ค้นหาสินค้า

กล้วยหักมุก

ร้าน บ้านสวน การ์เด้น
กล้วยหักมุก
กล้วยหักมุก
ชื่อสินค้า:

กล้วยหักมุก

รหัส:
240072
ราคา:
100.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณพรพรรณ พูลสวัสดิ์ (นุช)
ที่อยู่ร้าน:
อ.บางแพ จ.ราชบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 1 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชื่อสามัญ ไทย กล้วยหักมุก (กลาง) กล้วยฮากมุก (อีสาน)
ชื่อสามัญ อัง. Silver Bluggoe
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (ABB group)">Musa (ABB group) "Kluai Hak Mulk "
กลุ่มย่อย Bluggoe
แหล่งกำเนิด ประเทศอินเดีย พบได้ทั่วไปในประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
- นิสัย เป็นกล้วยที่เจริญได้ดีในที่ดอน ไม่ชอบน้ำมากเหมือนกล้วยน้ำว้า ในปัจจุบันนี้เริ่มหากล้วยชนิดนี้ยากแล้ว
- ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีประดำเล็กน้อย ด้านในมีสีเขียวอ่อน
- ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ และมีครีบ เส้นกลางใบสีเขียวมีนวลทางด้านล่าง ใช้ประโยชน์เป็นใบตองได้ดี
- ดอก ช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอขึ้น ด้านบนป่านมีนวลหนา ด้านล่างมีสีแดงเข้ม
- ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 16 ผล ผลใหญ่ ก้านผลยาว ปลายผลลีบลง มีเหลี่ยมชัดเจน เปลือกหนา เมื่อสุกสีเหลืองอมน้ำตาล มีนวลหนา เนื้อสีส้ม
- การใช้ประโยชน์ ผลใช้แปรรูป ผลสุกนำมาปิ้ง รับประทานได้รสชาติดี หรือนำไปเชื่อมน้ำตาล ฉาบ ทอด
กล้วยหักมุกเป็นกล้วยที่คนไทยเคยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันเริ่มมีจำนวนลดน้อยลงไปมาก เด็กรุ่นใหม่บางทีก็ไม่เคยทานกันเลย รู้จักแต่กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ ทั้งๆที่กล้วยหักมุกเป็นกล้วยที่สามรถนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลากหลายเป็นอย่างมาก ที่พิษณุโลก "ร้านวุ่นใส" เคยจำหน่ายขนมสุดยอดอร่อย คือ เฟรนฟรายกล้วยหักมุก แต่ก็ไม่มีขายแล้ว เพราะว่ากล้วยหักมุกหายากขึ้นทุกวัน
สรรพคุณของกล้วยหักมุกและวิธีใช้
1. กล้วยหักมุกมีสรรพคุณ โดยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุท้องเสีย กล้วยมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสียได้แก่ เอสเคอริเคีย โคไล (Escherichia coli)
2. ในกล้วยจะมีสาร tannin ซึ่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสียได้ โดยออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
3. กล้วยหักมุกมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ เมื่อทดลองให้หนูขาวกิน aspirin แล้วกินผงกล้วยดิบ พบว่าป้องกันไม่ให้เกิดแผลในกระเพาะได้ เมื่อกินผงกล้วยดิบในขนาด 5 กรัม และรักษาแผลที่เป็นแล้วในขนาด 7 กรัม สารสกัดมีฤทธิ์เป็น 300 เท่า ของผงกล้วยดิบ โดยออกฤทธิ์สมานแผลและเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อเมือก โดยเพิ่มเมือกและเร่งการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีผลต่อกระบวนการสร้างมาโครเซลล์ (macrophage cell) อันส่งผลไปถึงการรักษาแผลได้อีกด้วย
4. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะ คือสารที่เรียกว่า ไซโตอินโดไซด์ วัน, ทู, ทรี, โฟ และไฟว์ (sitoindoside I, II, III, IV, V) สารที่ออกฤทธิ์ดีที่สุดในการต้านการเกิดแผลในหนูที่เป็นแผลในกระเพาะ คือ ไซโตอินโดไซด์โฟ (sitoindoside IV) ซึ่งช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากแผลในกระเพาะอาหาร มีคำแนะนำในการใช้กล้วยรักษาอาการแน่นจุกเสียด ให้นำผลกล้วยดิบ หรืออาจใช้ผลกล้วยดิบที่ฝานบางๆแล้วตากแห้ง และบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ใช้ผงกล้วยนี้ในปริมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ใส่ในถ้วยแล้วนำน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ผสม ใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการแน่น จุกเสียด หรือหากมีอาการท้องเสียก็ใช้ได้เช่นกัน
กล้วยหักมุก มีด้วยกัน 2 ชนิด คือพันธุ์ที่มีเปลือกผลมีนวลสีขาว กับพันธุ์ที่ไม่มีนวลที่ เปลือกผล ซึ่งชนิดที่เปลือกผลไม่มีนวลผิวผลจะมีขีดตามยาวเป็นสีดำหลายเส้น เรียกว่า แตกลายงา ชนิดนี้เนื้อสุกจะไม่ค่อยเหนียวหรือแน่น รสชาติเนื้อหวานปนเปรี้ยว แตกต่างจาก “กล้วยหักมุก” ชนิดที่เปลือกผลมีนวล ผิวผลจะดูสวยงามและเนื้อสุกจะเปรี้ยวแน่นกว่า รสชาติหวานปนเปรี้ยวเหมือนกัน ทั้ง 2 ชนิด นิยมปลูกตามบ้านมาแต่โบราณแล้ว
ส่วนใหญ่ จะปลูกเพื่อนำเอาผลสุกไปเผาหรือย่างไฟแบบทั้งเปลือกขายได้รับความนิยมจากผู้ซื้อไปรับประทานอย่างแพร่หลาย ได้คุณค่าทางอาหารสูง รสชาติหวานหอมอร่อยชื่นใจยิ่งนัก เนื้อสุกยังแปรรูปเป็นกล้วยเชื่อมหรือฝานเป็นแว่นบางๆ ฉาบน้ำตาลเรียกว่า “กล้วยฉาบ” เนื้อเป็นสีเหลืองสวยงามกรอบอร่อยมาก ดีกว่าฉาบด้วยเนื้อสุกของกล้วยน้ำว้าอย่างชัดเจน จังหวัดเพชรบุรี เป็นแหล่งปลูก “กล้วยหักมุก” เชิงพาณิชย์มากที่สุดในประเทศไทย
กล้วยหักมุก จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นพันธุ์ผสมที่มีลักษณะค่อนไปทางกล้วยตานี อยู่ในกลุ่มย่อย BLUEGOE ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบและมีครีบ เส้นกลางใบเป็นสีเขียวมีนวลด้านล่าง หน้าใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างหนาและแข็ง
ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับหรือกาบปลี เป็นรูปไข่ค่อนข้างป้อม ม้วนงอ ขึ้น ปลายป้านเป็นสีแดงเข้มและมีนวลสีขาว เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมี 10–16 ผล ขนาดของผลกว้าง 4-5 ซม.ยาว 11-19 ซม. ก้านผลยาว ลักษณะผลคล้ายผลกล้วยน้ำว้า แต่ปลายผลจะลีบมากกว่าและจะมองเห็นเหลี่ยมได้ชัดเจนกว่าด้วย เปลือกผลหนา เนื้อสุกสีเหลืองหรือสีส้ม รสหวานปนเปรี้ยว ไม่มีเมล็ด บางผลอาจมีบ้างแต่น้อยมาก ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ไม่นิยมรับประทานผลดิบ มีชื่อ เรียกอีกคือ กล้วยส้ม (ภาคเหนือ) มีหน่อขาย แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Oct 20 08:21