ชื่อสินค้า:
ชิงเฮา
รหัส:
301375
ประเภท:
ราคา:
50.00 บาท
ติดต่อ:
คุณกุสุมา ตุ่นแก้ว
ที่อยู่ร้าน:
จ.เชียงใหม่
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 8 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นชิงเฮา (โกฏจุลาลัมพา)
ชิงเฮา ชื่อสามัญ Sweet wormwood, Sweet annie, Sweet sagewort, Annual mugwort, Annual wormwood (Chinese: )
ชิงเฮา ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia annua L. (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Artemisia apiacea Hance) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1]
สมุนไพรชิงเฮา มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงฮาว, แชเฮา, เซียงเก่า ชิงเฉา (จีนกลาง) เป็นต้น
สรรพคุณของชิงเฮา
ทั้งต้นมีรสขม มีกลิ่นหอม เผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ดี ม้าม และกระเพาะใช้เป็นยาแก้ร้อนใน ลดไข้ ทำให้เลือดเย็น แก้ร่างกายอ่อนแอ มีไข้ กระสับกระส่าย (ทั้งต้น)[1]
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่นมาลาเรีย แก้ไข้เนื่องจากวัณโรค ไข้ต่ำเป็นเวลานานแต่ไม่มีเหงื่อ ไข้อันเกิดความร้อนในฤดูร้อน (ทั้งต้น)[1],[2],[4]
ใช้เป็นยาแก้ไข้ เพื่อลดเสมหะ แก้เจลียงหรือไข้ที่มีอาการจับวันเว้นวันซึ่งเป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง (ทั้งต้น)[4]
ใช้เป็นยาแก้หืด แก้หอบ แก้ไอ และใช้เป็นยาขับเหงื่อ (ทั้งต้น)[4]
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)[2],[4]
ใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน (ทั้งต้น)[4]
ในบัญชียาสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้เดิม มีปรากฏการใช้โกฐจุฬาลัมพา (ชิงเฮา) ในตำรับยารักษาอาการโรคในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวม 4 ตำรับ คือ ตำรับยาหอมเทพจิตร ตำรับยาหอมนวโกฐ (สองตำรับนี้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง), ตำรับยาจันทน์ลีลา และตำรับยาแก้ไขห้าราก (สองตำรับนี้เป็นตำรับยาแก้ไข้ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู)[4]
นอกจากนี้ยังได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐจุฬาลัมพา (ชิงเฮา) จัดอยู่ใน พิกัดโกฐทั้งห้า (เบญจโกฐ), พิกัดโกฐทั้งเจ็ด (สัตตโกฐ) และพิกัดโกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก และเป็นยาชูกำลัง (ทั้งต้น)[4]
ขนาดและวิธีใช้ : ให้ใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนต้นสดให้ใช้ภายนอกนำมาตำแล้วพอก[1]
หมายเหตุ : ในระยะการเจริญเติบโตต้นชิงเฮาจะค่อย ๆ สร้างสารอาติมิซินิน (Artemisinin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย และจะสร้างสารชนิดนี้เพิ่มขึ้นจนสูงสุดในระยะก่อนออกดอก ในระยะนี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การเก็บเกี่ยวมาใช้เป็นยา ส่วนของพืชที่สะสมสารชนิดนี้มากที่สุดคือส่วนของใบ ก้าน และดอก ตามลำดับ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการปลูกก็มีผลต่อปริมาณการสร้างสารอาติมิซินินด้วย โดยชิงเฮาสายพันธุ์ของจีนและเวียดนามจะมีปริมาณของสารอาติมิซินินมากที่สุดคือประมาณ 1% ซึ่งมากกว่าสายพันธุ์ที่พบในทวีปยุโรปและอเมริกาถึง 5-200 เท่า
ประโยชน์ของชิงเฮา
ทั้งต้นใช้เป็นยาฆ่ายุงได้ ด้วยการใช้ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำไปฆ่ายุง[1]
ในปัจจุบันสาร Artemisinin และอนุพันธ์ที่มีอยู่ในต้นชิงเฮาถูกนำมาศึกษากันอย่างกว้างขวาง จนได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ให้ใช้เป็นยารักษาโรคมาลาเรียที่เกิดจากเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน ซึ่งพบมากในประเทศไทย[1] โดยนำมาผลิตเป็นยาทั้งในรูปของยาเม็ดและยาฉีด
