ชื่อสินค้า:
กำแพงเจ็ดชั้นหรือตาไก้
รหัส:
287673
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายเนื้อไม้กำแพงเจ็ดชั้น ตาไก้
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0610236156
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
สรรพคุณ:
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น ลำต้น แก้ปวดเมื่อย คลายเส้นเอ็น (เข้ายากับ ตาไก่ ตากวง อ้อยดำ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเต่า ใช้ลำต้นของทุกต้นรวมกัน มาต้มน้ำดื่ม) ยาระบาย (เข้ายากับ ยาปะดง ตากวง ดูกไส คอแลน พาสาน) ขับปัสสาวะ (เข้ายากับ แก่นตาไก้ แก่นตากวง แก่นดูกไส แก่นตานนกกด) แก้ริดสีดวงทวาร (เข้ายากับ ว่านงวงช้าง แก่นกระถิน ปูนขาว แล้วต้ม)
ตัวอย่างตำรับยาของตาไก้ ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย แก้กษัย บำรุงกำลัง ใช้ตาไก้ ตากวง เถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เหล็ก (เครือเขาแกลบ) ต้มกินเป็นประจำ ตัวอย่างตำรับยาระบาย ใช้ตาไก้ ตากวง แก่นนมสาว แก่นดูกใส รากเกียงปืน กาฝากต้นติ้ว ต้มกิน ตัวอย่างตำรับยาแก้เบาหวาน ใช้กำแพงเจ็ดชั้น(ตาไก้) แซ่ม้าทะลาย รากคนทา รากมะแว้ง เครือเถามวกขาว เถามวกแดง รากลำเจียก ชะเอมไทย อย่างละ 2 บาท ต้มกินจนยาจืด
ยาพื้นบ้าน: ใช้ ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวง และรากปอด่อน) บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง แก้ผอมแห้งแรงน้อย ขับระดูขาว แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับโลหิตระดู รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก) แก้หืด (ผสมกับแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง ต้นสบู่ขาว ต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และต้นคำรอก) แก้เบาหวาน (ผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู แก่นสัก และหญ้าชันกาดทั้งต้น) ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษร้อนของโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด ขับระดู ดอก แก้บิดมูกเลือด แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายแก้เส้นเอ็นอักเสบ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดนครราชสีมา: ใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น
กัมพูชา: ใช้ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน
ตาไก้ กำแพงเจ็ดชั้น ป้องกันโรคภัย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Salacia chinensis L.
ชื่อวงศ์ CELASTRACEAE
ชื่ออื่นๆ กำแพงเจ็ดชั้น ตะลุ่มนก ตาไก้ น้ำนอง มะต่อมไก่ หลุมนก
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกช่อสั้นๆ ออกที่ง่ามใบ กลีบดอกสีเหลือง หรือสีเขียวอมเหลือง ผลรูปค่อนข้างกลมหรือรูปรี เมื่อสุกสีส้มแดง
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด
ตาไก้เป็นสมุนไพรที่หมอยาอีสานทุกคนต้องรู้จัก เพราะตาไก้แทรกอยู่ในตำรับยาหลายตำรับในตำราใบลานของอีสาน คล้ายๆ กับที่ใบมะกา ยาดำ ฝักราชพฤกษ์(ฝักคูน) แทรกอยู่ในตำรับยาทางภาคกลาง เนื่องจากในการแพทย์แผนตะวันออกโดยทั่วไป การกำจัดพิษจะมีความสำคัญมาก เพื่อไม่ให้ของเสียนั้นเป็นภาระแก่ร่างกายที่กำลังอ่อนแอ ทั้งยังช่วยเตรียมร่างกายให้สามารถดูดซึมโอสถสารและสารอาหารที่มีประโยชน์ได้
