ชื่อสินค้า:
ต้นขลู่, หลวนซี (จีนกลาง), หล่วงไซ (แต้จิ๋ว)
รหัส:
244727
ประเภท:
ราคา:
50.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณพรพรรณ พูลสวัสดิ์ (นุช)
ที่อยู่ร้าน:
อ.บางแพ จ.ราชบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 2 เดือน
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
สมุนไพรขลู่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้ป้าน (แม่ฮ่องสอน), หนาดวัว หนาดงัว หนวดงั่ว หนวดงิ้ว (อุดรธานี), ขลู่ (ภาคกลาง), เพี้ยฟาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ขลู คลู (ภาคใต้), หลวนซี (จีนกลาง), หล่วงไซ (แต้จิ๋ว) เป็นต้น
ลักษณะของต้นขลู่
ต้นขลู่ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ขึ้นเป็นกอ ๆ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นความสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นกลม เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเขียว ที่ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม โดยเป็นพรรณไม้ที่ชอบชอบดินเค็มมีน้ำขังตามหนองน้ำ มักขึ้นตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ตามริมห้วยหนอง หรือตามหาดทราย ด้านหลังป่าชายเลน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการปักชำ ด้วยการตัดลำต้นชำลงดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม สามารถปลูกขึ้นได้ง่ายและไม่ต้องการการดูแลรักษาแต่อย่างใด
ใบขลู่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ใบมีขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือแหลมีติ่งสั้น ๆ ปลายใบมีขนาดใหญ่กว่าโคนใบ โคนใบสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและแหลม โดยรอบมีขนขาว ๆ ขึ้นปกคุลม ใบมีความกว้างประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-9 เซนติเมตร เนื้อใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ หลังใบและท้องใบเรียบเป็นมัน ค่อนข้างเกลี้ยง และไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบสั้นมาก
ดอกขลู่ ออกดอกเป็นช่อฝอยสีขาวนวลหรือสีม่วง โดยจะออกตามปลายยอดหรือตามง่ามใบ ดอกมีลักษณะกลม หลายช่อ ๆ มารวมกัน ดอกมีลักษณะเป็นฝอยสีขาวนวลหรือสีขาวอมม่วง กลีบของดอกแบ่งออกเป็นวงนอกและวงใน โดยกลีบดอกวงนอกจะสั้นกว่ากลีบดอกวงใน ดอกวงนอกกลีบดอกจะยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร ส่วนดอกวงในกลีบดอกวงจะมีลักษณะเป็นรูปท่อยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปลายจักเป็นซี่ฟันประมาณ 5-6 ซี่ ภายในมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียสีขาวอมสีม่วงขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก ปลายกลีบดอกหยักเป็นซี่ฟัน 5-6 หยัก ส่วนอับเรณูตรงโคนจะมีลักษณะเป็นรูปหัวลูกสรสั้น ๆ และท่อเกสรเพศเมียจะมีแฉก 2 แฉกสั้น ๆ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ส่วนดอกย่อยไม่มีก้านดอก ส่วนริ้วประดับมีลักษณะแข็งและเป็นสีเขียว เรียงกันประมาณ 6-7 วง วงด้านนอกนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ ส่วนวงด้านในจะมีลักษณะคล้ายรูปหอกแคบและตรงปลายจะแหลม
ผลขลู่ ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ผลมีสันหรือเหลี่ยม 10 สัน มีรยางค์ไม่มาก สีขาว ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร แผ่กว้าง ส่วนเมล็ดขลู่จะมีลักษณะเป็นฝอยเล็ก ๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม
