ค้นหาสินค้า

พลูเขียว

ร้าน บ้านสวน การ์เด้น
พลูเขียว
พลูเขียว
ชื่อสินค้า:

พลูเขียว

รหัส:
239061
ราคา:
50.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณพรพรรณ พูลสวัสดิ์ (นุช)
ที่อยู่ร้าน:
อ.บางแพ จ.ราชบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 3 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชื่ออื่น ๆ : พลูจีน, ซีเก้ะ, บูลเปล้ายวน, ชีเก (ใต้), พลู (ทั่วไป), ปู (พายัพ)
ชื่อสามัญ : Betel Pepper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper betle Linn.
วงศ์ : PIPERACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้เถาเลื้อยยาว ก่อนที่จะปลูกพรรณไม้นี้ต้องหาค้างให้มันยึดเกาะ และจะมีรากเป็นกระจุก ออกมาตามเถาสามารถจับแน่น กันสิ่งที่มันยึดเกาะอยู่
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ใบอ่อนจะเป็นสีเขียว และใบแก่สีจะเข้มขึ้น ก้านใบมีความยาวประมาณ 5 ซม. จะออกตามเถาบริเวณตา ใบจะมีกลิ่นฉุน พลูนั้นจะมีหลายชนิดคือพลูจีน พลูเหลือง พลูเขียว และพลูทองหลาง
การขยายพันธุ์ : โดยการปักชำ ตามบริเวณที่ชื้นแฉะ และมีหลัก ที่รากพูลสามารถยึดเกาะได้
ส่วนที่ใช้ : ใบ ใช้เป็นยา
สรรพคุณ : ใบ ใช้รักษาแผลช้ำบวม โดยใช้ใบพลูหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วใช้ตำผสมกับเกลือ พอละเอียดใช้ตำพอกที่แผล รักษาลมพิษ ตำใบพลูให้ละเอียดดี แล้วเติมเหล้าขาวลงไป พอให้เหลวนิดหน่อย ใช้ทาตรงบริเวณที่เป็น รักษาเลือดกำเดาไหล ใช้ใบพลูมวนบุหรี่ ขยี้ปลายข้างหนึ่งให้ช้ำ แล้วสอดปลายข้างที่ช้ำนั้นอุด เข้าไปในรูจมูกข้างที่มีเลือดไหลให้แน่น เหมือนเอานิ้วชี้อุดจมูก รักษาอาการปวดท้องในเด็ก โดยเอาใบพลู มาอังไฟ จนใบพลูอ่อนตัว ไปวางลงบนท้องเด็ก ในขณะที่ใบพลูอ่อน วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ พอพลูเย็นให้เปลี่ยนใบพลู แล้วทำแบบเดิมหลาย ๆ ครั้ง
ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ มักขี้นอยู่ในบริเวณที่มีความชื้นสูง และมีอากาศร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย South east asia และตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีภูมิอากาศคล้าย ๆ กัน เช่น ในแอฟริกาข้อมูลทางคลีนิค
และทางเภสัชวิทยา :
1. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อโรคที่ทำให้เกิดหนองที่แผล และฝี นอกจากนี้ใบพลูยังมีฤทธิ์ ลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียใช้รักษาอาการอักเสบของเยื่อจมูก และคอ และยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรคได้
2. มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง มีผลไปกระตุ้นให้เลือดไหล เรียบที่ผิวหนัง ตามบริเวณที่ถูกยามากขึ้น และยังช่วยลดการอักเสบ เคล็ด ขัด ยอก ช้ำ และอาการบวมได้
3. รักษาอาการเคล็ด ขัด ยอก พบว่าน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบพลูนั้น ทำให้กล้ามเนื้อของกบ สุนัข หนู และกระต่ายคลายตัวไม่เกร็ง มีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวด เคล็ด ขัดยอกได้
4. มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อรา พบว่าใบพลูมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา 3 ชนิด ที่เป็นสาเหตุสำคัญ ของโรคกลาก และฮ่องกงฟุต
5.รักษาอาการปวดท้อง ท้องเสีย พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากใบพลูทำให้ลำไส้ที่เกร็งอยู่คลายตัว จึงใช้บรรเทาอาการปวดท้อง ที่เกิดจากลำไส้เกร็งตัวได้ และยังพบอีกว่าน้ำมันหอมระเหย ไปทำให้ลำไส้เกิดการบีบตัวมากเกินไป จึงใช้รักษาอาการท้องเสียได้
6. รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ พบว่าน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ช่วยขับลม จึงใช้รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้
นอกจากนี้ในใบพลูยังมีน้ำย่อยชื่อ diastes ไดแอสเทส ช่วยรักษาอาการท้องอืด เนื่องจากอาหารจำพวกแป้งไม่ย่อย
7.เป็นยาชูกำลัง น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากใบพลูนั้น มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นสมองอย่างอ่อน ๆ ทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าสมองแจ่มใส เหมือนดื่มกาแฟ หรือสูบบุหรี่
8. ช่วยลดความดันโลหิตสูง น้ำมันหอมระเหยจากใบพลู ลดความดันโลหิตของกบ สุนัข หนู และกระต่ายได้
9. ใช้เป็นยาฝาดสมาน พบว่าในใบพลูนั้น มีสารฝาดสมานแทนนินอยู่ประมาณ 1%
10. มีสารกันหืน สารตัวนี้ละลายได้ดีในน้ำร้อน และไม่ทำให้น้ำมันเสียรส เสียกลิ่น แต่น้ำมันจากใบพลูนั้นเสียง่าย จึงเก็บไม่ได้นาน จึงต้องใบแบบสด ๆ

