ชื่อสินค้า:
นนทรี
รหัส:
162711
ประเภท:
ราคา:
6,500.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณวีรพล
ที่อยู่ร้าน:
จ.นครนายก
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 9 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชื่อไทย นนทรี
ชื่ออื่น ๆ อะราง กระถินป่า กระถินแดง สารเงิน
ชื่อสามัญ Yellow Poinciana , Copper Pod , Yellow Flamboyant.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer.ex K. Heyne
วงศ์ LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าตามชายหาด
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 - 20 เมตร ผลัดใบ แต่ไม่ผลัดพร้อมกันทั้งต้น เรือนยอดรูปทรงกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นค่อนข้างตรง แตกกิ่งก้านต่ำที่ความสูง 2 - 3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง
เปลือก สีเทาอ่อน แตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาวและตามขวาง และแตกเป็นสะเก็ดแผ่นเล็ก ๆ ทั่วไป เนื้อในเปลือกมีสีน้ำตาลอมเหลือง
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับถี่ตามปลายกิ่ง ช่อย่อย 10 - 18 คู่ ออกตรงกันข้าม ใบย่อยก้านใบสั้นและเรียงตรงกันข้าม 12 - 22 คู่ ใบรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยวมน ปลายใบมนเว้าเข้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 0.3 - 0.6 เซนติเมตร ยาว 1.0 - 2.5 เซนติเมตร
ดอก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อใหญ่แบบช่อกระจะบริเวณซอกก้านใบ และปลายกิ่ง ชูช่อดอกเด่นออกมาเหนือทรงพุ่ม ช่อดอกตั้งยาว 10 - 20 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ด้านนอกมีขนอ่อนสีน้ำตาล กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ย่นเป็นคลื่น เมื่อบานเต็มที่ กว้าง 1.5 – 2.0 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ออกดอกเดือน เมษายน - พฤษภาคม
ผล เป็นฝักแบบฝักแห้ง รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก โคนและปลายสอบแหลม ฝักอ่อนมีสีน้ำตาลอมม่วง ฝักแก่มีสีน้ำตาลอมดำ ฝักไม่แตก กว้าง 2.0 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 10 เซนติเมตร มีเมล็ด 1 - 4 เมล็ด เรียงตามความยาวของฝัก
เมล็ด รูปร่างแบนบาง แข็งมาก สีน้ำตาลอมเหลือง รูปขอบขนานกว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร ยาว 0.8 - 1.0 เซนติเมตร
ประโยชน์ เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นกระดานพื้นและฝาบ้าน ทำเครื่องเรือนและเครื่องมือการเกษตร มีลวดลายสวยงามเช่นเดียวกับมะค่า ประดู่ และพะยูง เปลือก ถ้านำไปต้มจะให้สีน้ำตาลปนเหลือง ใช้ย้อมผ้าได้สวยงาม นอกจากนั้นยังมีสารแทนนินสูง ใช้รักษาโรคท้องร่วง หรือนำไปเคี่ยวกับน้ำมันนวดแก้ตะคริว และกล้ามเนื้ออักเสบ
นนทรีเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังคำกราบบังคมทูลของหลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรี จันทรสถิตย์) ในฐานะอธิการบดี มีใจความสรุปได้ดังนี้ “ต้นนนทรี เป็นไม้ยืนต้น อายุยืนนาน มีใบเขียวตลอดปี ลักษณะใบเป็นฝอยเหมือนใบกระถิน ดอกสีเหลืองประด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานต่อทุกสภาพอากาศเมืองไทย สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้คัดเลือกให้เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแสดงว่านิสิตเก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น มีใจผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยตลอดเวลา และสามารถทำงานประกอบอาชีพได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งใน ไร่นา ป่าเขา ทั่วทั้งประเทศไทย
นนทรีเป็นไม้ต้นที่มีใบขนาดเล็ก เวลาใบร่วงจะไม่ทำให้รกพื้นที่เหมือนต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่ เช่น หูกวาง ประดู่ หรือชมพูพันธุ์ทิพย์ ส่วนมากใบจะถูกลมพัดให้ปลิวไปตกในพื้นที่ที่ห่างไกลจากโคนต้นจะใกล้ไกลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลม แต่นนทรีเป็นไม้ที่มีกิ่งเปราะหักได้ง่ายไม่ทนทานต่อแรงลม ดังนั้นไม่ควรปลูกไว้ใกล้ชิดอาคารบ้านเรือนหรือบริเวณลานจอดรถยนต์ เพราะอาจจะได้รับอันตรายจากกิ่งที่หักโค่นได้ง่าย เพื่อป้องกันอันตรายจากกิ่งก้านควรตัดแต่งกิ่งหรือทรงพุ่มปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดขนาดและน้ำหนักของกิ่ง
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Dec 23 08:19
ชื่ออื่น ๆ อะราง กระถินป่า กระถินแดง สารเงิน
ชื่อสามัญ Yellow Poinciana , Copper Pod , Yellow Flamboyant.
