ค้นหาสินค้า

เชื้อเห็ดตับเต่า

ร้าน เมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย
เชื้อเห็ดตับเต่า
เชื้อเห็ดตับเต่า
ชื่อสินค้า:

เชื้อเห็ดตับเต่า

รหัส:
293164
ราคา:
120.00 บาท /หน่อ
ติดต่อ:
คุณอังศรา ไพฑูรย์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองระยอง จ.ระยอง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 8 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
สนใจหัวเชื้อเห็ดตับเต่าทักแชทคะ 1ขวด120คะ ไอดีไลน์aungsara09/การเพาะเห็ดตับเต่าการเพาะเห็ดฟางเห็ดฟางกระสอบเห็ดแครง
ข้อมูลการเพาะเห็ด ตับเต่า ด้วยธรรมชาติ
SHARE ON:FacebookTwitter Google +PinterestDigg
ปลายๆ หน้าฝน หรือช่วงฝนทิ้งช่วงร้อนๆ ทีไรผมก็ได้กินเห็ดตับเต่าทุกที เพราะมันชอบขึ้นอยู่ใต้โคนขนุน ใกล้ๆ กับกอข่าที่บ้าน แทบไม่ต้องไปเดินหาที่ไหน ด้วยความแปลกใจว่าทำไมอยู่ดีๆ ถึงมีเห็ดจำพวกนี้ขึ้นในบริเวณนี้ เลยทำการค้นคว้าศึกษาข้อมูลที่เกียวข้องทั้งใน internet และในหนังสือด้วยความอยากรู้ เลยได้คำตอบว่า
เห็ดตับเต่า คือเห็ดเอ๊กโตมัยคอร์ไรซ่า ที่มีส่วนช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตและทนแล้งได้ดี เอ แต่มันจะเกี่ยวกับที่อยากรู้หรือเปล่ามาดูกัน ค้นเข้าไปยังเว็บชมรมเกษตรปลอดสารพิษก็ได้ความว่า เห็ดตับเต่า ถือได้ว่าเป็นมัยคอร์ไรซาชนิดหนึ่ง มีประโยชน์ช่วยทำหน้าที่ให้พืชได้รับสารอาหารโดยตรงจากกระบวนการเมตะโบไลท์ (สารจากกิจกรรมดำรงชีพของเห็ดรา) และยังช่วยสร้างเส้นใยห่อหุ้มรากทำให้สามารถดูดซับความชุ่มชื้นจากดินและรากพืชจะสามารถดูดความชื้นนั้นต่อไปอีกทีหนึ่ง ทำให้พืชสามารถทนต่อสภาวะที่แห้งแล้งได้เป็นดี น้ำย่อยของเห็ดตับเต่าช่วยให้แร่ธาตุอาหารในดินแปรสภาพมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช อีกทั้งยังทำหน้าที่เหมือนราเจ้าถิ่นทำให้เชื้อราโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายพืชได้ยากขึ้น จึงทำให้ต้นไม้ที่มีเห็ดตับเต่าหรือมัยคอร์ไรซาอาศัยอยู่มีความแข็งแรงต้านทานต่อเชื้อราโรคพืชได้มากขึ้น เอ่อ แล้วมันเกี่ยวกับที่มันขึ้นในบริเวณนี้ยังไงหว่า ลองอ่านต่อมาเรื่อยๆ