การกินตาไก้เป็นประจำจะทำให้สุขภาพดี เหมือนมีกำแพงเจ็ดชั้นป้องกันโรคภัยไข้เจ็บอยู่ จากความเชื่อเช่นนี้ทำให้มีการใช้เนื้อไม้ของตาไก้ไปทำเครื่องราง ตาไก้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า กำแพงเจ็ดชั้น เนื่องจากเนื้อไม้ของเถาตาไก้มีลักษณะเป็นลายเรียงตัวเป็นวงๆ รอบศูนย์กลางเหมือนกำแพงที่ล้อมไว้
ยาบำรุงเอ็น บำรุงเส้น บำรุงกำลัง ของคนทุกภาค
ตาไก้เป็นยารักษาเอ็น รักษากล้ามเนื้อ บำรุงร่างกาย ช่วยระบายของเสีย ที่หมอยาทุกภาคใช้ ตามความเชื่อที่ว่า ถ้าร่างกายมีเอ็นและกล้ามเนื้อที่แข็งแรงแล้ว จะสามารถทำงานการได้ดี ลักษณะเด่นที่สุดของตาได้คือการถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ตาไก้นิยมใช้คู่กับตากวงเป็นยาระบาย ตาไก้จะช่วยระบายท้องและถ่ายน้ำเหลือง ส่วนตากวงจะระบายลมร้าย ส่วนใหญ่ท่านทั้งสองจะใช้ตาไก้เป็นยาแก้กษัย แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง จะต้มกินหรือดองกินก็ได้
ตาไก้จะเป็นยาช่วยปรับร่างกาย คนผอมจะทำให้อ้วน คนอ้วนจะทำให้ผอม คนเป็นเบาหวานควรต้มกินเป็นประจำเพื่อช่วยคุมน้ำตาล ตาไก้ยังใช้ร่วมกับยากำลังหรือยารักษาโรคอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เหล็ก(เครือเขาแกบ) ต้มกินเป็นยาบำรุงกำลังแก้กษัย ใช้ร่วมกับรากหูกวาง(ค้อนตีหมา) ตากวง รากอีล้ำ(กำลังทรพี) แก้ไข้สูงไม่สร่างสักที รากตาไก้ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้ฝี รวมทั้งฝนกับน้ำซาวข้าวให้คนไข้กินแก้เบื่อเห็ดอีกด้วย
หมอยาทางภาคใต้เรียกตาไก้ว่า หลุมนก และใช้ในสรรพคุณเดียวกันกับที่ทางอีสาน ที่น่าสนใจคือ มีการใช้เถาของหลุมนกต้มดื่ม เพื่อคุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานเช่นเดียวกัน นอกจากนี้หมอยาภาคใต้ยังใช้ผลของตาไก้ให้คนไข้กินเท่าอายุเพื่อรักษาฝี ทั้งยังใช้เถาหั่นตากแดดให้แห้งดองเหล้า เพื่อบำรุงกำลังและบำรุงโลหิตสตรี ส่วนในการใช้เพื่อรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ทางภาคนี้จะใช้ใบยอและพาโหมย่านแทนต้นตากวง
ส่วนสามจังหวัดภาคใต้จะเรียกตาไก้ว่า บือติง เป็นภาษามลายูท้องถิ่น ลักษณะของแก่นไม้นี้เป็นที่รู้จักกันดี คือ มีลักษณะคล้ายเส้นกล้ามของร่างกายคนเรา ถ้าสังเกตให้ดีเส้นที่เหมือนเอ็นนั้นจะมีอยู่ ๗ ชั้น จึงเชื่อว่ามีสรรพคุณแก้ปวดกล้ามเนื้อ แก้ปวดเส้นเอ็น และบำรุงกำลังให้แข็งแรง โดยจะนำบือติงนี้มาต้มดื่มแก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง
ตาไก้แก้เบาหวาน ผลจากงานวิจัยสมัยใหม่
มีรายงานการวิจัยที่ทำในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้วัตถุดิบสมุนไพรจากเมืองไทย พบว่าตาไก้มีสารที่ยับยั้งการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลในลำไส้ ช่วยชะลอและลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการป้องกันตับไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านความอ้วน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ตาไก้ขายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใช้ป้องกันโรคเบาหวาน เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
เรื่องราวของตาไก้เป็นเครื่องยืนยันว่า เสียงของพ่อเม่า ตาส่วน พ่อประกาศ และหมอยาอีกหลายๆ คนนั้น มีคุณค่า มีคนเอาไปทำให้ประจักษ์ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร เพื่อตาไก้จะได้กลับมาเป็นกำแพงเจ็ดชั้นป้องกันโรคภัยให้คนไทยอีกครั้ง
