ชื่อสินค้า:
ผักปลัง, ผักปั๋ง
รหัส:
239066
ประเภท:
ราคา:
30.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณพรพรรณ พูลสวัสดิ์ (นุช)
ที่อยู่ร้าน:
อ.บางแพ จ.ราชบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 3 เดือน
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ผักปลัง… และถิ่นกำเนิด
ผักปลังมีชื่อพื้นเมืองว่า “ผักปั๋ง” เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่พบเห็นตามที่ชื้นทั่วไป มี 2 ชนิด แตกต่างกันที่สีของลำต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักปลังที่ลำต้นมีสีเขียวธรรมชาติ (หรือผักปลังขาว) คือ Basella alba Linn.สำหรับผักปลังที่ลำต้นสีม่วงแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Basella rubra Linn.ผักปลังทั้ง 2 ชนิดอยู่ในวงศ์ Basellaceae ถิ่นกำเนิดของผักปลังอยู่ในเองเชียและแอฟริกาขึ้นง่ายในดินแทบทุกสภาพแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่ชุ่มชื้น
ลักษณะทั่วไปของผักปลัง
ผักปลังเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นกลมเป็นสีเขียวหรือสีม่วงแดง อวบน้ำ ไม่มีขนและสามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้มาก
ใบ ผักปลังมีใบลักษณะมัน รูปร่างกลมหรือเป็นรูปไข่เรียงสลับกัน แผ่นใบอวบน้ำ ขนาดใบกว้าง 2-6 เซนติเมตร และยาว 2.4 – 7.5 เซนติเมตร
เถา มีลักษณะอวบน้ำและยาวได้หลายเมตรสามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้มาก
นอกจากใบและยอดของเถาที่นำมาปรุงกิน ก็ยังมีดอกผักปลังที่มีสีขาวหรือชมพูม่วง ไม่มีก้านดอกดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ตรงปลายแยกเป็นแฉก
ผล ผักปลังมีผลสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมดำเมื่อแก่ เนื้อผลนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำหรือสีขาว
การปลูกและขยายพันธุ์
ผักปลังเป็นพืชที่ปลูกง่ายเช่นเดียวกับผักพื้นบ้านทั่วไป ออกยอดเกือบตลอดปี ชาวบ้านภาคอีสานและภาคเหนือมักนำไปปลูกบริเวณรั้วบ้านเพื่อให้เถาผักปลังเลื้อยขึ้นตามรั้ว
ผักปลังขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีคือ การเพาะเมล็ดและการชำกิ่งแก่การเพาะเมล็ดทำได้โดยนำเมล็ดแก่ไปตากแห้งแล้วนำไปชำในถุงพลาสติกหรือกระถาง รอจนเกิดต้นอ่อนแล้วนำไปปลูกตามริวรั้วหรือสร้างค้างให้เลื้อยเนื่องจากเป็นพืชอุ้มน้ำจึงนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป
ประโยชน์ต่อสุขภาพของผักปลัง
ประโยชน์ทางอาหาร
คุณค่าทางอาหารของผักปลังนั้นมีมากทีเดียวเพราะมีวิตามินและเกลือแร่อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ สารบีตาแคโรทีน มีเมื่อกินเข้าในร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินบำรุงสายตาได้ แล้วยังมีคุณสมบัติเป็นสารช่วยป้องกันมะเร็งด้วย
โดยทั่วไปเราจะนำยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนซึ่งมีรสจืดเย็น มากินในรูปผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาปรุงอาหารก็ได้ เช่น แกงต่างๆ (แกงส้ม แกงแค แกงปลา) ผัดกับแหนม หรือใส่แกงอ่อมหอย อีกด้วย
ประโยชน์ทางยา
ก้าน แก้พิษฝี พรรดึก ท้องผูก ลดไข้
