ค้นหาสินค้า

ต้นชะมวง

ร้าน วรากรสมุนไพร
ต้นชะมวง
ต้นชะมวง
ชื่อสินค้า:

ต้นชะมวง

รหัส:
178350
ราคา:
200.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นชะมวง ต้นปลูก ความสูง 30-60 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุง
ค้นพบครั้งแรกในโลก "ใบชะมวง" มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
คณะเภสัชฯ มอ.ค้นพบสารชนิดใหม่ใน "ใบชะมวง" ออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง นับเป็นการค้นพบครั้งแรกของโลก พร้อมตั้งชื่อว่า "ชะมวงโอน" ระบุใช้เป็นสารต้นแบบที่นำไปพัฒนาโครงสร้างสู่ยาต้านมะเร็งในอนาคต
รศ.ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยปการนันท์ ผอ.สถานวิจัยยาสมุนไพรและเทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ (มอ.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับนายอภิรักษ์ สกุลปักษ์ นักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ ทำการศึกษาวิจัยคุณสมบัติมีฤทธิ์ต้านมะเร็งและต้านแบคทีเรียก่อโรคทางเดินอาหารจาก "ใบชะมวง" ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก หลังจากใช้เวลาศึกษาค้นคว้านานกว่า 2 ปี ซึ่งผลงานดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ Food Chemistry ซึ่งเป็นวารสารที่ได้รับความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการอย่างกว้างขวาง

สำหรับการวิจัยดังกล่าวได้เก็บรวบรวมผักพื้นบ้านจำนวน 22 ชนิด มาทำการสกัดและทดสอบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Helicobacier pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารหรือไม่ โดยพบว่าชะมวงเป็นพืชที่ออกฤทธิ์ดีที่สุด จึงนำมาแยกสารที่ต้องการจนสามารถได้สารซึ่งมีฤทธิ์ในระดับดีมาก เป็นสารที่มีค่าความเข้มข้นต่ำที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ หรือ MIC ประมาณ 7.8 ไมโครกรัมต่อมิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเป็นสารตัวใหม่ที่ยังไม่มีการค้นพบมาก่อน โดยตั้งชื่อว่า "ชะมวงโอน" (Chamuangone) เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นการค้นพบในประเทศไทย

ทั้งนี้ ยังได้ศึกษาต่อถึงความเป็นไปได้ในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อโปรโตซัวร์ ซึ่งเป็นโรคระบาดที่พบบ่อยในภาคใต้ โดยสารชะมวงโอนสามารถยับยั้งโปรโตซัวร์ได้ดี จึงนำชะมวงโอนไปทดสอบกับเซลล์มะเร็งปอด และเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว จนพบว่าสารชะมวงโอนมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ดี

"ความสำเร็จจากงานวิจัยที่ได้โครงสร้างใหม่ของสารที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งจากชะมวงโอนครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ดัดแปลงพัฒนาต้านมะเร็งที่ออกฤทธิ์ดีขึ้น และลดอาการข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ แม้ว่าขั้นตอนการนำสารดังกล่าวไปใช้รักษาโรคมะเม็งยังต้องมีกระบวนการวิจัยเพิ่มเติมอีกหลายขั้นตอน เพื่อการรักษาที่ได้ผลมากขึ้น หรือลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา" รศ.ดร.ภก.ภาคภูมิ กล่าว

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ประโยชน์และความสำคัญ
ทางยา ใบและผลรสเปรี้ยว สรรพคุณ ระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการและใบผสมกับยาชนิดอื่นปรุงเป็นยา ขับเลือดเสีย ราก สรรพคุณแก้ไข้
ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาล ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก ออกในฤดูฝน ส่วนลูกของชะมวงมีรสเปรี้ยว เป็นผลไม้ป่า ที่รับประทานเล่นรสและประโยชน์ต่อสุขภาพยอดอ่อนและใบอ่อนของ ชะมวงรสเปรี้ยว ช่วยระบาย แก้ไข้ เสมหะแก้ธาตุพิการ
ใบชะมวง 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 51 กิโลแคลอรี่ มีเส้นใย 3.2 กรัม
สรรพคุณทางยา
•ด้านสมุนไพร ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและมีสรรพคุณคือ
•ราก รสเปรี้ยว แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ยาถอน พิษไข้ แก้บิด เสมหะ เป็นพิษ
•ใบ รสเปรี้ยว ยาระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิต แก้ไอ แก้กระหายน้ำ
•ผล รสเปรี้ยว ระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ แก้กระหายน้ำ ฟอกโลหิต
คุณค่าทางโภชนาการ
ปริมาณคุณค่าสารอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหารของชะมวงคือ ใบอ่อน จำนวน 100 กรัม และสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งกองโภชนาการกรม อนามัย รายงานไว้ในปี พ.ศ. 2535 ประกอบด้วย พลังงาน 51 กก.แคลอรี่ น้ำ 84.1 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม กาก 3.2 กรัม เถ้า 0.6 กรัม แคลเซียม 27 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 13 มิลลิกรัม เหล็ก 1.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 7,333 หน่วยสากล (I.U.) วิตามินบี1 มี 0.70 มิลลิกรัม วิตามินบี2 มี 0.04 มิลลิกรัม วิตามินซี 29 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.2 มิลลิกรัม
การกระจายพันธุ์
ในประเทศไทย พบขึ้นตามป่าดงดิบถึงระดับน้ำทะเลปานกลาง 600 ม. และป่าเบญจพรรณทั่วๆ ไป ทางภาคตะวันออก และป่าพรุทางภาคใต้ ขึ้นได้ดีในดินภาคเหนือและภาคอีสาน พบว่าเจริญเติบโตได้ดี
การใช้ประโยชน์
•ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ในการก่อสร้างได้ดี
•ด้านน้ำยาง สีเหลืองจากต้นสมัยก่อนใช้ผสมในน้ำมันชักเงา
•ด้านการฟอกหนัง ทางภาคใต้ของประเทศไทย นิยมนำผลและใบแก่มาหมักเป็นน้ำกรด สำหรับฟอกหนังวัวและ
ควายที่ใช้แกะสลักรูปหนังตะลุง
•ด้านการทำสีย้อม เปลือกต้นและยางให้สีเหลือง ไม่มีรายงานว่าภาคใดใช้ และใช้กับเส้นใยไหมหรือฝ้าย
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Oct 20 02:28