ชื่อสินค้า:
ลำพู
รหัส:
242750
ประเภท:
ราคา:
350.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณพรพรรณ พูลสวัสดิ์ (นุช)
ที่อยู่ร้าน:
อ.บางแพ จ.ราชบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 2 เดือน
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Sonneratia caseolaris (L.) Engler
ชื่อท้องถิ่น : ลำพู
วงศ์ : SONNERATIACEAE
ต้นลำพู เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง–ขนาดใหญ่ สูง 8-20 เมตร ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออก ตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ เรียวแหลมไปทางปลายราก ลำต้น ต้นตรงมีเนื้อไม้ ไม่ผลัดใบ กิ่งห้อย ย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ แตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ด ขึ้นในเขตป่าชายเลน ค่อนข้างจืด หรือมีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยเป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ตามริมชายฝั่ง แม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก
ต้นลำพู นอกจะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพระบบนิเวศ เป็นที่อยู่อาศัยของนกและหิ่งห้อย เป็นโรงงานผลิตออกซิเจน ให้แก่โลกแล้ว ดอกลำพูยังเป็นของเล่นให้เด็ก ๆ อีกด้วย
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมทู่ หรือ เรียวแหลมสั้น หรือ มนเป็นติ่งสั้น เส้นใบไม่เด่นชัด ก้านใบค่อนข้างแบน สีแดงเรื่อย ๆ
ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดตื้น ๆ รูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 แฉก รูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม แฉกยาวกว่าหลอด โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีแดงอมชมพู กลีบดอกรูปแถบ หรือ ขอบขนานแคบ สีแดงเข้ม อยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง
เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร โคนก้านสีแดงปลายสีขาวชมพู
ร่วงง่ายภายในวันเดียว
เกสรเพศเมีย รังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 4 ห้องติดกัน ก้านเกสรยาว มีเม็ดไข่มาก
ผลลำพู
- ลักษณะลูกแป้น ๆ สีเขียว ๆ
- ที่หัวของผลลำพู จะมีกลีบเลี้ยงของผล ลักษณะคล้ายดอกไม้สีเขียว
- ส่วนกลางของผลจะมีเส้นยาวสีเขียว ยื่นยาวออกมาคล้ายจมูก เป็นลักษณะเฉพาะ
- ผลสุก นก ชอบจิกกิน
- เม็ดร่วงลงพื้นดินแฉะ ทำให้ขึ้นต้นใหม่ได้มากมาย
ลักษณะเด่น ฐานกลีบดอกด้านในเป็นวงสีแดงเลือดนก มีจุดประขาวอยู่ในวงสีแดง โคนใบ หรือบริเวณกิ่งและก้านตรง ยอดอ่อนเป็นสีชมพู นิเวศวิทยา ขึ้นในเขตป่าชายเลนที่น้ำกร่อยจนถึงน้ำค่อนข้างจืด หรือ มีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยกว่า 10% เป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่มตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก ออกดอกเดือนสิงหาคม - ธันวาคม และออกผลเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
