ชื่อสินค้า:
มะกอกป่า
รหัส:
207660
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นมะกอกป่า ต้นปลูก ความสูง 50-100 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุงส่งสินค้าแบบอีเอมเอส ค่าส่งต้นไม้ 1-4 ต้น/กล่อง/ ค่าส่ง100 บาท
มะกอกป่า
ชื่อท้องถิ่น:มะกอกป่า
ชื่อสามัญ:มะกอก
ชื่อวิทยาศาสตร์:Spondias bipinnata
ชื่อวงศ์:ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:
ต้นไม้ เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 10 - 40 ม. ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอด เป็นพุ่มกลมโปร่ง ๆ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมีรอยแผลใบปรากฎอยู่ เปลือกนอก สีเทา หนา มีต่อมระบายอากาศมาก เปลือกใน มีทางสีชมพูสลับขาว เรียบ
ใบ เป็นช่อชั้นเดียวแบบขนนก ยาวถึง 30 ซม. ทอดเรียงสลัยเวียนกัน แต่ละช่อมีใบย่อยเป็นคู่ ๆ อยู่ตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย 4 - 6 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานหรือมนขนาด 3 - 4 x 7 - 12 ซม. โคนเบี้ยว ปลายหยักคอดเป็นติ่งยาว ๆ เนื้อใบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อค่อนข้างหนา เนียน เกลี้ยง ขอบเรียบ เส้นแขนงใบหลายคู่ ออกเยื้อง ๆ กัน ปลายเส้น แขนงใบจรดขอบใบ ปลายช่อใบเป็นใบแบบปลายคี่ ใบอ่อน สีน้ำตาลอมแดงเรื่อ ๆ ใบแก่ สีเขียวเข้ม ก่อนร่วงสีเหลืองสด จึงเห็นสีที่เปลี่ยนไปในป่า โดดเด่นไม่น้อย
ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบตอนปลายกิ่ง ตามก้านดอกและก้านช่อดอกเกลี้ยง กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก เกสรผู้ มี 10 อัน รังไข่ รูปป้อม ๆ ผิวเกลี้ยง ภายในแบ่งเป็น 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย หลอดท่อรังไข่มี 5 หลอด
ผล ผลสด รูปไข่ ขนาด 2.5 - 3.5 x 3.5 - 4.5 ซม. เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่ แข็งมาก มีเมล็ดเดียว ผิวเป็นเสี้ยน ขรุขระ ผลแก่ออกสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ผลแก่นิยมใช้ตำผสมในน้ำพริกหลายชนิด มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ช่วยชูรสให้น้ำพริกอร่อยขึ้น
การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:นิยมใช้เมล็ด และการตอนกิ่ง เพราะว่ามีขนาดใหญ่
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร
ผล ผลสดมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานแก้กระหายน้ำได้ดี ใช้ตำน้ำพริก ส้มตำ และใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ ที่ต้องการรสเปรี้ยวและยังเป็นอาหารของสัตว์ป่าได้ดีมาก นายพรานบ้านป่ามักเฝ้าต้นมะกอกเพื่อรอส่องสัตว์ป่าที่มากินผลที่ร่วงหล่น
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดกับสัมตำ ลาบ น้ำตกและอาหารประเภทยำที่มีรสจัด น่าแปลกก็ตรงที่เปลือกมะกอกป่า ชาวเหนือนิยมสับผสมลงในลาบ ช่วยให้รสชาดไม่เลี่ยนอร่อยขึ้น
ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและมีสรรพคุณคือ
ราก รสฝาดเย็น ทำให้ชุ่มคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้พิษสำแดง กินของแสลงเป็นพิษ
เปลือกต้น รสฝาดเย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้กระหายน้ำ แก้ไข้ร้อนใน แก้สะอึก แก้ปวดบวม แก้บิด แก้ปวดตามข้อ รักษาโรคหนองใน แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ รักษาแผลพุพอง ดับพิษไข้ ยาอาบห้ามละลอก
ใบ รสฝาดเปรี้ยว แก้ปวดใบหู บำบัดโรคธาตุพิการ แก้โรคบิด
ผล รสเปรี้ยวอมหวานเย็น แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ทำให้ชุ่มคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ยาอาบห้ามละลอก แก้โรคธาตุพิการ น้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคน้ำกัดเท้า แก้โรคขาดธาตุปูน แก้ลงท้องปวดมวน ดับพิษกาฬ แก้สะอึก ดับพิษไข้ แก้พิษกาฬ แก้ไข้หวัดทุกชนิด
มะกอกป่าสุกเดือนธีนวาคม-เมษายน มะกอกป่าที่สุก มีรสเปรี้ยวอมฝาด
ถ้ากินมะกอกแล้วไปดื่มน้ำ น้ำจะออกรสหวานเหมือนที่เราทานมะขามป้อมแล้วไปทานน้ำ
เราใช้มะกอกป่าใส่ส้มต้ำ แจ่วปลาร้า ต้มยำปลา แทนมะนาว
ยอดมะกอก มีรสเปรี้ยมอมฝาด รับประทานกับลาบ น้ำพริก ปลาป่น(แบบอิสาน)
ต้นอ่อนของมะกอกที่สูงประมาณ 1 เมตร รากแก้วจะเป็นปมขนาดใหญ่
