ค้นหาสินค้า

กะเม็ง (บริการส่งทางไปรษณีย์)

ร้าน D&T Garden
กะเม็ง (บริการส่งทางไปรษณีย์)
กะเม็ง (บริการส่งทางไปรษณีย์)
ชื่อสินค้า:

กะเม็ง (บริการส่งทางไปรษณีย์)

รหัส:
175707
ราคา:
50.00 บาท
ติดต่อ:
คุณ ชาญชัย เจริญราษฎร์
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 8 เดือน
ไอดีไลน์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชื่อไทย กะเม็ง หรือ กะเม็งตัวเมีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ ขึ้นกับแต่ละท้องถิ่น เช่น ทางภาคเหนือ เรียกว่า ฮ่อมเกี้ยว ทางพายับ เรียก หญ้าสับ จีน เรียก บั้งกีเช้า ทางภาคกลาง เรียก กะเม็งตัวเมีย
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Eclipta prostrata Linn. ในวงศ์ Compositae ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ทานตะวัน และดาวเรือง
ลักษณะทั่วไป
ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 4-32 นิ้ว ลักษณะลำต้นมีขนหรือบางต้นก็ค่อนข้างเกลี้ยง ลำต้นมีกิ่งก้านแตก ที่โคนต้น ใบ : ใบมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อใบเกลี้ยง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5-2.5 ซม. ยาวประมาณ 3-10 ซม. ก้านใบไม่มี ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้น มีน้ำมากใบก็ใหญ่ เกิดในที่แห้งแล้ง ใบจะเล็ก
ดอก : ดอกออกเป็นกระจุก ลักษณะของดอกมีกลีบดอกสีขาว ดอกวงในโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อยาวประมาณ 2 มม. ส่วนปลายจะหยักเป็น 4 แฉก ดอกในวงนอกเป็นรูปรางน้ำ ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายดอกหยักเป็น 2 แฉก ก้านดอกเรียวยาว ยาวประมาณ 2-4.5 ซม. ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง เมื่อแก่จัดจะมีสีดำ เมื่อขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา ปลายมีระยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 2.5 มม. ขนาดของผลกว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 3-3.5 มม
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น ใบ ดอก ราก
สรรพคุณและการนำมาใช้รักษาโรคต่าง ๆ
กะเม็งมีรสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ส่วนวิธีและปริมาณที่ใช้ ของกะเม็งนั้น จะใช้ทั้งต้นแห้ง 10-30 กรัม ต้มเอาน้ำกิน หรือจะนำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน หรือกินเป็นผงก็ได้ (ส่วนผมชอบบดเป็นผงชงกับน้ำร้อนแล้วผสมกับน้ำผึ้งอีกทีหนึ่ง)
1. รักษาแผล - หมอยาทุกภาคต่างรู้ดีว่ากะเม็งเป็นสมุนไพรทำแผล ช่วยห้ามเลือดและป้องกันการติดเชื้อ มีเรื่องเล่าจากประสบการณ์ว่า สมัยสงครามเวียดนาม กะเม็งเป็นยาคู่สนามรบมีการนำมาใช้ทั้งสดและแห้งเพื่อห้ามเลือด นอกจากนำมาใช้รักษาแผลให้คนแล้ว กะเม็งยังเป็นยารักษาแผลในสุนัขตัวโปรดได้ด้วย - กะเม็งยังใช้ตำพอกแก้อักเสบเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย - ใช้ต้มอมบ้วนปากรักษาอาการปากและเหงือกเป็นแผล - แก้ปวดฟัน โดยใช้ต้นสดผิงไฟให้แห้งแล้วบดเป็นผงทาที่เหงือกแก้ปวดฟันก็ได้ และ--- รักษาอาการปากเปื่อย-ปากเจ็บเนื่องจากเชื้อราในเด็ก โดยใช้น้ำคั้นจากใบ ๒ หยดผสมน้ำผึ้ง ๘ หยด ทาบ่อยๆ - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก อาการฟกช้ำ อาการแพ้ได้อย่างดี โดยบดตำเอามาพอกที่บาดแผล ลดอาการอักเสบ ปวดแสบปวดร้อน อาการอักเสบจะดีขึ้น ให้พอกไปเรื่อยๆ และคอยเปลี่ยนยาบ่อย ๆ
2. แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม หรือ ต้นสด 120 กรัม ต้มน้ำกินติดต่อกัน 3-4 วัน3. แก้โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา
