ชื่อสินค้า:
ดู่ทุ่ง ความหวังของท่านชาย
รหัส:
181304
ประเภท:
ราคา:
500.00 บาท
/กิโลกรัม(หัวสด)
ติดต่อ:
คุณต้น พฤกษา
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 0 เดือน
เบอร์โทรไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ดู่ทุ่ง
ดู่ทุ่ง เรียกกันตามชื่อพื้นเมืองอีสาน ถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า “ ประดู่โคก ” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Enkleia thorelii (Lecomte) Nervling พืชชนิดนี้เมื่อมองเผิน ๆ จะคิดว่าเป็นปอเต่าไห้ต้นเล็ก แต่ปรากฏว่า ดู่ทุ่งเป็นพืชหายากพบได้น้อยมาก ไม่เหมือนปอเต่าไห้ ดู่ทุ่งหรือประดู่โคกขึ้นได้ดีตามที่โล่งแจ้ง เป็นไม้พุ่มที่สูงประมาณ 50 เซนติเมตร
ทั้งปอเต่าไห้และดู่ทุ่งเป็นต้นไม้ที่มีลำต้นขนาดเล็ก แต่มีรากใหญ่มาก ส่วนของต้นที่อยู่เหนือพื้นดินอาจจะถูกตัดฟันทิ้ง หรือฟุบลงในฤดูแล้ง แต่ส่วนของรากยังอยู่ ทำให้อายุของรากมักจะมากกว่าอายุของต้น ส่วนของรากจึงมีขนาดใหญ่ ยาว และอยู่ค่อนข้างลึก แม้ว่ารากจะฝังตัวในดินอย่างไรก็ตาม จากการสำรวจภาคสนามในเขตอีสานทั้งหมดพบว่า ดู่ทุ่งมีให้เห็นน้อยมาก อาจพูดได้ว่าพบดู่ทุ่งในบางพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคามและร้อยเอ็ด แต่ยังโชคดีที่พบปอเต่าไห้มีการกระจายอยู่ทั่วไปทุกจังหวัดในภาคอีสาน
จาก การเก็บข้อมูลของหมอยาอีสานพบว่า สมุนไพรทั้งสองชนิดนี้มีสรรพคุณที่นักการตลาดในยุคปัจจุบันอยากได้มาผลิตขาย ยิ่งนัก นั่นคือหมอยาพื้นบ้านมีการใช้ในเรื่องเกี่ยวกับการบำรุงทางเพศ และช่วยทำให้ขนาดของอวัยวะเพศชายใหญ่ขึ้น
ในตำรับยาทั่ว ๆ ไปของหมอพื้นบ้านอีสาน ปอเต่าไห้และดู่ทุ่ง มีการใช้กันมากเกี่ยวกับการรักษาโรคประดง คำว่าโรคประดงไม่ปรากฎในตำราของแพทย์แผนปัจจุบัน จากการเก็บข้อมูลของหมอพื้นบ้าน พบว่าโรคประดงหมายถึงโรคที่เกิดจากระบบเลือดในร่างผิดปกติหรือไม่สมดุล ส่วนใหญ่มักเป็นกับผู้หญิงที่มีวัยกลางคนขึ้นไป และมีรูปร่างอ้วน หมอยาพื้นบ้านอีสานได้จำแนกอาการของโรคประดงไว้ถึง 32 อาการ ได้แก่
