ชื่อสินค้า:
แหน่ สาหร่าย NAJADACEAE
รหัส:
214695
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ชิ้น
ติดต่อ:
คุณชนะ เหลือรักษ์
ที่อยู่ร้าน:
อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 15 ปี 7 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชื่อไทย : สาหร่ายเส้นด้าย สาหร่ายนา
ชื่อสามัญ : Bushy pond weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Najas graminea Del.
ชื่อวงศ์ : NAJADACEAE
ถิ่นกำเนิด : -
ข้อมูลทั่วไป :
เป็นสาหร่ายน้ำจืดมีอายุหลายฤดู ชอบขึ้นในที่น้ำนิ่ง เช่นหนองบึง สระน้ำทั่วไป ลักษณะลำต้นกลม ผอม ยาว แตกกิ่งก้านมาก มีรากออกตามข้อ ใบมีลักษณะแคบยาวเป็นเส้นเดี่ยว ขอบใบจักเป็นฟันเล็ก ๆ ห่าง ๆ โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ใบมีเป็นจำนวนมาก เรียงตัวตรงข้ามกัน ดอกมีขนาดเล็กมากออกตามมุมโคนใบ
ประโยชน์ :
เป็นอาหารของสัตว์น้ำต่างๆในหนองน้ำและทุ่งนา แก้เสมหะ แก้ในทางเตโชธาตุ ถอนพิษผิดสำแดง หรือที่เรียกว่าอาหารเป็นพิษ
แหนแดง (อังกฤษ: Mosquito fern, Water fern) เป็นพืชน้ำเล็ก ๆ พวกเฟิร์นพบเจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่นทั่วไป
แหนแดงเป็นเฟินน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อนกัน ใบแต่ละใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง sporocrap 2-4 อัน ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์
ในใบของแหนแดงมีโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่อาศัยของ Anabenaeซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabenaeได้รับสารอาหารจากแหนแดง ส่วนแหนแดงจะได้ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจนของ Anabenae
องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่โปรตีน ไขมัน และเซลลูโลส แร่ธาตุ แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญได้แก่ ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปตัสเซียม และจุลธาตุที่สำคัญได้แก่ เหล็ก และ โมลิบดินัม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ไนโตรจิเนส ในการตรึงไนโตรเจน แหนแดงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 5 – 45องศาเซลเซียส เจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 20 – 30 องศาเซลเซียส แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่มีแสงประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ของแสงสว่าง พีเอชที่เหมาะสมที่แหนแดงเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ 4.0 – 5.5 ความลึกของน้ำความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงคือประมาณ 10 เซนติเมตร
ประโยชน์ของแหนแดง
แหนแดงเป็นพืชน้ำมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น และแหนแดงมีโปรตีนสูง เน่าสลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มีประโยชน์ดังต่อไปนี้
ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ แหนแดงมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) อยู่ระหว่าง 8 – 13 หลังถูกไถกลบ จะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
แหนแดงสามารถเลี้ยงได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแหนแดงในนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา พบว่า มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ และยังให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว
โครงสร้างของชีวมวลของแหนแดงมีหมู่คาร์บอกซิลและหมู่ฟอสเฟตจึงใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนักได้ โดยแหนแดงที่ทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมคลอไรด์จะดูดซับ ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดงและสังกะสีในน้ำเสียได้ดี
เมื่อนำต้นข้าวอ่อนลงปักดำ แหนแดงจะป้องกันต้นข้าวจากการรบกวนของศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่ เพราะหอยจะไปกินแหนแดงแทน นอกจากนี้ ยังทำให้อุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนจนเกินไป เมื่อต้นข้าวเจริญเติบโตและแผ่ใบปกคลุมผืนน้ำ แหนแดงจะค่อยๆ ตายเนื่องจากขาดแสงอาทิตย์ ซากแหนแดงเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีขณะที่ธาตุไนโตรเจนในสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะสลายตัวเข้าบำรุงชั้นดินและน้ำให้อุดมสมบูรณ์ภายใน 8 สัปดาห์
แหนแดงมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ วิตามิน และแคโรตีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประกอบอยู่ในแหนแดงถึง 360 ม.ล.ต่อน้ำหนักแห้ง 1 ก.ก. เมื่อนำไปกินเป็นผักสลัดจึงช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ลดอาการแก่ก่อนวัย หรือหากเหลือใช้จริงๆ สามารถนำไปใช้เป็นอาหารปศุสัตว์ต่อไปได้ โดยทดลองให้เป็ดกินแล้วพบว่าไข่เป็ดมีสีแดงและมีวิตามินเอสูงกว่าไข่ทั่วไป
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 09 Apr 21 10:25
ชื่อสามัญ : Bushy pond weed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Najas graminea Del.