สรรพคุณของขลู่
1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ใบสดแก่ เปลือก ใบ เมล็ด)
2. ใบนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยบำรุงประสาท (ใบ)
3. ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ทั้งต้น) ส่วนใบก็ใช้ชงดื่มเป็นน้ำชาก็มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวานได้เช่นกัน (ใบ)
4. ใบใช้ชงดื่มแทนน้ำเป็นชา มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)
5. ใบสดแก่และรากใช้เป็นยาแก้กระษัย (ราก,ใบสดแก่,ทั้งต้น, เปลือก ใบ เมล็ด)
6. ช่วยรักษาโรคตานขโมย (ทั้งต้น)
7. ช่วยแก้ตานซางในเด็ก เข้าใจว่าใช้ใบชงดื่มแทนน้ำชา (ใบ)
8. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (ทั้งต้น)
9. ขลู่ใช้ปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้โรคเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
10.ช่วยรักษาเลือดลม (ใบและต้นอ่อน,ทั้งต้น)
11.ช่วยรักษาไข้ (ใบและราก, ใบสดแก่)
12.ช่วยขับเหงื่อ (ใบและราก, ใบสดแก่) บ้างว่าช่วยล้างพิษได้ด้วย
13.ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการขูดเอาแต่ผิวของต้นนำมาขูดขนออกให้สะอาด ทำเป็นเส้นตากแห้ง 14.แล้วมวนเป็นยาสูบรักษาริดสีดวงจมูก (ผิวต้นหรือเปลือกต้น, ทั้งต้น, เปลือกต้น ใบ เมล็ด)
15.เปลือกต้นนำมาสับเป็นชิ้น ๆ ใช้มวนบุหรี่สูบช่วยแก้โพรงจมูกอักเสบหรือไซนัสได้ (เปลือกต้น)
ทั้งต้นสดหรือต้นแห้ง ใช้เป็นยาช่วยย่อย (ทั้งต้น)
16.น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคบิด (ใบ, ใบและราก)
17.ดอกมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณช่วยแก้นิ่ว (ดอก) ทั้งต้นมีรสฝาดเค็ม มีสรรพคุณแก้นิ่วได้เช่นกัน (ทั้งต้น) ส่วนใบและรากมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณขับนิ่วได้เช่นกัน (ใบ,ราก)
18.ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 ถ้วยชา) วันละ 3 ครั้ง จะช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการได้ รักษาอาการขัดเบา (ทั้งต้น) ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะด้วยเช่นกัน (ใบ) ซึ่งจากการทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาชงที่ได้จากต้นขลู่จะมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะได้ดีกว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (Hydrochlorothiazide) และยังมีข้อดีก็คือ มีการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกายน้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน
19.ทั้งต้นมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณช่วยแก้นิ่วในไต (ทั้งต้น)
20.ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร หรือจะใช้เปลือกต้นด้วยการขูดเอาขนออกให้สะอาดแล้วลอกเอาแต่เปลือกนำต้มรมริดสีดวงทวารหนัก หรือจะใช้ใบสดเอามาตำบีบคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาทาตรงหัวของริดสีดวงทวาร จะช่วยทำให้หัวริดสีดวงทวารหดหายไปได้ (ทั้งต้น น้ำคั้นจากใบ, เปลือก ใบ เมล็ด)
21.ช่วยแก้มุตกิดระดูขาวของสตรี ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ, ทั้งต้น)
22.ใบใช้ต้มกับน้ำอาบเป็นยาบีบมดลูก (ใบ)
23.ใบใช้ชงดื่มเป็นชา จะมีสรรพคุณช่วยลดอาการบวมน้ำได้ (ใบ)
24.ใบและรากใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบและราก)
25.ใบสดแก่ใช้เป็นสมานทั้งภายนอกและภายใน (ใบสดแก่)
