ชื่อสินค้า:
ต้นกุ่มน้ำ
รหัส:
195455
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นกุ่มน้ำ ขายต้นกุ่มน้ำ ขายต้นปลูก ความสูง 30-50 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุงส่งสินค้าแบบอีเอมเอส ค่าส่งต้นไม้ 1-4 ต้น/กล่อง/ ค่าส่ง100 บาท
กุ่มน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva magna DC
ชื่อวงศ์ CAPPARICADEAE
ชื่อท้องถิ่น
•สุพรรณ เรียก อำเภอ
•กะเหรี่ยง-ตะวันตก เรียก เหาะเถาะ
•พิจิตร,ปราจีนบุรี,อุดรธานี เรียก ผักกุ่ม
•มหาสารคาม เรียก ผักก่าม
•ภาคกลาง-ภาคตะวันตก เรียก กุ่มน้ำ
•ละว้า-เชียงใหม่ เรียก รอถะ
•พังงา-ระนอง เรียก ผักกุ่ม
•สงขลา,ชุมพร,ระนอง เรียก กุ่มน้ำ
ลักษณะทั่วไป
กุ่มน้ำเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ชอบขึ้นบริเวณริมตลิ่ง ใกล้น้ำจึงถูกเรียกว่า “กุ่มน้ำ” มีลำต้นคดงอและแตกกิ่งต่ำ ใบ สีเขียงแตกออกเป็นใบย่อย 3 ใบ ตัวใบรูปหอก ขอบขนาน เช่นเดียวกับกุ่มบก แต่ใบแคบกว่า ปลายใบเรียวแหลม ดอก ออกเป็นช่อกระจายตามยอดใบหรือซอกใบ เมื่อเริ่มออกดอกจะเป็นสีเขียวแล้วค่อยๆ กลายเป็นสีขาวหรือขามอมเหลือง เกสรตัวผู้สีม่วง ก่อนออกดอกจะผลัดใบ และผลิดอกพร้อมกับผลิใบใหม่ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผล กลมรี สีนวล ผิวแข็ง ภายมีเมล็ดกลมๆ เล็กๆ สีน้ำตาลเข้มรูปเกือกม้าอยู่จำนวนมาก
การปลูก
ต้นกุ่มเป็นไม้ที่ขึ้นได้ทั่วไป มีมากในภาคกลางและภาคใต้แถบจังหวัดระนอง ชุมพร กระบี่ และพังงา พบทั่วไปตาม ริมแม่น้ำ ลำห้วยในป่า ลำคลอง โดยเฉพาะกุ่มบก ต้นกุ่มขยายพันธุ์ได้หลายวิธี คือ เพาะเมล็ด ปักชำ การตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา
•ราก รสร้อน แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
•ใบ รสขมหอม ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้โรคไขข้ออักเสบ
•ดอก รสเย็น แก้เจ็บตา และแก้เจ็บในคอ
•ลูก รสขม แก้ไข้
•เปลือกต้น รสร้อน แก้สะอึก ขับผายลม ขับเหงื่อ แก้กระษัย
- ยอดและใบอ่อน นำไปดองรับประทาน(ไทลื้อ,ปะหล่อง)
- ยอดอ่อน นำไปดอง เก็บไว้รับประทานกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยว(คนเมือง)
- ลำต้น ใช้ทำไหข้าว(คนเมือง)
- ใบ มีกลิ่นหอม รสชาติขม ใช้ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ยาเจริญอาหาร ยาบำรุง ยาระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น โรคไขข้ออักเสบ เป็นอัมพาต ขับเหงื่อ ใช้ภายนอกเป็นยาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงให้ทั่ว
เปลือก ใช้เป็นยาระงับพิษทางผิวหนัง เป็นยาบำรุง แก้ไข้ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับน้ำดี ขับน้ำเหลืองเสีย และเป็นยาแก้อาเจียน เป็นต้น
คติความเชื่อ
คนไทยสมัยก่อนปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและยารักษาโรคต้นกุ่มนับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูก เชื่อว่าจะทำให้ครอบครัว มีฐานะ มีเงิน เป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังชื่อของต้นไม้