เห็ดตับเต่าสามารถขึ้นได้กับไม้หลากหลายชนิดอย่างเช่น มะม่วง, ชมพูพันธุ์ทิพย์ (ตาเบบูย่า), มะกอกน้ำ, โสน, หว้า, ยางนา, เหียง, ตะแบก, มะค่า, ขนุน ฯลฯ ทำให้เราสามารถที่จะได้ป่าเพิ่มขึ้นมาอีกจากผลพลอยได้ที่จะผลิตเห็ดตับเต่าหรือเห็ดตระกูลเอ๊กโตมัยคอร์ไรซา จึงนับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากต่อโลกและเกษตรกรที่ต้องการลดต้นทุนจากใช้ปุ๋ย ฮอร์โมนและยาฆ่าแมลง เพราะเมื่อเรานำสปอร์ของเชื้อเห็ดตับเต่าใส่ไว้ที่โคนต้นพืชจะช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตและมีความแข็งแรงปลอดภัยจากโรคและแมลงมากกว่าพืชที่ไม่มีเห็ดมัยคอร์ไรซาอาศัยอยู่
เห็ดตับเต่าสามารถเพาะนอกฤดูฝนได้ โดยการเพาะเลี้ยงแบบเลียนแบบธรรมชาติก็เพื่อให้เห็ดสามารถเจริญเติบโตนอกฤดูกาลได้ เพราะเป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่กับต้นไม้ร่วมกับรากพืชหลายชนิด เห็ดจะได้ประโยชน์จากรากพืช ได้ธาตุอาหาร และรากพืชจะได้ความชุมชื่นจากเห็ด ขึ้นกับต้นไม้ได้หลายชนิด เห็ดชนิดนี้เป็นพืชที่เกิดขึ้นตามฤดูจึงหารับประทานยาก และมีราคาแพง
เราสามารถช่วยทำให้ต้นไม้ของเรามีเห็ดตับเต่าอาศัยอยู่ที่รากได้โดยง่าย เพียงแต่หาสปอร์จากดอกเห็ดตับเต่าที่ค่อนข้างแก่ อาจจะให้เด็กไปหาตามหมุ่บ้านหรือจะไปหาซื้อตามตลาดเช้าๆ ในท้องถิ่นของตัวเองก็ได้ เมื่อได้มาแล้วนำมาบี้ ขยำ ละลายในน้ำใส่บัวราดรดที่โคนต้น เท่านี้ก็เป็นการเพิ่มสปอร์เข้าไปที่รากพืชแบบง่าย หรือถ้ายังไม่สะดวกก็สามารถหาซื้อเชื้อเห็ดตับเต่าที่จำหน่ายในรูปของหัวเชื้อเก็บไว้ในภาชนะขวดแบนก็ได้ราคาขวดละประมาณ 50 บาท นำหัวเชื้อไปกลบฝังไว้ใกล้ๆ กับรากพืชที่โคนรอบทรงพุ่มอาจจะใช้วิธีเรียกรากให้เพิ่มจำนวนโดยการใส่ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก รำละเอียดและราดไคโตซาน MT เพิ่มเข้าไปจะช่วยให้รากของต้นไม้เพิ่มขึ้นมาและสัมผัสกับเชื้อเห็ดตับเต่าได้ง่าย อึ่ม คุณมนตรี บุญจรัส จาก ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ เค้าว่ามาอย่างนี้
ซึ่งสรุปว่าเห็ดที่ขึ้นที่โคนขนุนมันคงได้สปอร์มาเอง หรือสปอร์มันคงปลิวมาแล้วหล่นที่นั่นล่ะมั้ง เลยต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องการเพาะเห็ดตับเต่านี้