ใบ ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ กลาก น้ำคั้น จากใบใช้บรรเทาอาการผื่นคัน
ดอก แก้เกลื้อน
ราก แก้มือเท้าด่าง รังแค พิษพรรดี (อาการต่างๆ ที่เกิด จากท้องผูก ถ่ายเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ)
งานวิจัยที่เกี่ยวกับผักปลัง
สรรพคุณของผักปลัง
1. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
2. ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน มีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยบำรุงดวงตา และยังมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย (ใบ)
3. ดอกใช้เป็นยาดับพิษในเลือด (ดอก)
4. ทั้งต้นมีรสเย็น สรรพคุณเป็นขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยยาลดไข้ แก้อาการร้อนใน ทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
5. น้ำคั้นจากดอกใช้เป็นยาทาแก้หัวนมแตกเจ็บ (ดอก)
6. ต้นและใบมีรสหวานเอียน สรรพคุณเป็นยาช่วยระบายท้อง (ต้น,ใบ)
7. ช่วยแก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำให้ข้นแล้วทาน (ต้น)
8. ต้น ราก ใบ และทั้งต้นช่วยแก้อาการท้องผูก ยอดอ่อนหรือใบยอดอ่อนสดจะมีเส้นใย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเป็นยาระบายอ่อนๆ ที่เหมาะสำหรับเด็กและสตรีตั้งครรภ เมื่อนำมาต้มกินเป็นอาหารจะช่วยแก้อาการท้องผูกได้ และเมือกที่อยู่ในผักปลังจะมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยทำให้ท้องไม่ผูกได้ (ต้น,ราก,ใบ,ทั้งต้น)
9. รากมีรสหวานเอียน ใช้เป็นยาแก้พรรดึก (หรืออุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม) (ราก)
10. ใบใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ)
11. ใช้ต้นสด 60-120 กรัม นำมาต้มดื่มเป็นยาแก้ไส้ติ่งอักเสบ (ต้น)
12. ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ทั้งต้น)
13. ช่วยแก้ขัดเบา ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น) ตำรายาแก้ปัสสาวะขัด ระบุให้ใช้ใบสด 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินแบบชาต่อหนึ่งครั้ง (ใบ)
14. รากและใบ มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
15. หมอตำแยทางภาคเหนือมักจะใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำเมือกมาทาบริเวณช่องคลอดของสตรี เพื่อช่วยให้สตรีมีครรภ์คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานผักปลังด้วย เพราะจะช่วยทำให้สตรีคลอดบุตรได้ง่ายขึ้น โดยนำมาทำเป็นแกงผักปลังให้แม่มานกินทุกวันเดือนดับเดือนเต็ม เชื่อว่าจะช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย ทำให้ไหลลื่นเหมือนผักปลัง (จากความเชื่อนี้เองจึงทำให้ผู้มีคาถาอาคมไม่กล้ารับประทาน เพราะกลัวคาถาเสื่อม) (ใบ)
16. ตกเลือดเรื้อรัง ให้ใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ใบ)
17. หมอเมืองบางท่านจะใช้ใบผักปลัง นำมาตำกับข้าวสารจ้าว ใช้เป็นยาพอกแก้โรคมะเร็งไข่ปลา (เริม) (ใบ)
18. ใช้เป็นยาใส่แผลสด ใช้ห้ามเลือด หรือใช้แก้อาการฟกช้ำ ให้นำใบมาตำให้พอแหลก ผสมกับน้ำตาลทรายหรือเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ) ทั้งต้นใช้เป็นยาใส่แผลสดเพื่อห้ามเลือด รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ทั้งต้น)