ชื่อวิทยาศาสตร์ Peltophorum pterocarpum (DC.) Backer.ex K. Heyne
วงศ์ LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยพบได้ทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าตามชายหาด
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 - 20 เมตร ผลัดใบ แต่ไม่ผลัดพร้อมกันทั้งต้น เรือนยอดรูปทรงกลมหรือรูปไข่ ทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นค่อนข้างตรง แตกกิ่งก้านต่ำที่ความสูง 2 - 3 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง
เปลือก สีเทาอ่อน แตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาวและตามขวาง และแตกเป็นสะเก็ดแผ่นเล็ก ๆ ทั่วไป เนื้อในเปลือกมีสีน้ำตาลอมเหลือง
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับถี่ตามปลายกิ่ง ช่อย่อย 10 - 18 คู่ ออกตรงกันข้าม ใบย่อยก้านใบสั้นและเรียงตรงกันข้าม 12 - 22 คู่ ใบรูปขอบขนาน โคนใบเบี้ยวมน ปลายใบมนเว้าเข้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 0.3 - 0.6 เซนติเมตร ยาว 1.0 - 2.5 เซนติเมตร
ดอก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกเป็นช่อใหญ่แบบช่อกระจะบริเวณซอกก้านใบ และปลายกิ่ง ชูช่อดอกเด่นออกมาเหนือทรงพุ่ม ช่อดอกตั้งยาว 10 - 20 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ด้านนอกมีขนอ่อนสีน้ำตาล กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ ย่นเป็นคลื่น เมื่อบานเต็มที่ กว้าง 1.5 – 2.0 เซนติเมตร มีเกสรเพศผู้ 10 อัน ออกดอกเดือน เมษายน - พฤษภาคม
ผล เป็นฝักแบบฝักแห้ง รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก โคนและปลายสอบแหลม ฝักอ่อนมีสีน้ำตาลอมม่วง ฝักแก่มีสีน้ำตาลอมดำ ฝักไม่แตก กว้าง 2.0 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 10 เซนติเมตร มีเมล็ด 1 - 4 เมล็ด เรียงตามความยาวของฝัก
เมล็ด รูปร่างแบนบาง แข็งมาก สีน้ำตาลอมเหลือง รูปขอบขนานกว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร ยาว 0.8 - 1.0 เซนติเมตร
ประโยชน์ เนื้อไม้นำมาใช้ทำเป็นกระดานพื้นและฝาบ้าน ทำเครื่องเรือนและเครื่องมือการเกษตร มีลวดลายสวยงามเช่นเดียวกับมะค่า ประดู่ และพะยูง เปลือก ถ้านำไปต้มจะให้สีน้ำตาลปนเหลือง ใช้ย้อมผ้าได้สวยงาม นอกจากนั้นยังมีสารแทนนินสูง ใช้รักษาโรคท้องร่วง หรือนำไปเคี่ยวกับน้ำมันนวดแก้ตะคริว และกล้ามเนื้ออักเสบ
นนทรีเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังคำกราบบังคมทูลของหลวงอิงคศรีกสิการ (นายอินทรี จันทรสถิตย์) ในฐานะอธิการบดี มีใจความสรุปได้ดังนี้ “ต้นนนทรี เป็นไม้ยืนต้น อายุยืนนาน มีใบเขียวตลอดปี ลักษณะใบเป็นฝอยเหมือนใบกระถิน ดอกสีเหลืองประด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานต่อทุกสภาพอากาศเมืองไทย สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้คัดเลือกให้เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อแสดงว่านิสิตเก่าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นั้น มีใจผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยตลอดเวลา และสามารถทำงานประกอบอาชีพได้ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งใน ไร่นา ป่าเขา ทั่วทั้งประเทศไทย
นนทรีเป็นไม้ต้นที่มีใบขนาดเล็ก เวลาใบร่วงจะไม่ทำให้รกพื้นที่เหมือนต้นไม้ที่มีใบขนาดใหญ่ เช่น หูกวาง ประดู่ หรือชมพูพันธุ์ทิพย์ ส่วนมากใบจะถูกลมพัดให้ปลิวไปตกในพื้นที่ที่ห่างไกลจากโคนต้นจะใกล้ไกลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลม แต่นนทรีเป็นไม้ที่มีกิ่งเปราะหักได้ง่ายไม่ทนทานต่อแรงลม ดังนั้นไม่ควรปลูกไว้ใกล้ชิดอาคารบ้านเรือนหรือบริเวณลานจอดรถยนต์ เพราะอาจจะได้รับอันตรายจากกิ่งที่หักโค่นได้ง่าย เพื่อป้องกันอันตรายจากกิ่งก้านควรตัดแต่งกิ่งหรือทรงพุ่มปีละ 1 ครั้ง เพื่อลดขนาดและน้ำหนักของกิ่ง
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Dec 23 08:19
คำสำคัญ:
นนทรี