ค้นหาสินค้า

ต้นตะโก

ร้าน ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้
ต้นตะโก
ต้นตะโก
ชื่อสินค้า:

ต้นตะโก

รหัส:
166384
ราคา:
ไม่ระบุ
ติดต่อ:
คุณปฐมสิต วงศ์ชวลิต (แชมป์)
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 11 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ตะโก
ชื่อสามัญ Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์ Diospyios rhodcalyx.
วงศ์ EBENACEAE
ชื่ออื่น ตะโกนา , โก , นมงัว , มะโก , มะถ่าน , ไฟผี , พระยาช้างดำ
การกระจายพันธุ์ พบกระจายจากพม่าจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบทั่วไปทุกภาค
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
ลักษณะทั่วไป
ต้น ไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร เปลือกต้นขรุขระสีน้ำตาลเข้มเกือบดำกิ่งอ่อนสีน้ำตาล
ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ กว้าง 2- 7 เซนติเมตร ยาว 5- 12 เซนติเมตร ดคนใบสอบ ปลายใบโค้งมน เรียงสลับ
ดอก สีขาว แยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 8- 12 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท ปลายแยกเป็นแฉกสั้น ๆ เกสรตัวผู้ 14-16 อัน ดอกเพสเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอก 4 กลีบ คล้ายดอกเพศผู้เทียม 8-10 อัน มีขนาดใหญ่กว่าดอกตวผู้ ออกดอกและติดผลช่วง มีนาคม - มิถุนายน
ผล ผลสด ทรงกลม มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดอยู่ ผิวมีขนละเอียด มีขนาด 2- 3 เซนติเมตร เมื่อสุกสีส้มแดง
เมล็ด
นิเวศวิทยา
พบขึ้นทั่วไปตามป่าละเมาาะ ทุ่งนา ป่าเบญจพรรณแล้งที่ระดับความสูง 40- 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ประโยขน์
ข้อมูลจากเอกสาร ปลูกเป็นไม้ดัด ไม้ประดับ เนื้อไม้ แข็งเรง ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องมือ ผลอ่อนใช้ย้อมผ้า แห อวน ผลสุก รับประทานได้มีรสหวานอมฝาด เปลือกต้น แก่น บำรุงธาตุ ขับระดูขาว ต้มกับเกลือรักษาเหงือกบวม แก้ปวดฟัน ผล แก้ท้องร่วง คลื่นไส้ ขับพยาธิ แก้ฝี ปวดบวม เปลือกผล เผาเป็นถ่าน แช่น้ำกินขับปัสสาวะ
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย
เปลือกต้น ผสมกับอย่างอื่น ๆ ดองเหล้า ต้มดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ
การปลูก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากโตช้า , การตอนกิ่ง ใช้วิธีขุดล้อมมาจากธรรมชาติก็ได้หากปลูกลงดิน ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก
หากปลูกใส่กระถาง ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12–24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดิน ร่วนอัตรา 1:1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุกๆ 2–3 ปี หรือตามการเจริญเติบโตของต้นตะโกที่ปลูก
ตะโก เป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมใช้ทำไม้ดัดมากที่สุด เนื่องจากเป็นไม้พื้นเมืองที่พบตามป่าธรรมชาติทั่วประเทศ ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ง่ายต่อการปลูกเลี้ยง บำรุงรักษา จึงเหมาะที่จะนำมาทำเป็นไม้ดัดประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือก ผลอ่อน ผลแก่ ผลดิบ เมล็ด
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
1. เปลือก รสฝาดเฝื่อน สมาน ลดไข้
2. เปลือกและผลอ่อน รสฝาดเฝื่อน แก้บิด แก้ท้องร่วง แก้ไข้มาลาเรีย
3. เปลือกและผลแก่ รสฝาดเฝื่อนหวาน รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ
4. ผลดิบ รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด แก้บิด แก้ท้องร่วง
5. เมล็ด รสฝาดเฝื่อน แก้บิด แก้ท้องร่วง
ขนาดและวิธีใช้
1. รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ ใช้เปลือกและผลแก่ ต้มเป็นยาอม กลั้วคอ
2. ชะล้างบาดแผล สมานแผล ใช้เปลือกและผลอ่อน ต้มเอาน้ำชะล้าง
3. แก้บิด ใช้เปลือกอ่อนและผลอ่อน ต้มรับประทาน


แก้ไขข้อมูลเมื่อ 19 Jul 14 09:07
คำสำคัญ: ตะโก