ชื่อสินค้า:
เห็ดหลินจือแดงบดผง เกรด100% ราคาถูก
รหัส:
303220
ประเภท:
ราคา:
800.00 บาท
ติดต่อ:
คุณโพธิ์พญา เฮิร์บ
ที่อยู่ร้าน:
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 9 เดือน
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
เห็ดหลินจือแดงบดผง เกรด100% ไม่ผสมผงแป้ง ผลิตจากเห็ดหลินจือแดงสดใหม่ ดอกใหญ่ สีสดสวย กลิ่นหอม ไร้กลิ่นอับชื้น ปราศจากสารปนเปื้อน
1 กิโลกรัม 800 บาท
3 กิโลกรัม 780 บาทต่อกิโลกรัม
10 กิโลกรัม 750 บาทต่อกิโลกรัม
Facebook >>> โพธิ์พญาเฮิร์บ
Line ID >>> @bvg9351z
tel. >>> 084 696 5105
ตัวอย่างงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเห็ดหลินจือที่อาจมีผลต่อสุขภาพ
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
งานค้นคว้าหนึ่งได้ทดลองหาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการบริโภคอาหารเสริมเห็ดหลินจือในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จำนวน 32 ราย ผลลัพธ์คือ เห็ดหลินจืออาจมีสรรพคุณในด้านการระงับอาการปวด ปลอดภัยต่อการรับประทานเข้าสู่ร่างกายและไม่มีผลข้างเคียง อย่างไรก็ตาม กลับไม่ปรากฏผลที่มีนัยสำคัญในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน การต้านการอักเสบ หรือผลการปรับระบบภูมิคุ้มกันแต่อย่างใด
เพิ่มสมรรถภาพร่างกาย
มีการทดลองที่ทดสอบประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในด้านการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย โดยได้ทดลองในผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบรไมอัลเจีย (Fibromyalgia) เพศหญิงจำนวน 64 ราย ตลอดระยะเวลาการทดลอง 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยบริโภคเห็ดหลินจือปริมาณ 6 กรัม/วัน จากนั้นจึงทดสอบสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วย ผลการทดลองคือ เห็ดหลินจืออาจสัมพันธ์กับความทนทานของร่างกายในขณะออกกำลังกายและความยืดหยุ่นของร่างกายในผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบรไมอัลเจีย ซึ่งอาจเป็นผลดีในการค้นคว้าทดลองและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ต่อไป แต่ยังคงขาดหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจน จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าในด้านนี้ เพื่อหาหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดถึงประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อไป
ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และป้องกันการทำลายเซลล์ตับ
จากการทดลองหาประสิทธิภาพของสารไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoids) และโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ในเห็ดหลินจือในด้านการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และการป้องกันการทำลายเซลล์ตับในกลุ่มผู้ทดลองที่มีสุขภาพดี 42 คน ผลลัพธ์ที่ได้แสดงถึงประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบของตับ
อย่างไรก็ตาม แม้เห็ดหลินจืออาจช่วยต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ แต่การทดลองดังกล่าวเป็นเพียงการค้นคว้าวิจัยขนาดเล็ก ควรศึกษาค้นคว้าต่อไปเพื่อหาหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดถึงประสิทธิผลของเห็ดหลินจือ
รักษามะเร็ง
อีกหนึ่งงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลของสารโพลีแซ็กคาไรด์ในเห็ดหลินจือในผู้ป่วยมะเร็งปอด จากการวิเคราะห์พบว่า สารดังกล่าวมีส่วนในการยับยั้งการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว
จากการค้นคว้าวิจัยมากมายถึงประสิทธิผลทางการรักษาโรคมะเร็งของเห็ดหลินจือ พบว่าเห็ดหลินจืออาจส่งผลต่อการต้านการอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งปอดบางราย แต่ยังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการทดลองทางการแพทย์ที่ให้ข้อมูลเพียงพอที่สนับสนุนให้ใช้เห็ดหลินจือในการรักษามะเร็งอย่างเป็นทางการ
เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจากการรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิผลของเห็ดหลินจือเพื่อรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ 373 คน แม้จะพบว่าผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดได้ดีขึ้นเมื่อรักษาร่วมกับการใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือ แต่เมื่อทดลองใช้เห็ดหลินจือเพียงอย่างเดียวกลับไม่มีประสิทธิผลในการทำให้มะเร็งลดขนาดลงแต่อย่างใด
นอกจากนี้ จากการทบทวนงานวิจัยพบว่ามีงานวิจัย 4 ชิ้นที่มีผลลัพธ์สนับสนุนว่าเห็ดหลินจืออาจสัมพันธ์ต่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น และในขณะเดียวกัน ก็มีผลลัพธ์จากงานวิจัยหนึ่งที่แสดงถึงผลข้างเคียงของเห็ดหลินจือ เป็นอาการคลื่นไส้และนอนไม่หลับด้วย
