ค้นหาสินค้า

อัคคีทวาร

ร้าน สวนแดงจินดา
อัคคีทวาร
อัคคีทวาร
ชื่อสินค้า:

อัคคีทวาร

รหัส:
301771
ราคา:
80.00 บาท
ติดต่อ:
คุณกุสุมา ตุ่นแก้ว
ที่อยู่ร้าน:
จ.เชียงใหม่
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 9 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
อัคคีทวาร ชื่อวิทยาศาสตร์ Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clerodendrum serratum (L.) Moon, Clerodendrum serratum var. wallichii C.B.Clarke)[1],[2] จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)[3]

สมุนไพรอัคคีทวาร มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หลัวสามเกียน (เชียงใหม่), แข้งม้า (เชียงราย), พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา), หมากดูกแฮ้ง (สกลนคร), มักแค้งข่า (ปราจีนบุรี), อัคคี (สุราษฎร์ธานี), ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ), ตรีชวา อัคคี (ภาคกลาง), พายสะเมา (วาริชภูมิ), ควีโดเยาะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ผักห้าส้วย (ไทใหญ่), ลำกร้อล (ลั้วะ), ซานไถหงฮวา ซานตุ้ยเจี่ย (จีนกลาง), ชะรักป่า, แคว้งค่า, ผ้าห้ายห่อคำ, มักก้านต่อ, หมอกนางต๊ะ, หูแวง, ฮังตอ เป็นต้น
สรรพคุณของอัคคีทวาร
ใบสดมีรสขื่นร้อน ใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง (ใบ)[1],[3]
ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคเยื่อตาอักเสบ ด้วยการใช้ผลสุกหรือดิบนำมาเคี้ยวค่อย ๆ กลืนน้ำกิน (ผล)[1],[3]
ชาวบ้านจะนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดความดันโลหิต (ต้น)[7]
ทั้งต้นมีรสขมเผ็ด มีพิษเล็กน้อย เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้จับสั่น (ทั้งต้น)[2] ใช้เป็นยาแก้ไข้ป่า ด้วยการฝานลำต้นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากให้แห้ง ใช้ต้มกับน้ำกิน (ต้น)[6],[7]
ตำรับยาแก้ไข้จับสั่น ระบุให้ใช้ต้นอัคคีทวารสด 35 กรัม, เมล็ดพริกไทย 5 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 5 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกินก่อนเกิดอาการไข้ประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งจากการรักษาด้วยวิธีนี้พบว่าได้ผลดี แต่ในขณะที่ทำการรักษาไม่ควรรับประทานส้มหรือของที่มีรสเปรี้ยว รวมไปถึงของที่มีกลิ่นคาว และห้ามรับประทานถั่ว (ต้น)[2]

ผลมีรสเปรี้ยวขื่นร้อน ใช้ทั้งผลสุกและดิบ นำมาเคี้ยวค่อย ๆ กลืนเอาน้ำเป็นยาแก้ไอ (ผล)[1],[3]
ช่วยแก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ แก้ทอนซิลอักเสบ (ทั้งต้น)[2]
รากของอัคคีทวารมีรสขมร้อน จึงมีสรรพคุณช่วยทำให้เสมหะแห้ง ช่วยในระบบทางเดินหายใจได้ดี เช่น แก้หอบหืด อาการไอ แก้ไข้ แพ้อากาศ รวมไปถึงริดสีดวงจมูกหรืออาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก (ราก)[7]
รากอัคคีทวารนำมาต้มผสมกับขิงและลูกผักชี ใช้กินเป็นยาแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ราก)[3],[7]
ใบนิยมนำมาต้มกับขิงกินเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ใบ)[7]
ใบนำมาลนไฟแล้วนำมาประคบบริเวณหน้าอกจะช่วยแก้อาการเจ็บหน้าอกได้ (ใบ)[5]
รากใช้เป็นยารักษาสุขภาพของระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยมีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหาร ขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งท้อง (ราก)[7]
ใบอัคคีทวารมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการจุกเสียด จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องท้องอืด (ใบ)[7]
ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวดท้อง ด้วยการนำลำต้นมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ตากให้แห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำกิน (ต้น)[6],[7]
ช่วยแก้อาการเสียดท้อง ด้วยการใช้ใบอัคคีทวารนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)[3]
ต้นอัคคีทวารมีรสขื่นร้อน ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)[1],[3] ส่วนแก่นหรือเนื้อไม้ก็มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน โดยชาวบ้านจะนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากให้แห้งใช้ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว (แก่น,เนื้อไม้)[6],[7]
ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้รากหรือต้นยาวประมาณ 1-2 องคุลี นำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ใช้ทาริดสีดวง เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวงทวาร หรือจะใช้ใบอัคคีทวารประมาณ 10-20 ใบ นำมาตากแห้ง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็ดเม็ดขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้รับประทานครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกวัน ติดต่อกันประมาณ 7-10 วัน ส่วนอีกวิธีนั้นให้ใช้ใบแห้งนำมาบดหรือป่นให้เป็นผง โรคในถ่ายไฟ เผาเอาควันใช้รมหัวริดสีดวงงอกที่ทวารหนัก ก็จะช่วยทำให้หัวริดสีดวงทวารยุบฝ่อได้ (ราก,ต้น,ใบ)[1],[3],[4]
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบ (ทั้งต้น)[2]
ใบสดหรือต้นสดใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน โรคเรื้อนได้ (ต้น,ใบ)[1],[3] ส่วนต้นสดใช้ตำพอกแก้ฝีหนอง และโรคผิวหนัง (ทั้งต้น)[2],[3] ส่วนใบและต้นมีสรรพคุณช่วยดูดหนอง (ใบ,ต้น)[3],[6]
ใบสดนำมาอังไฟแล้วขยี้ใส่แผลฝีหนองเรื้อรัง หรือรอยแผลจากการถูกแมลงกัดและปากนกกระจอก (ใบ)[5]
รากแห้งหรือต้นแห้งนำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ใช้เป็นยาเกลื่อนฝี ทารักษาแผลบวมได้ดี (ราก,ต้น)[7]
ต้นสดใช้ตำพอกแก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม (ทั้งต้น)[2]
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากลมชื้นเข้าข้อ (ทั้งต้น)[2]
ใบสดและต้นสดใช้ตำพอกแก้อาการขัดตามข้อ (ต้น,ใบ)[3]
ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้กระดูกร้าว กระดูกแตก ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[2]
ทั้งต้นใช้ต้มให้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรดื่ม หรือนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการปวดเมื่อย (ทั้งต้น)[5]
ใบสดนำมาโขลกเอาน้ำกินสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งคลอดลูก เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ดีขึ้นและแก้อักเสบ (ใบ)[7]
หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [2] ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ส่วนยาสดให้นำมาตำพอกแผลภายนอกตามความเหมาะสม[2] ส่วนการใช้ตาม [7] ส่วนของรากให้นำมาต้มกินหรือบดเป็นผงกิน[7]
ข้อควรระวัง : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjinda.com
Facebook Page: สวนแดงจินดา แก้ไขข้อมูลเมื่อ 26 Nov 18 11:26
คำสำคัญ: อัคคีทวาร