ชื่อสินค้า:
ต้นคัดเค้า
รหัส:
194354
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นคัดเค้า ขายต้นคัดเค้า ขายต้นปลูก ความสูง 30-50 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุงส่งสินค้าแบบอีเอมเอส ค่าส่งต้นไม้ 1-4 ต้น/กล่อง/ ค่าส่ง100 บาท
คัดเค้าเป็น ไม้ดอกหอมพันธุ์พื้นเมืองของไทย จึงปลูกเลี้ยงง่าย อดทน ทนน้ำท่วมได้ดี ออกดอกง่ายและออกดอกดก คัดเค้าเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย คือสามารถปลูกให้เป็นไม้เลื้อยซุ้มก็ได้ หรือจะปลูกให้เป็นไม้พุ่มก็ได้ ควรปลูกกลางแจ้ง และควรตัดแต่งกิ่งให้เป็นทรงพุ่มโปร่งอยู่เสมอ จะช่วยให้แตกยอดกิ่งใหม่ช่วยสร้างดอกให้ดกมากยิ่งขึ้น(เพราะดอกคัดเค้าจะออกมากับยอดกิ่งใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxyceros horridus Lour. (Randia siamensis Craib)
วงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : เขี้ยวกระจับ (ภาคใต้) คัดเค้า (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ) คัดเค้าเครือ (นครราชสีมา) คัดเค้าหนาม (ชัยภูมิ) เค็ดเค้า (ภาคเหนือ) จีเค๊า พญาเท้าเอว (กาญจนบุรี) หนามลิดเค้า (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ครึ่งพุ่งครึ่งเลื้อย มักทอดกิ่งยาว กลายเป็นลำเถาได้ง่าย มีหนามแหลมโค้งงอกลงมาคล้ายเขาควายเป็นคู่ อยู่ระหว่างคู่ใบ ตัวใบเป็นสีเขียวแก่ด้านๆ ดอกสีขาว หอมแรงมากส่งกลิ่นเวลาเย็นตลอดไปจนกลางคืน ดอก ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่งเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 ซม.โคนคอดเป็นหลอดปลายแยก 5 กลีบ ดอกที่เริ่มบานสีขาวนวล แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลในวันต่อ
ส่วนที่ใช้ : ผล
สรรพคุณ : ใช้เป็นยาขับประจำเดือน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผล 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ขับประจำเดือน
แต่ก่อนชาวบ้านมักจะปลูกต้นคัดเค้าให้พันเลื้อยขึ้นตามแนวรั้วบ้านเพราะนอกจากจะได้เถาได้ใบช่วยบังตาแล้วยังได้ทีเด็ดหรืออาวุธของคัดเค้าคือหนาม หนามคัดเค้าทรงโค้งขึ้นเหมือนเขาควาย(มากก) ยาวซักไม่เกิน 1 นิ้ว แหลมคม แข็งแรงไม่หักหรือหลุดง่าย
คนไทยรู้จักคุ้นเคยกับคัดเค้ามาเป็นเวลานานมาก โดยจะพบชื่อคัดเค้าอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น
จากเรื่อง”พระอภัยมณี” บทประพันธ์ของสุนทรภู่ ตามบทกลอนที่ว่า..
“ตามท้องแถวมรรคาพนาเวศ ก็เข้าเขตสิงคุตรสิงขรไศล
จะรื่นรินกลิ่นบุปผาสุมาลัย ดวงดอกไม้หล่นกลาดลงดาดดง
ประยงค์แย้มแกมสุกรมนมสวรรค์ มะลิวัลย์มะลิลาแก้วกาหลง
ทั้งคัดเค้ากฤษณาจำปาดง มหาหงส์หางนกยูงฟุ้งขจร”
จากเรื่อง”สิงหไตรภพ” ผลงานประพันธ์ของ สุนทรภู่ (ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้ง และมักใช้ชื่อเรื่องว่า “สิงหไกรภพ”)
“ลิงลมลงหลงเล่นลางลิงโลด เหมหงส์โหดหันหาหิ่งหาดเหียง
คัดเค้าทั้งกางเขนเป็นคู่เคียง อีแอ่นเอี้ยงโอนอ่อนออกอื้ออึง”
กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
“พุมเรียงเคียงคัดเค้า ต้นปู่เจ้าเหล่าจิงจำ
ต้นองุ่นขนุนสำ มลอมะก่อสะตอสะเตียน
พุงเรียงเคียงคัดเค้า บานช้ำ
ปู่เจ้าเหล่าจิงจำ ไขว่ขึ้น
ต้นองุ่นขนุนสำ มลอมาก
มะกอสะตอสะเตียนพื้น เลี่ยนเกลี้ยงตลิบเตียน”
การใช้ประโยชน์คัดเค้า
คัดเค้า นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวน อาคารบ้านเรือน วัด โรงเรียนและสวนสาธารณะต่างๆ
