ชื่อสินค้า:
ประสัก, พังกาหัวสุม
รหัส:
242752
ประเภท:
ราคา:
500.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณพรพรรณ พูลสวัสดิ์ (นุช)
ที่อยู่ร้าน:
อ.บางแพ จ.ราชบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 2 เดือน
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
พังกาหัวสุมดอกแดง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny
ชื่อพื้นเมือง: พังกาหัวสุมดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น: ประสักดอกแดง
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 25 - 35 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจคล้ายเข่า ลำต้น ตั้งตรง เนื้อไม้แข็ง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เป็นชั้นเหมือนฉัตร ทึบ โคนต้นเป็นเหลี่ยม ต้นใหญ่มีลักษณะเป็นพูพอนสูง มีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นหยาบ เปลือกเป็นเกล็ดหนา แตกเป็นร่องสม่ำเสมอตามยาวไม่เป็นระเบียบ สีน้ำตาลดำถึงดำแบบสีชอคโกแล็ต ใบ ใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายโกงกาง ใบเล็ก แต่ไม่มีจุดดำที่ท้องใบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี หรือ รูปไข่แกมรี ขนาด 4 - 9 X 8 - 20 เซนติเมตร ฐานใบมน ปลายใบแหลมสั้น ไม่มีติ่ง ผิวใบเรียบหนา คล้ายแผ่นหนัง ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเขียวอมเหลือง มีเส้นใบ 8 - 10 คู่ เส้นกลางใบด้านล่างมีสีแดงเรื่อๆ ก้านใบกลมยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีสีแดงเรื่อๆ หูใบแหลมยาวมักมียางขาว ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ตามง่ามใบ สีแดง หรือ แดงอมชมพู ก้านดอกยาว 3 - 4 เซนติเมตร โค้งลงล่าง ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5 - 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว โคนติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแคบๆ ถึงลึกลงครึ่งหนึ่ง มี 10 - 16 แฉก แต่ละแฉกมีขนาด 0.3 - 0.5 X 1.5 - 2 เซนติเมตร ท้องกลีบเลี้ยงส่วนบนที่ปลายมีสัน กลีบดอก 10 - 16 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายกลีบเว้า หยักลึกลงเกือบถึงกลางกลีบ เป็น 2 แฉก ปลายแหลม มีขนสั้นๆปกคลุมและมีเส้นแข็งติดที่ปลาย 3 - 4 เส้น ยาว 0.1 เซนติเมตร สีขาว หรือ สีเหลืองอมเขียว เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายสุ่ม ผล รูปลูกข่าง ยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวเรียบ จะงอกตั้งแต่ผล ติดอยู่บนต้นเรียกว่า “ฝัก” หรือ ลำต้นใต้ใบเลี้ยง รูปกระสวย ขนาด 1.5 - 2 X 7 - 25 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม หรือมีสันเล็กน้อย สีเขียวเข้มแกมม่วง เมื่อแก่จัดมีสีม่วงดำ
ลักษณะเด่น ทรงพุ่มเป็นชั้นเหมือนฉัตร ดอกสีแดง สัมผัสผิวราบเรียบไม่สะดุดมือ ฝัก หรือ ผลคล้ายรูปบุหรี่ซิการ์ ใบคล้ายโกงกางใบเล็ก แต่ไม่มีจุดดำที่ท้องใบ
นิเวศวิทยา พบขึ้นทั่วไปในป่าชายเลน ในบริเวณดินเลนแข็ง หรือ ดินค่อนข้างแข็งและเหนียวและน้ำทะเลท่วมถึงบางครั้งบางคราว ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสียและมาลาเรีย ใช้กินกับหมากในบางครั้งและใช้หยอดตา
ลำต้นเนื้อไม้ค่อนข้างแข็งนำไปใช้เป็นเสา เสาเรือน แพ คันเบ็ด เสาโทรเลข ทำฟืน เผาถ่าน สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือประมง เสาไม้ที่มีอายุประมาณ 10 ปี เพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียงน้ำจืด
ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษแต่กระดาษคุณภาพต่ำ ทำกาว เปลือก ให้น้ำฝาด ให้สีย้อมผ้า ย้อมอวนชนิดหนา และย้อมหนังได้อย่างดี
ฝักเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน คล้ายสาเกเชื่อม แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Oct 20 08:05
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savigny
ชื่อพื้นเมือง: พังกาหัวสุมดอกแดง
ชื่อท้องถิ่น: ประสักดอกแดง
วงศ์ RHIZOPHORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
นิสัย เป็นไม้ต้นขนาดกลาง - ขนาดใหญ่ สูง 25 - 35 เมตร ราก ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจคล้ายเข่า ลำต้น ตั้งตรง เนื้อไม้แข็ง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เป็นชั้นเหมือนฉัตร ทึบ โคนต้นเป็นเหลี่ยม ต้นใหญ่มีลักษณะเป็นพูพอนสูง มีช่องอากาศขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นหยาบ เปลือกเป็นเกล็ดหนา แตกเป็นร่องสม่ำเสมอตามยาวไม่เป็นระเบียบ สีน้ำตาลดำถึงดำแบบสีชอคโกแล็ต ใบ ใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายโกงกาง ใบเล็ก แต่ไม่มีจุดดำที่ท้องใบ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปรี หรือ รูปไข่แกมรี ขนาด 4 - 9 X 8 - 20 เซนติเมตร ฐานใบมน ปลายใบแหลมสั้น ไม่มีติ่ง ผิวใบเรียบหนา คล้ายแผ่นหนัง ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบเขียวอมเหลือง มีเส้นใบ 8 - 10 คู่ เส้นกลางใบด้านล่างมีสีแดงเรื่อๆ ก้านใบกลมยาว 2 - 5 เซนติเมตร มีสีแดงเรื่อๆ หูใบแหลมยาวมักมียางขาว ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ตามง่ามใบ สีแดง หรือ แดงอมชมพู ก้านดอกยาว 3 - 4 เซนติเมตร โค้งลงล่าง ดอกตูมรูปกระสวย ยาว 2.5 - 3.5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว โคนติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแคบๆ ถึงลึกลงครึ่งหนึ่ง มี 10 - 16 แฉก แต่ละแฉกมีขนาด 0.3 - 0.5 X 1.5 - 2 เซนติเมตร ท้องกลีบเลี้ยงส่วนบนที่ปลายมีสัน กลีบดอก 10 - 16 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายกลีบเว้า หยักลึกลงเกือบถึงกลางกลีบ เป็น 2 แฉก ปลายแหลม มีขนสั้นๆปกคลุมและมีเส้นแข็งติดที่ปลาย 3 - 4 เส้น ยาว 0.1 เซนติเมตร สีขาว หรือ สีเหลืองอมเขียว เมื่อดอกบานจะมีลักษณะคล้ายสุ่ม ผล รูปลูกข่าง ยาว 2 - 3 เซนติเมตร ผิวเรียบ จะงอกตั้งแต่ผล ติดอยู่บนต้นเรียกว่า “ฝัก” หรือ ลำต้นใต้ใบเลี้ยง รูปกระสวย ขนาด 1.5 - 2 X 7 - 25 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม หรือมีสันเล็กน้อย สีเขียวเข้มแกมม่วง เมื่อแก่จัดมีสีม่วงดำ
ลักษณะเด่น ทรงพุ่มเป็นชั้นเหมือนฉัตร ดอกสีแดง สัมผัสผิวราบเรียบไม่สะดุดมือ ฝัก หรือ ผลคล้ายรูปบุหรี่ซิการ์ ใบคล้ายโกงกางใบเล็ก แต่ไม่มีจุดดำที่ท้องใบ
นิเวศวิทยา พบขึ้นทั่วไปในป่าชายเลน ในบริเวณดินเลนแข็ง หรือ ดินค่อนข้างแข็งและเหนียวและน้ำทะเลท่วมถึงบางครั้งบางคราว ออกดอก - ผลเกือบตลอดปี
ประโยชน์ เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสียและมาลาเรีย ใช้กินกับหมากในบางครั้งและใช้หยอดตา
ลำต้นเนื้อไม้ค่อนข้างแข็งนำไปใช้เป็นเสา เสาเรือน แพ คันเบ็ด เสาโทรเลข ทำฟืน เผาถ่าน สร้างที่อยู่อาศัย ทำเครื่องมือประมง เสาไม้ที่มีอายุประมาณ 10 ปี เพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียงน้ำจืด
ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษแต่กระดาษคุณภาพต่ำ ทำกาว เปลือก ให้น้ำฝาด ให้สีย้อมผ้า ย้อมอวนชนิดหนา และย้อมหนังได้อย่างดี
ฝักเชื่อมรับประทานเป็นของหวาน คล้ายสาเกเชื่อม แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Oct 20 08:05
คำสำคัญ:
พังกาหัวสุมดอกแดง
ฝาดแดง