ชื่อสินค้า:
ขายต้นเพชรสังฆาตสมุนไพรรักษาริดสีดวงทวาร
รหัส:
184905
ประเภท:
ราคา:
250.00 บาท
/กิโลกรัม
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นเพชรสังฆาตสดกก.ละ 250 บาท สำหรับปลูกขยายพันธุ์หรือทำยาสมุนไพรสำหรับริดสีดวงทวารและเพิ่มมวลกระดูก ค่าส่งอีเอมเอส กิโลกรัมที่1 ค่าส่ง 80 บาท ต่อไปกิโลกรัมละ 50 บาท
เพชรสังฆาต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis L.
วงศ์ : Vitaceae
ชื่ออื่น : ขั่นข้อ (ราชบุรี) สันชะควด (กรุงเทพฯ) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบยาว 2-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : น้ำจากต้น เถา ใบยอดอ่อน ราก
สรรพคุณ :
น้ำจากต้น - ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปรกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร
ใบยอดอ่อน - รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย
ใบ ราก - เป็นยาพอก
เถา - ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ยาแก้ริดสีดวงทวาร
1. ใช้เถาสด 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้อ รับประทานสดๆ ถ้าเคี้ยวจะคันปากคันคอ เพราะในสมุนไพรนี้จะมีสารเป็นผลึกรูปเข็มอยู่มาก เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในต้นบอน ต้นเผือก การรับประทานจึงใช้สอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขาม แล้วกลืนลงไป รับประทาน 10-15 วัน จะเห็นผล
2. ใช้เถาตากแห้ง บดเป็นผง ใส่แคบซูล ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) รับประทานครั้งละ 2 แคบซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทาน 5-7 วัน อาการจะดีขึ้น รับประทานต่อจะหาย
นอกจากเพชรสังฆาตจะช่วยรักษาริดสีดวงทวารได้แล้วยังมีประโยชน์ในเรื่องของการบำรุงกระดูกได้ ดังจะเห็นได้จากการใช้อย่าง แพร่หลายในหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวทอินเดีย โดยสามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก การใช้ภายนอกจะใช้เถาเพชรสังฆาตโขลกจนแหลกและเนียนเพื่อทำเป็นยาพอกบริเวณที่กระดูกหักซึ่งจะช่วย เยียวยากระดูกที่หัก และลดอาการบวมและอักเสบได้ การทำเป็นยาพอกนี้นอกจากใช้กับคนแล้วยังมีการ ใช้กับสัตว์ได้เช่นกันส่วนการใช้เป็นยาภายในจะใช้เป็นส่วนผสม ในตำรับยารักษากระดูกหัก มีการวิจัยพบว่าเพชรสังฆาตมีส่วนประกอบของวิตามินซีในขนาดสูง และมีแคโรทีน เอ (Carotene A) ซึ่งคาดกันว่าทำให้เพชรสังฆาตมีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้ยังมีอนาโบลิกสเตียรอยด์(Anabolic steroids) และแคลเซียม โดยที่อนาโบลิกสเตียรอยด์มีฤทธิ์ช่วยเร่งปฏิกิริยา การหายหรือสมานกระดูกที่แตกหักโดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก
การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าเพชรสังฆาตช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกที่หักให้กลับมาเท่ากับก่อนที่จะหักภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ การศึกษานี้ยังพบข้อมูลเพิ่มเติมว่าเพชรสังฆาต ช่วยให้มีการสร้างสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบให้กระดูกกลับมาสมานกันได้อีก เช่น มิวโคโพลีแซกคาไลด์ (Mucopolysaccharides) ซึ่งมีบทบาทสำคัญโดยเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการสมาน กระดูกซึ่งหากในระยะเริ่มแรกมีการสร้างวัตถุดิบสำหรับซ่อมแซมกระดูกได้มาก กระบวนการสมานกระดูกจะเกิดได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้เพชรสังฆาตยังมีคอลลาเจน (Collagen) แคลเซียม และที่สำคัญยังมีการวิจัยในหญิงวัยทองซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้หากหกล้ม เช่น กระดูกหัก ฯลฯ โดยเฉพาะกระดูกที่สะโพก พบว่าเพชรสังฆาตช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกในหญิงวัยทองได้ เป็นอย่างไรคะ สรรพคุณมากมายไม่ว่าจะเป็นรักษาริดสีดวงทวาร เพิ่มมวลกระดูกรักษากระดูกแตกกระดูกหักของเจ้าสมุนไพร “เพชรสังฆาต” สมุนไพรที่มีค่า “ตำลึงทอง”
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 04 Oct 20 10:30
เพชรสังฆาต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cissus quadrangularis L.