ต้นลำพู เป็นไม้ที่ขึ้นตั้งแต่น้ำกร่อยจนถึงน้ำจืด เป็นพันธุ์ไม้ที่พบในป่าชายเลนริมน้ำ มักขึ้นปะปนกับแสม มีรากอากาศขนาดใหญ่และยาวกว่าชนิดอื่น ๆ บนต้นลำพูเป็นที่อยู่อาศัยของหิ่งห้อย
ต้นลำพู เป็นไม้ชายเลนและชายคลอง สามารถเติบโตได้ดีได้ในที่ทั้งสามน้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เป็นไม้พุ่ม มีใบมาก ใบสีเขียวบางเป็นมัน เจริญเติบโตได้ดีใน น้ำกร่อย จนถึงน้ำจืด มีรากอากาศหายใจขนาดใหญ่ ใช้แทนไม้ก๊อกเป็นจุกขวดและทุ่นลอยได้ ดอกสีขาวและสีชมพู มีกลิ่นหอมน้อย ๆ ผลสุก มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นเนย สามารถรับประทานได้ จะใช้จิ้มพริกเกลือ หรือน้ำปลาหวานก็ได้ อร่อยมาก ผลห่ามเปรี้ยวจัดทำแกงส้ม หรือกวนทำซอส ดอกลวกพอช้ำรับประทานกับน้ำพริก หรือยำดอก "ลำพู" รสชาติเด็ดขาดจริง ๆ (อ้างอิง : นายเกษตร-ไทยรัฐ)
ผลแก่รับประทานได้ รสอมเปรี้ยว มีเมล็ดมาก เมื่อผลแก่หลุดจากขั้วจะลอยน้ำไป แพร่พันธุ์ได้อีก มีไม้สกุลเดียวกัน
ที่คนมักจำสับสนกัน คือ ต้นลำแพน
ลำพู (อังกฤษ: Cork tree, Mangrove apple) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ Sonneratiaceae พบทั่วไปตามดินเลนริมแม่น้ำหรือคลอง ที่มีระดับน้ำขึ้นน้ำลงท่วมถึง ขึ้นได้ทั้งในน้ำจืดหรือน้ำกร่อย
ลำพูมีลักษณะเรือนยอดเป็นทรงพุ่ม ลำต้นเป็นแบบ Pettis's model มีการเจริญติดต่อกันไป ลำต้นค่อนข้างกลมมีกิ่งเกิดในแนวตั้ง เจริญทางด้านข้างมากกว่าทางยอดเมื่อลำต้นแตกหักจะสร้างกิ่งใหม่ขึ้นได้เนื่องจากมีตาสำรองอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก สีเขียว ขอบใบเรียบแตกใบตรงกันข้ามกันเป็นคู่ มีก้านใบสีชมพูมองเห็นแต่ไกล ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกบริเวณปลายยอด ลักษณะผลแก่มีเปลือกหนาสีเขียวอมเหลือง เนื้ออ่อนนุ่ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ประมาณ 1000 ถึง 2500 เมล็ดผลลำพูแก่มีกลิ่นแรง จะร่วงหล่นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน เป็นพืชที่รับประทานได้ ดอกนำไปแกงส้ม หรือใช้เป็นผักสด รับประทานกับขนมจีน ลำพูไม่มีรากแก้ว จะเกิดรากแผ่กระจายไปด้านข้างขนานกับผิวดินตื้นๆ และมีรากเล็กๆ แตกแขนงทางด้านล่างทำหน้าที่ยึดเกาะ และมีรากฝอยอีกชั้นทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและสารอาหาร ลำพูยังมีรากพิเศษช่วยในการหายใจ ลักษณะรูปกรวยแหลมยาวแทงโผล่พื้นดินรอบโคนต้น มีความยาวประมาณ 10-50 ซม. ใหญ่และยาวกว่าไม้ชนิดอื่น รากหายใจ (pneumatophore) ของลำพูนี้เจริญได้รวดเร็ว และทนทานน้ำท่วมได้เป็นเวลานาน
ลำพูเป็นไม้ที่หิงห้อยชอบที่จะมาเกาะ ทำให้เกิดความสวยงาม โดยเฉพาะในยามค่ำคืน
การดำรงพันธุ์ ของลำพู
ดอกลำพู สีชมพู ดอกลำพูสีขาว ทันทีที่เส้นสายดอกลำพูร่วงหมด จะเห็นผลอ่อนของลำพู สีเหลืองอ่อนอยู่ภายใน ผลลำพูเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว และค่อย ๆ โตขึ้นพร้อมกับก้านชูอับเรณูเรี่มเหี่ยวลง