26.ใบและรากสดใช้ตำพอกแก้แผลอักเสบ (ใบและราก, ใบ)
27.ใบและรากใช้ทำเป็นขี้ผึ้งสำหรับทารักษาแผลเรื้อรัง แต่ไม่แน่ใจว่าต้องผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกหรือไม่ (ใบและราก)
28.ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบช่วยแก้ผื่นคัน และรักษาโรคผิวหนัง (ทั้งต้น) ส่วนใบก็นำมาต้มกับน้ำอาบแก้ผื่นคันได้เช่นกัน (ใบ)
29.ใบและต้นอ่อน มีสรรพคุณช่วยรักษาประดง (โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอาการคัน) (ใบและต้นอ่อน) หรือจะใช้ทั้งต้นก็ช่วยรักษาประดงได้เช่นกัน (ทั้งต้น)
30.ใบและต้นอ่อน นำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาหิด และขี้เรื้อน (ใบและต้นอ่อน)
31.ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)
32.ใบและต้นอ่อนใช้ตำผสมกับแอลกอฮอล์ นำมาใช้ทาหลังบริเวณเหนือไต จะช่วยบรรเทาอาการปวดเอวได้ (ใบและต้นอ่อน)
33.ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดในโรคไขข้ออักเสบ (ใบและต้นอ่อน)
34.ใบและรากใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ นำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาอาการเส้นตึง (ใบและราก)
35.ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทยได้มีการทดลองใบขลู่ (จำนวนตามต้องการหรือพอประมาณ) นำมาต้มให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ในระยะเริ่มแรกหรือเพิ่งตรวจพบกิน จะช่วยดูแลสุขภาพได้ในระดับหนึ่ง (ใบ)
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ประมาณ 15-20 กรัม หากเป็นต้นสดให้ใช้ประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาหรือสมุนไพรอื่น ๆ ในตำรับยา[4]
ถึงแม้ว่าปัจจุบันได้มีรายงานการศึกษาที่แสดงถึงฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากใบขลู่ในด้านการต้านทานอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านเซลล์มะเร็ง แต่การบริโภคใบขลู่สดหรือดื่มชาขลู่ในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลเสียต่อสุขภาพของร่างกายได้เช่นกัน การดื่มชาขลู่อาจทำให้รู้สึกตัวเบาเนื่องจากใบขลู่มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะมีผลทำให้ปัสสาวะบ่อย หลักการดื่มชาขลู่เพื่อเสริมสร้างสุขภาพก็คล้ายกับการดื่มชาจีน ชาเขียวและชาสมุนไพรชนิดอื่นๆ คือ ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะสมควรต่อวัน (1-2 แก้วต่อวัน) ดื่มระหว่างมื้ออาหาร และไม่ดื่มชาที่เหลือค้างคืน ทั้งนี้ควรสังเกตการณ์ตอบสนองของร่างกายว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรงดการดื่ม คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับชาขลู่ มีดังนี้
ปริมาณการซื้อในแต่ละครั้งควรซื้อในปริมาณที่สามารถบริโภคหมดภายในสี่เดือนเพราะสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเสื่อมสลายได้ตามระยะเวลาการเก็บ สังเกตได้จากสีของชาขลู่จะเปลี่ยนเป็นสีออกเหลืองเนื่องจากเกิดการสลายตัวของรงควัตถุสีเขียวคลอโรฟิลล์ทำให้เห็นสีเหลืองของรงควัตถุสีเหลืองกลุ่มคาร์โรทีนอยด์ที่มีความเสถียรมากกว่า
ควรเก็บชาขลู่ในภาชนะทึบแสงและปิดสนิทเพื่อกันการสลายตัวของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเนื่องจากแสงและกันการได้รับความชื้นซึ่งอาจทำให้มีการเจริญของเชื้อราได้ การเตรียมชาขลู่จากใบชาขลู่สดหรือแห้งควรเป็นการต้มในน้ำใกล้เดือดและต้มนานอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้สามารถสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้ได้มากเพียงพอ