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ข้อพิสูจน์ทางคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของเห็ดหลินจือยังคงมีจำกัด บางงานวิจัยเป็นการทดลองขนาดเล็ก หลักฐานที่ได้ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ หรือเป็นเพียงการทดลองในผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อโรคมะเร็ง จึงยังคงเป็นหัวข้อการค้นคว้าที่ควรดำเนินการทดลองต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์ในวงกว้างต่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้ในอนาคต
ภาวะต่อมลูกหมากโต และการเจ็บป่วยในระบบทางเดินปัสสาวะ
มีกระบวนการทดลองหนึ่งที่ใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือทดลองในผู้ป่วยเพศชาย 88 รายซึ่งมีอายุเกินกว่า 49 ปีขึ้นไป ที่มีอาการปัสสาวะติดขัด หลังการทดลองกว่า 12 สัปดาห์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผู้ป่วยต่างมีระดับคะแนน IPSS ที่ดีขึ้น (The International Prostate Symptom Score) ซึ่งเป็นค่าคะแนนสากลในการวัดปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยจากการตอบคำถาม แต่กลับไม่ปรากฏผลในเชิงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต การขับถ่ายปัสสาวะ หรือขนาดของต่อมลูกหมากแต่อย่างใด
ดังนั้น การทดลองดังกล่าวจึงยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนเพียงพอ จึงควรมีการค้นคว้าทดลองในด้านนี้ต่อไปในอนาคต เพื่อค้นหาหลักฐานที่แน่ชัดในการสรุปเกี่ยวกับประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตหรือปัญหาสุขภาพใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
จากการวิเคราะห์ผลการทดลองทางการแพทย์ 5 รายการ ซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เข้าร่วมทดลองกว่า 398 ราย พบว่า เห็ดหลินจือไม่ได้มีผลทางการรักษาในเชิงการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับความดันโลหิต หรือระดับไขมันคอเลสเตอรอลลงแต่อย่างใด มีเพียงผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเพียงพอจะสนับสนุนผลทางการรักษาเหล่านั้น และไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการยืนยันด้านความปลอดภัยจากการบริโภคเห็ดหลินจือเช่นเดียวกัน โดยหนึ่งในงานวิจัยเหล่านั้น ได้แสดงถึงผลข้างเคียงจากการบริโภคเห็ดหลินจือในผู้ป่วยบางราย เป็นอาการคลื่นไส้ ท้องร่วง หรือท้องผูก
ดังนั้น จึงควรมีการค้นคว้าทดลองถึงประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไป รวมทั้งให้ได้ความกระจ่างชัดเจนในด้านดังกล่าวมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อแนวทางในการรักษาป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 25 Mar 19 03:39
1 กิโลกรัม 800 บาท
3 กิโลกรัม 780 บาทต่อกิโลกรัม
10 กิโลกรัม 750 บาทต่อกิโลกรัม
Facebook >>> โพธิ์พญาเฮิร์บ
Line ID >>> @bvg9351z
tel. >>> 084 696 5105
ตัวอย่างงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเห็ดหลินจือที่อาจมีผลต่อสุขภาพ
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
งานค้นคว้าหนึ่งได้ทดลองหาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการบริโภคอาหารเสริมเห็ดหลินจือในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จำนวน 32 ราย ผลลัพธ์คือ เห็ดหลินจืออาจมีสรรพคุณในด้านการระงับอาการปวด ปลอดภัยต่อการรับประทานเข้าสู่ร่างกายและไม่มีผลข้างเคียง อย่างไรก็ตาม กลับไม่ปรากฏผลที่มีนัยสำคัญในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน การต้านการอักเสบ หรือผลการปรับระบบภูมิคุ้มกันแต่อย่างใด
เพิ่มสมรรถภาพร่างกาย
มีการทดลองที่ทดสอบประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในด้านการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย โดยได้ทดลองในผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบรไมอัลเจีย (Fibromyalgia) เพศหญิงจำนวน 64 ราย ตลอดระยะเวลาการทดลอง 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยบริโภคเห็ดหลินจือปริมาณ 6 กรัม/วัน จากนั้นจึงทดสอบสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วย ผลการทดลองคือ เห็ดหลินจืออาจสัมพันธ์กับความทนทานของร่างกายในขณะออกกำลังกายและความยืดหยุ่นของร่างกายในผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบรไมอัลเจีย ซึ่งอาจเป็นผลดีในการค้นคว้าทดลองและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ต่อไป แต่ยังคงขาดหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจน จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าในด้านนี้ เพื่อหาหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดถึงประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อไป
ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และป้องกันการทำลายเซลล์ตับ