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 Oct 20 03:18
คัดเค้าเป็น ไม้ดอกหอมพันธุ์พื้นเมืองของไทย จึงปลูกเลี้ยงง่าย อดทน ทนน้ำท่วมได้ดี ออกดอกง่ายและออกดอกดก คัดเค้าเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย คือสามารถปลูกให้เป็นไม้เลื้อยซุ้มก็ได้ หรือจะปลูกให้เป็นไม้พุ่มก็ได้ ควรปลูกกลางแจ้ง และควรตัดแต่งกิ่งให้เป็นทรงพุ่มโปร่งอยู่เสมอ จะช่วยให้แตกยอดกิ่งใหม่ช่วยสร้างดอกให้ดกมากยิ่งขึ้น(เพราะดอกคัดเค้าจะออกมากับยอดกิ่งใหม่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxyceros horridus Lour. (Randia siamensis Craib)
วงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : เขี้ยวกระจับ (ภาคใต้) คัดเค้า (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ) คัดเค้าเครือ (นครราชสีมา) คัดเค้าหนาม (ชัยภูมิ) เค็ดเค้า (ภาคเหนือ) จีเค๊า พญาเท้าเอว (กาญจนบุรี) หนามลิดเค้า (เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ครึ่งพุ่งครึ่งเลื้อย มักทอดกิ่งยาว กลายเป็นลำเถาได้ง่าย มีหนามแหลมโค้งงอกลงมาคล้ายเขาควายเป็นคู่ อยู่ระหว่างคู่ใบ ตัวใบเป็นสีเขียวแก่ด้านๆ ดอกสีขาว หอมแรงมากส่งกลิ่นเวลาเย็นตลอดไปจนกลางคืน ดอก ออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่งเป็นช่อกระจุกสั้นๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 1.5 ซม.โคนคอดเป็นหลอดปลายแยก 5 กลีบ ดอกที่เริ่มบานสีขาวนวล แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลในวันต่อ
ส่วนที่ใช้ : ผล
สรรพคุณ : ใช้เป็นยาขับประจำเดือน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผล 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ขับประจำเดือน
แต่ก่อนชาวบ้านมักจะปลูกต้นคัดเค้าให้พันเลื้อยขึ้นตามแนวรั้วบ้านเพราะนอกจากจะได้เถาได้ใบช่วยบังตาแล้วยังได้ทีเด็ดหรืออาวุธของคัดเค้าคือหนาม หนามคัดเค้าทรงโค้งขึ้นเหมือนเขาควาย(มากก) ยาวซักไม่เกิน 1 นิ้ว แหลมคม แข็งแรงไม่หักหรือหลุดง่าย
คนไทยรู้จักคุ้นเคยกับคัดเค้ามาเป็นเวลานานมาก โดยจะพบชื่อคัดเค้าอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น
จากเรื่อง”พระอภัยมณี” บทประพันธ์ของสุนทรภู่ ตามบทกลอนที่ว่า..
“ตามท้องแถวมรรคาพนาเวศ ก็เข้าเขตสิงคุตรสิงขรไศล
จะรื่นรินกลิ่นบุปผาสุมาลัย ดวงดอกไม้หล่นกลาดลงดาดดง
ประยงค์แย้มแกมสุกรมนมสวรรค์ มะลิวัลย์มะลิลาแก้วกาหลง
ทั้งคัดเค้ากฤษณาจำปาดง มหาหงส์หางนกยูงฟุ้งขจร”
จากเรื่อง”สิงหไตรภพ” ผลงานประพันธ์ของ สุนทรภู่ (ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้ง และมักใช้ชื่อเรื่องว่า “สิงหไกรภพ”)
“ลิงลมลงหลงเล่นลางลิงโลด เหมหงส์โหดหันหาหิ่งหาดเหียง
คัดเค้าทั้งกางเขนเป็นคู่เคียง อีแอ่นเอี้ยงโอนอ่อนออกอื้ออึง”
กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
“พุมเรียงเคียงคัดเค้า ต้นปู่เจ้าเหล่าจิงจำ
ต้นองุ่นขนุนสำ มลอมะก่อสะตอสะเตียน
พุงเรียงเคียงคัดเค้า บานช้ำ
ปู่เจ้าเหล่าจิงจำ ไขว่ขึ้น
ต้นองุ่นขนุนสำ มลอมาก
มะกอสะตอสะเตียนพื้น เลี่ยนเกลี้ยงตลิบเตียน”
การใช้ประโยชน์คัดเค้า
คัดเค้า นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวน อาคารบ้านเรือน วัด โรงเรียนและสวนสาธารณะต่างๆ
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 05 Oct 20 03:18
คำสำคัญ:
คัดเค้า
พันธุ์ไม้หายาก