กะเม็งยังช่วยรักษาอาการน้ำกัดเท้า ชาวนาสมัยก่อนจะนำใบกะเม็งขยี้ทาเท้าทิ้งไว้ให้แห้งก่อนลงนา การศึกษาวิจัยสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อทั้งราและแบคทีเรีย และเป็นสมุนไพรที่ขึ้นได้ดีในหน้าน้ำ เป็นเรื่องน่าแปลกเพราะดูเหมือนว่า ธรรมชาติจะได้ประทานสมุนไพรชนิดนี้มาให้กับชาวนาใช้รักษาโรคน้ำกัดเท้า ในหน้าลงนาได้พอดิบพอดี แต่ถ้ามือและเท้าเปื่อย จากการทำนาแล้ว ก็สามารถใช้น้ำคั้นจากใบทารักษาได้ โดยทาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
4. แก้ผมหงอกก่อนวัย ใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าวทา ศีรษะจะทำให้ผมดกดำ และแก้ผมหงอกก่อนวัย
5. เบาหวาน นอกจากเป็นยาอายุวัฒนะแล้ว หมอยาพื้นบ้านยังบอกว่ากะเม็งเหมาะที่จะทำเป็นชาสมุนไพรสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ดียิ่งนัก
5. รักษาตับ กะเม็งเป็นสมุนไพรที่มีการกล่าวขวัญถึงในหมู่หมอยาสมัยก่อนทั้ง ไทย จีน พม่า อินเดีย โดยใช้เป็นยารักษาตับ หมอยาไทยมักจะบอกว่ากะเม็งรักษาอาการดีซ่านตัวเหลืองตาเหลือง เคยมีหมอพม่าและหมออินเดียมาดูงานที่โรงพยาบาลต่างพูดตรงกันว่า กะเม็งเป็นสมุนไพรที่บ้านเขาใช้รักษาตับ มีทั้งใช้กะเม็งเดี่ยวๆ หรือบางครั้งก็ใช้เป็นตำรับร่วมกับต้นลูกใต้ใบ ผักหวานบ้าน มะขามป้อม เป็นต้น สอดคล้องกับการค้นคว้าทางเอกสาร พบว่าหมอยาพื้นบ้านในประเทศต่างๆ ก็มีการใช้กะเม็งรักษาโรคตับเช่นกัน6. แก้อักเสบ บวมน้ำ นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์จากทางบ้านคือ ใช้ต้นกะเม็งสดๆ ๓-๔ ต้น ล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดประมาณ ๑๐ นาที แล้วดื่มน้ำโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปผสมพอมีรสหวาน ดื่มกินไม่เกิน ๒ วัน ช่วยแก้อักเสบ บวมช้ำ (พระจีรพันธ์ ธัมมกาโม วัดพบพระใต้ จ.ตาก)7. โรคไต ถ้าเป็นไม่นาน ให้นำต้น กะเม็ง ทั้งสองชนิด คือ กะเม็งตัวผู้ กับ กะเม็งตัวเมีย โดยให้เอาทั้งต้นแบบชนิดแห้งชนิดใดช
นิดหนึ่ง จำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำจนเดือด ดื่มครั้งละ 1 แก้ว เช้า กลางวัน เย็น หรือต้มดื่มน้ำทั้งวันก็ได้ จะช่วยล้างพิษหรือสารตกค้างจากไตจนหมด ทำให้ไตสมบูรณ์ขึ้น ร่างกายก็แข็งแรงตามไปด้วย ไม่มีอาการปวดเมื่อย ผิวกายไม่ตกกระ และยังช่วยชะลอความแก่ เพราะไตดีขึ้นนั่นเอง ผิวพรรณสดใสอีกด้วย8. แก้มะเร็ง ใช้ได้ดีมากกับผู้ป่วยมะเร็งตับ9. รักษาอาการแผลเรื้อรังเน่าลุกลามรักษายาก เช่นแผลจากเบาหวาน แผลจากมะเร็ง10. แก้หืด11. แก้หลอดลมอักเสบ12. แก้จุกเสียด13. รักษาแผลในกระเพาะ ลำไส้
14. แก้กลากเกลื้อน
15 รักษาอาการชักเกร็ง มือเกร็ง ที่เกิดจากอาการทางประสาท ทำให้เป็นลมวิงเวียน ชักเกร็ง มือเกร็ง ซึ่งอาการเช่นนี้คล้ายๆ กับโรค Hyperventilation ในแผนปัจจุบัน วิธีใช้นั้นจะใช้กะเม็งเป็นตัวหลักตำคั้นน้ำผสมกับสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมตัวอื่นๆ เช่น ขิง ว่านเปราะหอม เป็นต้น แล้วใช้น้ำคั้นที่ได้ให้ผู้ป่วยจิบ และใช้ผ้าชุบน้ำผสมน้ำคั้นสมุนไพรเหล่านั้นเช็ดหน้า คลุมหัวผู้ป่วยไว้
16. เป็นยาอายุวัฒนะ
การเก็บกะเม็ง จะเก็บมาใช้ทั้งต้นในขณะที่ต้นเจริญเต็มที่ กำลังออกดอก เมื่อเก็บมาแล้ว ควรล้างดินออกให้สะอาด หั่นเป็นท่อนหรือชิ้นเล็ก ๆ ตากหรือผึ่งให้แห้ง เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น เพื่อใช้เป็นยา ลักษณะของยาแห้งที่ดี ควรมีสีเขียว ไม่มีเชื้อรา และสิ่งอื่นเจือปน
สรรพคุณจากการวิจัย
