ค้นหาสินค้า

เมล็ดฝ้ายผี 50 เมล็ด (Ambrette seeds)

ร้าน สวนนานาพันธุ์
เมล็ดฝ้ายผี 50 เมล็ด (Ambrette seeds)
เมล็ดฝ้ายผี 50 เมล็ด (Ambrette seeds)
ชื่อสินค้า:

เมล็ดฝ้ายผี 50 เมล็ด (Ambrette seeds)

รหัส:
258627
ราคา:
30.00 บาท
ติดต่อ:
คุณอ้อยใจ นันตา
ที่อยู่ร้าน:
อ.แม่พริก จ.ลำปาง
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 8 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
เมล็ดฝ้ายผี 50 เมล็ด (Ambrette seeds)
ต้นฝ้ายผี หรือ ชะมดต้น เป็นพืชที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Hibiscus abelmoschus L. มีชื่อพ้องว่า Abelmoschus moschatus Medik. จัดอยู่ในวงศ์ Malvaceae ชาวบ้านบางถิ่นเรียกชะมดต้น(กรุงเทพฯ) จั๊บเจี้ยว(สงขลา) ก็มี มีชื่อสามัญว่า Muskseed, Musk Mallow หรือ Abel Musk
ต้นฝ้ายผีเป็นพืชขนาดเล็ก อายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งเล็กน้อย อาจสูงได้ถึง ๒ เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปหัวใจแกมรูปไข่ โคนใบเว้า ขอบใบเว้าเป็น ๓-๕ แฉก ใบที่ปลายยอดจะเล็ก แฉกลึกและแคบกว่าใบที่อยู่ใกล้โคนต้น ผิวใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน ก้านใบยาว ดอกมักออกเดี่ยวๆ ตามซอกใบ ดอกใหญ่ มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉก ๕ แฉก กลีบดอกมี ๕ กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน ดอกสีเหลืองสด โคนกลีบสีแดงเข้ม เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็นท่อยาว รังไข่เป็นชนิดอยู่สูง มี ๕ ห้อง แต่ละห้องมี ๑ ช่อง ก้านเกสรตัวเมียยาว แทงพ้นท่อเกสรตัวผู้ ปลายแยกเป็น ๕ แฉก ผลเป็นฝัก แตกได้ รูปรีแกมรูปไข่ เป็นเฟืองตามยาว ปลายเรียวแหลม ยาว ๖.๓-๗.๕ ซม. ภายในฝักมี ๕ ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดรูปไตมีกลิ่นฉุน
แพทย์โบราณไทยเรียกเมล็ดฝ้ายผีว่า “เทียนฉมต” หรือ “เทียนชะมด” มีชื่อสามัญทางการค้าว่า “Ambrette seed” หรือ “Grains d’Ambrette” ถ้าเอาเมล็ดมาเคี้ยว จะได้กลิ่นเหมือนกับชะมดเช็ด ผลเทียนชะมดใช้โรยในตู้เสื้อผ้า เพื่อกันไม่ให้แมลงมากินเสื้อผ้า ทั้งยังทำให้เสื้อผ้ามีกลิ่นหอม ทั้งยังใช้ผสมทำบุหงา
ถ้าเอาเทียนฉมตไปกลั่นก็จะได้น้ำมันระเหยง่ายที่ใช้ปรุงน้ำหอมให้กลิ่นคงทน(fixative)
ตำราสรรพคุณยาโบราณว่ารากฝ้ายผีใช้แก้เสมหะและดีพิการ แก้ลมให้คลื่นเหียน(จุกอก) เป็นยาเย็น บำรุงธาตุ แก้อาการเกร็ง เมื่อเอามาบดกับน้ำนมใช้ทาแก้หิดและแก้คันได้
ที่มา:จากตำราพระโอสถพระนารายณ์
โดย: ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และ วิเชียร จีรวงส์ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 07 Jun 18 03:07