ชื่อสินค้า:
ต้นเถาเอ็นอ่อน
รหัส:
194022
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นเถาเอ็นอ่อน ขายต้นเถาเอ็นอ่อน ต้นปลูก ความสูง 50-100 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุงส่งสินค้าแบบอีเอมเอส ค่าส่งต้นไม้ 1-4 ต้น/กล่อง/ ค่าส่ง100 บาท
ต้นเถาเอ็นอ่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cryptolepis buchanani Roem.&Schult.
วงศ์ : Asclepiadaceae
ชื่ออื่น : กวน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เครือเถาเอ็น (เชียงใหม่) ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ) เมื่อย (ภาคกลาง) นอออหมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หญ้าลิเลน (ปัตตานี) หมอนตีนเป็ด (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเถาเอ็นอ่อน
ต้นเถาเอ็นอ่อนเป็นไม้เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เปลือกเถาเรียบสีน้ำตาลอมดำ พอแก่เปลือกจะหลุดล่อนออกเป็นแผ่น ทุกส่วนของต้นมี น้ำยางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ใบรูปรี ปลายใบมนมีหางสั้น โคนใบสอบ หลังใบเรียบเป็นมันและลื่น ท้องใบเรียบสีขาลนวล ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นดอกช่อ ตามซอกใบ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ผล ทรงกระบอก ติดกันเป็นคู่ ปลายผลแหลม ผิวเป็นมันลื่น พอแก่แตกออกด้านเดียว เมล็ดรูปรีสีน้ำตาล มีขนปุยสีขาวติดอยู่
การขยายพันธุ์ต้นเถาเอ็นอ่อน ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด และชำกิ่ง ขึ้นได้กับทุกพื้นดิน ชอบความชื้นพอสมควร แสงแดดเต็มวัน
ส่วนที่ใช้เป็นยาของเถาเอ็นอ่อน : เถา ใบ
ตำรายาไทยใช้ ใบและเถาของเถาเอ็นอ่อน กินบำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย
สรรพคุณ :
เถา - ใช้เถาเอ็นอ่อนต้มรับประทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ คลายกล้ามเนื้อ ลออาการเกร็งตัว แก้ปวดเสียวตามร่างกาย
ใบ - ใช้ใบเถาเอ็นอ่อนโขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี
ต้นเถาเอ็นอ่อน ขายต้นเถาเอ็นอ่อน
ใบเถาเอ็นอ่อนมี รสเบื่อเอียน ทำลูกประคบ แก้เมื่อยขบ แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น คลายเส้นเอ็น
เถาของเถาเอ็นอ่อน รสขมเบื่อมัน ต้มดื่มบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้ขัดยอก ทำให้คลายการตึงตัว
เมล็ดของเถาเอ็นอ่อน รสขมเมา ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
การใช้ประโยชน์ทั่วไป หมอชาวบ้านจะเอาใบเถาเอ็นอ่อนไปตำพอแหลกแล้วห่อด้วยผ้าทำเป็นลูกประคบ ใช้ประคบแก้อาการปวดเสียวตามเส้น และอาการตึงเมื่อยขบ ช่วยทำให้เส้นหย่อนได้ หรือนำเถาของเถาเอ็นอ่อนไปต้มรับประทานช่วยบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ.