การเตรียมชาขลู่จากใบชาขลู่สดหรือแห้งควรเป็นการต้มในน้ำใกล้เดือดและต้มนานอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้สามารถสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้ได้มากเพียงพอ
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Oct 20 08:02
ลักษณะของต้นขลู่
ต้นขลู่ จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ขึ้นเป็นกอ ๆ แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นความสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ลำต้นกลม เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเขียว ที่ลำต้นและกิ่งก้านมีขนละเอียดขึ้นปกคลุม โดยเป็นพรรณไม้ที่ชอบชอบดินเค็มมีน้ำขังตามหนองน้ำ มักขึ้นตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ตามริมห้วยหนอง หรือตามหาดทราย ด้านหลังป่าชายเลน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการปักชำ ด้วยการตัดลำต้นชำลงดิน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม สามารถปลูกขึ้นได้ง่ายและไม่ต้องการการดูแลรักษาแต่อย่างใด
ใบขลู่ ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ใบมีขนาดเล็กและมีกลิ่นฉุน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับหรือรูปรี ปลายใบแหลมหรือแหลมีติ่งสั้น ๆ ปลายใบมีขนาดใหญ่กว่าโคนใบ โคนใบสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและแหลม โดยรอบมีขนขาว ๆ ขึ้นปกคุลม ใบมีความกว้างประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2.5-9 เซนติเมตร เนื้อใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ ใบค่อนข้างแข็งและเปราะ หลังใบและท้องใบเรียบเป็นมัน ค่อนข้างเกลี้ยง และไม่มีก้านใบหรือมีก้านใบสั้นมาก
ดอกขลู่ ออกดอกเป็นช่อฝอยสีขาวนวลหรือสีม่วง โดยจะออกตามปลายยอดหรือตามง่ามใบ ดอกมีลักษณะกลม หลายช่อ ๆ มารวมกัน ดอกมีลักษณะเป็นฝอยสีขาวนวลหรือสีขาวอมม่วง กลีบของดอกแบ่งออกเป็นวงนอกและวงใน โดยกลีบดอกวงนอกจะสั้นกว่ากลีบดอกวงใน ดอกวงนอกกลีบดอกจะยาวประมาณ 3-3.5 มิลลิเมตร ส่วนดอกวงในกลีบดอกวงจะมีลักษณะเป็นรูปท่อยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ปลายจักเป็นซี่ฟันประมาณ 5-6 ซี่ ภายในมีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมียสีขาวอมสีม่วงขนาดเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก ปลายกลีบดอกหยักเป็นซี่ฟัน 5-6 หยัก ส่วนอับเรณูตรงโคนจะมีลักษณะเป็นรูปหัวลูกสรสั้น ๆ และท่อเกสรเพศเมียจะมีแฉก 2 แฉกสั้น ๆ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ส่วนดอกย่อยไม่มีก้านดอก ส่วนริ้วประดับมีลักษณะแข็งและเป็นสีเขียว เรียงกันประมาณ 6-7 วง วงด้านนอกนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปไข่ ส่วนวงด้านในจะมีลักษณะคล้ายรูปหอกแคบและตรงปลายจะแหลม
ผลขลู่ ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร ผลมีสันหรือเหลี่ยม 10 สัน มีรยางค์ไม่มาก สีขาว ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร แผ่กว้าง ส่วนเมล็ดขลู่จะมีลักษณะเป็นฝอยเล็ก ๆ เมื่อแก่จะปลิวไปตามลม
สรรพคุณของขลู่
1. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ใบสดแก่ เปลือก ใบ เมล็ด)
2. ใบนำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยบำรุงประสาท (ใบ)