19. ใช้ใบและผลนำมาขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีลักษณะเป็นแผลไหม้ จะช่วยบรรเทาอาการและทำให้รู้สึกเย็นขึ้นได้ (ใบและผล)
20. ช่วยแก้อักเสบ (ใบ,ทั้งต้น) แก้อักเสบบวม (ต้น)
21. ช่วยแก้อีสุกอีใส (ดอก)
22. รากใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้รังแค (ราก)
23. ดอกมีรสหวานเอียน น้ำคั้นจากใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน แก้เกลื้อน (ดอก)
24. ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกแก้กลากเกลื้อน แก้ผื่นคัน ผื่นแดง และฝี (ใบ) ใช้แก้ฝีหรือแผลสด ให้ใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น หรือขยี้ทาก็ได้เช่นกัน (ใบ) บ้างว่าใช้ผลนำมาต้มรับประทานแก้ฝี (ผล)
25. ช่วยดับพิษ ดับพิษฝีดาษ แก้พิษฝีดาษ ด้วยการใช้น้ำคั้นจากดอกสด นำมาทาบริเวณที่เป็น (ต้น,ดอก,ทั้งต้น)
26. ช่วยแก้พิษฝี (ต้น)
27. ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 1-2 ครั้ง (ใบ)
28. รากนำมาต้มกรับประทานเป็นยาแก้มือเท้าด่าง (ราก)
29. ช่วยแก้อาการช้ำใน กระดูกร้าว (ทั้งต้น)
30. ช่วยแก้อาการปวดแขนขา ด้วยการใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
31. รากใช้เป็นยาทาถูนวดให้ร้อนเพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่ทามากขึ้น ส่วนน้ำคั้นจากก็เป็นยาหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี (ราก)
32. ยอดอ่อนนำมาแกงหรือใส่ต้มไก่รับประทานเป็นยาบำรุงเลือดลม สำหรับคนหน้าซีด เลือดลมไม่ดี (ใบ)
33. ยอดอ่อนใช้ใส่แกงหรือต้มให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟรับประทานเป็นยาบำรุง (ใบ)
หมายเหตุ : ผักปลังแดงและผักปลังขาว มีลักษณะและคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Oct 20 08:18
ผักปลังมีชื่อพื้นเมืองว่า “ผักปั๋ง” เป็นผักพื้นบ้านของไทยที่พบเห็นตามที่ชื้นทั่วไป มี 2 ชนิด แตกต่างกันที่สีของลำต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักปลังที่ลำต้นมีสีเขียวธรรมชาติ (หรือผักปลังขาว) คือ Basella alba Linn.สำหรับผักปลังที่ลำต้นสีม่วงแดง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Basella rubra Linn.ผักปลังทั้ง 2 ชนิดอยู่ในวงศ์ Basellaceae ถิ่นกำเนิดของผักปลังอยู่ในเองเชียและแอฟริกาขึ้นง่ายในดินแทบทุกสภาพแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่ชุ่มชื้น
ลักษณะทั่วไปของผักปลัง
ผักปลังเป็นไม้เลื้อย มีลำต้นกลมเป็นสีเขียวหรือสีม่วงแดง อวบน้ำ ไม่มีขนและสามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้มาก
ใบ ผักปลังมีใบลักษณะมัน รูปร่างกลมหรือเป็นรูปไข่เรียงสลับกัน แผ่นใบอวบน้ำ ขนาดใบกว้าง 2-6 เซนติเมตร และยาว 2.4 – 7.5 เซนติเมตร
เถา มีลักษณะอวบน้ำและยาวได้หลายเมตรสามารถแตกกิ่งก้านสาขาได้มาก
นอกจากใบและยอดของเถาที่นำมาปรุงกิน ก็ยังมีดอกผักปลังที่มีสีขาวหรือชมพูม่วง ไม่มีก้านดอกดอกออกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อ ตรงปลายแยกเป็นแฉก
ผล ผักปลังมีผลสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมดำเมื่อแก่ เนื้อผลนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วงดำหรือสีขาว