ผลสีเขียวเริ่มโตขึ้นพร้อมกับกลีบเลี้ยงที่ค่อย ๆ ขยายแผ่ออก ก้านชูอับเรณูเหี่ยวแห้งไปตามการเติบโตของผลลำพู ผลลำพูที่สมบูรณ์ กลีบเลี้ยงขยายแผ่ออกบานเต็มที่ ผลลำพูผ่าครึ่งผลภายในเนื้อของผลลำพู จะมองเห็นเมล็ดเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก
เมื่อผลลำพูสุกร่วงลงพื้นดิน เมล็ดจะปริออกจากผล เป็นเมล็ดเล็ก ๆ มากมาย รอเวลาที่เหมาะสม ก็จะมีต้นอ่อนงอกขึ้น พลอยโพยมทดลองเอาผลลำพูที่ใกล้แก่ใส่กระถางดินใส่น้ำแฉะ ๆ ไว้ นานเกือบเดือนกว่าผลจะปริเปื่อยไป มีเมล็ดเล็ก ๆ ลอยน้ำอยู่ และผลิใบเขียว ๆ งอกต้นอ่อน และค่อย ๆ เจริญเติบโต เมื่อฝนตกต้นอ่อนที่ยังไม่หยั่งรากลงดินก็ลอยน้ำอย่างในภาพ จนน้ำในกระถางแห้ง ซึ่งบางครั้งสองสัปดาห์น้ำจึงจะแห้ง ต้นอ่อนก็จะยึดพื้นดิน ดังต้นล่างสุด ต้นที่ยังเกาะดินไม่ได้ ก็ลอยน้ำทั้งต้นทั้งราก ไม่เน่าเสียเติบโตไปเรื่อย ๆ พอดินแห้งก็หยั่งรากลงดิน แม้แต่ต้นที่หยั่งรากตั้งต้นบนพื้นดินได้ ก็สามารถจมอยู่ใต้น้ำโดยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ตามธรรมชาติเมื่อผลลำพูสุกเต็มที่ก็จะร่วงหล่นลงมา ใช้เวลาหลายวันที่ผิวของผลลำพู เริ่มปริและแตกออกมา เมล็ดเล็ก ๆ ก็จะงอกลำต้นออกมาแพร่พันธุ์ให้ลำพู เมล็ดเหล่านี้เมื่อแก่จะลอยน้ำได้ ซึ่งตัวผลลำพูเองก็ลอยน้ำไปไกลจากต้นเดิม และเมล็ดแก่ของลำพู ก็ลอยออกไปไกลจากผลเดิมด้วย ลำพูจึงแพร่พันธุ์ง่ายมาก
ต้นลำพูริมชายฝั่งแม่น้ำ ต้องต้านทานกระแสน้ำได้ รากต้องยึดกับดินแน่นเพื่อไม่ให้ลำต้นหลุดจากพื้นเลนลอยไปกับกระแสน้ำ มหัศจรรย์ ลำพู จริง ๆ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 24 May 22 11:05
ชื่อท้องถิ่น : ลำพู
วงศ์ : SONNERATIACEAE
ต้นลำพู เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง–ขนาดใหญ่ สูง 8-20 เมตร ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออก ตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ เรียวแหลมไปทางปลายราก ลำต้น ต้นตรงมีเนื้อไม้ ไม่ผลัดใบ กิ่งห้อย ย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ แตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ด ขึ้นในเขตป่าชายเลน ค่อนข้างจืด หรือมีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยเป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ตามริมชายฝั่ง แม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก
ต้นลำพู นอกจะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพระบบนิเวศ เป็นที่อยู่อาศัยของนกและหิ่งห้อย เป็นโรงงานผลิตออกซิเจน ให้แก่โลกแล้ว ดอกลำพูยังเป็นของเล่นให้เด็ก ๆ อีกด้วย
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ฐานใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลมทู่ หรือ เรียวแหลมสั้น หรือ มนเป็นติ่งสั้น เส้นใบไม่เด่นชัด ก้านใบค่อนข้างแบน สีแดงเรื่อย ๆ
