ชื่อสินค้า:
มะรุม สมุนไพรไทย สมุนไพร
รหัส:
272598
ประเภท:
ราคา:
ไม่ระบุ
ติดต่อ:
คุณศิริรัตน์ ปรางค์ชัยกุล
ที่อยู่ร้าน:
เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 8 ปี 8 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชื่อสมุนไพร : มะรุม
ชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) : Moringa, Horse radish tree, Drumstick
ชื่ออื่น : กาเน้งเดิม (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ตาก-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ) เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮุม หรือบักฮุ้ม (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa Oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann)
ชื่อวงศ์ : Moringaceae
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ฝัก เมล็ด เปลือกลำต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-20 เมตร
- ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เนื้อไม้อ่อน เปลือกแตกร่อน สีน้ำตาลอ่อนปนเทา กิ่งอ่อนมีขน กิ่งก้านหักง่าย ผิวค่อนข้างเรียบ
- ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ออกเรียงสลับ ยาวราว 45 เซนติเมตร โคนก้านใบประกอบป่องออก ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 0.7-2 เซนติเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบนิ่มอ่อนบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ใบที่อยู่ปลายสุดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่น
- ดอกออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยกลีบดอกสีขาวแกมเหลืองจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายมน แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดดอกโตเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ไม่เท่ากัน คล้ายกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน เรียงสลับกับเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 5-7 อัน รังไข่มี 1 ห้อง
- ผลเป็นฝักทรงกระบอกกลม ยาว 40-50 เซนติเมตร ฝักมีรอยคอด ตามแนวเมล็ด และมีสันตามยาว 9 สัน เปลือกฝักหนา ปลายฝักแหลม ฝักแห้งแตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดกลม มีปีก 3 ปีก มีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณของมะรุมแทรกซึมอยู่แทบทุกส่วนของต้นมะรุม อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นใบมะรุม ฝักมะมุม เปลือกต้น หรือรากมะรุม ทว่าใบมะรุมจะเป็นส่วนที่มีวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินบีสูงมาก มีวิตามินเอ ซี แคลเซียม โพแทสเซียม รวมทั้งธาตุเหล็กก็สูงไม่แพ้กัน จนกระทั่งงานวิจัยต่างประเทศยังยกให้ใบมะรุมเป็นซูเปอร์ฟู้ดชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
ในตำรายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด ทำให้นอนหลับ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และช่วยแก้ไข้ ใช้ส่วนดอกและผลเป็นยาบำรุง ใช้ส่วนเมล็ดบดพอกแก้ปวดตามข้อ
1. ในตำรายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด
2. เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
3. ทำให้นอนหลับง่าย
4. แก้ไข้
5. ลดไขมันในเลือด
6. บำรุงตับ
7. ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน
8. แก้อักเสบ
9. ช่วยลดความดันโลหิต เมื่อนำสารสกัดจากใบไปผสมน้ำและเอทานอล
10. ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
11. บำรุงกำลัง
12. บรรเทาอาการปวดข้อ
13. รักษาแผลเปื่อย
14. สารสกัดจากใบสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญได้
15. บำรุงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้แข็งแรง
16. ต้านอนุมูลอิสระได้
17. น้ำคั้นสดของใบมะรุมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
18. สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
19. ช่วยบำรุงการทำงานของระบบย่อยอาหาร
20. ช่วยคงสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยให้อารมณ์คงที่
ในภาพรวมของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองพบว่า มะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านมะเร็ง ลดระดับคอเลสเตอรอล ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันตับอักเสบ ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ำตาล และฤทธิ์ต้านการอักเสบ
มะรุมกับความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ มะรุมไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก ผู้ป่วยที่กินมะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหมั่นตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ตรวจพบว่ามีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น
==========================================================================
สนใจสอบถามได้ที่ เดอะ ซัน เฮิร์บ
Line ID 0815673612
โทร 0815673612
https://www.facebook.com/Thesunherb/
https://thesunherb.lnwshop.com/
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 22 Jun 17 03:51
ชื่อสามัญ (ชื่อภาษาอังกฤษ) : Moringa, Horse radish tree, Drumstick