น่ารู้
• ผลของตาไก้จะเหมือนตาของเก้ง ซึ่งคนอีสานเรียกเก้งว่า ไก้
• ยอดก่อนลวกจิ้มน้ำพริก หรือแกงกินก็ได้
• ดอกเหม็นมากไม่ควรปลูกในบริเวณบ้าน
ตำรับยา
ยาแก้ปวดเมื่อย แก้กษัย บำรุงกำลัง
ตาไก้ ตากวง เถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เหล็ก(เครือเขาแกบ) ต้มกินเป็นประจำ
ยาระบาย
ตำรับที่ ๑
รากตาไก้ รากตากวง ต้มกิน
ตำรับที่ ๒
ตาไก้ ตากวง แก่นนมสาว แก่นดูกใส รากเกียงปืน กาฝากต้นติ้ว ต้มกิน
ยาแก้ไข้สูงไม่สร่างสักที
ต้นตาไก้ รากหูกวาง(ค้อนตีหมา) รากตากวง รากอีล้ำ(กำลังทรพี) ต้มกิน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:45
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0610236156
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
สรรพคุณ:
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ เนื้อไม้ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคไต แก้ท้องผูก ยาระบาย แก้ลมตีขึ้น ลำต้น แก้ปวดเมื่อย คลายเส้นเอ็น (เข้ายากับ ตาไก่ ตากวง อ้อยดำ ขมิ้นเกลือ ดูกหิน ตับเต่า ใช้ลำต้นของทุกต้นรวมกัน มาต้มน้ำดื่ม) ยาระบาย (เข้ายากับ ยาปะดง ตากวง ดูกไส คอแลน พาสาน) ขับปัสสาวะ (เข้ายากับ แก่นตาไก้ แก่นตากวง แก่นดูกไส แก่นตานนกกด) แก้ริดสีดวงทวาร (เข้ายากับ ว่านงวงช้าง แก่นกระถิน ปูนขาว แล้วต้ม)
ตัวอย่างตำรับยาของตาไก้ ใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย แก้กษัย บำรุงกำลัง ใช้ตาไก้ ตากวง เถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เหล็ก (เครือเขาแกลบ) ต้มกินเป็นประจำ ตัวอย่างตำรับยาระบาย ใช้ตาไก้ ตากวง แก่นนมสาว แก่นดูกใส รากเกียงปืน กาฝากต้นติ้ว ต้มกิน ตัวอย่างตำรับยาแก้เบาหวาน ใช้กำแพงเจ็ดชั้น(ตาไก้) แซ่ม้าทะลาย รากคนทา รากมะแว้ง เครือเถามวกขาว เถามวกแดง รากลำเจียก ชะเอมไทย อย่างละ 2 บาท ต้มกินจนยาจืด
ยาพื้นบ้าน: ใช้ ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวง และรากปอด่อน) บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษทำให้ร้อน บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง แก้ผอมแห้งแรงน้อย ขับระดูขาว แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ เข้าข้อ แก้ประดง ขับผายลม ฟอกและขับโลหิตระดู รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก) แก้หืด (ผสมกับแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง ต้นสบู่ขาว ต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และต้นคำรอก) แก้เบาหวาน (ผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู แก่นสัก และหญ้าชันกาดทั้งต้น) ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษร้อนของโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด ขับระดู ดอก แก้บิดมูกเลือด แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายแก้เส้นเอ็นอักเสบ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดนครราชสีมา: ใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น
กัมพูชา: ใช้ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน
ตาไก้ กำแพงเจ็ดชั้น ป้องกันโรคภัย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Salacia chinensis L.