3. ทั้งต้นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคเบาหวาน (ทั้งต้น) ส่วนใบก็ใช้ชงดื่มเป็นน้ำชาก็มีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเบาหวานได้เช่นกัน (ใบ)
4. ใบใช้ชงดื่มแทนน้ำเป็นชา มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต (ใบ)
5. ใบสดแก่และรากใช้เป็นยาแก้กระษัย (ราก,ใบสดแก่,ทั้งต้น, เปลือก ใบ เมล็ด)
6. ช่วยรักษาโรคตานขโมย (ทั้งต้น)
7. ช่วยแก้ตานซางในเด็ก เข้าใจว่าใช้ใบชงดื่มแทนน้ำชา (ใบ)
8. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง (ทั้งต้น)
9. ขลู่ใช้ปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้โรคเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
10.ช่วยรักษาเลือดลม (ใบและต้นอ่อน,ทั้งต้น)
11.ช่วยรักษาไข้ (ใบและราก, ใบสดแก่)
12.ช่วยขับเหงื่อ (ใบและราก, ใบสดแก่) บ้างว่าช่วยล้างพิษได้ด้วย
13.ช่วยรักษาริดสีดวงจมูก ด้วยการขูดเอาแต่ผิวของต้นนำมาขูดขนออกให้สะอาด ทำเป็นเส้นตากแห้ง 14.แล้วมวนเป็นยาสูบรักษาริดสีดวงจมูก (ผิวต้นหรือเปลือกต้น, ทั้งต้น, เปลือกต้น ใบ เมล็ด)
15.เปลือกต้นนำมาสับเป็นชิ้น ๆ ใช้มวนบุหรี่สูบช่วยแก้โพรงจมูกอักเสบหรือไซนัสได้ (เปลือกต้น)
ทั้งต้นสดหรือต้นแห้ง ใช้เป็นยาช่วยย่อย (ทั้งต้น)
16.น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคบิด (ใบ, ใบและราก)
17.ดอกมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณช่วยแก้นิ่ว (ดอก) ทั้งต้นมีรสฝาดเค็ม มีสรรพคุณแก้นิ่วได้เช่นกัน (ทั้งต้น) ส่วนใบและรากมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณขับนิ่วได้เช่นกัน (ใบ,ราก)
18.ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาก่อนอาหารครั้งละ 75 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 ถ้วยชา) วันละ 3 ครั้ง จะช่วยขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการได้ รักษาอาการขัดเบา (ทั้งต้น) ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะด้วยเช่นกัน (ใบ) ซึ่งจากการทดลองในสัตว์และคนปกติ พบว่ายาชงที่ได้จากต้นขลู่จะมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะได้ดีกว่ายาขับปัสสาวะแผนปัจจุบัน (Hydrochlorothiazide) และยังมีข้อดีก็คือ มีการสูญเสียเกลือแร่ในร่างกายน้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน
19.ทั้งต้นมีรสหอมฝาดเมาเค็ม มีสรรพคุณช่วยแก้นิ่วในไต (ทั้งต้น)
20.ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยรักษาริดสีดวงทวาร หรือจะใช้เปลือกต้นด้วยการขูดเอาขนออกให้สะอาดแล้วลอกเอาแต่เปลือกนำต้มรมริดสีดวงทวารหนัก หรือจะใช้ใบสดเอามาตำบีบคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาทาตรงหัวของริดสีดวงทวาร จะช่วยทำให้หัวริดสีดวงทวารหดหายไปได้ (ทั้งต้น น้ำคั้นจากใบ, เปลือก ใบ เมล็ด)
21.ช่วยแก้มุตกิดระดูขาวของสตรี ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ, ทั้งต้น)
22.ใบใช้ต้มกับน้ำอาบเป็นยาบีบมดลูก (ใบ)
23.ใบใช้ชงดื่มเป็นชา จะมีสรรพคุณช่วยลดอาการบวมน้ำได้ (ใบ)
24.ใบและรากใช้เป็นยาฝาดสมาน (ใบและราก)
25.ใบสดแก่ใช้เป็นสมานทั้งภายนอกและภายใน (ใบสดแก่)
26.ใบและรากสดใช้ตำพอกแก้แผลอักเสบ (ใบและราก, ใบ)
27.ใบและรากใช้ทำเป็นขี้ผึ้งสำหรับทารักษาแผลเรื้อรัง แต่ไม่แน่ใจว่าต้องผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกหรือไม่ (ใบและราก)
28.ทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบช่วยแก้ผื่นคัน และรักษาโรคผิวหนัง (ทั้งต้น) ส่วนใบก็นำมาต้มกับน้ำอาบแก้ผื่นคันได้เช่นกัน (ใบ)