การปลูกและขยายพันธุ์
ผักปลังเป็นพืชที่ปลูกง่ายเช่นเดียวกับผักพื้นบ้านทั่วไป ออกยอดเกือบตลอดปี ชาวบ้านภาคอีสานและภาคเหนือมักนำไปปลูกบริเวณรั้วบ้านเพื่อให้เถาผักปลังเลื้อยขึ้นตามรั้ว
ผักปลังขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีคือ การเพาะเมล็ดและการชำกิ่งแก่การเพาะเมล็ดทำได้โดยนำเมล็ดแก่ไปตากแห้งแล้วนำไปชำในถุงพลาสติกหรือกระถาง รอจนเกิดต้นอ่อนแล้วนำไปปลูกตามริวรั้วหรือสร้างค้างให้เลื้อยเนื่องจากเป็นพืชอุ้มน้ำจึงนิยมปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป
ประโยชน์ต่อสุขภาพของผักปลัง
ประโยชน์ทางอาหาร
คุณค่าทางอาหารของผักปลังนั้นมีมากทีเดียวเพราะมีวิตามินและเกลือแร่อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ สารบีตาแคโรทีน มีเมื่อกินเข้าในร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินบำรุงสายตาได้ แล้วยังมีคุณสมบัติเป็นสารช่วยป้องกันมะเร็งด้วย
โดยทั่วไปเราจะนำยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนซึ่งมีรสจืดเย็น มากินในรูปผักสดจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาปรุงอาหารก็ได้ เช่น แกงต่างๆ (แกงส้ม แกงแค แกงปลา) ผัดกับแหนม หรือใส่แกงอ่อมหอย อีกด้วย
ประโยชน์ทางยา
ก้าน แก้พิษฝี พรรดึก ท้องผูก ลดไข้
ใบ ขับปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ กลาก น้ำคั้น จากใบใช้บรรเทาอาการผื่นคัน
ดอก แก้เกลื้อน
ราก แก้มือเท้าด่าง รังแค พิษพรรดี (อาการต่างๆ ที่เกิด จากท้องผูก ถ่ายเป็นก้อนแข็งคล้ายขี้แพะ)
งานวิจัยที่เกี่ยวกับผักปลัง
สรรพคุณของผักปลัง
1. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
2. ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน มีสารเบต้าแคโรทีนที่ช่วยบำรุงดวงตา และยังมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย (ใบ)
3. ดอกใช้เป็นยาดับพิษในเลือด (ดอก)
4. ทั้งต้นมีรสเย็น สรรพคุณเป็นขับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยยาลดไข้ แก้อาการร้อนใน ทำให้เลือดเย็น (ทั้งต้น)
5. น้ำคั้นจากดอกใช้เป็นยาทาแก้หัวนมแตกเจ็บ (ดอก)
6. ต้นและใบมีรสหวานเอียน สรรพคุณเป็นยาช่วยระบายท้อง (ต้น,ใบ)
7. ช่วยแก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำให้ข้นแล้วทาน (ต้น)
8. ต้น ราก ใบ และทั้งต้นช่วยแก้อาการท้องผูก ยอดอ่อนหรือใบยอดอ่อนสดจะมีเส้นใย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ และเป็นยาระบายอ่อนๆ ที่เหมาะสำหรับเด็กและสตรีตั้งครรภ เมื่อนำมาต้มกินเป็นอาหารจะช่วยแก้อาการท้องผูกได้ และเมือกที่อยู่ในผักปลังจะมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยทำให้ท้องไม่ผูกได้ (ต้น,ราก,ใบ,ทั้งต้น)
9. รากมีรสหวานเอียน ใช้เป็นยาแก้พรรดึก (หรืออุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม) (ราก)
10. ใบใช้เป็นยาแก้บิด (ใบ)
11. ใช้ต้นสด 60-120 กรัม นำมาต้มดื่มเป็นยาแก้ไส้ติ่งอักเสบ (ต้น)
12. ช่วยแก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (ทั้งต้น)