1) ประดงเลือด 2)ประดงไฟ 3)ประดงลม 4)ประดงคัน 5)ประดงเส้นประดงเอ็น 6)ประดงฟก 7)ประดงชักแอนชักแงน 8)ประดงเมื่อย 9) ประดงวิน 10)ประดงถือหัว 11) ประดงลำไส้ 12)ประดงล่อย 13)ประดงแล่นตามตัว 14) ประดงสับพาก 15) ประดงอำมพาต 16) ประดงปริศนา 17)ประดงเจ็บปวด 18) ประดงชัก 19) ประดงเหลี่ยม 20) ประดงขี้ตา 21) ประดงไค 22) ประดงเหน็บชา 23) ประดงดูก 24) ประดงแดง 25) ประดงมีนเชีย 26) ประดงแตก 27) ประดงพวนใน 28) ประดงฮ้อน 29) ประดงในจมูก 30) ประดงลงเมือง 31)ประดงเข้าข้อ และ 32)ประดงออกโสล่งโพงลม
สำหรับตำรับยาแก้ประดงทั่วไป ให้เอาหัวปอเต่าไห้ฝนกับน้ำมวกขุ้น(น้ำซาวข้าว) ทาบริเวณที่ออกตุ่ม หรือ ให้เอา รากปอเต่าไห้ รากแสนพัน รากกล้วยน้ำ รากหมาก เครือส้มป่อย ฝนโดยเอาลูกฟักคว้านไส้ออกทำเป็นถ้วยใส่ยาที่ฝนแล้ว และเอาแท่งเงินแช่ลงในถ้วยยา ทา อย่างไรก็ตามหมอยาพื้นบ้านแนะนำว่าการใช้ปอเต่าไห้ ควรใช้อย่างระวัง โดยเฉพาะส่วนของราก จะมีฤทธิ์ทำให้เกิดการท้องร่วงอย่างแรงได้
ในส่วนของดู่ทุ่ง ยังใช้เป็นสมุนไพรแก้พากเข้าซี่โครง (อาการเสียดท้องตามแนวชายโครงและท้องเดินอย่างรุนแรง) ตำรับยาที่ 1 ให้เอารากดู่ทุ่ง รากเอี่ยนด่อน เปลือกประดงแดง ก่อมก้อยลอดขอน ฝนกิน ตำรับที่ 2 ให้เอา รากดู่ทุ่ง รากหนามงัวซัง รากหมี่ รากแฝก รากเอี่ยนด่อน ฝนกิน ตำรับที่ 3 ให้เอา รากดู่ทุ่ง รากเอี่ยนด่อน รากมอนแก้ว เปลือกลิ้นไม้ รากเปล้าแขบทอง ฝนกิน
นอกจากนี้ยาแก้พากที่เป็นยาทาตามบริเวณที่ปวด ให้เอารากดู่ทุ่ง ฝนทา แต่ถ้ามีอาการที่เรียกว่าเจ็บคัดหน้าคัดหลัง ให้เอารากปอเต่าไห้ รากดู่ทุ่ง รากถ่อน ฝนทา ยานี้ห้ามกินโดยเด็ดขาด ในกรณีที่ถ่ายเป็นมูกเลือดให้เอา รากดู่ทุ่ง รากถ่มน้ำ รากมูกน้อย รากย่านาง รากไส้ตัน ต้มกิน สรรพคุณของดู่ทุ่งยังใช้เข้ายาแก้โรคหนองบุรุษได้ โดยให้เอารากดู่ทุ่ง แก่นกระโดนน้อย เปลือกดู่ เปลือกข่าลิ้น อบประคบได้ด้วย
สมุนไพรพื้นบ้านจากแดนอีสานทั้งสองชนิดนี้ ยังมีผู้ศึกษาไว้น้อยมากโดยเฉพาะดู่ทุ่ง แต่ถ้ามองในมุมของหมอยาพื้นบ้านอีสานกลับพบว่า มีการนำสมุนไพรทั้งสองชนิดมาใช้ค่อนข้างมาก และสร้างรายได้ให้กับหมอพื้นบ้านได้ดีทีเดียว หากนักวิชาการรุ่นใหม่สนใจก็อาจเก็บสมุนไพรทั้งสองชนิดไว้ในใจ ให้เป็นทางเลือกที่จะทำการศึกษาศักยภาพของสมุนไพรพื้นบ้านต่อไปในอนาคตด้วย.
