ชื่อสินค้า:
ต้นใบหมี่
รหัส:
178037
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 2 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นใบหมี่ ต้นหมีเหม็น ขายต้นใบหมี่ ต้นปลูก ความสูง 30-60 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุง
ต้นหมี่
ชื่ออื่น หมี หมูเหม็น อีเหม็น หมูทะลวง หมีเหม็น ตังสีไพร ดอกจุ๋ม มือเบาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Robinson.
ชื่อวงศ์ Lauraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นแก่แตกเป็นร่องตื้นตามยาว กิ่งอ่อนมีขนละเอียด ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ หรือค่อนข้างกลม มักออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง กว้าง 5-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบกลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเป็นครีบ หรือกลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร มีขน ใบประดับ 4 ใบ มีขน เนื้อใบค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกช่อซี่ร่มออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อยสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้มีดอกย่อย 8-10 ดอก กลีบรวมลดรูปเหลือ 1-2 กลีบ หรือไม่มีเลย รูปขอบขนาน ขอบกลีบมีขน เกสรตัวผู้มี 9-20 อัน กลีบเลี้ยงรูปกลม มี 4 กลีบ อับเรณูเป็นแบบฝาเปิด ช่อดอกเพศเมียกลีบรวมลดรูปเหลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่มี ก้านช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกกัน ผลสดรูปทรงกลม ผิวมัน เรียบ ผลอ่อนสีเขียว แก่สีม่วงเข้มเกือบดำ ก้านผลมีขน มีเมล็ดเดียวแข็ง ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ใบ ขยี้กับน้ำ สระผม พอกศีรษะ ฆ่าเหา ขับปัสสาวะ แก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง ใบและเมล็ด มีรสฝาดเฝื่อน ตำพอกฝี แผลหนอง แก้ปวด ราก เป็นยาฝาดสมาน และบำรุงกำลัง เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมาน แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดมดลูก แก้เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ฝนทาแก้พิษแมลงกัดต่อย ผื่นคันแสบร้อน บดเป็นผงผสมกับน้ำหรือน้ำนมทาแก้แผลอักเสบ ผลดิบ ให้น้ำมันเป็นยาถูนวดแก้ปวด ผลสุก กินได้ เมล็ด ตำเป็นยาพอกฝี ราก แก้ปวดกล้ามเนื้อ ยาง มีรสฝาดร้อน ตำพอกทาแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวม
ตำรายาพื้นบ้านอำนาจเจริญ ใช้ ราก รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ฝนทาฝี เปลือก ฝนทาแก้ฝี ใบเป็นยาสระผม ใบย้อมผ้าให้สีเขียว
วิธีทำ แชมพูมะกรูด ใบหมี่
ส่วนผสม
1. มะกรูด 3-5 ผล
2. ใบหมี่ 10 ใบ
3. น้ำซาวข้าวเหนียว 1 ลิตร
วิธีทำ
1. มะกรูดผ่าตามขวางเป็นสองซีก ตั้งน้ำพอเดือด ใส่มะกรูดและใบหมี่ลงไปในหม้อ
2. รอให้เดือดต่อประมาณ 10 นาที ปิดฝา ยกลง
3. รอจนเย็นลง ใช้ผ้าขาวบางกรองเอากากออก แล้วเก็บใส่ขวดไว้ใช้สระผมแทนแชมพู
หมายเหตุ วิธีการทำน้ำซาวข้าวเหนียว ให้นำข้าวเหนียวประมาณ 1 ลิตร แช่น้ำพอท่วม (ใช้น้ำประมาณ 1 ลิตร) ทิ้งไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง จะได้น้ำซาวข้าวเหนียวสีขาวขุ่น)
สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีทางธรรมชาติได้ 2 วิธี คือ
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการงอกเป็นต้นกล้าจากรากของต้นเดิมที่แผ่ขยายออกไป
การ ใช้ประโยชน์ ส่วนต่าง ๆ ของต้นหมี่มีสรรพคุณทางยา
คือ ราก นำมาใช้ตำทาแก้ ฝี หนอง ต้มกินแก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง เป็นส่วนผสมยาเย็นยาผง ยาแก้ซาง
บางหมู่บ้านนำรากตากให้แห้ง แล้วดองกับเหล้าขาว แก้โรคเลือด เช่น ระดูมาไม่ปกติ ลมพิษ เป็นต้น
เปลือก นำมาใช้ฝนทาแก้ฝี ผิวในของเปลือกสดอมแก้ปวดฟัน แก้ปากเหม็น
ต้มอาบแก้ผดผื่น แก้ท้องอืด
ใบ ใบสดใช้ฆ่าเหา ใช้ขยี้ทารักษาแผล กลากเกลื้อน แก้พิษแมงมุม
แก้ท้องร่วง ท้องอืด นอกจากนั้นก็ใช้
ลำต้นใช้สร้างบ้านเรือน เผาถ่าน ทำฟืน ทำเขียง ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำด้ามมีด จอบ เสียม ขวาน ทำยุ้งใส่ข้าว และปลูกให้ร่มเงา
เปลือกใช้ย้อมผ้า ย้อมแหให้ติดสี
ผงเปลือกทำธูปจุดไล่แมลง
ยางของต้นหมี่ ใช้ทาเครื่องจักสานให้หนา และทนทาน ใช้ดักแมลงตัวเล็กๆ
ใช้ใบสดสระผม ใช้ตำผสมกับผลทำหัวเชื้อชีวภาพ ใช้บ่มกล้วยให้สุกเร็ว
ใช้รองฝาปิดปากไหปลาร้ากันหนอน
ดอก ของต้นหมี่สามารถนำมาตากแห้งอบน้ำหอม ประดิษฐ์เป็นของชำร่วย
ผลสุก ใช้บีบหรือตำทาแก้โรคผิวหนัง หรือนำมาสระผมก็ได้
ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เด่นชัดที่สุด คือ ใช้ใบสดสระผม และใช้ส่วนต่าง ๆ ตามสรรพคุณทางยา
ด้านประเพณี ใช้ใบห่อข้าวต้มประกอบในพิธีบายศรีสู่ขวัญ ใช้แก่นทำช่อฟ้าอุโบสถ
ด้านความเชื่อ มีการขูดเปลือกขอหวย ใช้ใบไล่ผี เวลาเดินทางไกลใช้เหน็บบั้นเอว
จะทำให้หายจากอาการจุกเสียด
เชื่อว่าคนท้องสระผมด้วยใบหมี่ผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วจะช่วยให้คลอดลูกได้ง่าย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นให้ตระหนักถึงคุณค่าของต้นหมี่ คือ แชมพู ครีมนวด และสบู่เหลวล้างมือ..
ต้นหมี่กับวัฒนธรรมล้านนา….เทศกาลงานสงกรานต์
อุ๊ยแสงดาเล่าว่า “สมัย ก่อน จะต้มใบหมี่ในหม้อดินก้นทรงกลม หรือเรียกว่า หม้อสาว จุน้ำสิบถึงยี่สิบลิตร เมื่อต้มแล้ว นำไปสระผมได้หลายๆ คน ขณะที่ต้มกลิ่นอายจากหม้อช่วยผสมให้น้ำเดือดช่วยให้กลิ่นใบหมี่อยู่ได้นานเพราะความหนาแน่นของหม้อดินจะอมความร้อนได้นานนั้นเอง “
แม่อุ๊ยสอนว่า “ใบ แก่ดีกว่าใบอ่อน เพราะกลิ่นหอมมากกว่า..เพียงเอาใบมาทุบแล้วแช่น้ำไว้นานๆ ก็จะมีกลิ่นหอมได้เช่นกันนำมาต้มไฟอ่อนพอน้ำเดือด กลิ่นหอมจะถูกความร้อนละลายออกมาทีละน้อยๆ ไม่ระเหยไปกับน้ำโดยไม่จำเป็น..”จำนวน ใบที่นำมาต้ม ส่วนมากจะใช้ห้าใบขึ้นไป ปีใหม่เมืองเหนือหรือสงกรานต์ ผู้คนนิยมนำใบหมี่มาสระผมจนถือเป็นเคล็ดกันว่าปีหนึ่งขอให้ได้สระผมด้วยน้ำต้มใบหมี่ปีละหนึ่งครั้ง ในวันปีใหม่ ก็จะมีโชคคุ้มได้ทั้งปี
ต้นใบหมี่ ต้นหมีเหม็น ขายต้นใบหมี่
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Oct 20 02:28
ต้นหมี่
ชื่ออื่น หมี หมูเหม็น อีเหม็น หมูทะลวง หมีเหม็น ตังสีไพร ดอกจุ๋ม มือเบาะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Litsea glutinosa (Lour.) C.B.Robinson.