ดอก สมบูรณ์เพศ ดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่ง วงกลีบเลี้ยงเป็นหลอดตื้น ๆ รูปถ้วย ปลายแยกเป็นแฉกลึก 8 แฉก รูปใบหอกแกมรูปสามเหลี่ยม แฉกยาวกว่าหลอด โคนกลีบเลี้ยงด้านในสีแดงอมชมพู กลีบดอกรูปแถบ หรือ ขอบขนานแคบ สีแดงเข้ม อยู่ระหว่างกลีบเลี้ยง
เกสรเพศผู้ มีจำนวนมาก ก้านชูอับเรณูยาว 2.5 - 4 เซนติเมตร โคนก้านสีแดงปลายสีขาวชมพู
ร่วงง่ายภายในวันเดียว
เกสรเพศเมีย รังไข่ใต้วงกลีบ ภายในมี 4 ห้องติดกัน ก้านเกสรยาว มีเม็ดไข่มาก
ผลลำพู
- ลักษณะลูกแป้น ๆ สีเขียว ๆ
- ที่หัวของผลลำพู จะมีกลีบเลี้ยงของผล ลักษณะคล้ายดอกไม้สีเขียว
- ส่วนกลางของผลจะมีเส้นยาวสีเขียว ยื่นยาวออกมาคล้ายจมูก เป็นลักษณะเฉพาะ
- ผลสุก นก ชอบจิกกิน
- เม็ดร่วงลงพื้นดินแฉะ ทำให้ขึ้นต้นใหม่ได้มากมาย
ลักษณะเด่น ฐานกลีบดอกด้านในเป็นวงสีแดงเลือดนก มีจุดประขาวอยู่ในวงสีแดง โคนใบ หรือบริเวณกิ่งและก้านตรง ยอดอ่อนเป็นสีชมพู นิเวศวิทยา ขึ้นในเขตป่าชายเลนที่น้ำกร่อยจนถึงน้ำค่อนข้างจืด หรือ มีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยกว่า 10% เป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่มตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก ออกดอกเดือนสิงหาคม - ธันวาคม และออกผลเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
ต้นลำพู เป็นไม้ที่ขึ้นตั้งแต่น้ำกร่อยจนถึงน้ำจืด เป็นพันธุ์ไม้ที่พบในป่าชายเลนริมน้ำ มักขึ้นปะปนกับแสม มีรากอากาศขนาดใหญ่และยาวกว่าชนิดอื่น ๆ บนต้นลำพูเป็นที่อยู่อาศัยของหิ่งห้อย
ต้นลำพู เป็นไม้ชายเลนและชายคลอง สามารถเติบโตได้ดีได้ในที่ทั้งสามน้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม เป็นไม้พุ่ม มีใบมาก ใบสีเขียวบางเป็นมัน เจริญเติบโตได้ดีใน น้ำกร่อย จนถึงน้ำจืด มีรากอากาศหายใจขนาดใหญ่ ใช้แทนไม้ก๊อกเป็นจุกขวดและทุ่นลอยได้ ดอกสีขาวและสีชมพู มีกลิ่นหอมน้อย ๆ ผลสุก มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นเนย สามารถรับประทานได้ จะใช้จิ้มพริกเกลือ หรือน้ำปลาหวานก็ได้ อร่อยมาก ผลห่ามเปรี้ยวจัดทำแกงส้ม หรือกวนทำซอส ดอกลวกพอช้ำรับประทานกับน้ำพริก หรือยำดอก "ลำพู" รสชาติเด็ดขาดจริง ๆ (อ้างอิง : นายเกษตร-ไทยรัฐ)
ผลแก่รับประทานได้ รสอมเปรี้ยว มีเมล็ดมาก เมื่อผลแก่หลุดจากขั้วจะลอยน้ำไป แพร่พันธุ์ได้อีก มีไม้สกุลเดียวกัน
ที่คนมักจำสับสนกัน คือ ต้นลำแพน
ลำพู (อังกฤษ: Cork tree, Mangrove apple) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในวงศ์ Sonneratiaceae พบทั่วไปตามดินเลนริมแม่น้ำหรือคลอง ที่มีระดับน้ำขึ้นน้ำลงท่วมถึง ขึ้นได้ทั้งในน้ำจืดหรือน้ำกร่อย