หมอพื้นบ้านของตำบลท่ามะไฟหวาน แนะนำมานานแล้วว่า เถาเอ็นอ่อนใช้แก้ปวดเมื่อยได้ดีให้ผสมเถาไมยราบทั้งต้นทั้งราก แค่ต้มในน้ำเดือดสัก ๕-๑๐ นาที แล้วดื่มแทนน้ำ มีชาวบ้านที่บ้านท่ามะไฟหวานอยู่คนหนึ่งตื่นขึ้นมาตอนเช้า มีอาการเส้นตึงเดินไม่ได้ ตอนแรกจะไปให้หมอฉีดยาที่โรงพยาบาล แต่หลังจากได้ดื่มสมุนไพรชนิดนี้แล้ว ตกบ่ายอาการดีขึ้น พอตอนเย็นเดินได้เลย
ในตำราการแพทย์แผนไทย กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่าเถาเอ็น หรือเถาเมื่อยหรือเถาเอ็นอ่อน รสขมติดเมา มีสรรพคุณแก้เมื่อย แก้เส้นตึง บำรุงเส้นเอ็น
อาจารย์โกศล แดนตะโคตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเถาไมยราบว่าเป็นยาขับลมในเส้นเอ็น จึงเป็นยาที่ช่วยเสริมให้เถาเอ็นอ่อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตำรับขับกรดยูริก
กรดยูริค (ยาแก้กษัยเส้น) ส่วนผสม : เถาวัลย์เปรียง, พญารากดำ, เถาเอ็นอ่อน, พญารากขาว, ขี้เหล็ก, ใบมะกา, สมอไทย, มะขามป้อม
สมุนไพรนี้ ล้างกรดยูริคในร่างกายได้ พร้อมทั้งมีฤทธิ์ขับถ่ายแบบอ่อน ๆ ด้วย ทานแล้วจะมีอาการไล่พิษ อาจจะปวดมากขึ้นในระหว่างที่ทาน ไม่ต้องตกใจ เขากำลังขับพิษ
สูตรแก้ปวดมื่อย
สมุนไพรที่จะนำมาทำเอนไซม์แก้ปวดเมื่อยสูตรใหม่ เน้นที่หากเองได้ ไม่ต้องซื้อหา
สมุนไพรแก่นกิ่งไม้ มี สวอง กัดลิ้น ทิ้งถ่อน กระเจียน ปรงป่า
สมุนไพรไม้เลื้อย มี เถาเอ็นอ่อน
สมุนไพรวัชพืช มี เหง้าสาบเสือ ไมยราบทั้งห้า
สมุนไพรให้น้ำตาล มี อ้อยแดงหรืออ้อยดำ
นำสมุนไพรอย่างละ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก มาสับ ตากแห้ง 2-3 วัน เทใส่ไห
เทน้ำสะอาดลงไป ให้ปริมาณน้ำเหมือนแกงจืด ทุบอ้อยแดงลงไปผสม
หากหวานไม่พอ ก็ให้เติมน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลโตนด ให้หวานประแล่มๆ
ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์เอนไซม์ลงไป กวนให้เข้ากัน ปิดฝา กวนทุกวัน วันละครั้ง
จนกว่าจะมีรสเปรี้ยว ใช้เวลาหมักประมาณ 1 เดือน ลองชิมดู
วิธีการกิน ตอนท้องว่าง เช้าเย็น ครั้งละ 1-2 อึก
น้ำมันเหลือง สูตร เถาเอนอ่อน
แก้ปวดกล้ามเนื้อ ข้อมือข้อเท้าข้อเข่า ชาตามมือเท้า เป็นตะคริว ใช้นวดทา หรือสูดดม
ส่วนประกอบ เถาเอ็นอ่อน ไพล ฉั่งฉิก กานพลู
นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ตามแต่จะหาได้
อาจเติม พิเสน การบูร เมนทอล เพื่อความหอมเย็นสดชื่น
แก้ปวดเมื่อยทั้งร่างกาย อัมพฤกษ์ เลือดลมเดินไม่สะดวก
ตัวยาสำคัญ มีดังต่อไปนี้ เถาเอนอ่อน 200 กรัม เถาม้ากระทืบโรง 250 กรัม เถาโคคลาน 250 กรัม
เถารางแดง 150 กรัม เถาหมวกทั้งสอง 200 กรัม กำลังเสือโคร่ง 250 กรัม กำลังหนุมาน 200 กรัม
กำลังวัวเถลิง 250 กรัม โกฐเชียงจีน 150 กรัม โกฐสอ 150 กรัม โกฐหัวบก 200 กรัม
กาฝากต้นหม่อม 300 กรัม ดอกคำฝอย 100 กรัม เม็ดชุมเห็ดจีน 250 กรัม โกฐน้ำเต้าจีน 100 กรัม
โกฐกระดูก 150 กรัม ดอกสายน้ำผึ้ง 150 กรัม
วิธีใช้ บดละเอียดเป็นผง กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ ก่อนหรือหลังอาหาร
แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเอ็นเส้นกระดูกทั้งร่างกาย สูตร บ้านนาขวัญ
5 ส่วน 5 ส่วนใบสะแก (ปวดเมื่อยทั่วไป) 5 ส่วน เถาเอ็นอ่อน (ปวดเมื่อยเอ็นเส้น) 3 ส่วน หมอน้อย (แก้อักเสบ บำรุงตับไต) 1 ส่วน ไมยราบ (ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ไล่พิษเมื่อย) 2 ส่วน ใบกิ่งยางเหียง (บำรุงกระดูกฟัน) 3 ส่วน ใบสัก (บำรุงเลือด เนื้อเยื่อ) 3 ส่วน กะเม็ง (แก้อักเสบ บำรุงตับไต ม้าม ลดความร้อน) 1 ส่วน ข่าลิง (แก้ปวดเมื่อย ไล่ลม ทำให้เลือดลมเดินสะดวก) ส่วน หมักเป็นเอ็นไซม์ กินก่อนอาหาร เช้าเที่ยงเย็น ครั้งละ 5 - 10 ซซ