จากการทดลองหาประสิทธิภาพของสารไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoids) และโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ในเห็ดหลินจือในด้านการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และการป้องกันการทำลายเซลล์ตับในกลุ่มผู้ทดลองที่มีสุขภาพดี 42 คน ผลลัพธ์ที่ได้แสดงถึงประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบของตับ
อย่างไรก็ตาม แม้เห็ดหลินจืออาจช่วยต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ แต่การทดลองดังกล่าวเป็นเพียงการค้นคว้าวิจัยขนาดเล็ก ควรศึกษาค้นคว้าต่อไปเพื่อหาหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดถึงประสิทธิผลของเห็ดหลินจือ
รักษามะเร็ง
อีกหนึ่งงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลของสารโพลีแซ็กคาไรด์ในเห็ดหลินจือในผู้ป่วยมะเร็งปอด จากการวิเคราะห์พบว่า สารดังกล่าวมีส่วนในการยับยั้งการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว
จากการค้นคว้าวิจัยมากมายถึงประสิทธิผลทางการรักษาโรคมะเร็งของเห็ดหลินจือ พบว่าเห็ดหลินจืออาจส่งผลต่อการต้านการอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งปอดบางราย แต่ยังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการทดลองทางการแพทย์ที่ให้ข้อมูลเพียงพอที่สนับสนุนให้ใช้เห็ดหลินจือในการรักษามะเร็งอย่างเป็นทางการ
เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจากการรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิผลของเห็ดหลินจือเพื่อรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ 373 คน แม้จะพบว่าผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดได้ดีขึ้นเมื่อรักษาร่วมกับการใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือ แต่เมื่อทดลองใช้เห็ดหลินจือเพียงอย่างเดียวกลับไม่มีประสิทธิผลในการทำให้มะเร็งลดขนาดลงแต่อย่างใด
นอกจากนี้ จากการทบทวนงานวิจัยพบว่ามีงานวิจัย 4 ชิ้นที่มีผลลัพธ์สนับสนุนว่าเห็ดหลินจืออาจสัมพันธ์ต่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น และในขณะเดียวกัน ก็มีผลลัพธ์จากงานวิจัยหนึ่งที่แสดงถึงผลข้างเคียงของเห็ดหลินจือ เป็นอาการคลื่นไส้และนอนไม่หลับด้วย
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ข้อพิสูจน์ทางคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของเห็ดหลินจือยังคงมีจำกัด บางงานวิจัยเป็นการทดลองขนาดเล็ก หลักฐานที่ได้ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ หรือเป็นเพียงการทดลองในผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อโรคมะเร็ง จึงยังคงเป็นหัวข้อการค้นคว้าที่ควรดำเนินการทดลองต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์ในวงกว้างต่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้ในอนาคต
ภาวะต่อมลูกหมากโต และการเจ็บป่วยในระบบทางเดินปัสสาวะ
มีกระบวนการทดลองหนึ่งที่ใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือทดลองในผู้ป่วยเพศชาย 88 รายซึ่งมีอายุเกินกว่า 49 ปีขึ้นไป ที่มีอาการปัสสาวะติดขัด หลังการทดลองกว่า 12 สัปดาห์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผู้ป่วยต่างมีระดับคะแนน IPSS ที่ดีขึ้น (The International Prostate Symptom Score) ซึ่งเป็นค่าคะแนนสากลในการวัดปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยจากการตอบคำถาม แต่กลับไม่ปรากฏผลในเชิงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต การขับถ่ายปัสสาวะ หรือขนาดของต่อมลูกหมากแต่อย่างใด
ดังนั้น การทดลองดังกล่าวจึงยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนเพียงพอ จึงควรมีการค้นคว้าทดลองในด้านนี้ต่อไปในอนาคต เพื่อค้นหาหลักฐานที่แน่ชัดในการสรุปเกี่ยวกับประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตหรือปัญหาสุขภาพใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
จากการวิเคราะห์ผลการทดลองทางการแพทย์ 5 รายการ ซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เข้าร่วมทดลองกว่า 398 ราย พบว่า เห็ดหลินจือไม่ได้มีผลทางการรักษาในเชิงการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับความดันโลหิต หรือระดับไขมันคอเลสเตอรอลลงแต่อย่างใด มีเพียงผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเพียงพอจะสนับสนุนผลทางการรักษาเหล่านั้น และไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการยืนยันด้านความปลอดภัยจากการบริโภคเห็ดหลินจือเช่นเดียวกัน โดยหนึ่งในงานวิจัยเหล่านั้น ได้แสดงถึงผลข้างเคียงจากการบริโภคเห็ดหลินจือในผู้ป่วยบางราย เป็นอาการคลื่นไส้ ท้องร่วง หรือท้องผูก
ดังนั้น จึงควรมีการค้นคว้าทดลองถึงประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไป รวมทั้งให้ได้ความกระจ่างชัดเจนในด้านดังกล่าวมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อแนวทางในการรักษาป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 25 Mar 19 03:39
คำสำคัญ:
เห็ดหลินจือ
ชาสมุนไพร