ชื่อวงศ์ CELASTRACEAE
ชื่ออื่นๆ กำแพงเจ็ดชั้น ตะลุ่มนก ตาไก้ น้ำนอง มะต่อมไก่ หลุมนก
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ดอกช่อสั้นๆ ออกที่ง่ามใบ กลีบดอกสีเหลือง หรือสีเขียวอมเหลือง ผลรูปค่อนข้างกลมหรือรูปรี เมื่อสุกสีส้มแดง
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด
ตาไก้เป็นสมุนไพรที่หมอยาอีสานทุกคนต้องรู้จัก เพราะตาไก้แทรกอยู่ในตำรับยาหลายตำรับในตำราใบลานของอีสาน คล้ายๆ กับที่ใบมะกา ยาดำ ฝักราชพฤกษ์(ฝักคูน) แทรกอยู่ในตำรับยาทางภาคกลาง เนื่องจากในการแพทย์แผนตะวันออกโดยทั่วไป การกำจัดพิษจะมีความสำคัญมาก เพื่อไม่ให้ของเสียนั้นเป็นภาระแก่ร่างกายที่กำลังอ่อนแอ ทั้งยังช่วยเตรียมร่างกายให้สามารถดูดซึมโอสถสารและสารอาหารที่มีประโยชน์ได้
การกินตาไก้เป็นประจำจะทำให้สุขภาพดี เหมือนมีกำแพงเจ็ดชั้นป้องกันโรคภัยไข้เจ็บอยู่ จากความเชื่อเช่นนี้ทำให้มีการใช้เนื้อไม้ของตาไก้ไปทำเครื่องราง ตาไก้จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า กำแพงเจ็ดชั้น เนื่องจากเนื้อไม้ของเถาตาไก้มีลักษณะเป็นลายเรียงตัวเป็นวงๆ รอบศูนย์กลางเหมือนกำแพงที่ล้อมไว้
ยาบำรุงเอ็น บำรุงเส้น บำรุงกำลัง ของคนทุกภาค
ตาไก้เป็นยารักษาเอ็น รักษากล้ามเนื้อ บำรุงร่างกาย ช่วยระบายของเสีย ที่หมอยาทุกภาคใช้ ตามความเชื่อที่ว่า ถ้าร่างกายมีเอ็นและกล้ามเนื้อที่แข็งแรงแล้ว จะสามารถทำงานการได้ดี ลักษณะเด่นที่สุดของตาได้คือการถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ตาไก้นิยมใช้คู่กับตากวงเป็นยาระบาย ตาไก้จะช่วยระบายท้องและถ่ายน้ำเหลือง ส่วนตากวงจะระบายลมร้าย ส่วนใหญ่ท่านทั้งสองจะใช้ตาไก้เป็นยาแก้กษัย แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง จะต้มกินหรือดองกินก็ได้
ตาไก้จะเป็นยาช่วยปรับร่างกาย คนผอมจะทำให้อ้วน คนอ้วนจะทำให้ผอม คนเป็นเบาหวานควรต้มกินเป็นประจำเพื่อช่วยคุมน้ำตาล ตาไก้ยังใช้ร่วมกับยากำลังหรือยารักษาโรคอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เหล็ก(เครือเขาแกบ) ต้มกินเป็นยาบำรุงกำลังแก้กษัย ใช้ร่วมกับรากหูกวาง(ค้อนตีหมา) ตากวง รากอีล้ำ(กำลังทรพี) แก้ไข้สูงไม่สร่างสักที รากตาไก้ฝนกับน้ำปูนใสทาแก้ฝี รวมทั้งฝนกับน้ำซาวข้าวให้คนไข้กินแก้เบื่อเห็ดอีกด้วย