ชนิดของพลู
1. พลูเขียว หรือบางท้องที่จะนิยมเรียกว่าพลูใบใหญ่ ใบมีขนาดใหญ่ป้อมๆ แต่ใบบาง ลักษณะใบ
เหมือนใบโพธิ์ มีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์อื่น มีรสเผ็ดมาก พลูชนิดนี้นิยมทำเป็นพลูนาบ และนิยมนำไปใช้ในการประกอบพิธี
2. พลูขาวหรือพลูนวล ใบมีขนาดปานกลางเล็กกว่าพลูเขียว แต่ใบหนากว่าพลูเขียว ปลายใบเรียว
ลักษณะใบเหมือนใบพริกไทย มีสีเขียวออกนวล รสไม่เผ็ดมากนักเป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภค
3. พลูเหลืองหรือพลูทอง ใบมีขนาดเล็กกว่าพลูนวลเล็กน้อย ใบบางเหมือนพลูเขียว ปลายใบจะ
เรียวเหมือนพลูนวล ใบมีสีเหลืองออกสีทอง รสไม่เผ็ดมากนัก เป็นที่นิยมของท้องตลาดและผู้บริโภคมาก การดูแลรักษายากกว่าพันธุ์อื่น
พลูขยายพันธุ์ด้วยการใช้เถา / การตอน / การปักชำยอด / การใช้ใบ /การทับกิ่ง
การปลูก
1. การเตรียมไม้ค้าง เนื่องจากพลูเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยที่ต้องอาศัยรากเจริญเกาะขึ้นไปกับค้าง
2. การเตรียมดิน การเตรียมดินทำได้โดยไถดินตากไว้อีกครั้งหนึ่ง จากนั้นก็ยกร่องให้สูงเพื่อช่วยใน
การระบายน้ำ ตากดินทิ้งไว้ระยะหนึ่งประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าบริเวณที่ปลูกเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนปน
ทรายควรใส่ปุ๋ยคอก เพื่อให้ดินร่วนและทำให้การอุดมสมบูรณ์มีเพิ่มมากขึ้น หากดินเหนียวหรือดินแน่น
จะต้องพรวนดิน ย่อยดินให้ร่วนเสียก่อนและต้องระวังอย่าให้มีน้ำขังในแปลงปลูก แล้วทำการขุดหลุมปลูก หลุมปลูกมีขนาดประมาณ 50 x 50 ซม. และลึกประมาณ 60 ซม. ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.5-2.0 เมตร และระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 1.50 เมตร
3. วิธีปลูก ก่อนที่จะปลูกพลูควรนำหญ้าแห้ง ใส่ลงในหลุมและจุดไฟเผา เพื่อฆ่าเชื้อโรคและ
ศัตรูพืชอื่นๆ ที่อาจจะอยู่ในหลุม จากนั้นก็ทำการลงไม้ค้างในดิน ส่วนดินที่จะใส่ลงหลุมควรเป็นดินผสมปุ๋ย
พลูจะชอบอากาศร้อน อุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ชอบแสงแดดจัดหรืออุณหภูมิที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้ต้นพลูอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ดังนั้นจึงต้องพรางแสงแดดลดความร้อนด้วยการให้ร่มเงาหรือปลูกพืชอื่นให้ร่มเงามากขึ้น
นอกจากนี้สิ่งที่ให้ร่มเงายังมีประโยชน์ในการป้องกันลมอันอาจจะทำความเสียหายต่อก้านและใบพลู
พลูชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง pH 7-7.5 และการระบายน้ำดี ถ้าเป็นดินเหนียวจะต้องทำการระบายน้ำ พลูไม่ชอบที่ชื้นแฉะหรือมีน้ำขัง อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและเกิดโรคได้ง่าย พลูจะชอบความชื้นสูงเป็นบริเวณที่ใกล้แหล่งน้ำหรือบริเวณที่มีฝนตกชุกสม่ำเสมอ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Oct 20 08:17