ลำพูมีลักษณะเรือนยอดเป็นทรงพุ่ม ลำต้นเป็นแบบ Pettis's model มีการเจริญติดต่อกันไป ลำต้นค่อนข้างกลมมีกิ่งเกิดในแนวตั้ง เจริญทางด้านข้างมากกว่าทางยอดเมื่อลำต้นแตกหักจะสร้างกิ่งใหม่ขึ้นได้เนื่องจากมีตาสำรองอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก สีเขียว ขอบใบเรียบแตกใบตรงกันข้ามกันเป็นคู่ มีก้านใบสีชมพูมองเห็นแต่ไกล ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกบริเวณปลายยอด ลักษณะผลแก่มีเปลือกหนาสีเขียวอมเหลือง เนื้ออ่อนนุ่ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ประมาณ 1000 ถึง 2500 เมล็ดผลลำพูแก่มีกลิ่นแรง จะร่วงหล่นระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน เป็นพืชที่รับประทานได้ ดอกนำไปแกงส้ม หรือใช้เป็นผักสด รับประทานกับขนมจีน ลำพูไม่มีรากแก้ว จะเกิดรากแผ่กระจายไปด้านข้างขนานกับผิวดินตื้นๆ และมีรากเล็กๆ แตกแขนงทางด้านล่างทำหน้าที่ยึดเกาะ และมีรากฝอยอีกชั้นทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและสารอาหาร ลำพูยังมีรากพิเศษช่วยในการหายใจ ลักษณะรูปกรวยแหลมยาวแทงโผล่พื้นดินรอบโคนต้น มีความยาวประมาณ 10-50 ซม. ใหญ่และยาวกว่าไม้ชนิดอื่น รากหายใจ (pneumatophore) ของลำพูนี้เจริญได้รวดเร็ว และทนทานน้ำท่วมได้เป็นเวลานาน
ลำพูเป็นไม้ที่หิงห้อยชอบที่จะมาเกาะ ทำให้เกิดความสวยงาม โดยเฉพาะในยามค่ำคืน
การดำรงพันธุ์ ของลำพู
ดอกลำพู สีชมพู ดอกลำพูสีขาว ทันทีที่เส้นสายดอกลำพูร่วงหมด จะเห็นผลอ่อนของลำพู สีเหลืองอ่อนอยู่ภายใน ผลลำพูเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียว และค่อย ๆ โตขึ้นพร้อมกับก้านชูอับเรณูเรี่มเหี่ยวลง
ผลสีเขียวเริ่มโตขึ้นพร้อมกับกลีบเลี้ยงที่ค่อย ๆ ขยายแผ่ออก ก้านชูอับเรณูเหี่ยวแห้งไปตามการเติบโตของผลลำพู ผลลำพูที่สมบูรณ์ กลีบเลี้ยงขยายแผ่ออกบานเต็มที่ ผลลำพูผ่าครึ่งผลภายในเนื้อของผลลำพู จะมองเห็นเมล็ดเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก
เมื่อผลลำพูสุกร่วงลงพื้นดิน เมล็ดจะปริออกจากผล เป็นเมล็ดเล็ก ๆ มากมาย รอเวลาที่เหมาะสม ก็จะมีต้นอ่อนงอกขึ้น พลอยโพยมทดลองเอาผลลำพูที่ใกล้แก่ใส่กระถางดินใส่น้ำแฉะ ๆ ไว้ นานเกือบเดือนกว่าผลจะปริเปื่อยไป มีเมล็ดเล็ก ๆ ลอยน้ำอยู่ และผลิใบเขียว ๆ งอกต้นอ่อน และค่อย ๆ เจริญเติบโต เมื่อฝนตกต้นอ่อนที่ยังไม่หยั่งรากลงดินก็ลอยน้ำอย่างในภาพ จนน้ำในกระถางแห้ง ซึ่งบางครั้งสองสัปดาห์น้ำจึงจะแห้ง ต้นอ่อนก็จะยึดพื้นดิน ดังต้นล่างสุด ต้นที่ยังเกาะดินไม่ได้ ก็ลอยน้ำทั้งต้นทั้งราก ไม่เน่าเสียเติบโตไปเรื่อย ๆ พอดินแห้งก็หยั่งรากลงดิน แม้แต่ต้นที่หยั่งรากตั้งต้นบนพื้นดินได้ ก็สามารถจมอยู่ใต้น้ำโดยเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
ตามธรรมชาติเมื่อผลลำพูสุกเต็มที่ก็จะร่วงหล่นลงมา ใช้เวลาหลายวันที่ผิวของผลลำพู เริ่มปริและแตกออกมา เมล็ดเล็ก ๆ ก็จะงอกลำต้นออกมาแพร่พันธุ์ให้ลำพู เมล็ดเหล่านี้เมื่อแก่จะลอยน้ำได้ ซึ่งตัวผลลำพูเองก็ลอยน้ำไปไกลจากต้นเดิม และเมล็ดแก่ของลำพู ก็ลอยออกไปไกลจากผลเดิมด้วย ลำพูจึงแพร่พันธุ์ง่ายมาก
ต้นลำพูริมชายฝั่งแม่น้ำ ต้องต้านทานกระแสน้ำได้ รากต้องยึดกับดินแน่นเพื่อไม่ให้ลำต้นหลุดจากพื้นเลนลอยไปกับกระแสน้ำ มหัศจรรย์ ลำพู จริง ๆ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 24 May 22 11:05
คำสำคัญ:
ลำพู