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjindagarden.com
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 18 Nov 18 05:12
ชิงเฮา ชื่อสามัญ Sweet wormwood, Sweet annie, Sweet sagewort, Annual mugwort, Annual wormwood (Chinese: )
ชิงเฮา ชื่อวิทยาศาสตร์ Artemisia annua L. (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิด Artemisia apiacea Hance) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1]
สมุนไพรชิงเฮา มีชื่อเรียกอื่น ๆ ว่า โกฐจุฬาลัมพาจีน, โกฐจุฬา, ชิงฮาว, แชเฮา, เซียงเก่า ชิงเฉา (จีนกลาง) เป็นต้น
สรรพคุณของชิงเฮา
ทั้งต้นมีรสขม มีกลิ่นหอม เผ็ดเล็กน้อย เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับ ดี ม้าม และกระเพาะใช้เป็นยาแก้ร้อนใน ลดไข้ ทำให้เลือดเย็น แก้ร่างกายอ่อนแอ มีไข้ กระสับกระส่าย (ทั้งต้น)[1]
ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่นมาลาเรีย แก้ไข้เนื่องจากวัณโรค ไข้ต่ำเป็นเวลานานแต่ไม่มีเหงื่อ ไข้อันเกิดความร้อนในฤดูร้อน (ทั้งต้น)[1],[2],[4]
ใช้เป็นยาแก้ไข้ เพื่อลดเสมหะ แก้เจลียงหรือไข้ที่มีอาการจับวันเว้นวันซึ่งเป็นไข้จับสั่นประเภทหนึ่ง (ทั้งต้น)[4]
ใช้เป็นยาแก้หืด แก้หอบ แก้ไอ และใช้เป็นยาขับเหงื่อ (ทั้งต้น)[4]
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร (ทั้งต้น)[2],[4]
ใช้เป็นยาแก้ดีซ่าน (ทั้งต้น)[4]
ในบัญชียาสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้เดิม มีปรากฏการใช้โกฐจุฬาลัมพา (ชิงเฮา) ในตำรับยารักษาอาการโรคในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวม 4 ตำรับ คือ ตำรับยาหอมเทพจิตร ตำรับยาหอมนวโกฐ (สองตำรับนี้มีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง), ตำรับยาจันทน์ลีลา และตำรับยาแก้ไขห้าราก (สองตำรับนี้เป็นตำรับยาแก้ไข้ ใช้บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู)[4]
นอกจากนี้ยังได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โดยโกฐจุฬาลัมพา (ชิงเฮา) จัดอยู่ใน พิกัดโกฐทั้งห้า (เบญจโกฐ), พิกัดโกฐทั้งเจ็ด (สัตตโกฐ) และพิกัดโกฐทั้งเก้า (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก และเป็นยาชูกำลัง (ทั้งต้น)[4]
ขนาดและวิธีใช้ : ให้ใช้ทั้งต้นแห้งประมาณ 5-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ส่วนต้นสดให้ใช้ภายนอกนำมาตำแล้วพอก[1]
หมายเหตุ : ในระยะการเจริญเติบโตต้นชิงเฮาจะค่อย ๆ สร้างสารอาติมิซินิน (Artemisinin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรีย และจะสร้างสารชนิดนี้เพิ่มขึ้นจนสูงสุดในระยะก่อนออกดอก ในระยะนี้จึงเป็นช่วงที่เหมาะสมแก่การเก็บเกี่ยวมาใช้เป็นยา ส่วนของพืชที่สะสมสารชนิดนี้มากที่สุดคือส่วนของใบ ก้าน และดอก ตามลำดับ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการปลูกก็มีผลต่อปริมาณการสร้างสารอาติมิซินินด้วย โดยชิงเฮาสายพันธุ์ของจีนและเวียดนามจะมีปริมาณของสารอาติมิซินินมากที่สุดคือประมาณ 1% ซึ่งมากกว่าสายพันธุ์ที่พบในทวีปยุโรปและอเมริกาถึง 5-200 เท่า
ประโยชน์ของชิงเฮา
ทั้งต้นใช้เป็นยาฆ่ายุงได้ ด้วยการใช้ต้นสดนำมาคั้นเอาน้ำไปฆ่ายุง[1]
ในปัจจุบันสาร Artemisinin และอนุพันธ์ที่มีอยู่ในต้นชิงเฮาถูกนำมาศึกษากันอย่างกว้างขวาง จนได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ให้ใช้เป็นยารักษาโรคมาลาเรียที่เกิดจากเชื้อ Plasmodium falciparum ที่ดื้อต่อยาคลอโรควิน ซึ่งพบมากในประเทศไทย[1] โดยนำมาผลิตเป็นยาทั้งในรูปของยาเม็ดและยาฉีด
cr.medthai
สนใจติดต่อ สวนแดงจินดา
โทร 089-637-3665
Facebook: สวน แดง จินดา
เว็บไซค์ :dangjindagarden.com
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 18 Nov 18 05:12
คำสำคัญ:
โกฐจุฬาลัมพา