ชื่อสินค้า:
กฤษณา
รหัส:
181791
ประเภท:
ราคา:
30.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณชาตรี สร้อยมณี
ที่อยู่ร้าน:
อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ร้านนี้แจ้งเลขทะเบียนพานิชย์แล้ว
เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 0 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
กฤษณา ไม้ต้นขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม โคนมน ขอบเป็นคลื่นม้วนลงเล็กน้อย ช่อดอกแบบช่อซี่ร่มออกที่ด้านข้างของกิ่งที่ยังอ่อน ดอกเล็กสีเขียวอมเหลือง กลีบรวมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ผลรูปไข่ปลายเป็นติ่งเล็กน้อย และมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองตามผิวผลหนาแน่น ฐานผลติดอยู่บนกลีบรวม แฉกของกลีบรวมหุ้มแนบผล
กฤษณา เป็นไม้ที่กล่าวถึงนับแต่ครั้งพุทธกาลในฐานะ ของที่มีค่าหายาก ราคาแพงดั่งทองคำ เป็นหนึ่งในของหอมธรรมชาติสี่อย่างที่เรียกว่า จตุรชาติสุคนธ์ (กฤษณา กะลำพัก จันทน์ และดอกไม้)ไม้กฤษณาเป็นสินค้าต้องห้ามของประชาชนทั่วไปเพราะมีกฎหมายให้ค้าขายได้เฉพาะกษัตริย์มาตั้งแต่โบราณ ต้นกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม้กฤษณาถูกใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการ และเป็นสินค้าไปเมืองจีน สรรพคุณของกฤษณาแพร่กระจายไปถึงคาบสมุทรอาหรับในตะวันออกกลาง อาณาจักรกรีก โรมัน อียิปต์โบราณและ ผลผลิตจากต้นกฤษณามีเฉพาะในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น “ไม้กฤษณา” จึงเป็นสัญลักษณ์ตะวันออกและสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่สามารถส่งผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาออกไปจำหน่ายทั่วโลกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและตามอนุสัญญาไซเตส และได้ขึ้นทะเบียนไม้ที่ปลูกกับไซเตรสไว้ครั้งแรกจำนวน 7,404,452 ต้น ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกทั่วประเทศประมาณ 15 ล้านต้น และไม่เพียงพอกับตลาดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน
การใช้ประโยชน์ของไม้กฤษณา
"สารกฤษณา" มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ ได้แก่ agarwood (ยุโรป), aloeswood (สิงคโปร์), eaglewood (สหรัฐอเมริกา),gaharu (อินโดนีเชีย), oudh (อาหรับ), tram (เวียดนาม), jinko (ญี่ปุ่น), chen xiang (จีน) เป็นต้น ปัจจุบันนอกจากชิ้นไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาที่เป็นสินค้าหลักในตลาดแล้วยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกฤษณาให้มีความหลากหลายขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากกลุ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์จากกฤษณาที่เป็นสินค้าวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในแถบเอเชีย เช่น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จากการสำรวจของ Phillips (2003) สามารถจำแนกได้ดังนี้