ชื่ออื่น : กาเน้งเดิม (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (ตาก-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮึม มะค้อนก้อม (ภาคเหนือ) เส่ช่อยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักอีฮุม หรือบักฮุ้ม (ภาคอีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa Oleifera Lam. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Guilandina moringa L., Hyperanthera moringa (L.) Vahl, Moringa zeylanica Burmann)
ชื่อวงศ์ : Moringaceae
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ฝัก เมล็ด เปลือกลำต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15-20 เมตร
- ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เนื้อไม้อ่อน เปลือกแตกร่อน สีน้ำตาลอ่อนปนเทา กิ่งอ่อนมีขน กิ่งก้านหักง่าย ผิวค่อนข้างเรียบ
- ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ออกเรียงสลับ ยาวราว 45 เซนติเมตร โคนก้านใบประกอบป่องออก ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 0.7-2 เซนติเมตร ยาว 1-3 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบนิ่มอ่อนบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ใบที่อยู่ปลายสุดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่น
- ดอกออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยกลีบดอกสีขาวแกมเหลืองจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายมน แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดดอกโตเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ไม่เท่ากัน คล้ายกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน เรียงสลับกับเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 5-7 อัน รังไข่มี 1 ห้อง
- ผลเป็นฝักทรงกระบอกกลม ยาว 40-50 เซนติเมตร ฝักมีรอยคอด ตามแนวเมล็ด และมีสันตามยาว 9 สัน เปลือกฝักหนา ปลายฝักแหลม ฝักแห้งแตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดกลม มีปีก 3 ปีก มีเมล็ดจำนวนมาก
สรรพคุณของมะรุมแทรกซึมอยู่แทบทุกส่วนของต้นมะรุม อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นใบมะรุม ฝักมะมุม เปลือกต้น หรือรากมะรุม ทว่าใบมะรุมจะเป็นส่วนที่มีวิตามินซี วิตามินเอ และวิตามินบีสูงมาก มีวิตามินเอ ซี แคลเซียม โพแทสเซียม รวมทั้งธาตุเหล็กก็สูงไม่แพ้กัน จนกระทั่งงานวิจัยต่างประเทศยังยกให้ใบมะรุมเป็นซูเปอร์ฟู้ดชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
ในตำรายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด ทำให้นอนหลับ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ และช่วยแก้ไข้ ใช้ส่วนดอกและผลเป็นยาบำรุง ใช้ส่วนเมล็ดบดพอกแก้ปวดตามข้อ
1. ในตำรายาพื้นบ้านใช้ใบมะรุมพอกแผลช่วยห้ามเลือด
2. เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ
3. ทำให้นอนหลับง่าย
4. แก้ไข้
5. ลดไขมันในเลือด
6. บำรุงตับ
7. ช่วยแก้เลือดออกตามไรฟัน
8. แก้อักเสบ
9. ช่วยลดความดันโลหิต เมื่อนำสารสกัดจากใบไปผสมน้ำและเอทานอล
10. ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
11. บำรุงกำลัง
12. บรรเทาอาการปวดข้อ
13. รักษาแผลเปื่อย
14. สารสกัดจากใบสามารถกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญได้
15. บำรุงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายให้แข็งแรง
16. ต้านอนุมูลอิสระได้
17. น้ำคั้นสดของใบมะรุมมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
18. สารสกัดจากใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด
19. ช่วยบำรุงการทำงานของระบบย่อยอาหาร
20. ช่วยคงสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยให้อารมณ์คงที่
ในภาพรวมของข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองพบว่า มะรุมมีฤทธิ์ที่น่าสนใจมากมาย เช่น ฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านการเกิดเนื้องอก ต้านมะเร็ง ลดระดับคอเลสเตอรอล ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันตับอักเสบ ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ำตาล และฤทธิ์ต้านการอักเสบ
มะรุมกับความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ มะรุมไม่ได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว เพราะในตัวของมะรุมเองนั้นก็มีพิษเหมือนกัน เนื่องจากมะรุมเป็นพืชในเขตร้อน สำหรับหญิงตั้งครรภ์หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะทำให้แท้งบุตรได้ และยังรวมไปถึงผู้ป้วยโรคเลือดก็ไม่ควรรับประทานมะรุมเช่นกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ก็ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะมะรุมมีโปรตีนที่ค่อนข้างสูงมาก ผู้ป่วยที่กินมะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรหมั่นตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นเวลานาน ตรวจพบว่ามีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้น
==========================================================================
สนใจสอบถามได้ที่ เดอะ ซัน เฮิร์บ
Line ID 0815673612
โทร 0815673612
https://www.facebook.com/Thesunherb/
https://thesunherb.lnwshop.com/
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 22 Jun 17 03:51