29.ใบและต้นอ่อน มีสรรพคุณช่วยรักษาประดง (โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอาการคัน) (ใบและต้นอ่อน) หรือจะใช้ทั้งต้นก็ช่วยรักษาประดงได้เช่นกัน (ทั้งต้น)
30.ใบและต้นอ่อน นำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาหิด และขี้เรื้อน (ใบและต้นอ่อน)
31.ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้ใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)
32.ใบและต้นอ่อนใช้ตำผสมกับแอลกอฮอล์ นำมาใช้ทาหลังบริเวณเหนือไต จะช่วยบรรเทาอาการปวดเอวได้ (ใบและต้นอ่อน)
33.ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดในโรคไขข้ออักเสบ (ใบและต้นอ่อน)
34.ใบและรากใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ นำมาต้มกับน้ำอาบจะช่วยรักษาอาการเส้นตึง (ใบและราก)
35.ในปัจจุบันการแพทย์แผนไทยได้มีการทดลองใบขลู่ (จำนวนตามต้องการหรือพอประมาณ) นำมาต้มให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ในระยะเริ่มแรกหรือเพิ่งตรวจพบกิน จะช่วยดูแลสุขภาพได้ในระดับหนึ่ง (ใบ)
ขนาดและวิธีใช้ : ยาแห้งให้ใช้ประมาณ 15-20 กรัม หากเป็นต้นสดให้ใช้ประมาณ 30-40 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้ร่วมกับตัวยาหรือสมุนไพรอื่น ๆ ในตำรับยา[4]
ถึงแม้ว่าปัจจุบันได้มีรายงานการศึกษาที่แสดงถึงฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากใบขลู่ในด้านการต้านทานอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และต้านเซลล์มะเร็ง แต่การบริโภคใบขลู่สดหรือดื่มชาขลู่ในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลเสียต่อสุขภาพของร่างกายได้เช่นกัน การดื่มชาขลู่อาจทำให้รู้สึกตัวเบาเนื่องจากใบขลู่มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะมีผลทำให้ปัสสาวะบ่อย หลักการดื่มชาขลู่เพื่อเสริมสร้างสุขภาพก็คล้ายกับการดื่มชาจีน ชาเขียวและชาสมุนไพรชนิดอื่นๆ คือ ควรดื่มในปริมาณที่พอเหมาะสมควรต่อวัน (1-2 แก้วต่อวัน) ดื่มระหว่างมื้ออาหาร และไม่ดื่มชาที่เหลือค้างคืน ทั้งนี้ควรสังเกตการณ์ตอบสนองของร่างกายว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรงดการดื่ม คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับชาขลู่ มีดังนี้
ปริมาณการซื้อในแต่ละครั้งควรซื้อในปริมาณที่สามารถบริโภคหมดภายในสี่เดือนเพราะสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเสื่อมสลายได้ตามระยะเวลาการเก็บ สังเกตได้จากสีของชาขลู่จะเปลี่ยนเป็นสีออกเหลืองเนื่องจากเกิดการสลายตัวของรงควัตถุสีเขียวคลอโรฟิลล์ทำให้เห็นสีเหลืองของรงควัตถุสีเหลืองกลุ่มคาร์โรทีนอยด์ที่มีความเสถียรมากกว่า
ควรเก็บชาขลู่ในภาชนะทึบแสงและปิดสนิทเพื่อกันการสลายตัวของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเนื่องจากแสงและกันการได้รับความชื้นซึ่งอาจทำให้มีการเจริญของเชื้อราได้ การเตรียมชาขลู่จากใบชาขลู่สดหรือแห้งควรเป็นการต้มในน้ำใกล้เดือดและต้มนานอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้สามารถสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้ได้มากเพียงพอ
การเตรียมชาขลู่จากใบชาขลู่สดหรือแห้งควรเป็นการต้มในน้ำใกล้เดือดและต้มนานอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้สามารถสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพให้ได้มากเพียงพอ
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Oct 20 08:02