ชื่อสินค้า:
ต้น ดาวเรือง
รหัส:
279723
ประเภท:
ราคา:
25.00 บาท
ติดต่อ:
คุณสุริยา รุ่งเจริญทอง
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี
ร้านนี้แจ้งเลขทะเบียนพานิชย์แล้ว
เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 3 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
การปลูก
การปลูกดาวเรือง เป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูก ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความ เป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียด และปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูก เป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบ แปลง ริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน
- การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้ราก ดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
- การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
- การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับ ปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำ ให้ชุ่มตลอดเวลา
- การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และ ในช่วงที่ ดอกเริ่มบาน จะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรค เข้าทำลายได้ง่าย
- การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด ข้อดี คือต้นกล้าแข็งแรง ได้ผลผลิตแน่นอน ย้ายปลูกง่ายและระบบรากไม่กระทบ กระเทือนเวลาย้ายปลูก
โรคและแมลง
โรคใบจุด อาการใบเริ่มมีอาการใบจุดสีขาวแล้วเนื้อเยื้อตรงกลางแผล จะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเนื้อ ใบที่มีแผลหลายแผล จะค่อยๆแห้ง ร่วงหล่น ทำให้ต้นทรุดโทรม (ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)
โรคดอก อาการโดยดอกที่เกิดโรคจะเน่าเป็นสีน้ำตาล โดยเฉพาะถ้าหากเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็น ดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบาน ได้ หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานจะพบว่า กลีบดอกจะมีสีน้ำตาลลามเข้าไปทาง โคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น (ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)
โรคเหี่ยวเหลือง อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณ โคนต้นแสดงอาการใบเหลือง แล้วแห้งลามขึ้นมา สู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลือง และแห้งตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น ท่อน้ำเลี้ยงแห้งเป็นสีน้ำตาล (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้า ทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก)
โรคเหี่ยวเขียว อาการเริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณยอดด้านบน แสดงอาการเหี่ยวสลด แล้วใบจะลู่ลงเหมือนอาการขาดน้ำหลังจากนั้น 2-3 วันต้นที่เป็นโรคจะแสดงอาการเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัด และอีก 4-5 วันต้นดาวเรืองจะตายโดยใบยังมีสีเขียวอยู่ (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้าทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก)
สอบถาม
0808069983
0625187549
สวนสุริยา แก้ไขข้อมูลเมื่อ 08 Nov 17 02:54
การปลูกดาวเรือง เป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก
การเตรียมแปลงปลูก ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความ เป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียด และปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูก เป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบ แปลง ริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน
- การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้ราก ดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
- การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
- การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับ ปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำ ให้ชุ่มตลอดเวลา
- การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และ ในช่วงที่ ดอกเริ่มบาน จะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรค เข้าทำลายได้ง่าย
- การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด ข้อดี คือต้นกล้าแข็งแรง ได้ผลผลิตแน่นอน ย้ายปลูกง่ายและระบบรากไม่กระทบ กระเทือนเวลาย้ายปลูก
โรคและแมลง
โรคใบจุด อาการใบเริ่มมีอาการใบจุดสีขาวแล้วเนื้อเยื้อตรงกลางแผล จะแห้งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเนื้อ ใบที่มีแผลหลายแผล จะค่อยๆแห้ง ร่วงหล่น ทำให้ต้นทรุดโทรม (ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)
โรคดอก อาการโดยดอกที่เกิดโรคจะเน่าเป็นสีน้ำตาล โดยเฉพาะถ้าหากเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็น ดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบาน ได้ หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานจะพบว่า กลีบดอกจะมีสีน้ำตาลลามเข้าไปทาง โคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น (ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)
โรคเหี่ยวเหลือง อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณ โคนต้นแสดงอาการใบเหลือง แล้วแห้งลามขึ้นมา สู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลือง และแห้งตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น ท่อน้ำเลี้ยงแห้งเป็นสีน้ำตาล (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้า ทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก)
โรคเหี่ยวเขียว อาการเริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณยอดด้านบน แสดงอาการเหี่ยวสลด แล้วใบจะลู่ลงเหมือนอาการขาดน้ำหลังจากนั้น 2-3 วันต้นที่เป็นโรคจะแสดงอาการเหี่ยวอย่างเห็นได้ชัด และอีก 4-5 วันต้นดาวเรืองจะตายโดยใบยังมีสีเขียวอยู่ (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้าทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก)
สอบถาม
0808069983
0625187549
สวนสุริยา แก้ไขข้อมูลเมื่อ 08 Nov 17 02:54
คำสำคัญ:
ต้นดาวเรือง
ต้นกล้าดาวเรือง