ค้นหาสินค้า

รางจืดแคปซูล

ร้าน สุดใจ
รางจืดแคปซูล
รางจืดแคปซูล
ชื่อสินค้า:

รางจืดแคปซูล

รหัส:
234662
ราคา:
70.00 บาท
ติดต่อ:
คุณจุฑาทิพย์ อิ่มอกใจ
ที่อยู่ร้าน:
อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 7 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายรางจือแคปซูล
จำหน่ายขมิ้นชันแคปซูลทั้งปลีกและส่ง บรรจุใส่ซองพลาสติก ถุงละ 100 แคปซูล ราคา 60 บาท ขนาด 500 มิลลิกรัม สะอาด ผ่านการตากแห้งและอบ
หมายเหตุ ค่าจัดส่งตามน้ำหนัก
วิธีการสั่งซื้อ
ผ่านทางเว็บไซต์ หรือ โทร. 083-546-7032 คุณจุฑาทิพย์ อิ่มอกใจ
วิธีการโอนเงิน
โอนเงินเข้าบัญชี ธ.กรุงไทย สาขาศาลายา หมายเลขบัญชี 4590067781 ชื่อบัญชี
จุฑาทิพย์ อิ่มอกใจ
ประโยชน์ของรางจืด
สมุนไพรรางจืด สมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูงมากชนิดหนึ่ง ซึ่งเราสามารถกินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผักได้ โดยจะใช้ลวกกิน แกงกิน ก็ทำได้เหมือนกับผักพื้นบ้านทั่วๆไป นอกจากนี้ยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บ้านแล้วได้อีกด้วย โดนไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่อย่างไรก็ตาม การกินรางจืดในปริมาณติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลหิตวิทยาหรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้นไปด้วย
ชารางจืด ใบรางจืดสามารถนำมาหั่นเป็นฝอย ตากลมให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแทนชาได้ ส่วนรสชาติที่ได้ก็ดีไม่แพ้กับใบชาเลยที่เดียว แถมยังมีกลิ่นหอมอีก และยังช่วยล้างพิษในร่างกายได้อีกด้วย
ในปัจจุบันได้มีการนำสมุนไพรรางจืดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แคปซูลรางจืด หรือ รางจืดแคปซูล เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการใช้ประโยชน์
การปลูกรางจืดนอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพรแล้ว ก็ยังนิยมปลูกไว้เพื่อชมดอก แล้วก็ยังสามารถช่วยบังแสงแดดทำให้เกิดร่มเงาได้อีกด้วย (แต่อย่าลืมว่ารางจืดเป็นไม้เลื้อย เลื้อยแหลก เลื้อยจนรก เลื้อยแบบไร้การควบคุม)
คำแนะนำ
รางจืดวิธีใช้ประโยชน์จากใบสดรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 10-12 ใบ (แต่ถ้าใช้สำหรับวัวควายให้ใช้ 20-30 ใบ) เมื่อได้ใบสดให้นำมาตำจนละเอียดผสมกับย้ำซาวข้าวประมาณครึ่งแก้ว ว่านรางจืดวิธีรับประทานก็ง่ายๆ เพียงนำมาคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องดื่มซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงถัดมา
การใช้ประโยชน์จากรากรางจืดในการรักษาพิษ หากใช้สำหรับคนให้ใช้ประมาณ 1-2 องคุลี (แต่ถ้าหากใช้กับวัวควายให้ใช้ประมาณ 2-4 องคุลี) เมื่อได้รากมาแล้วให้นำมาฝนหรือนำมาตำเข้ากับน้ำซาวข้าว แล้วนำมาดื่มให้หมดทันทีที่มีอาการ และอาจจะต้องใช้ซ้ำอีกภายในครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงเช่นเดียวกับการใช้ใบรางจืด
สำหรับการใช้รางจืดเพื่อถอนพิษยาฆ่าแมลง สำหรับผู้ป่วยที่ดื่มยาฆ่าแมลง ใช้ถอนยาพิษ ยาเบื่อ และพิษจากสตริกนินนั้น ต้องใช้ยารางจืดให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ จึงจะได้ผลดี เพราะถ้ายาซึมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากหรือทิ้งไว้ข้ามคืนรางจืดก็จะได้ผลน้อยลงนั่นเอง
รากของรางจืดนั้นจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าที่ใบถึง 4-7 เท่า ! หากเป็นไปได้การเลือกใช้รากถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
รางจืดที่จะมีประสิทธิภาพดีที่สุด ก็คือรางจืดชนิดเถาดอกสีม่วง
ที่สำคัญดินที่นำมาใช้ในการปลูกรางจืด หากผสมด้วยขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น ก็จะช่วยทำให้ต้นรางจืดนั้นมีสรรพคุณทางยาที่มากขึ้นไปอีก
ข้อควรระวังในการใช้รางจืดก็คือ การใช้รางจืดมันร่วมกับตัวยาชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาในการรักษาอย่างต่อเนื่องก็ควรจะระวังไว้ด้วย เพราะรางจืดอาจจะไปขับยาเหล่านั้นออกจากร่างกายได้นั่นเอง
แม้ว่ารางจืดจะสามารถช่วยล้างสารพิษได้จริง แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลในการวิจัยหรือเอกสารใดที่บ่งชี้ได้ว่า หากเราใช้ไปนานๆติดต่อกัน หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดผลอย่างไรบ้าง ซึ่งจุดนี้นักวิชาการทางด้านนี้จึงไม่แนะนำที่จะให้รับประทานอย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นคุณควรใช้เป็นครั้งคราวในยามที่จำเป็นหรือเมื่อต้องการที่จะรักษาโรค เมื่อได้ผลหรือหายดีแล้วก็ควรจะหยุดใช้ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่เรายังไม่รู้และอาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่เฉพาะแต่สมุนไพรรางจืดเท่านั้น สมุนไพรชนิดอื่นก็ด้วย เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกาแล้วยังไงก็ต้องผ่านกระบวนการทำงานของตับและไต ดังนั้นหากคุณใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานก็ควรจะตรวจสุขภาพของตับและไตด้วย
สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การใช้ก็ควรจะระมัดระวังด้วยเพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
รางจืดผลข้างเคียง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด เมื่อเกิดอาการแพ้รางจืดก็อาจจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามีระดับอาการแพ้มากน้อยน้อยแค่ไหน ถ้าหากมีอาการแพ้ไม่มากก็อาจจะเป็นแค่ผื่นคันขึ้นตามผิวหนัง
แม้ว่ารางจืดจะมีสรรพคุณที่ดีต่อร่างกายในการช่วยขับล้างสารพิษ แต่การนำมาใช้หรือนำมารับประทานก็ควรใช้อย่างพอดีและสมเหตุสมผล หากพิจารณาดูตัวเองหรือได้รับการวินิจฉัยจากผู้เชี่ยวชาญว่าร่างกายมีสารพิษมากเกินไป คุณก็สามารถรับประทานได้ แต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมถูกต้องและถูกเวลา
แหล่งอ้างอิง : เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, เว็บไซต์หมอชาวบ้าน (ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร), สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบ : เว็บไซต์ the-than.com, เว็บไซต์ flickr.com (by Dhammavagga), เว็บไซต์ chiangraifocus.com (by udom-chai)
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 09 Dec 14 06:21
คำสำคัญ: รางจืด