มรับประทาน (ใบ, เนื้อในของลำต้น[1],[3],[5], เหง้า[6])
ช่วยรักษาผดผื่นคันมีน้ำเหลืองที่ขาเนื่องจากการทำยา โดยใช้เหง้าแห้งใส่น้ำต้มจนเดือดผสมเกลือแกงเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (เหง้า)[3]
ช่วยรักษาฝีประคำร้อย ด้วยการใช้เหง้าแห้ง แห่โกวเช่าแห้ง เหลี่ยงเคี้ยว อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดเป็นผง ใช้ผสมทำเป็นยาเม็ดไว้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 3 กรัม (เหง้า)[3]
ช่วยรักษาฝีที่เต้านมบวมมีหนองในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้เหง้าแห้ง 1 เหง้าและรากดอกไม้จีนประมาณ 10 กรัม นำมาบดรวมกันให้เป็นผง แล้วใช้ผสมกับน้ำผึ้งกิน (เหง้า)[3]
#ต้นว่านหางช้าง
#ว่านห่างช้าง
#ต้นว่านหางช้าง
#ว่านหางช้าง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 14 Oct 20 07:13
คำสำคัญ: ว่านหางช้าง