ประโยชน์ทางอาหารของผักกุ่ม : ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกอ่อน
การปรุงอาหาร : คนไทยรับประทานใบอ่อนและดอกอ่อนของผักกุ่มกและกุ่มน้ำ พบว่าชาวบ้านทุกภาคของไทยรับประทานผักกุ่มด้วยวิธีเดียวกัน คือ นำใบอ่อน และดอกอ่อนมาดองก่อน แล้วจึงนำไปรับประทานหรือนำไปปรุงเป็นผักอ่อนผักกุ่ม ทำคล้ายกับแกงขี้เหล็ก โดยการนำดอกมาต้มคั้นน้ำทิ้งสัก 1-2 ครั้ง เพื่อลดรสขม และปรุงด้วยข่าอ่อน ตะไคร้ น้ำปลาร้า น้ำปลาเกลือ ข้าวสารเล็กน้อย ใบแมงลัก ผักชีฝรั่งชาวบ้านเล่าว่าถ้าใส่น้ำครั้นใบย่านางลงไปด้วยจะทำให้ผักกุ่มจืดเร็ว ชาวใต้นำผักกุ่มไปรับประทานกับขนมจีนน้ำยาและชาวเหนือ (เชียงใหม่) นำผักยอดกุ่มมาเผาทานแกล้มกับลาบปลา ในช่วงหน้าหนาวเรามักพบกุ่มดองวางขายในตลาดสด
ยอดอ่อนและช่อดอกอ่อนของกุ่มน้ำ นำมาดองกับน้ำซาวข้าวเช่นเดียวกับผักเสี้ยน ถือเป็นผักดองรสดีของคนใต้สมัยก่อน ยอดกุ่ม/ดอกกุ่มดอง มีรสเปรี้ยว และขมนิดๆ (ไทยถิ่นใต้จะบอกว่า "กุ่มดองรสขมหลอมๆ" )
ปัจจุบัน จะไม่ค่อยมีใคร รู้จักกินอาหารดองชนิดนี้
คุณค่าทางโภชนาการผักกุ่ม : ผักกุ่มดอง รสเปรี้ยว ใบผักกุ่มดอง 100 กรัม ให้พลังงาน 88 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย คือ น้ำ 73.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15.7 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 1.3 กรัม กาก 4.9 กรัม แคลเซี่ยม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม เหล็ก 5.3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 6083 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 04 Oct 20 01:41
กุ่มน้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Crateva magna DC
ชื่อวงศ์ CAPPARICADEAE
ชื่อท้องถิ่น
•สุพรรณ เรียก อำเภอ
•กะเหรี่ยง-ตะวันตก เรียก เหาะเถาะ
•พิจิตร,ปราจีนบุรี,อุดรธานี เรียก ผักกุ่ม
•มหาสารคาม เรียก ผักก่าม
•ภาคกลาง-ภาคตะวันตก เรียก กุ่มน้ำ
•ละว้า-เชียงใหม่ เรียก รอถะ
•พังงา-ระนอง เรียก ผักกุ่ม
•สงขลา,ชุมพร,ระนอง เรียก กุ่มน้ำ
ลักษณะทั่วไป
กุ่มน้ำเป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ชอบขึ้นบริเวณริมตลิ่ง ใกล้น้ำจึงถูกเรียกว่า “กุ่มน้ำ” มีลำต้นคดงอและแตกกิ่งต่ำ ใบ สีเขียงแตกออกเป็นใบย่อย 3 ใบ ตัวใบรูปหอก ขอบขนาน เช่นเดียวกับกุ่มบก แต่ใบแคบกว่า ปลายใบเรียวแหลม ดอก ออกเป็นช่อกระจายตามยอดใบหรือซอกใบ เมื่อเริ่มออกดอกจะเป็นสีเขียวแล้วค่อยๆ กลายเป็นสีขาวหรือขามอมเหลือง เกสรตัวผู้สีม่วง ก่อนออกดอกจะผลัดใบ และผลิดอกพร้อมกับผลิใบใหม่ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผล กลมรี สีนวล ผิวแข็ง ภายมีเมล็ดกลมๆ เล็กๆ สีน้ำตาลเข้มรูปเกือกม้าอยู่จำนวนมาก
การปลูก
ต้นกุ่มเป็นไม้ที่ขึ้นได้ทั่วไป มีมากในภาคกลางและภาคใต้แถบจังหวัดระนอง ชุมพร กระบี่ และพังงา พบทั่วไปตาม ริมแม่น้ำ ลำห้วยในป่า ลำคลอง โดยเฉพาะกุ่มบก ต้นกุ่มขยายพันธุ์ได้หลายวิธี คือ เพาะเมล็ด ปักชำ การตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา
•ราก รสร้อน แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
•ใบ รสขมหอม ขับเหงื่อ แก้ไข้ เจริญอาหาร ระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น แก้โรคไขข้ออักเสบ
•ดอก รสเย็น แก้เจ็บตา และแก้เจ็บในคอ
•ลูก รสขม แก้ไข้
•เปลือกต้น รสร้อน แก้สะอึก ขับผายลม ขับเหงื่อ แก้กระษัย
- ยอดและใบอ่อน นำไปดองรับประทาน(ไทลื้อ,ปะหล่อง)
- ยอดอ่อน นำไปดอง เก็บไว้รับประทานกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยว(คนเมือง)
- ลำต้น ใช้ทำไหข้าว(คนเมือง)
- ใบ มีกลิ่นหอม รสชาติขม ใช้ต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ ยาเจริญอาหาร ยาบำรุง ยาระบาย ขับพยาธิ แก้ปวดเส้น โรคไขข้ออักเสบ เป็นอัมพาต ขับเหงื่อ ใช้ภายนอกเป็นยาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงให้ทั่ว
เปลือก ใช้เป็นยาระงับพิษทางผิวหนัง เป็นยาบำรุง แก้ไข้ ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ขับน้ำดี ขับน้ำเหลืองเสีย และเป็นยาแก้อาเจียน เป็นต้น
คติความเชื่อ
คนไทยสมัยก่อนปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและยารักษาโรคต้นกุ่มนับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่นิยมปลูก เชื่อว่าจะทำให้ครอบครัว มีฐานะ มีเงิน เป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังชื่อของต้นไม้
ประโยชน์ทางอาหารของผักกุ่ม : ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน และช่อดอกอ่อน
การปรุงอาหาร : คนไทยรับประทานใบอ่อนและดอกอ่อนของผักกุ่มกและกุ่มน้ำ พบว่าชาวบ้านทุกภาคของไทยรับประทานผักกุ่มด้วยวิธีเดียวกัน คือ นำใบอ่อน และดอกอ่อนมาดองก่อน แล้วจึงนำไปรับประทานหรือนำไปปรุงเป็นผักอ่อนผักกุ่ม ทำคล้ายกับแกงขี้เหล็ก โดยการนำดอกมาต้มคั้นน้ำทิ้งสัก 1-2 ครั้ง เพื่อลดรสขม และปรุงด้วยข่าอ่อน ตะไคร้ น้ำปลาร้า น้ำปลาเกลือ ข้าวสารเล็กน้อย ใบแมงลัก ผักชีฝรั่งชาวบ้านเล่าว่าถ้าใส่น้ำครั้นใบย่านางลงไปด้วยจะทำให้ผักกุ่มจืดเร็ว ชาวใต้นำผักกุ่มไปรับประทานกับขนมจีนน้ำยาและชาวเหนือ (เชียงใหม่) นำผักยอดกุ่มมาเผาทานแกล้มกับลาบปลา ในช่วงหน้าหนาวเรามักพบกุ่มดองวางขายในตลาดสด
ยอดอ่อนและช่อดอกอ่อนของกุ่มน้ำ นำมาดองกับน้ำซาวข้าวเช่นเดียวกับผักเสี้ยน ถือเป็นผักดองรสดีของคนใต้สมัยก่อน ยอดกุ่ม/ดอกกุ่มดอง มีรสเปรี้ยว และขมนิดๆ (ไทยถิ่นใต้จะบอกว่า "กุ่มดองรสขมหลอมๆ" )
ปัจจุบัน จะไม่ค่อยมีใคร รู้จักกินอาหารดองชนิดนี้
คุณค่าทางโภชนาการผักกุ่ม : ผักกุ่มดอง รสเปรี้ยว ใบผักกุ่มดอง 100 กรัม ให้พลังงาน 88 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย คือ น้ำ 73.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 15.7 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 1.3 กรัม กาก 4.9 กรัม แคลเซี่ยม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม เหล็ก 5.3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 6083 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 04 Oct 20 01:41
คำสำคัญ:
กุ่ม
ต้นสมุนไพร