หมอยาทางภาคใต้เรียกตาไก้ว่า หลุมนก และใช้ในสรรพคุณเดียวกันกับที่ทางอีสาน ที่น่าสนใจคือ มีการใช้เถาของหลุมนกต้มดื่ม เพื่อคุมน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวานเช่นเดียวกัน นอกจากนี้หมอยาภาคใต้ยังใช้ผลของตาไก้ให้คนไข้กินเท่าอายุเพื่อรักษาฝี ทั้งยังใช้เถาหั่นตากแดดให้แห้งดองเหล้า เพื่อบำรุงกำลังและบำรุงโลหิตสตรี ส่วนในการใช้เพื่อรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ทางภาคนี้จะใช้ใบยอและพาโหมย่านแทนต้นตากวง
ส่วนสามจังหวัดภาคใต้จะเรียกตาไก้ว่า บือติง เป็นภาษามลายูท้องถิ่น ลักษณะของแก่นไม้นี้เป็นที่รู้จักกันดี คือ มีลักษณะคล้ายเส้นกล้ามของร่างกายคนเรา ถ้าสังเกตให้ดีเส้นที่เหมือนเอ็นนั้นจะมีอยู่ ๗ ชั้น จึงเชื่อว่ามีสรรพคุณแก้ปวดกล้ามเนื้อ แก้ปวดเส้นเอ็น และบำรุงกำลังให้แข็งแรง โดยจะนำบือติงนี้มาต้มดื่มแก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง
ตาไก้แก้เบาหวาน ผลจากงานวิจัยสมัยใหม่
มีรายงานการวิจัยที่ทำในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้วัตถุดิบสมุนไพรจากเมืองไทย พบว่าตาไก้มีสารที่ยับยั้งการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลในลำไส้ ช่วยชะลอและลดการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการป้องกันตับไม่ให้ถูกทำลายจากสารพิษ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านความอ้วน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ตาไก้ขายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใช้ป้องกันโรคเบาหวาน เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
เรื่องราวของตาไก้เป็นเครื่องยืนยันว่า เสียงของพ่อเม่า ตาส่วน พ่อประกาศ และหมอยาอีกหลายๆ คนนั้น มีคุณค่า มีคนเอาไปทำให้ประจักษ์ ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นใคร เพื่อตาไก้จะได้กลับมาเป็นกำแพงเจ็ดชั้นป้องกันโรคภัยให้คนไทยอีกครั้ง
น่ารู้
• ผลของตาไก้จะเหมือนตาของเก้ง ซึ่งคนอีสานเรียกเก้งว่า ไก้
• ยอดก่อนลวกจิ้มน้ำพริก หรือแกงกินก็ได้
• ดอกเหม็นมากไม่ควรปลูกในบริเวณบ้าน
ตำรับยา
ยาแก้ปวดเมื่อย แก้กษัย บำรุงกำลัง
ตาไก้ ตากวง เถาวัลย์เปรียง เถาวัลย์เหล็ก(เครือเขาแกบ) ต้มกินเป็นประจำ
ยาระบาย
ตำรับที่ ๑
รากตาไก้ รากตากวง ต้มกิน
ตำรับที่ ๒
ตาไก้ ตากวง แก่นนมสาว แก่นดูกใส รากเกียงปืน กาฝากต้นติ้ว ต้มกิน
ยาแก้ไข้สูงไม่สร่างสักที
ต้นตาไก้ รากหูกวาง(ค้อนตีหมา) รากตากวง รากอีล้ำ(กำลังทรพี) ต้มกิน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:45
คำสำคัญ:
กำแพงเจ็ดชั้น
ชาสมุนไพร