ที่มา : http://dev.thaihof.org
สรรพคุณ แก้โรคเบาหวาน โรคเกาท์ เป็นยาอายุวัฒนะ
วิธีใช้ตามภูมิปัญาท้องถิ่น
นำรากมาต้มดื่มหรือนำมาฝนผสมน้ำดื่มก็ได้
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Apr 21 11:16
ดู่ทุ่ง เรียกกันตามชื่อพื้นเมืองอีสาน ถ้าเป็นภาษาไทยกลางเรียกว่า “ ประดู่โคก ” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Enkleia thorelii (Lecomte) Nervling พืชชนิดนี้เมื่อมองเผิน ๆ จะคิดว่าเป็นปอเต่าไห้ต้นเล็ก แต่ปรากฏว่า ดู่ทุ่งเป็นพืชหายากพบได้น้อยมาก ไม่เหมือนปอเต่าไห้ ดู่ทุ่งหรือประดู่โคกขึ้นได้ดีตามที่โล่งแจ้ง เป็นไม้พุ่มที่สูงประมาณ 50 เซนติเมตร
ทั้งปอเต่าไห้และดู่ทุ่งเป็นต้นไม้ที่มีลำต้นขนาดเล็ก แต่มีรากใหญ่มาก ส่วนของต้นที่อยู่เหนือพื้นดินอาจจะถูกตัดฟันทิ้ง หรือฟุบลงในฤดูแล้ง แต่ส่วนของรากยังอยู่ ทำให้อายุของรากมักจะมากกว่าอายุของต้น ส่วนของรากจึงมีขนาดใหญ่ ยาว และอยู่ค่อนข้างลึก แม้ว่ารากจะฝังตัวในดินอย่างไรก็ตาม จากการสำรวจภาคสนามในเขตอีสานทั้งหมดพบว่า ดู่ทุ่งมีให้เห็นน้อยมาก อาจพูดได้ว่าพบดู่ทุ่งในบางพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคามและร้อยเอ็ด แต่ยังโชคดีที่พบปอเต่าไห้มีการกระจายอยู่ทั่วไปทุกจังหวัดในภาคอีสาน
จาก การเก็บข้อมูลของหมอยาอีสานพบว่า สมุนไพรทั้งสองชนิดนี้มีสรรพคุณที่นักการตลาดในยุคปัจจุบันอยากได้มาผลิตขาย ยิ่งนัก นั่นคือหมอยาพื้นบ้านมีการใช้ในเรื่องเกี่ยวกับการบำรุงทางเพศ และช่วยทำให้ขนาดของอวัยวะเพศชายใหญ่ขึ้น
ในตำรับยาทั่ว ๆ ไปของหมอพื้นบ้านอีสาน ปอเต่าไห้และดู่ทุ่ง มีการใช้กันมากเกี่ยวกับการรักษาโรคประดง คำว่าโรคประดงไม่ปรากฎในตำราของแพทย์แผนปัจจุบัน จากการเก็บข้อมูลของหมอพื้นบ้าน พบว่าโรคประดงหมายถึงโรคที่เกิดจากระบบเลือดในร่างผิดปกติหรือไม่สมดุล ส่วนใหญ่มักเป็นกับผู้หญิงที่มีวัยกลางคนขึ้นไป และมีรูปร่างอ้วน หมอยาพื้นบ้านอีสานได้จำแนกอาการของโรคประดงไว้ถึง 32 อาการ ได้แก่
1) ประดงเลือด 2)ประดงไฟ 3)ประดงลม 4)ประดงคัน 5)ประดงเส้นประดงเอ็น 6)ประดงฟก 7)ประดงชักแอนชักแงน 8)ประดงเมื่อย 9) ประดงวิน 10)ประดงถือหัว 11) ประดงลำไส้ 12)ประดงล่อย 13)ประดงแล่นตามตัว 14) ประดงสับพาก 15) ประดงอำมพาต 16) ประดงปริศนา 17)ประดงเจ็บปวด 18) ประดงชัก 19) ประดงเหลี่ยม 20) ประดงขี้ตา 21) ประดงไค 22) ประดงเหน็บชา 23) ประดงดูก 24) ประดงแดง 25) ประดงมีนเชีย 26) ประดงแตก 27) ประดงพวนใน 28) ประดงฮ้อน 29) ประดงในจมูก 30) ประดงลงเมือง 31)ประดงเข้าข้อ และ 32)ประดงออกโสล่งโพงลม