ท่อนไม้กฤษณา (agarwood branch or trunk section) เป็นท่อนกฤษณาขนาดใหญ่ ซึ่ง เป็นส่วนของกิ่งหรือลำต้นที่มีการสะสมสารกฤษณาเป็นบริเวณพื้นที่กว้างลักษณะเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ซึ่งจะเรียกว่าไม้เกรด 1 หรือ เกรดซุปเปอร์ (super agarwood) ราคาขายต่อกิโลกรัมจะสูงมาก จากหลักหมื่นจนถึงหลักแสนบาทต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของท่อนไม้นั้น ปัจจุบันนี้หาได้ยากมาก
เพราะเป็นกฤษณาที่ได้จากต้นไม้ที่เกิดในธรรมชาติเท่านั้น และมาจากต้นไม้มีอายุมาก ซึ่งมีการสะสมกฤษณามาเป็นเวลานานหลายปีส่วนใหญ่ท่อนกฤษณาลักษณะนี้อาจจะเห็นปรากฏอยู่ในวัด หรือคฤหาสถ์ของเศรษฐีเพื่อเป็นสิ่งแสดงความร่ำรวยมั่งคั่งของผู้เป็นเจ้าของ
ชิ้นไม้ (agarwood pieces) เป็นชิ้นไม้กฤษณาขนาดเล็ก ๆ ดังนั้นจึงมีราคาถูกกว่าไม้ท่อนขนาดใหญ่ ใช้สำหรับจุดเผาเพื่อให้มีกลิ่นหอมนิยมใช้จุดเพื่อต้อนรับแขกของชาวอาหรับและบางคนเชื่อว่าการดมกลิ่นควันจากการเผาชิ้นไม้กฤษณาจะทำให้รักษาโรคบางอย่างได้
น้ำมันกฤษณา (agaroil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากกฤษณาเกรด3หรือเกรด4เนื่องจากการสะสมของสารกฤษณามีปริมาณน้อยกว่า ไม่สามารถนำไปขายเป็นชิ้นไม้ได้หน่วยที่ใช้เรียกน้ำมันกฤษณา เรียกว่า โตรา (Tora) มีปริมาณประมาณ 12 กรัมราคาขายกันอยู่ที่ประมาณ 2,400-4800 บาทต่อโตร่าประโยชน์ของน้ำมันกฤษณา คือ นิยมใช้ทาตัวของชาวอาหรับเพื่อให้มีกลิ่นหอมเป็นส่วนผสมของเครื่องยา เป็นส่วนผสมของน้ำหอมและเครื่องสำอางบางชนิด
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่ ผงไม้ที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันกฤษณาแล้วนำไปทำธูปหอม ประเทศไต้หวันนำมาทำไวน์ และนำมาปั้นเป็นก้อนผสมน้ำมันกฤษณาและส่วนผสมต่าง ๆ ให้มีกลิ่นหอม เรียกว่า "marmool" ซึ่งผู้หญิงชาวอาหรับนิยมใช้จุดเพื่อให้มีกลิ่นหอม แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Oct 20 08:57
กฤษณา เป็นไม้ที่กล่าวถึงนับแต่ครั้งพุทธกาลในฐานะ ของที่มีค่าหายาก ราคาแพงดั่งทองคำ เป็นหนึ่งในของหอมธรรมชาติสี่อย่างที่เรียกว่า จตุรชาติสุคนธ์ (กฤษณา กะลำพัก จันทน์ และดอกไม้)ไม้กฤษณาเป็นสินค้าต้องห้ามของประชาชนทั่วไปเพราะมีกฎหมายให้ค้าขายได้เฉพาะกษัตริย์มาตั้งแต่โบราณ ต้นกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ไม้กฤษณาถูกใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการ และเป็นสินค้าไปเมืองจีน สรรพคุณของกฤษณาแพร่กระจายไปถึงคาบสมุทรอาหรับในตะวันออกกลาง อาณาจักรกรีก โรมัน อียิปต์โบราณและ ผลผลิตจากต้นกฤษณามีเฉพาะในเอเชีย โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น “ไม้กฤษณา” จึงเป็นสัญลักษณ์ตะวันออกและสุวรรณภูมิหรือประเทศไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่สามารถส่งผลผลิตและผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาออกไปจำหน่ายทั่วโลกอย่างถูกต้องตามกฎหมายและตามอนุสัญญาไซเตส และได้ขึ้นทะเบียนไม้ที่ปลูกกับไซเตรสไว้ครั้งแรกจำนวน 7,404,452 ต้น ซึ่งปัจจุบันมีการปลูกทั่วประเทศประมาณ 15 ล้านต้น และไม่เพียงพอกับตลาดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน
การใช้ประโยชน์ของไม้กฤษณา
"สารกฤษณา" มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ ได้แก่ agarwood (ยุโรป), aloeswood (สิงคโปร์), eaglewood (สหรัฐอเมริกา),gaharu (อินโดนีเชีย), oudh (อาหรับ), tram (เวียดนาม), jinko (ญี่ปุ่น), chen xiang (จีน) เป็นต้น ปัจจุบันนอกจากชิ้นไม้กฤษณาและน้ำมันกฤษณาที่เป็นสินค้าหลักในตลาดแล้วยังได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกฤษณาให้มีความหลากหลายขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากกลุ่มขึ้น โดยผลิตภัณฑ์จากกฤษณาที่เป็นสินค้าวางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตลาดในแถบเอเชีย เช่น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จากการสำรวจของ Phillips (2003) สามารถจำแนกได้ดังนี้
ท่อนไม้กฤษณา (agarwood branch or trunk section) เป็นท่อนกฤษณาขนาดใหญ่ ซึ่ง เป็นส่วนของกิ่งหรือลำต้นที่มีการสะสมสารกฤษณาเป็นบริเวณพื้นที่กว้างลักษณะเนื้อไม้จะมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ซึ่งจะเรียกว่าไม้เกรด 1 หรือ เกรดซุปเปอร์ (super agarwood) ราคาขายต่อกิโลกรัมจะสูงมาก จากหลักหมื่นจนถึงหลักแสนบาทต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของท่อนไม้นั้น ปัจจุบันนี้หาได้ยากมาก
เพราะเป็นกฤษณาที่ได้จากต้นไม้ที่เกิดในธรรมชาติเท่านั้น และมาจากต้นไม้มีอายุมาก ซึ่งมีการสะสมกฤษณามาเป็นเวลานานหลายปีส่วนใหญ่ท่อนกฤษณาลักษณะนี้อาจจะเห็นปรากฏอยู่ในวัด หรือคฤหาสถ์ของเศรษฐีเพื่อเป็นสิ่งแสดงความร่ำรวยมั่งคั่งของผู้เป็นเจ้าของ
ชิ้นไม้ (agarwood pieces) เป็นชิ้นไม้กฤษณาขนาดเล็ก ๆ ดังนั้นจึงมีราคาถูกกว่าไม้ท่อนขนาดใหญ่ ใช้สำหรับจุดเผาเพื่อให้มีกลิ่นหอมนิยมใช้จุดเพื่อต้อนรับแขกของชาวอาหรับและบางคนเชื่อว่าการดมกลิ่นควันจากการเผาชิ้นไม้กฤษณาจะทำให้รักษาโรคบางอย่างได้
น้ำมันกฤษณา (agaroil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากกฤษณาเกรด3หรือเกรด4เนื่องจากการสะสมของสารกฤษณามีปริมาณน้อยกว่า ไม่สามารถนำไปขายเป็นชิ้นไม้ได้หน่วยที่ใช้เรียกน้ำมันกฤษณา เรียกว่า โตรา (Tora) มีปริมาณประมาณ 12 กรัมราคาขายกันอยู่ที่ประมาณ 2,400-4800 บาทต่อโตร่าประโยชน์ของน้ำมันกฤษณา คือ นิยมใช้ทาตัวของชาวอาหรับเพื่อให้มีกลิ่นหอมเป็นส่วนผสมของเครื่องยา เป็นส่วนผสมของน้ำหอมและเครื่องสำอางบางชนิด
ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้แก่ ผงไม้ที่เหลือจากการกลั่นน้ำมันกฤษณาแล้วนำไปทำธูปหอม ประเทศไต้หวันนำมาทำไวน์ และนำมาปั้นเป็นก้อนผสมน้ำมันกฤษณาและส่วนผสมต่าง ๆ ให้มีกลิ่นหอม เรียกว่า "marmool" ซึ่งผู้หญิงชาวอาหรับนิยมใช้จุดเพื่อให้มีกลิ่นหอม แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Oct 20 08:57
คำสำคัญ:
กฤษณา