การเพาะเห็ดตับเต่า แบบธรรมชาติ เพราะดูเหมือนว่าจะเหมาะกับวิธีการได้เห็ดนี่มา อันนี้ได้มาจากเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งเค้าบอกว่ามีวิธีการง่ายๆ คือ หาต้นไม้ที่เห็ดตับเต่าหรือเห็ดห้าสามารถไปอาศัยเจริญเติบโตอยู่ที่รากและสร้างดอกเห็ดได้ ต้นไม้เหล่านี้มีอยู่หลายชนิดเช่น หว้า ชมพู่ ลำดวน แค ทองหลาง โสน รำเพย ยี่โถ ชบา ชมพูพันธุ์ทิพย์ มะไฟ มะม่วง ขนุน มะกอกบ้าน มะกอกน้ำ น้อยหน่า สะแกนา ส้มโอ ไทร ยางนา และพันธุ์ไม้ตระกูลยาง ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วงหิมพานต์ ยางพารา ฯลฯ หลังจากนั้นใส่เชื้อเห็ดลงไปในส่วนของรากต้นไม้เหล่านั้น ทำได้หลายวิธีตามสะดวกและตามฤดูกาล ดังนี้
รอให้สปอร์เห็ดมากับลม น้ำ หรือสัตว์กินเห็ดมาถ่ายใส่ไว้ให้
ขูดเอาผิวดินที่เคยมีเห็ดขึ้น และเห็ดเก่าปล่อยสปอร์ไว้ เอาดินนี้มาใส่ตรงโคนต้นไม้ข้างต้น
เอาเห็ดแก่จนมีสปอร์มาล้างน้ำ แล้วใช้น้ำล้างดอกเห็ดมาราดตรงโคนต้นไม้ข้างต้น
เอาดอกเห็ดแก่หรืออ่อนก็ได้ใส่เครื่องปั่นผลไม้ ปั่นจนละเอียดแบบน้ำปั่นผสมน้ำรดโคนหรือต้นไม้
เอาเชื้อบนข้าวฟ่างมาใส่บนรากที่คุ้ยดินออกแล้วกลบดินตามเดิม
การเข้าอยู่อาศัยของใยเห็ด จะเจริญดีมากที่รากอ่อน ปลายราก แต่เราใส่เชื้อที่โคนราก เชื้ออาศัยโคนราก แล้วค่อยๆ ลามไปทั่วปลายราก เชื้อเห็ดจะใช้เวลาพัฒนา 1-3 ปี ต้นไม้ผ่านแล้งพอได้ความชื้นจะแตกใบอ่อน รากอ่อน เส้นใยเห็ดก็รวมตัวเกิดเป็นดอกเห็ด หลังจากนั้นตราบใดที่ต้นไม้ยังไม่ตายก็จะเกิดเห็ดได้ทุกปี ต้นยางนาอายุยืนมาก จึงสามารถเก็บเห็ดได้ชั่วลูกชั่วหลาน
เพาะเห็ดตับเต่า กรมวิชาการเกษตร นางสาวนันทินี ศรีจุมปา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษกรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการบังคับให้เห็ดตับเต่าออกผลผลิตและจำหน่ายเป็นการค้าได้ โดยเก็บดอกเห็ดจากธรรมชาติมาแยกเชื้อบริสุทธิ์ แล้วนำไปขยายบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งใช้เมล็ดข้าวฟ่างที่บรรจุอยู่ในขวดแก้ว จนกระทั่งเชื้อเห็ดเจริญเติบโตเต็มอาหารเลี้ยงเชื้อ เพียงเท่านี้เกษตรกรก็สามารถนำไปปลูกขยายต่อได้ ซึ่งวิธีขยายพันธุ์ทำได้ง่ายๆ เพียงนำเชื้อเห็ดตับเต่า 1 ขวด ไปผสมน้ำเปล่า 2 ลิตร แล้วใช้มือขยี้เมล็ดข้าวฟ่าง เชื้อเห็ดก็หลุดลงในน้ำ ซึ่งเป็นการแยกเชื้อเห็ดออกจากเมล็ดข้าวฟ่าง จากนั้นนำเชื้อเห็ดไปปลูกลงดินใต้ต้นไม้ผล เช่น ต้นขนุน ต้นมะเกี๋ยง ต้นกระท้อน และต้นมะม่วง ซึ่งนักวิชาการเกษตรได้ศึกษาแล้วว่า เป็นพืชอาหารของเห็ด ขอบคุณบทความดีดีจากอินเตอร์เน็ตคะ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Oct 21 07:26
คำสำคัญ: เห็ด