ชื่อวงศ์ Lauraceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น สูง 5-15 เมตร ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นแก่แตกเป็นร่องตื้นตามยาว กิ่งอ่อนมีขนละเอียด ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ หรือค่อนข้างกลม มักออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง กว้าง 5-9 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบกลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบเป็นครีบ หรือกลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน ก้านใบยาว 1-2.5 เซนติเมตร มีขน ใบประดับ 4 ใบ มีขน เนื้อใบค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ดอกช่อซี่ร่มออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกย่อยสีเหลือง ไม่มีกลีบดอก ช่อดอกเพศผู้มีดอกย่อย 8-10 ดอก กลีบรวมลดรูปเหลือ 1-2 กลีบ หรือไม่มีเลย รูปขอบขนาน ขอบกลีบมีขน เกสรตัวผู้มี 9-20 อัน กลีบเลี้ยงรูปกลม มี 4 กลีบ อับเรณูเป็นแบบฝาเปิด ช่อดอกเพศเมียกลีบรวมลดรูปเหลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่มี ก้านช่อดอกยาว 2-6 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกกัน ผลสดรูปทรงกลม ผิวมัน เรียบ ผลอ่อนสีเขียว แก่สีม่วงเข้มเกือบดำ ก้านผลมีขน มีเมล็ดเดียวแข็ง ออกดอกราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงตุลาคม พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ ใบ ขยี้กับน้ำ สระผม พอกศีรษะ ฆ่าเหา ขับปัสสาวะ แก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง ใบและเมล็ด มีรสฝาดเฝื่อน ตำพอกฝี แผลหนอง แก้ปวด ราก เป็นยาฝาดสมาน และบำรุงกำลัง เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมาน แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดมดลูก แก้เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ ฝนทาแก้พิษแมลงกัดต่อย ผื่นคันแสบร้อน บดเป็นผงผสมกับน้ำหรือน้ำนมทาแก้แผลอักเสบ ผลดิบ ให้น้ำมันเป็นยาถูนวดแก้ปวด ผลสุก กินได้ เมล็ด ตำเป็นยาพอกฝี ราก แก้ปวดกล้ามเนื้อ ยาง มีรสฝาดร้อน ตำพอกทาแก้ฟกช้ำ แก้ช้ำบวม
ตำรายาพื้นบ้านอำนาจเจริญ ใช้ ราก รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ฝนทาฝี เปลือก ฝนทาแก้ฝี ใบเป็นยาสระผม ใบย้อมผ้าให้สีเขียว
วิธีทำ แชมพูมะกรูด ใบหมี่
ส่วนผสม
1. มะกรูด 3-5 ผล
2. ใบหมี่ 10 ใบ
3. น้ำซาวข้าวเหนียว 1 ลิตร
วิธีทำ
1. มะกรูดผ่าตามขวางเป็นสองซีก ตั้งน้ำพอเดือด ใส่มะกรูดและใบหมี่ลงไปในหม้อ
2. รอให้เดือดต่อประมาณ 10 นาที ปิดฝา ยกลง
3. รอจนเย็นลง ใช้ผ้าขาวบางกรองเอากากออก แล้วเก็บใส่ขวดไว้ใช้สระผมแทนแชมพู
หมายเหตุ วิธีการทำน้ำซาวข้าวเหนียว ให้นำข้าวเหนียวประมาณ 1 ลิตร แช่น้ำพอท่วม (ใช้น้ำประมาณ 1 ลิตร) ทิ้งไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง จะได้น้ำซาวข้าวเหนียวสีขาวขุ่น)
สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีทางธรรมชาติได้ 2 วิธี คือ
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการงอกเป็นต้นกล้าจากรากของต้นเดิมที่แผ่ขยายออกไป
การ ใช้ประโยชน์ ส่วนต่าง ๆ ของต้นหมี่มีสรรพคุณทางยา
คือ ราก นำมาใช้ตำทาแก้ ฝี หนอง ต้มกินแก้ท้องอืด แก้ท้องร่วง เป็นส่วนผสมยาเย็นยาผง ยาแก้ซาง
บางหมู่บ้านนำรากตากให้แห้ง แล้วดองกับเหล้าขาว แก้โรคเลือด เช่น ระดูมาไม่ปกติ ลมพิษ เป็นต้น
เปลือก นำมาใช้ฝนทาแก้ฝี ผิวในของเปลือกสดอมแก้ปวดฟัน แก้ปากเหม็น
ต้มอาบแก้ผดผื่น แก้ท้องอืด
ใบ ใบสดใช้ฆ่าเหา ใช้ขยี้ทารักษาแผล กลากเกลื้อน แก้พิษแมงมุม
แก้ท้องร่วง ท้องอืด นอกจากนั้นก็ใช้
ลำต้นใช้สร้างบ้านเรือน เผาถ่าน ทำฟืน ทำเขียง ทำเฟอร์นิเจอร์ ทำด้ามมีด จอบ เสียม ขวาน ทำยุ้งใส่ข้าว และปลูกให้ร่มเงา
เปลือกใช้ย้อมผ้า ย้อมแหให้ติดสี
ผงเปลือกทำธูปจุดไล่แมลง
ยางของต้นหมี่ ใช้ทาเครื่องจักสานให้หนา และทนทาน ใช้ดักแมลงตัวเล็กๆ
ใช้ใบสดสระผม ใช้ตำผสมกับผลทำหัวเชื้อชีวภาพ ใช้บ่มกล้วยให้สุกเร็ว
ใช้รองฝาปิดปากไหปลาร้ากันหนอน
ดอก ของต้นหมี่สามารถนำมาตากแห้งอบน้ำหอม ประดิษฐ์เป็นของชำร่วย
ผลสุก ใช้บีบหรือตำทาแก้โรคผิวหนัง หรือนำมาสระผมก็ได้
ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เด่นชัดที่สุด คือ ใช้ใบสดสระผม และใช้ส่วนต่าง ๆ ตามสรรพคุณทางยา
ด้านประเพณี ใช้ใบห่อข้าวต้มประกอบในพิธีบายศรีสู่ขวัญ ใช้แก่นทำช่อฟ้าอุโบสถ
ด้านความเชื่อ มีการขูดเปลือกขอหวย ใช้ใบไล่ผี เวลาเดินทางไกลใช้เหน็บบั้นเอว
จะทำให้หายจากอาการจุกเสียด
เชื่อว่าคนท้องสระผมด้วยใบหมี่ผสมกับน้ำซาวข้าวแล้วจะช่วยให้คลอดลูกได้ง่าย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นให้ตระหนักถึงคุณค่าของต้นหมี่ คือ แชมพู ครีมนวด และสบู่เหลวล้างมือ..
ต้นหมี่กับวัฒนธรรมล้านนา….เทศกาลงานสงกรานต์
อุ๊ยแสงดาเล่าว่า “สมัย ก่อน จะต้มใบหมี่ในหม้อดินก้นทรงกลม หรือเรียกว่า หม้อสาว จุน้ำสิบถึงยี่สิบลิตร เมื่อต้มแล้ว นำไปสระผมได้หลายๆ คน ขณะที่ต้มกลิ่นอายจากหม้อช่วยผสมให้น้ำเดือดช่วยให้กลิ่นใบหมี่อยู่ได้นานเพราะความหนาแน่นของหม้อดินจะอมความร้อนได้นานนั้นเอง “
แม่อุ๊ยสอนว่า “ใบ แก่ดีกว่าใบอ่อน เพราะกลิ่นหอมมากกว่า..เพียงเอาใบมาทุบแล้วแช่น้ำไว้นานๆ ก็จะมีกลิ่นหอมได้เช่นกันนำมาต้มไฟอ่อนพอน้ำเดือด กลิ่นหอมจะถูกความร้อนละลายออกมาทีละน้อยๆ ไม่ระเหยไปกับน้ำโดยไม่จำเป็น..”จำนวน ใบที่นำมาต้ม ส่วนมากจะใช้ห้าใบขึ้นไป ปีใหม่เมืองเหนือหรือสงกรานต์ ผู้คนนิยมนำใบหมี่มาสระผมจนถือเป็นเคล็ดกันว่าปีหนึ่งขอให้ได้สระผมด้วยน้ำต้มใบหมี่ปีละหนึ่งครั้ง ในวันปีใหม่ ก็จะมีโชคคุ้มได้ทั้งปี
ต้นใบหมี่ ต้นหมีเหม็น ขายต้นใบหมี่
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Oct 20 02:28
คำสำคัญ:
หมีเหม็น
ต้นสมุนไพร