สำหรับตำรับยาแก้ประดงทั่วไป ให้เอาหัวปอเต่าไห้ฝนกับน้ำมวกขุ้น(น้ำซาวข้าว) ทาบริเวณที่ออกตุ่ม หรือ ให้เอา รากปอเต่าไห้ รากแสนพัน รากกล้วยน้ำ รากหมาก เครือส้มป่อย ฝนโดยเอาลูกฟักคว้านไส้ออกทำเป็นถ้วยใส่ยาที่ฝนแล้ว และเอาแท่งเงินแช่ลงในถ้วยยา ทา อย่างไรก็ตามหมอยาพื้นบ้านแนะนำว่าการใช้ปอเต่าไห้ ควรใช้อย่างระวัง โดยเฉพาะส่วนของราก จะมีฤทธิ์ทำให้เกิดการท้องร่วงอย่างแรงได้
ในส่วนของดู่ทุ่ง ยังใช้เป็นสมุนไพรแก้พากเข้าซี่โครง (อาการเสียดท้องตามแนวชายโครงและท้องเดินอย่างรุนแรง) ตำรับยาที่ 1 ให้เอารากดู่ทุ่ง รากเอี่ยนด่อน เปลือกประดงแดง ก่อมก้อยลอดขอน ฝนกิน ตำรับที่ 2 ให้เอา รากดู่ทุ่ง รากหนามงัวซัง รากหมี่ รากแฝก รากเอี่ยนด่อน ฝนกิน ตำรับที่ 3 ให้เอา รากดู่ทุ่ง รากเอี่ยนด่อน รากมอนแก้ว เปลือกลิ้นไม้ รากเปล้าแขบทอง ฝนกิน
นอกจากนี้ยาแก้พากที่เป็นยาทาตามบริเวณที่ปวด ให้เอารากดู่ทุ่ง ฝนทา แต่ถ้ามีอาการที่เรียกว่าเจ็บคัดหน้าคัดหลัง ให้เอารากปอเต่าไห้ รากดู่ทุ่ง รากถ่อน ฝนทา ยานี้ห้ามกินโดยเด็ดขาด ในกรณีที่ถ่ายเป็นมูกเลือดให้เอา รากดู่ทุ่ง รากถ่มน้ำ รากมูกน้อย รากย่านาง รากไส้ตัน ต้มกิน สรรพคุณของดู่ทุ่งยังใช้เข้ายาแก้โรคหนองบุรุษได้ โดยให้เอารากดู่ทุ่ง แก่นกระโดนน้อย เปลือกดู่ เปลือกข่าลิ้น อบประคบได้ด้วย
สมุนไพรพื้นบ้านจากแดนอีสานทั้งสองชนิดนี้ ยังมีผู้ศึกษาไว้น้อยมากโดยเฉพาะดู่ทุ่ง แต่ถ้ามองในมุมของหมอยาพื้นบ้านอีสานกลับพบว่า มีการนำสมุนไพรทั้งสองชนิดมาใช้ค่อนข้างมาก และสร้างรายได้ให้กับหมอพื้นบ้านได้ดีทีเดียว หากนักวิชาการรุ่นใหม่สนใจก็อาจเก็บสมุนไพรทั้งสองชนิดไว้ในใจ ให้เป็นทางเลือกที่จะทำการศึกษาศักยภาพของสมุนไพรพื้นบ้านต่อไปในอนาคตด้วย.
ที่มา : http://dev.thaihof.org
สรรพคุณ แก้โรคเบาหวาน โรคเกาท์ เป็นยาอายุวัฒนะ
วิธีใช้ตามภูมิปัญาท้องถิ่น
นำรากมาต้มดื่มหรือนำมาฝนผสมน้ำดื่มก็ได้
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 21 Apr 21 11:16
คำสำคัญ:
ดู่ทุ่ง