13. ช่วยแก้ขัดเบา ด้วยการใช้ต้นสด 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น) ตำรายาแก้ปัสสาวะขัด ระบุให้ใช้ใบสด 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกินแบบชาต่อหนึ่งครั้ง (ใบ)
14. รากและใบ มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
15. หมอตำแยทางภาคเหนือมักจะใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำเมือกมาทาบริเวณช่องคลอดของสตรี เพื่อช่วยให้สตรีมีครรภ์คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานผักปลังด้วย เพราะจะช่วยทำให้สตรีคลอดบุตรได้ง่ายขึ้น โดยนำมาทำเป็นแกงผักปลังให้แม่มานกินทุกวันเดือนดับเดือนเต็ม เชื่อว่าจะช่วยทำให้คลอดบุตรง่าย ทำให้ไหลลื่นเหมือนผักปลัง (จากความเชื่อนี้เองจึงทำให้ผู้มีคาถาอาคมไม่กล้ารับประทาน เพราะกลัวคาถาเสื่อม) (ใบ)
16. ตกเลือดเรื้อรัง ให้ใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม นำมาต้มรับประทาน (ใบ)
17. หมอเมืองบางท่านจะใช้ใบผักปลัง นำมาตำกับข้าวสารจ้าว ใช้เป็นยาพอกแก้โรคมะเร็งไข่ปลา (เริม) (ใบ)
18. ใช้เป็นยาใส่แผลสด ใช้ห้ามเลือด หรือใช้แก้อาการฟกช้ำ ให้นำใบมาตำให้พอแหลก ผสมกับน้ำตาลทรายหรือเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ) ทั้งต้นใช้เป็นยาใส่แผลสดเพื่อห้ามเลือด รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (ทั้งต้น)
19. ใช้ใบและผลนำมาขยี้ทาบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีลักษณะเป็นแผลไหม้ จะช่วยบรรเทาอาการและทำให้รู้สึกเย็นขึ้นได้ (ใบและผล)
20. ช่วยแก้อักเสบ (ใบ,ทั้งต้น) แก้อักเสบบวม (ต้น)
21. ช่วยแก้อีสุกอีใส (ดอก)
22. รากใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง แก้รังแค (ราก)
23. ดอกมีรสหวานเอียน น้ำคั้นจากใช้เป็นยาทาแก้กลากเกลื้อน แก้โรคเรื้อน แก้เกลื้อน (ดอก)
24. ใบนำมาตำใช้เป็นยาพอกแก้กลากเกลื้อน แก้ผื่นคัน ผื่นแดง และฝี (ใบ) ใช้แก้ฝีหรือแผลสด ให้ใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น หรือขยี้ทาก็ได้เช่นกัน (ใบ) บ้างว่าใช้ผลนำมาต้มรับประทานแก้ฝี (ผล)
25. ช่วยดับพิษ ดับพิษฝีดาษ แก้พิษฝีดาษ ด้วยการใช้น้ำคั้นจากดอกสด นำมาทาบริเวณที่เป็น (ต้น,ดอก,ทั้งต้น)
26. ช่วยแก้พิษฝี (ต้น)
27. ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น โดยให้เปลี่ยนยาวันละ 1-2 ครั้ง (ใบ)
28. รากนำมาต้มกรับประทานเป็นยาแก้มือเท้าด่าง (ราก)
29. ช่วยแก้อาการช้ำใน กระดูกร้าว (ทั้งต้น)
30. ช่วยแก้อาการปวดแขนขา ด้วยการใช้ใบสด ยอดอ่อน 30 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ใบ)
31. รากใช้เป็นยาทาถูนวดให้ร้อนเพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงบริเวณที่ทามากขึ้น ส่วนน้ำคั้นจากก็เป็นยาหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี (ราก)
32. ยอดอ่อนนำมาแกงหรือใส่ต้มไก่รับประทานเป็นยาบำรุงเลือดลม สำหรับคนหน้าซีด เลือดลมไม่ดี (ใบ)
33. ยอดอ่อนใช้ใส่แกงหรือต้มให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟรับประทานเป็นยาบำรุง (ใบ)
หมายเหตุ : ผักปลังแดงและผักปลังขาว มีลักษณะและคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน สามารถนำมาใช้แทนกันได้ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Oct 20 08:18