ชื่อสินค้า:
หมากผู้หมากเมีย
รหัส:
301781
ประเภท:
ราคา:
80.00 บาท
ติดต่อ:
คุณกุสุมา ตุ่นแก้ว
ที่อยู่ร้าน:
จ.เชียงใหม่
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
หมากผู้หมากเมีย ชื่อสามัญ Cordyline[3], Ti plant[5], Dracaena Palm[6]
หมากผู้หมากเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline fruticosa (L.) A.Chev.[1] จัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย LOMANDROIDEAE
สมุนไพรหมากผู้หมากเมีย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูหมาก (เชียงใหม่), หมากผู้ (ภาคเหนือ), มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง), ทิฉิ่ว ทิฉิ่วเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว), เที่ยซู่ (จีนกลาง) เป็นต้น
สรรพคุณของหมากผู้หมากเมีย
รากมีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือด ด้วยการใช้รากสดครั้งละ 30-60 กรัม ถ้ารากแห้งให้ใช้เพียงครั้งละ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[2]
ใช้เป็นยาแก้พิษกาฬ (พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ) หรือนำมาต้มหรือแช่น้ำอาบแก้ไข้หัว (ไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่ม เช่น หัด เหือด อีสุกอีใส) (ใบ)[4]
ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ไข้กำเดา ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัวต่าง ๆ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ (ใบ)[3],[6]
ใบสดใช้ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ไอเป็นเลือด หรือจะใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้อาการไอเป็นเลือดก็ได้ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสดประมาณ 60-100 กรัม หรือรากสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก)[1],[2]
ช่วยแก้โลหิตกำเดา ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม ถ้าแห้งใช้ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)[2]
ดอกใช้เป็นยาแก้วัณโรคปอด ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 ใบ นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม หรือใช้รากสด 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก)[1],[2]
รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก)[1],[2]
ใบใช้เป็นยาแก้อาการเจ็บกระเพาะอาหารหรือปวดกระเพาะ แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเบือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ใบ)[1],[2] ส่วนตำรายาแก้บิดถ่ายเป็นมูกอีกตำรับ ระบุให้ใช้ใบสด 30-40 กรัม เปลือกลูกทับทิมแห้ง 10 กรัม ผักเบี้ยใหญ่สด 30 กรัม และดอกสายน้ำผึ้ง 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)[2]
ใช้แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1],[2]
ใช้แก้ประจำเดือนมามากเกินควร ด้วยการใช้ดอกสดครั้งละ 30-60 กรัม ส่วนดอกแห้งใช้เพียงครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)[2]
ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะเป็นเลือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน หรือจะใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินก็ได้ ส่วนอีกตำรับระบุให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม หรือรากสด 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก)[1],[2]
ใช้เป็นยาแก้ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูรับประทาน (ใบ)[2]
ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ดอก)[1],[2]
ใบมีรสจืดมันเย็น มีสรรพคุณช่วยล้อมตับดับพิษ ใช้เป็นยาขับพิษ (ใบ)[3],[6]
ใบสดนำมาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นบาดแผล (ใบ)[1]
ใบและดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกห้ามเลือด (ใบ,ดอก)[1],[2]
ใบนำมาต้มกับน้ำอาบช่วยแก้อาการคันตามผิวหนังหรือเม็ดผดผื่นคันตามผิวหนัง หรือจะใช้ใบร่วมกับใบหมากและใบมะยมก็ได้ (ใบ)[4],[6]
ช่วยแก้อาการปวดบวมอักเสบ ด้วยการใช้ดอกสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น ส่วนรากก็มีสรรพคุณแก้ปวดบวมอักเสบได้เช่นเดียวกับดอก (ดอก)[1],[2]
ช่วยแก้ฟกช้ำดำเขียว (ราก)[2]
ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรหมากผู้หมากเมีย
สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้[1]
ยาชนิดนี้มีพิษ ห้ามใช้ในปริมาณที่มากเกินไป
ประโยชน์ของหมากผู้หมากเมีย
ช่อดอกนำมาลวกกับน้ำพริกกินหรือนำไปแกงได้ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)[5]
ใบนำมาสับแล้วตากให้แห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ ช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ (ไทลื้อ)[5]
ชาวไทใหญ่จะนำดอกมาใช้บูชาพระ ส่วนชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะนำใบมาใช้บูชาพระ[5]
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ หมากผู้หมากเมียเป็นไม้ใบที่มีสีสันสวยงาม สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับลงกระถางเพื่อประดับภายในอาคาร หรือจะปลูกไว้ในสวนที่มีแสงปานกลางถึงรำไรเพื่อเป็นจุดเด่นให้กับสวนหย่อม ริมน้ำตก ลำธาร หรือริมทะเลได้[3]
ในด้านของความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะทำให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพราะหมากผู้หมากเมียเป็นของคู่กันเหมือนคู่สุขคู่สมคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย นอกจากนี้ยังใช้ใบเพื่อนำไปใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสำคัญอีกหลายงาน เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หรือใช้เป็นเครื่องบูชาพระ เป็นต้น และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน และผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปทางใบให้ปลูกกันในวันอังคาร
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjinda.com
Facebook Page: สวนแดงจินดา แก้ไขข้อมูลเมื่อ 26 Nov 18 11:57