สูตรสมุนไพร สำหรับ เทศบาลสิริราช ต.สันดอนแก้ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยข้อเอ็นกระดูกกล้ามเนื้อ ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
กิ่งทิ้งถ่อน 3 เปลือกก้ามปู 2 เปลือกต้นมะรุม 1 เปลือกต้นสน 1 กิ่งแสมสารหรือขี้เหล็กป่า 1 ใบสะแกนา 3 เถาใบเถาเอ็นอ่อน 2 โด่ไม่รู้ล้มทั้งห้า 2 ลูกใต้ใบทั้งห้า 1 หมอน้อยทั้งห้า 1 หญ้าปากควายทั้งห้า 1 หญ้าแพรกทั้งห้า 1 ใบหญ้าคา 1
หากเป็นใบ ทิ้งให้แห้งทั้งกิ่ง แล้วเก็บแต่ใบ หากเป็นกิ่งหรือเปลือกต้น ให้ฝาดเป็นชิ้นๆ แล้วตากแห้ง ตระกูลหญ้าให้สะอาดแล้วตากแดดจนแห้ง
ผสมกันตามสัดส่วน นำไปต้มกินต่างน้ำ พอให้น้ำงวดลงสัก 20% หรือเช้าเที่ยงเย็น ครั้งละ 1 แก้ว
ต้นเถาเอ็นอ่อน ขายต้นเถาเอ็นอ่อน จำหน่ายต้นเถาเอ็นอ่อน
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 04 Oct 20 01:02
ต้นเถาเอ็นอ่อน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cryptolepis buchanani Roem.&Schult.
วงศ์ : Asclepiadaceae
ชื่ออื่น : กวน (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เครือเถาเอ็น (เชียงใหม่) ตีนเป็ดเครือ (ภาคเหนือ) เมื่อย (ภาคกลาง) นอออหมี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หญ้าลิเลน (ปัตตานี) หมอนตีนเป็ด (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเถาเอ็นอ่อน
ต้นเถาเอ็นอ่อนเป็นไม้เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เปลือกเถาเรียบสีน้ำตาลอมดำ พอแก่เปลือกจะหลุดล่อนออกเป็นแผ่น ทุกส่วนของต้นมี น้ำยางสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ใบรูปรี ปลายใบมนมีหางสั้น โคนใบสอบ หลังใบเรียบเป็นมันและลื่น ท้องใบเรียบสีขาลนวล ก้านใบสั้น ดอก ออกเป็นดอกช่อ ตามซอกใบ ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ผล ทรงกระบอก ติดกันเป็นคู่ ปลายผลแหลม ผิวเป็นมันลื่น พอแก่แตกออกด้านเดียว เมล็ดรูปรีสีน้ำตาล มีขนปุยสีขาวติดอยู่
การขยายพันธุ์ต้นเถาเอ็นอ่อน ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด และชำกิ่ง ขึ้นได้กับทุกพื้นดิน ชอบความชื้นพอสมควร แสงแดดเต็มวัน
ส่วนที่ใช้เป็นยาของเถาเอ็นอ่อน : เถา ใบ
ตำรายาไทยใช้ ใบและเถาของเถาเอ็นอ่อน กินบำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเมื่อย
สรรพคุณ :
เถา - ใช้เถาเอ็นอ่อนต้มรับประทานเป็นยาแก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน จิตใจชุ่มชื่น เป็นยาบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ คลายกล้ามเนื้อ ลออาการเกร็งตัว แก้ปวดเสียวตามร่างกาย
ใบ - ใช้ใบเถาเอ็นอ่อนโขลกให้ละเอียด ห่อผ้าทำลูกประคบ ประคบตามเส้นเอ็นที่ปวดเสียวและตึงเมื่อยขบ ทำให้เส้นยืดหย่อนดี
ต้นเถาเอ็นอ่อน ขายต้นเถาเอ็นอ่อน
ใบเถาเอ็นอ่อนมี รสเบื่อเอียน ทำลูกประคบ แก้เมื่อยขบ แก้ปวดเสียวเส้นเอ็น คลายเส้นเอ็น
เถาของเถาเอ็นอ่อน รสขมเบื่อมัน ต้มดื่มบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ เส้นแข็ง แก้ปวดเมื่อยเส้นเอ็น แก้ขัดยอก ทำให้คลายการตึงตัว
เมล็ดของเถาเอ็นอ่อน รสขมเมา ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
การใช้ประโยชน์ทั่วไป หมอชาวบ้านจะเอาใบเถาเอ็นอ่อนไปตำพอแหลกแล้วห่อด้วยผ้าทำเป็นลูกประคบ ใช้ประคบแก้อาการปวดเสียวตามเส้น และอาการตึงเมื่อยขบ ช่วยทำให้เส้นหย่อนได้ หรือนำเถาของเถาเอ็นอ่อนไปต้มรับประทานช่วยบำรุงเส้นเอ็นในร่างกายให้แข็งแรง แก้เส้นเอ็นพิการ.