เรียกว่าหัวกอก รับประทานได้คล้ายมันแกว(แต่อร่อยกว่า)
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 04 Oct 20 02:08
มะกอกป่า
ชื่อท้องถิ่น:มะกอกป่า
ชื่อสามัญ:มะกอก
ชื่อวิทยาศาสตร์:Spondias bipinnata
ชื่อวงศ์:ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:
ต้นไม้ เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 10 - 40 ม. ลำต้นเปลาตรง โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอด เป็นพุ่มกลมโปร่ง ๆ กิ่งอ่อนเกลี้ยงและมีรอยแผลใบปรากฎอยู่ เปลือกนอก สีเทา หนา มีต่อมระบายอากาศมาก เปลือกใน มีทางสีชมพูสลับขาว เรียบ
ใบ เป็นช่อชั้นเดียวแบบขนนก ยาวถึง 30 ซม. ทอดเรียงสลัยเวียนกัน แต่ละช่อมีใบย่อยเป็นคู่ ๆ อยู่ตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย 4 - 6 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานหรือมนขนาด 3 - 4 x 7 - 12 ซม. โคนเบี้ยว ปลายหยักคอดเป็นติ่งยาว ๆ เนื้อใบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อค่อนข้างหนา เนียน เกลี้ยง ขอบเรียบ เส้นแขนงใบหลายคู่ ออกเยื้อง ๆ กัน ปลายเส้น แขนงใบจรดขอบใบ ปลายช่อใบเป็นใบแบบปลายคี่ ใบอ่อน สีน้ำตาลอมแดงเรื่อ ๆ ใบแก่ สีเขียวเข้ม ก่อนร่วงสีเหลืองสด จึงเห็นสีที่เปลี่ยนไปในป่า โดดเด่นไม่น้อย
ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบตอนปลายกิ่ง ตามก้านดอกและก้านช่อดอกเกลี้ยง กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก เกสรผู้ มี 10 อัน รังไข่ รูปป้อม ๆ ผิวเกลี้ยง ภายในแบ่งเป็น 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 1 หน่วย หลอดท่อรังไข่มี 5 หลอด
ผล ผลสด รูปไข่ ขนาด 2.5 - 3.5 x 3.5 - 4.5 ซม. เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่ แข็งมาก มีเมล็ดเดียว ผิวเป็นเสี้ยน ขรุขระ ผลแก่ออกสีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ผลแก่นิยมใช้ตำผสมในน้ำพริกหลายชนิด มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ช่วยชูรสให้น้ำพริกอร่อยขึ้น
การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:นิยมใช้เมล็ด และการตอนกิ่ง เพราะว่ามีขนาดใหญ่
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร
ผล ผลสดมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานแก้กระหายน้ำได้ดี ใช้ตำน้ำพริก ส้มตำ และใช้ประกอบอาหารอื่น ๆ ที่ต้องการรสเปรี้ยวและยังเป็นอาหารของสัตว์ป่าได้ดีมาก นายพรานบ้านป่ามักเฝ้าต้นมะกอกเพื่อรอส่องสัตว์ป่าที่มากินผลที่ร่วงหล่น
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสดกับสัมตำ ลาบ น้ำตกและอาหารประเภทยำที่มีรสจัด น่าแปลกก็ตรงที่เปลือกมะกอกป่า ชาวเหนือนิยมสับผสมลงในลาบ ช่วยให้รสชาดไม่เลี่ยนอร่อยขึ้น
ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและมีสรรพคุณคือ
ราก รสฝาดเย็น ทำให้ชุ่มคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ท้องร่วง แก้บิดมูกเลือด แก้พิษสำแดง กินของแสลงเป็นพิษ
เปลือกต้น รสฝาดเย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้กระหายน้ำ แก้ไข้ร้อนใน แก้สะอึก แก้ปวดบวม แก้บิด แก้ปวดตามข้อ รักษาโรคหนองใน แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ รักษาแผลพุพอง ดับพิษไข้ ยาอาบห้ามละลอก
ใบ รสฝาดเปรี้ยว แก้ปวดใบหู บำบัดโรคธาตุพิการ แก้โรคบิด
ผล รสเปรี้ยวอมหวานเย็น แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ทำให้ชุ่มคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ยาอาบห้ามละลอก แก้โรคธาตุพิการ น้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคน้ำกัดเท้า แก้โรคขาดธาตุปูน แก้ลงท้องปวดมวน ดับพิษกาฬ แก้สะอึก ดับพิษไข้ แก้พิษกาฬ แก้ไข้หวัดทุกชนิด
มะกอกป่าสุกเดือนธีนวาคม-เมษายน มะกอกป่าที่สุก มีรสเปรี้ยวอมฝาด
ถ้ากินมะกอกแล้วไปดื่มน้ำ น้ำจะออกรสหวานเหมือนที่เราทานมะขามป้อมแล้วไปทานน้ำ
เราใช้มะกอกป่าใส่ส้มต้ำ แจ่วปลาร้า ต้มยำปลา แทนมะนาว
ยอดมะกอก มีรสเปรี้ยมอมฝาด รับประทานกับลาบ น้ำพริก ปลาป่น(แบบอิสาน)
ต้นอ่อนของมะกอกที่สูงประมาณ 1 เมตร รากแก้วจะเป็นปมขนาดใหญ่
เรียกว่าหัวกอก รับประทานได้คล้ายมันแกว(แต่อร่อยกว่า)
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 04 Oct 20 02:08
คำสำคัญ:
มะกอกป่า
พันธุ์ไม้หายาก