ชื่อสินค้า:
หางนกยูง
รหัส:
162571
ประเภท:
ราคา:
4,500.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณวีรพล
ที่อยู่ร้าน:
จ.นครนายก
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 8 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นหางนกยูง เป็นต้นไม้ที่มีหลายชื่อเรียก เช่น เรียกว่า นกยูง , นกยูงฝรั่ง , ชมพอหลวง , ส้มพอหลวง หงอนยูง , อินทรี และยูงทอง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา ซึ่งอยู่ในวงศ์ของพืชตระกูลถั่ว เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบในหน้าแล้งทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่งมีกลีบห้ากลีบ สีแดงจัดจนถึงสีส้ม ฝักเป็นลักษณะฝักถั่วแบนยาว เมื่อแก่จะเป็นฝักแห้งแข็งสีดำ ต้นหางนกยูง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Delonix regia(Bojer) Raf. อยู่ ในวงศ์ Caesalpinioideae มีชื่อสามัญว่า Barbados Pride, peacock Flower ค้นพบครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2367 โดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีต้นหางนกยูง 2 ชนิด คือ หางนกยูงฝรั่ง และหางนกยูงไทย
ต้นหางนกยูง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นโตเต็มที่สูงประมาณ 12 – 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม ลำต้นเกลี้ยง เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อนอมขาวถึงสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นเป็นพูพอน มีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับกันและมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกันขนาดใบย่อยใกล้เคียงกับใบย่อยของมะขาม ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว ในประเทศไทยมักผลัดใบในฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ออกดอกดกและทิ้งใบทั้งต้น เหลือแต่ดอกบานสะพรั่งดูงดงามเป็นพิเศษ ช่อดอกจะออกตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง
สรรพคุณทางยา
ราก เป็นยาขับโลหิตในสตรี นำมาต้มหรือทอดรับประทานกับอาหารได้ แก้อาการบวมต่างๆ ลำต้นนำมาฝนทาแก้พิษสัตว์กัดต่อยได้ เมล็ดอ่อนของหางนกยูงฝรั่งนำมากินสดๆได้ สำหรับเมล็ดแก่ต้องนำมาทำให้สุกก่อน จึงจะใช้กินได้ เพราะมีสารประกอบบางชนิดในเมล็ดแก่ที่เป็นพิษ แต่จะถูกทำลายด้วยความร้อน ส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Dec 23 08:24
ต้นหางนกยูง เป็นต้นไม้ที่มีหลายชื่อเรียก เช่น เรียกว่า นกยูง , นกยูงฝรั่ง , ชมพอหลวง , ส้มพอหลวง หงอนยูง , อินทรี และยูงทอง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา ซึ่งอยู่ในวงศ์ของพืชตระกูลถั่ว เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบในหน้าแล้งทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่งมีกลีบห้ากลีบ สีแดงจัดจนถึงสีส้ม ฝักเป็นลักษณะฝักถั่วแบนยาว เมื่อแก่จะเป็นฝักแห้งแข็งสีดำ ต้นหางนกยูง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Delonix regia(Bojer) Raf. อยู่ ในวงศ์ Caesalpinioideae มีชื่อสามัญว่า Barbados Pride, peacock Flower ค้นพบครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2367 โดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีต้นหางนกยูง 2 ชนิด คือ หางนกยูงฝรั่ง และหางนกยูงไทย
ต้นหางนกยูง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นโตเต็มที่สูงประมาณ 12 – 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม ลำต้นเกลี้ยง เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อนอมขาวถึงสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นเป็นพูพอน มีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับกันและมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกันขนาดใบย่อยใกล้เคียงกับใบย่อยของมะขาม ใบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว ในประเทศไทยมักผลัดใบในฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน ออกดอกดกและทิ้งใบทั้งต้น เหลือแต่ดอกบานสะพรั่งดูงดงามเป็นพิเศษ ช่อดอกจะออกตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง
สรรพคุณทางยา
ราก เป็นยาขับโลหิตในสตรี นำมาต้มหรือทอดรับประทานกับอาหารได้ แก้อาการบวมต่างๆ ลำต้นนำมาฝนทาแก้พิษสัตว์กัดต่อยได้ เมล็ดอ่อนของหางนกยูงฝรั่งนำมากินสดๆได้ สำหรับเมล็ดแก่ต้องนำมาทำให้สุกก่อน จึงจะใช้กินได้ เพราะมีสารประกอบบางชนิดในเมล็ดแก่ที่เป็นพิษ แต่จะถูกทำลายด้วยความร้อน ส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 15 Dec 23 08:24
คำสำคัญ:
ไม้ขุดล้อม
หางนกยูง