หมากผู้หมากเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline fruticosa (L.) A.Chev.[1] จัดอยู่ในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (ASPARAGACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย LOMANDROIDEAE
สมุนไพรหมากผู้หมากเมีย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ปูหมาก (เชียงใหม่), หมากผู้ (ภาคเหนือ), มะผู้มะเมีย (ภาคกลาง), ทิฉิ่ว ทิฉิ่วเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว), เที่ยซู่ (จีนกลาง) เป็นต้น
สรรพคุณของหมากผู้หมากเมีย
รากมีสรรพคุณเป็นยาฟอกเลือด ด้วยการใช้รากสดครั้งละ 30-60 กรัม ถ้ารากแห้งให้ใช้เพียงครั้งละ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[2]
ใช้เป็นยาแก้พิษกาฬ (พิษที่เกิดจากการติดเชื้อ) หรือนำมาต้มหรือแช่น้ำอาบแก้ไข้หัว (ไข้ร่วมกับผื่นหรือตุ่ม เช่น หัด เหือด อีสุกอีใส) (ใบ)[4]
ใบมีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ไข้กำเดา ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัวต่าง ๆ แก้ตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ (ใบ)[3],[6]
ใบสดใช้ประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ไอเป็นเลือด หรือจะใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้อาการไอเป็นเลือดก็ได้ ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสดประมาณ 60-100 กรัม หรือรากสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก)[1],[2]
ช่วยแก้โลหิตกำเดา ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม ถ้าแห้งใช้ 15-20 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ใบ)[2]
ดอกใช้เป็นยาแก้วัณโรคปอด ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 ใบ นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม หรือใช้รากสด 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก)[1],[2]
รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ราก)[1],[2]
ใบใช้เป็นยาแก้อาการเจ็บกระเพาะอาหารหรือปวดกระเพาะ แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเบือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ใบ)[1],[2] ส่วนตำรายาแก้บิดถ่ายเป็นมูกอีกตำรับ ระบุให้ใช้ใบสด 30-40 กรัม เปลือกลูกทับทิมแห้ง 10 กรัม ผักเบี้ยใหญ่สด 30 กรัม และดอกสายน้ำผึ้ง 15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)[2]
ใช้แก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 3-5 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม ถ้าเป็นรากสดให้ใช้ 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)[1],[2]
ใช้แก้ประจำเดือนมามากเกินควร ด้วยการใช้ดอกสดครั้งละ 30-60 กรัม ส่วนดอกแห้งใช้เพียงครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ดอก)[2]
ใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะเป็นเลือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน หรือจะใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินก็ได้ ส่วนอีกตำรับระบุให้ใช้ใบสด 60-100 กรัม หรือรากสด 30-60 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ,ดอก,ราก)[1],[2]
ใช้เป็นยาแก้ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับเนื้อหมูรับประทาน (ใบ)[2]
ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ดอกแห้งประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ดอก)[1],[2]
ใบมีรสจืดมันเย็น มีสรรพคุณช่วยล้อมตับดับพิษ ใช้เป็นยาขับพิษ (ใบ)[3],[6]
ใบสดนำมาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นบาดแผล (ใบ)[1]
ใบและดอกสดนำมาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกห้ามเลือด (ใบ,ดอก)[1],[2]
ใบนำมาต้มกับน้ำอาบช่วยแก้อาการคันตามผิวหนังหรือเม็ดผดผื่นคันตามผิวหนัง หรือจะใช้ใบร่วมกับใบหมากและใบมะยมก็ได้ (ใบ)[4],[6]
ช่วยแก้อาการปวดบวมอักเสบ ด้วยการใช้ดอกสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น ส่วนรากก็มีสรรพคุณแก้ปวดบวมอักเสบได้เช่นเดียวกับดอก (ดอก)[1],[2]
ช่วยแก้ฟกช้ำดำเขียว (ราก)[2]
ข้อห้ามในการใช้สมุนไพรหมากผู้หมากเมีย
สตรีมีครรภ์ ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้[1]
ยาชนิดนี้มีพิษ ห้ามใช้ในปริมาณที่มากเกินไป
ประโยชน์ของหมากผู้หมากเมีย
ช่อดอกนำมาลวกกับน้ำพริกกินหรือนำไปแกงได้ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)[5]
ใบนำมาสับแล้วตากให้แห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ ช่วยบำรุงร่างกายและผิวพรรณ (ไทลื้อ)[5]
ชาวไทใหญ่จะนำดอกมาใช้บูชาพระ ส่วนชาวกะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนจะนำใบมาใช้บูชาพระ[5]
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ หมากผู้หมากเมียเป็นไม้ใบที่มีสีสันสวยงาม สามารถนำมาใช้ปลูกเป็นไม้ประดับลงกระถางเพื่อประดับภายในอาคาร หรือจะปลูกไว้ในสวนที่มีแสงปานกลางถึงรำไรเพื่อเป็นจุดเด่นให้กับสวนหย่อม ริมน้ำตก ลำธาร หรือริมทะเลได้[3]
ในด้านของความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่าหากบ้านใดปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้เป็นไม้ประจำบ้านจะทำให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข เพราะหมากผู้หมากเมียเป็นของคู่กันเหมือนคู่สุขคู่สมคู่บ้านคู่เมืองของคนไทย นอกจากนี้ยังใช้ใบเพื่อนำไปใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสำคัญอีกหลายงาน เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ หรือใช้เป็นเครื่องบูชาพระ เป็นต้น และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย ควรปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน และผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะคนโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปทางใบให้ปลูกกันในวันอังคาร
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjinda.com
Facebook Page: สวนแดงจินดา แก้ไขข้อมูลเมื่อ 26 Nov 18 11:57
คำสำคัญ:
หมากผู้หมากเมีย