ค้นหาสินค้า

ต้นอบเชยญวน

ร้าน วรากรสมุนไพร
ต้นอบเชยญวน
ต้นอบเชยญวน
ชื่อสินค้า:

ต้นอบเชยญวน

รหัส:
240024
ราคา:
500.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นอบเชยญวน
พืชสมุนไพร พืชหายาก พืชเศรษฐกิจ
ช่องทางการติดต่อร้านวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0616498997
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
อบเชยญวน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum loureiroi;เวียดนาม: Qu Tr My / Qu Thanh)เป็นไม้ไม่ผลัดใบ และเป็นพืชท้องถิ่นในคาบสมุทรอินโดจีน มีความใกล้เคียงกับอบเชยจีนมากกว่าอบเชยลังกา มีน้ำมันหอมระเหย 1-5% และมี cinnamaldehyde 25% ในน้ำมันหอมระเหยซึ่งมากกว่าชนิดอื่นๆ จึงมีราคาสูงกว่าอบเชยจีนและอบเชยลังกา
อบเชยญวน (Cinnamomum loureirii Nees) มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราส่งออกอบเชยชนิดนี้
อบเชยเป็นสมุนไพรที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นการทำงานในระบบการให้สัญญาณอินซูลิน (Insulin-Signaling System) และจะดีมากหากอบเชยได้ทำหน้าที่ก่อนจะนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ อีกทั้งยังสามารถใช้อบเชยร่วมกันกับฮอร์โมนอินซูลินได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบสาร MHCP ที่สามารถช่วยลดความดันโลหิตจากการทดลองในสัตว์ลงได้ และมีคุณสมบัติสำคัญที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อร่างกาย
แม้ในปัจจุบันสมุนไพรอบเชยจะยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้แทนยาก็ตาม แต่ ดร.แอนเดอร์สัน ก็ได้มีการแนะนำให้นำมาบรรจุในแคปซูลเพื่อรับประทานเป็นยาสมุนไพรป้องกันเบาหวานได้เช่นเดียวกัน โดยให้ทดลองใช้ 1/4 ช้อนชาถึง 1 ช้นชาต่อวัน โดยใน 1 ช้อนชาจะมีตัวยาหนักประมาณ 1,200 มิลลิกรัม ดังนั้น ขนาด 1/4 ช้อนชาจึงได้ปริมาณเท่ากับ 300 มิลลิกรัม และสามารถบรรจุใส่ลงในแคปซูลหมายเลข 1 ได้แบบพอดี แนะนำให้ทาน 1 แคปซูล ทุกมื้ออาหาร โดยทานวันละ 4 มื้อ สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานสูงคือคนที่มีพ่อแม่มีประวัติป่วยเป็นเบาหวาน ควรทานยาดังกล่าวพร้อมกันกับมื้ออาหารใหญ่วันละ 1-2 เม็ด สรรพคุณจากยาสมุนไพรอบเชยนี้จะทำหน้าที่ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารและช่วยขับลมได้ค่ะ สำหรับอบเชยชนิดที่ ดร.แอนเดอร์สัน นำมาใช้เพื่อการทดลองทำยานั้นเป็นเปลือกอบเชยจีน Cassia (Cinnamomum cassia) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับชนิดที่มีอยู่ในป่าของไทยเราแต่หากสามารถนำเอาอบเชยชวามาทำเป็นยาได้จะดีที่สุด
อบเชย ส่วนที่ใช้คือ เปลือกของต้นอบเชย สีน้ำตาลปนแดง มีกลิ่นหอมนุ่มนวล รสขมหวานฝาด วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ก่อนใช้ต้องคั่วหรือเผาก่อน จึงจะมีกลิ่นหอม ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ใส่ทั้งชิ้นหรือป่นละเอียดผสมในเครื่องแกง เช่น แกงมัสมั่น พะโล้ เนื้อตุ๋น เป็นต้น
สรรพคุณ
ตำรายาไทย: น้ำต้มเปลือกต้น ดื่มแก้ตับอักเสบ อาหารไม่ย่อย แก้ท้องเสีย ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ ขับพยาธิ มีสรรพคุณบำรุงดวงจิต แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ลมอัณฑพฤกษ์ แก้ไข้สันนิบาต ใช้ปรุงเป็นยานัตถุ์แก้ปวดหัว รับประทานแก้เบื่ออาหาร แก้จุกเสียด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย แก้ไอ แก้ไข้หวัด ลำไส้อักเสบ ท้องเสียในเด็ก อาการหวัด ปวดปะจำเดือน แก้อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน แก้ปวดประจำเดือน ห้ามเลือด บดเป็นผงโรยแผลกามโรค สมานแผล
อบเชยมีการนำมาใช้ในพิกัดยาไทย คือ “พิกัดตรีธาตุ” ประกอบด้วย กระวาน ดอกจันทน์ และอบเชย เป็นยาแก้ธาตุพิการ แก้ลม แก้เสมหะ แก้ไข้ “พิกัดตรีทิพย์รส” คือการจำกัดจำนวนของที่มีรสดี 3 อย่าง คือโกฐกระดูก เนื้อไม้ และอบเชยไทย มีสรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงกระดูก บำรุงตับปอดให้เป็นปกติ แก้ลมในกองเสมหะ บำรุงโลหิต “พิกัดจตุวาตะผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลม ประกอบด้วยผล 4 อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ และโกฐหัวบัว มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ลมกองริดสีดวง “พิกัดทศกุลาผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาตระกูลเดียวกัน 10 อย่าง มีชะเอมทั้ง 2 (ชะเอมไทย ชะเอมเทศ) ลูกผักชีทั้ง 2 (ผักชีล้อม ผักชีลา) อบเชยทั้ง 2 (อบเชยไทย อบเชยเทศ) ลำพันทั้ง 2 (ลำพันแดง ลำพันขาว) ลูกเร่วทั้ง 2 (เร่วน้อย เร่วใหญ่) มีสรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้
อบเชยญวนขึ้นได้ดีในประเทศไทย ปลูกเพียง 3 ปี ก็มีผลผลิตขายได้แล้ว แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Apr 23 07:57