ชื่อวงศ์ : NAJADACEAE
ถิ่นกำเนิด : -
ข้อมูลทั่วไป :
เป็นสาหร่ายน้ำจืดมีอายุหลายฤดู ชอบขึ้นในที่น้ำนิ่ง เช่นหนองบึง สระน้ำทั่วไป ลักษณะลำต้นกลม ผอม ยาว แตกกิ่งก้านมาก มีรากออกตามข้อ ใบมีลักษณะแคบยาวเป็นเส้นเดี่ยว ขอบใบจักเป็นฟันเล็ก ๆ ห่าง ๆ โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ใบมีเป็นจำนวนมาก เรียงตัวตรงข้ามกัน ดอกมีขนาดเล็กมากออกตามมุมโคนใบ
ประโยชน์ :
เป็นอาหารของสัตว์น้ำต่างๆในหนองน้ำและทุ่งนา แก้เสมหะ แก้ในทางเตโชธาตุ ถอนพิษผิดสำแดง หรือที่เรียกว่าอาหารเป็นพิษ
แหนแดง (อังกฤษ: Mosquito fern, Water fern) เป็นพืชน้ำเล็ก ๆ พวกเฟิร์นพบเจริญเติบโตอยู่บนผิวน้ำในที่มีน้ำขังในเขตร้อนและอบอุ่นทั่วไป
แหนแดงเป็นเฟินน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อนกัน ใบแต่ละใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง sporocrap 2-4 อัน ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์
ในใบของแหนแดงมีโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่อาศัยของ Anabenaeซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน Anabenaeได้รับสารอาหารจากแหนแดง ส่วนแหนแดงจะได้ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจนของ Anabenae
องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่โปรตีน ไขมัน และเซลลูโลส แร่ธาตุ แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญได้แก่ ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโปตัสเซียม และจุลธาตุที่สำคัญได้แก่ เหล็ก และ โมลิบดินัม ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ไนโตรจิเนส ในการตรึงไนโตรเจน แหนแดงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 5 – 45องศาเซลเซียส เจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 20 – 30 องศาเซลเซียส แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่มีแสงประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ของแสงสว่าง พีเอชที่เหมาะสมที่แหนแดงเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ 4.0 – 5.5 ความลึกของน้ำความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงคือประมาณ 10 เซนติเมตร
ประโยชน์ของแหนแดง
แหนแดงเป็นพืชน้ำมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น และแหนแดงมีโปรตีนสูง เน่าสลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มีประโยชน์ดังต่อไปนี้
ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ แหนแดงมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) อยู่ระหว่าง 8 – 13 หลังถูกไถกลบ จะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่
แหนแดงสามารถเลี้ยงได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแหนแดงในนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา พบว่า มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ และยังให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว
โครงสร้างของชีวมวลของแหนแดงมีหมู่คาร์บอกซิลและหมู่ฟอสเฟตจึงใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนักได้ โดยแหนแดงที่ทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมคลอไรด์จะดูดซับ ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดงและสังกะสีในน้ำเสียได้ดี
เมื่อนำต้นข้าวอ่อนลงปักดำ แหนแดงจะป้องกันต้นข้าวจากการรบกวนของศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่ เพราะหอยจะไปกินแหนแดงแทน นอกจากนี้ ยังทำให้อุณหภูมิของน้ำไม่ร้อนจนเกินไป เมื่อต้นข้าวเจริญเติบโตและแผ่ใบปกคลุมผืนน้ำ แหนแดงจะค่อยๆ ตายเนื่องจากขาดแสงอาทิตย์ ซากแหนแดงเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีขณะที่ธาตุไนโตรเจนในสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะสลายตัวเข้าบำรุงชั้นดินและน้ำให้อุดมสมบูรณ์ภายใน 8 สัปดาห์
แหนแดงมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ วิตามิน และแคโรตีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประกอบอยู่ในแหนแดงถึง 360 ม.ล.ต่อน้ำหนักแห้ง 1 ก.ก. เมื่อนำไปกินเป็นผักสลัดจึงช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ลดอาการแก่ก่อนวัย หรือหากเหลือใช้จริงๆ สามารถนำไปใช้เป็นอาหารปศุสัตว์ต่อไปได้ โดยทดลองให้เป็ดกินแล้วพบว่าไข่เป็ดมีสีแดงและมีวิตามินเอสูงกว่าไข่ทั่วไป
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 09 Apr 21 10:25
คำสำคัญ:
พรรณไม้น้ำ
สาหร่ายนา