หมอพื้นบ้านของตำบลท่ามะไฟหวาน แนะนำมานานแล้วว่า เถาเอ็นอ่อนใช้แก้ปวดเมื่อยได้ดีให้ผสมเถาไมยราบทั้งต้นทั้งราก แค่ต้มในน้ำเดือดสัก ๕-๑๐ นาที แล้วดื่มแทนน้ำ มีชาวบ้านที่บ้านท่ามะไฟหวานอยู่คนหนึ่งตื่นขึ้นมาตอนเช้า มีอาการเส้นตึงเดินไม่ได้ ตอนแรกจะไปให้หมอฉีดยาที่โรงพยาบาล แต่หลังจากได้ดื่มสมุนไพรชนิดนี้แล้ว ตกบ่ายอาการดีขึ้น พอตอนเย็นเดินได้เลย
ในตำราการแพทย์แผนไทย กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่าเถาเอ็น หรือเถาเมื่อยหรือเถาเอ็นอ่อน รสขมติดเมา มีสรรพคุณแก้เมื่อย แก้เส้นตึง บำรุงเส้นเอ็น
อาจารย์โกศล แดนตะโคตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเถาไมยราบว่าเป็นยาขับลมในเส้นเอ็น จึงเป็นยาที่ช่วยเสริมให้เถาเอ็นอ่อนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตำรับขับกรดยูริก
กรดยูริค (ยาแก้กษัยเส้น) ส่วนผสม : เถาวัลย์เปรียง, พญารากดำ, เถาเอ็นอ่อน, พญารากขาว, ขี้เหล็ก, ใบมะกา, สมอไทย, มะขามป้อม
สมุนไพรนี้ ล้างกรดยูริคในร่างกายได้ พร้อมทั้งมีฤทธิ์ขับถ่ายแบบอ่อน ๆ ด้วย ทานแล้วจะมีอาการไล่พิษ อาจจะปวดมากขึ้นในระหว่างที่ทาน ไม่ต้องตกใจ เขากำลังขับพิษ
สูตรแก้ปวดมื่อย
สมุนไพรที่จะนำมาทำเอนไซม์แก้ปวดเมื่อยสูตรใหม่ เน้นที่หากเองได้ ไม่ต้องซื้อหา
สมุนไพรแก่นกิ่งไม้ มี สวอง กัดลิ้น ทิ้งถ่อน กระเจียน ปรงป่า
สมุนไพรไม้เลื้อย มี เถาเอ็นอ่อน
สมุนไพรวัชพืช มี เหง้าสาบเสือ ไมยราบทั้งห้า
สมุนไพรให้น้ำตาล มี อ้อยแดงหรืออ้อยดำ
นำสมุนไพรอย่างละ 1 ส่วน โดยน้ำหนัก มาสับ ตากแห้ง 2-3 วัน เทใส่ไห
เทน้ำสะอาดลงไป ให้ปริมาณน้ำเหมือนแกงจืด ทุบอ้อยแดงลงไปผสม
หากหวานไม่พอ ก็ให้เติมน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลโตนด ให้หวานประแล่มๆ
ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์เอนไซม์ลงไป กวนให้เข้ากัน ปิดฝา กวนทุกวัน วันละครั้ง
จนกว่าจะมีรสเปรี้ยว ใช้เวลาหมักประมาณ 1 เดือน ลองชิมดู
วิธีการกิน ตอนท้องว่าง เช้าเย็น ครั้งละ 1-2 อึก
น้ำมันเหลือง สูตร เถาเอนอ่อน
แก้ปวดกล้ามเนื้อ ข้อมือข้อเท้าข้อเข่า ชาตามมือเท้า เป็นตะคริว ใช้นวดทา หรือสูดดม
ส่วนประกอบ เถาเอ็นอ่อน ไพล ฉั่งฉิก กานพลู
นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว น้ำมันงา น้ำมันมะกอก ตามแต่จะหาได้
