ชื่อสินค้า:
Bioเมธา100
รหัส:
207087
ประเภท:
ราคา:
190.00 บาท
ติดต่อ:
คุณวุฒิพงษ์ มั่นคงกิจการุญ
ที่อยู่ร้าน:
อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 11 ปี 3 เดือน
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
เมธาไรเซียม (Metarhizium anisopliae) เป็นเชื้อราที่มีคุณสมบัติในการทำลายแมลงได้หลากหลายชนิด สามารถทำลายด้วงได้ทุกระยะ ทำลายหนอนได้มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่ง เมื่อเชื้อราเมธาไรเซียมสัมผัสหรือติดไปกับตัวแมลง เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อจะเจริญ เข้าไปในตัวแมลง และเพิ่มปริมาณ ทำให้แมลงเคลื่อนไหวช้าลง ไม่กินอาหาร และตายในที่สุด แมลงที่ตายลำตัวจะแข็งและมีเชื้อราสีเขียวขึ้นตามตัว เห็นได้ชัด
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะเชื้อราเป็นรูปทรงกระบอก เส้นใยมีผนังกั้นเป็นปล้องๆ ไม่มีสี เส้นใยจะแผ่ขยายเจริญเติบโตสร้างสปอร์ (conidia) เป็นรูปยาวรีคล้ายเมล็ดข้าว เป็นลูกโซ่ต่อกันตรงรอยคอคอด เราเรียกว่า conidium แต่ละ conidium ที่เกิดใหม่จะมีสีขาว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ จึงเป็นชื่อเรียกของราชนิดนี้
คุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมในการใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช
1.ใช้ได้ง่าย เพราะเข้าทำลายแมลงโดยตรงผ่านผิวหนังของแมลง
2.แพร่กระจายได้ โดยแพร่กระจายตัวเองโดยอาศัยลม ฝน และลักษณะอากัปกริยาของแมลงเช่น จั๊กจั่นที่เป็นโรครา Massospora ก่อนตายจะบินแล้วทิ้งปล้องสุดท้ายที่มีราเจริญอยู่เต็มทีละปล้องจนตัวตาย ลักษณะอาการของแมลงที่ตายเพราะเชื้อราบางชนิดก็ช่วยในการแพร่กระจายของเชื้อไปในประะชากรของแมลง เช่น การไต่ขึ้นไปเกาะบนที่สูงของตั๊กแตนที่เป็นโรคจากเชื้อ Entomophthora grylli การดีดตัวของ conidia ของเชื้อราในกลุ่ม Entomophthorales ช่วยในการแพร่กระจายของเชื้อราได้
3.มีความคงทนในสภาพแวดล้อมได้ดี พบว่าเชื้อราบางชนิด เช่น เมธาไรเซียม และ บิวเวอร์เรีย มีชีวิตอยู่ในดินเป็นเวลาข้ามปีได้ และสามารถทำให้เกิดโรคกับแมลงในกลุ่มน้อย จนถึงการระบาดในกลุ่มประชากรแมลงที่หนาแน่นได้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากรแมลงดังกล่าวความอ่อนแอต่อโรคของแมลงอาศัย (susceptible) สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ฝน แสงสว่าง รวมทั้งสภาพแวดล้อมทั้งทางเคมี ฟิสิกส์ของดิน และสิ่งมีชีวิตที่แวดล้อมอื่นๆ
4.สามารถคงความมีชีวิตของเชื้อรา ทั้งภายในและภายนอกตัวแมลงอาศัย ซึ่งส่วนใหญ่มีชีวิตนานได้ในหลายๆรูป เช่น conidia, spore, sclerotia, chlamydospore หรือ resting spore สามารถเพิ่มปริมาณ และมีความรุนแรงของเชื้อได้ดี ซึ่งต้องเกี่ยวกับพันธุกรรมของเชื้อราแต่ละชนิด ความรุนแรงของเชื้อคือความสามารถในการเข้าทำลายแมลง และเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันในตัวแมลง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Oct 13 05:02
ลักษณะรูปร่าง
ลักษณะเชื้อราเป็นรูปทรงกระบอก เส้นใยมีผนังกั้นเป็นปล้องๆ ไม่มีสี เส้นใยจะแผ่ขยายเจริญเติบโตสร้างสปอร์ (conidia) เป็นรูปยาวรีคล้ายเมล็ดข้าว เป็นลูกโซ่ต่อกันตรงรอยคอคอด เราเรียกว่า conidium แต่ละ conidium ที่เกิดใหม่จะมีสีขาว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ จึงเป็นชื่อเรียกของราชนิดนี้
คุณสมบัติของเชื้อราเมธาไรเซียมในการใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืช
1.ใช้ได้ง่าย เพราะเข้าทำลายแมลงโดยตรงผ่านผิวหนังของแมลง
2.แพร่กระจายได้ โดยแพร่กระจายตัวเองโดยอาศัยลม ฝน และลักษณะอากัปกริยาของแมลงเช่น จั๊กจั่นที่เป็นโรครา Massospora ก่อนตายจะบินแล้วทิ้งปล้องสุดท้ายที่มีราเจริญอยู่เต็มทีละปล้องจนตัวตาย ลักษณะอาการของแมลงที่ตายเพราะเชื้อราบางชนิดก็ช่วยในการแพร่กระจายของเชื้อไปในประะชากรของแมลง เช่น การไต่ขึ้นไปเกาะบนที่สูงของตั๊กแตนที่เป็นโรคจากเชื้อ Entomophthora grylli การดีดตัวของ conidia ของเชื้อราในกลุ่ม Entomophthorales ช่วยในการแพร่กระจายของเชื้อราได้
3.มีความคงทนในสภาพแวดล้อมได้ดี พบว่าเชื้อราบางชนิด เช่น เมธาไรเซียม และ บิวเวอร์เรีย มีชีวิตอยู่ในดินเป็นเวลาข้ามปีได้ และสามารถทำให้เกิดโรคกับแมลงในกลุ่มน้อย จนถึงการระบาดในกลุ่มประชากรแมลงที่หนาแน่นได้ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของประชากรแมลงดังกล่าวความอ่อนแอต่อโรคของแมลงอาศัย (susceptible) สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ฝน แสงสว่าง รวมทั้งสภาพแวดล้อมทั้งทางเคมี ฟิสิกส์ของดิน และสิ่งมีชีวิตที่แวดล้อมอื่นๆ
4.สามารถคงความมีชีวิตของเชื้อรา ทั้งภายในและภายนอกตัวแมลงอาศัย ซึ่งส่วนใหญ่มีชีวิตนานได้ในหลายๆรูป เช่น conidia, spore, sclerotia, chlamydospore หรือ resting spore สามารถเพิ่มปริมาณ และมีความรุนแรงของเชื้อได้ดี ซึ่งต้องเกี่ยวกับพันธุกรรมของเชื้อราแต่ละชนิด ความรุนแรงของเชื้อคือความสามารถในการเข้าทำลายแมลง และเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันในตัวแมลง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Oct 13 05:02
คำสำคัญ:
วัคซีนป้องกันศัตรูพืช