1. กะเม็ง สามารถแก้ความเป็นพิษที่ตับ ที่เกิดจากการทำให้เซลล์ตับเป็นพิษ ด้วยสารพิษบางชนิดได้ผลดี มีรายงานว่า กะเม็ง มีฤทธิ์แก้ไข้ และแก้แพ้ในหนูถีบจักร และหนูขาวอีกด้วย ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า กะเม็ง สามารถนำมาใช้ในการรักษาตับอักเสบ และโรคผิวหนังผื่นคันได้เป็นอย่างดี2.การศึกษาวิจัยสมัยใหม่เกี่ยวกับกะเม็ง พบว่ามีฤทธิ์คลายเครียด ช่วยทำให้นอนหลับ โดยกะเม็งไปมีฤทธิ์เพิ่มระดับ Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่หลั่งออกมาตอนกลางคืน ซึ่งสารนี้จะช่วยปรับสภาพร่างกายให้เหมาะแก่การนอนหลับ3. ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมากถึงผลของกะเม็งต่อตับ คือกะเม็งสามารถป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษรวมทั้งจากแอลกอฮอล์ ป้องกันไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายจากไวรัส แถมยังช่วยในการฟื้นตัวของตับที่ถูกทำลายได้อีกด้วย4. จากการศึกษาสมัยใหม่พบว่ากะเม็งมีฤทธิ์เพิ่ม T-lymphocyte และมีการศึกษาตำรับยาจีนชนิดหนึ่งเรียกว่า AFE ซึ่งมีกะเม็งเป็นส่วนประกอบ พบว่าสูตรยาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ lymphocyte และ IgG ซึ่งเป็นสารสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้กะเม็งยังทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดงแข็งแรงขึ้น ซึ่งยืนยันการใช้เป็นยาอายุวัฒนะของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี และอาจมีประโยชน์ต่อการใช้เป็นยาเสริมภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยเอดส์ นอกจากนี้แล้วยังพบว่า กะเม็งลดการกดภูมิคุ้มกันซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ใรักษาความเป็นปกติ ของร่างกายขณะได้รับเคมีบำบัด
สรุป
กะเม็ง เป็นพืชล้มลุก พบขึ้นตามที่รกร้าง และที่ชื้นแฉะทั่วไป กะเม็งเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันมานาน มีประโยชน์ทางยามากมาย สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับแผลแทบทุกชนิด รวมไปถึง แผลเรื้อรังที่รักษายาก เช่นแผลจากเบาหวานแผลจากโรคมะเร็ง รวมไปถึงแผลฝีหนอง และยังช่วยรักษาโรคตับอักเสบ โรคปอด(หลอดลมอักเสบ) โรคไต โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา และรักษาผมหงอกก่อนวัย ทำให้ผมดกดำ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ มล.เนื่อง นิลรัตน์ ได้เขียนบทความ "ยาเถื่อน" บรรยายสรรพคุณของกะเม็งโดยมีตัวอย่างการใช้รักษาโรคกับคนให้เห็นภาพอย่างชัดเจน จนเป็นที่โ่ด่งดัง ซึ่งสมัยนี้หมอปัจจุบันหลายท่านก็หันมานิยมกะเม็ง มาใช้รักษาคนไข้แทนยาแผนปัจจุบันเหมือนกัน
=======================
Emailหรือ โทร สอบถามราคาและสินค้าก่อนโอนเงินนะครับครับ
*สามารถสั่งหลายๆชนิดรวมกันได้ครับ*
***การโอนเงินเพื่อสร้างความมั่นใจง่ายในการยืนยันตัวตน โปรดใส่เศษอีก
เพียงเล็กน้อย เพราะบางครั้งมีการโอนเงินในยอดเท่าๆกันพร้อมกัน จึงต้องทำให้
แตกต่างโดยการใส่ทศนิยม จะได้ทราบว่าของใคร
เช่น
ราคาสินค้าที่ต้องโอน 520
ขอให้โอนแบบมีเศษเช่น 520.15 หรือ 520.32 หรือ 520.01
หรือ...อื่นๆ
(เศษนั้นตามใจท่านได้เลยระหว่าง .01-.99)
ชำระโดยการโอนเงินเข้าบัญชี
ธนาคารกสิกรไทย
สาขานวนคร
เลขที่บัญชี 405-2-67753-5
นาง ศุปริญญา เจริญราษฎร์
*หลังโอนเงินแล้ว กรุณาแจ้งทาง email:
[email protected] หรือ sms
ติดต่อ + พูดคุย 085-2142867 090-3890549 gsm
ด้วยครับผมจะรีบจัดส่งในทันที่ครับ
-----------------------------------
***สิ่งที่ต้องแจ้งหลังการโอนเงินครับ***
*ได้โอนเงินค่า อะไรบ้าง
*จำนวน.......บาท
*ในวดป......เวลา......
*กรุณาส่ง (ขอชื่อ-นามสกุลจริง)+ที่อยู่ที่ชัดเจน.......
*รหัสไปรษณีย์.......
หมายเลขโทรศัพท์......
-----------------------------------
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 07 Oct 12 08:46
คำสำคัญ: ว่านสมุนไพร