อาจเติม พิเสน การบูร เมนทอล เพื่อความหอมเย็นสดชื่น
แก้ปวดเมื่อยทั้งร่างกาย อัมพฤกษ์ เลือดลมเดินไม่สะดวก
ตัวยาสำคัญ มีดังต่อไปนี้ เถาเอนอ่อน 200 กรัม เถาม้ากระทืบโรง 250 กรัม เถาโคคลาน 250 กรัม
เถารางแดง 150 กรัม เถาหมวกทั้งสอง 200 กรัม กำลังเสือโคร่ง 250 กรัม กำลังหนุมาน 200 กรัม
กำลังวัวเถลิง 250 กรัม โกฐเชียงจีน 150 กรัม โกฐสอ 150 กรัม โกฐหัวบก 200 กรัม
กาฝากต้นหม่อม 300 กรัม ดอกคำฝอย 100 กรัม เม็ดชุมเห็ดจีน 250 กรัม โกฐน้ำเต้าจีน 100 กรัม
โกฐกระดูก 150 กรัม ดอกสายน้ำผึ้ง 150 กรัม
วิธีใช้ บดละเอียดเป็นผง กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1 ช้อนโต๊ะ ก่อนหรือหลังอาหาร
แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเอ็นเส้นกระดูกทั้งร่างกาย สูตร บ้านนาขวัญ
5 ส่วน 5 ส่วนใบสะแก (ปวดเมื่อยทั่วไป) 5 ส่วน เถาเอ็นอ่อน (ปวดเมื่อยเอ็นเส้น) 3 ส่วน หมอน้อย (แก้อักเสบ บำรุงตับไต) 1 ส่วน ไมยราบ (ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ ไล่พิษเมื่อย) 2 ส่วน ใบกิ่งยางเหียง (บำรุงกระดูกฟัน) 3 ส่วน ใบสัก (บำรุงเลือด เนื้อเยื่อ) 3 ส่วน กะเม็ง (แก้อักเสบ บำรุงตับไต ม้าม ลดความร้อน) 1 ส่วน ข่าลิง (แก้ปวดเมื่อย ไล่ลม ทำให้เลือดลมเดินสะดวก) ส่วน หมักเป็นเอ็นไซม์ กินก่อนอาหาร เช้าเที่ยงเย็น ครั้งละ 5 - 10 ซซ
สูตรสมุนไพร สำหรับ เทศบาลสิริราช ต.สันดอนแก้ว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
สรรพคุณ แก้ปวดเมื่อยข้อเอ็นกระดูกกล้ามเนื้อ ระดับเล็กน้อยจนถึงขั้นอัมพฤกษ์อัมพาต
กิ่งทิ้งถ่อน 3 เปลือกก้ามปู 2 เปลือกต้นมะรุม 1 เปลือกต้นสน 1 กิ่งแสมสารหรือขี้เหล็กป่า 1 ใบสะแกนา 3 เถาใบเถาเอ็นอ่อน 2 โด่ไม่รู้ล้มทั้งห้า 2 ลูกใต้ใบทั้งห้า 1 หมอน้อยทั้งห้า 1 หญ้าปากควายทั้งห้า 1 หญ้าแพรกทั้งห้า 1 ใบหญ้าคา 1
หากเป็นใบ ทิ้งให้แห้งทั้งกิ่ง แล้วเก็บแต่ใบ หากเป็นกิ่งหรือเปลือกต้น ให้ฝาดเป็นชิ้นๆ แล้วตากแห้ง ตระกูลหญ้าให้สะอาดแล้วตากแดดจนแห้ง
ผสมกันตามสัดส่วน นำไปต้มกินต่างน้ำ พอให้น้ำงวดลงสัก 20% หรือเช้าเที่ยงเย็น ครั้งละ 1 แก้ว
ต้นเถาเอ็นอ่อน ขายต้นเถาเอ็นอ่อน จำหน่ายต้นเถาเอ็นอ่อน
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 04 Oct 20 01:02
คำสำคัญ:
เถาเอ็นอ่อน
พันธุ์ไม้หายาก