วงศ์ : Vitaceae
ชื่ออื่น : ขั่นข้อ (ราชบุรี) สันชะควด (กรุงเทพฯ) สามร้อยต่อ (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยม เป็นข้อต่อกัน มีมือสำหรับเกาะยึดออกตางข้อต่อตรงข้ามใบ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตามข้อต้น รูปสามเหลี่ยม ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่างๆ แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ก้านใบยาว 2-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อต้นตรงข้ามกับใบ ดอกสีเขียวอ่อน กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านด้านนอกมีสีแดง ด้านในสีเขียวอ่อน เมื่อบานเต็มที่ดอกจะงองุ้มไปด้านล่าง เกสรเพศผู้มี 4 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว สุกสีแดงเข้มเกือบดำ เมล็ดกลม สีน้ำตาล มี 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : น้ำจากต้น เถา ใบยอดอ่อน ราก
สรรพคุณ :
น้ำจากต้น - ใช้หยอดหู แก้น้ำหนวกไหล หยอดจมูกแก้เลือดเสียในสตรีประจำเดือนไม่ปรกติ เป็นยาธาตุเจริญอาหาร
ใบยอดอ่อน - รักษาโรคลำไส้เกี่ยวกับอาหารไม่ย่อย
ใบ ราก - เป็นยาพอก
เถา - ใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารหนัก
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ยาแก้ริดสีดวงทวาร
1. ใช้เถาสด 2-3 องคุลีต่อหนึ่งมื้อ รับประทานสดๆ ถ้าเคี้ยวจะคันปากคันคอ เพราะในสมุนไพรนี้จะมีสารเป็นผลึกรูปเข็มอยู่มาก เป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในต้นบอน ต้นเผือก การรับประทานจึงใช้สอดไส้ในกล้วยสุก หรือมะขาม แล้วกลืนลงไป รับประทาน 10-15 วัน จะเห็นผล
2. ใช้เถาตากแห้ง บดเป็นผง ใส่แคบซูล ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) รับประทานครั้งละ 2 แคบซูล วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทาน 5-7 วัน อาการจะดีขึ้น รับประทานต่อจะหาย
นอกจากเพชรสังฆาตจะช่วยรักษาริดสีดวงทวารได้แล้วยังมีประโยชน์ในเรื่องของการบำรุงกระดูกได้ ดังจะเห็นได้จากการใช้อย่าง แพร่หลายในหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวทอินเดีย โดยสามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก การใช้ภายนอกจะใช้เถาเพชรสังฆาตโขลกจนแหลกและเนียนเพื่อทำเป็นยาพอกบริเวณที่กระดูกหักซึ่งจะช่วย เยียวยากระดูกที่หัก และลดอาการบวมและอักเสบได้ การทำเป็นยาพอกนี้นอกจากใช้กับคนแล้วยังมีการ ใช้กับสัตว์ได้เช่นกันส่วนการใช้เป็นยาภายในจะใช้เป็นส่วนผสม ในตำรับยารักษากระดูกหัก มีการวิจัยพบว่าเพชรสังฆาตมีส่วนประกอบของวิตามินซีในขนาดสูง และมีแคโรทีน เอ (Carotene A) ซึ่งคาดกันว่าทำให้เพชรสังฆาตมีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้ยังมีอนาโบลิกสเตียรอยด์(Anabolic steroids) และแคลเซียม โดยที่อนาโบลิกสเตียรอยด์มีฤทธิ์ช่วยเร่งปฏิกิริยา การหายหรือสมานกระดูกที่แตกหักโดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก
การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าเพชรสังฆาตช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกที่หักให้กลับมาเท่ากับก่อนที่จะหักภายในระยะเวลา 6 สัปดาห์ การศึกษานี้ยังพบข้อมูลเพิ่มเติมว่าเพชรสังฆาต ช่วยให้มีการสร้างสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบให้กระดูกกลับมาสมานกันได้อีก เช่น มิวโคโพลีแซกคาไลด์ (Mucopolysaccharides) ซึ่งมีบทบาทสำคัญโดยเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการสมาน กระดูกซึ่งหากในระยะเริ่มแรกมีการสร้างวัตถุดิบสำหรับซ่อมแซมกระดูกได้มาก กระบวนการสมานกระดูกจะเกิดได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้เพชรสังฆาตยังมีคอลลาเจน (Collagen) แคลเซียม และที่สำคัญยังมีการวิจัยในหญิงวัยทองซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายได้หากหกล้ม เช่น กระดูกหัก ฯลฯ โดยเฉพาะกระดูกที่สะโพก พบว่าเพชรสังฆาตช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกในหญิงวัยทองได้ เป็นอย่างไรคะ สรรพคุณมากมายไม่ว่าจะเป็นรักษาริดสีดวงทวาร เพิ่มมวลกระดูกรักษากระดูกแตกกระดูกหักของเจ้าสมุนไพร “เพชรสังฆาต” สมุนไพรที่มีค่า “ตำลึงทอง”
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 04 Oct 20 10:30
คำสำคัญ:
เพชรสังฆาต
ต้นสมุนไพร