ค้นหาสินค้า

สารเสริมพลังไบโอนาโนฮิวมิค

ร้าน nanahumus
สารเสริมพลังไบโอนาโนฮิวมิค
สารเสริมพลังไบโอนาโนฮิวมิค
ชื่อสินค้า:

สารเสริมพลังไบโอนาโนฮิวมิค

รหัส:
155502
ราคา:
180.00 บาท
ติดต่อ:
คุณTavee Dachthasorn
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 9 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ฮิวมัส (humus)
เป็นภาษาละติน แปลว่าดิน(soil) คือสารอินทรีย์ในดินที่ทำให้ดินมีสีน้ำตาลหรือดำเนื่องจากมีปริมาณธาตุคาร์บอนในรูปของสารอินทรีนย์ในปริมาณที่สูงมาก
ในทางวิทยาศาสตร์เรื่องดิน ; ฮิวมัสหมายถึงอินทรีย์วัตถุใดๆก็ได้ที่เข้าสู่สภาวะเสถียรอยู่ตัวและจะไม่แตกตัวต่อไปอีก ถ้าสภาวะไม่เปลี่ยนแปลง จะยังคงสภาพเช่นนั้นตลอดไปเป็นร้อยๆปี
ในทางเกษตรกรรม ; ฮิวมัสเป็นคำที่ใช้กล่าวถึงปุ๋ยหมักที่ครบกำหนดหรือปุ๋ยหมักที่คัดแยกออกมาจากแหล่งที่เกิดขึ้นเองในป่าหรือแหล่งอื่นๆและใช้สำหรับเป็นวัตถุบำรุงดิน นอกจากนั้นฮิวมัสยังใช้กล่าวถึงผิวดินในแนวระนาบที่มีอินทรีย์วัตถุอยู่ด้วย(เช่นชนิดของฮิวมัส รูปแบบของฮิวมัส เรื่องโดยย่อของฮิวมัส เป็นต้น)
การเกิดฮิวมัส ( HUMIFICATION )
กระบวนการเกิดฮิวมัสสามารถเกิดตามธรรมชาติในดินหรือในการผลิตปุ๋ยหมักก็ได้ ฮิวมัสที่เสถียรตามคุณสมบัติทางเคมี เชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญในความอุดมสมบูรณ์ของดินทั้งในด้านฟิสิคซ์และเคมี แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจะมุ่งประเด็นส่วนใหญ่ไปในด้านการเป็นอาหารให้แก่พืชก็ตาม โดยทางกายภาพแล้วฮิวมัสช่วยให้ดินยังคงความชื้นและช่วยให้มีการก่อตัวของโครงสร้างดินที่ดี ทางด้านเคมี ฮิวมัสมีแหล่งสารออกฤทธิ์ซึ่งสามารถผนวกกับไอออนของธาตุอาหารพืชทำให้กลายเป็นธาตุอาหารพร้อมใช้ได้มากขึ้น ฮิวมัสจึงมักถูกเรียกว่าเป็นพลังชีวิตของดิน ถึงกระนั้นก็ดียังเป็นเรื่องยากที่จะให้นิยามที่ชัดเจนแก่คำว่าฮิวมัสนี้ได้ เนื่องจากเป็นสารที่มีความซับซ้อนสูง ธรรมชาติที่แท้จริงของสารนี้จึงยังคงเป็นเรื่องที่ยังไม่อาจเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ ในทางกายภาพฮิวมัสแตกต่างจากอินทรีย์วัตถุตรงที่อินทรีย์วัตถุเป็นสารที่มีลักษณะภายนอกหยาบ และมีเศษซากพืชให้ สังเกตเห็นได้ แต่เมื่อผ่านกระบวนการเกิดฮิวมัสอย่างเต็มที่แล้วก็จะกลายเป็นฮิวมัส สารที่มีรูปแบบอย่างเดียวกันมากขึ้น (เป็นสารสีเข้ม นุ่มคล้ายฟองน้ำ อ่อนตัวคล้ายวุ้น) และมีโครงสร้างไร้รูปแบบที่แน่นอน
ซากพืช(รวมทั้งที่ถูกสัตว์กินเข้าไปและถ่ายออกมาในรูปของมูลสัตว์ด้วย)จะประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ต่างๆดังนี้: น้ำตาล แป้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ลิกนิน(lignins) ขี้ผึ้ง(waxes) ยางไม้(resins) ไขมัน และกรดอินทรีย์ต่างๆ กระบวนการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์ในดินจะเริ่มด้วยการย่อยสลายของน้ำตาลและแป้งจากคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นการย่อยอย่างง่ายๆด้วยจุลินทรีย์(Saprothrophs)ชนิดที่ดำรงชีพ อยู่บนซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วเท่านั้น ส่วนเซลลูโลซ(cellulose) จะแตกตัวอย่างช้าๆมาก โปรตีนจะถูกย่อยสลายไปเป็นกรดอะมิโน(amino acid)ตามอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน(C/N ratio)ที่มีอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนกรดอินทรีย์หลายชนิดจะสลายตัวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ไขมัน ขี้ผึ้ง เรซินหรือยางไม้และลิกนินจะยังคงสภาพไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลาที่ยาวนานกว่า ฮิวมัสซึ่งเป็นผลผลิตสุดท้ายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการนี้ก็คือสารผสมระหว่างสารประกอบและสารเคมีเชิงซ้อนที่มีอยู่ตลอดชีวิตของ พืช สัตว์ หรือ ต้นกำเหนิดแห่งจุลชีพ ฮิวมัสยังทำหน้าที่และให้คุณประโยชน์มากมายในดิน ฮิวมัสที่ได้จากไส้เดือนดินหรือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินที่ครบกำหนดได้รับการพิจารณาว่าเป็นมูลอินทรีย์ที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน
การเกิดฮิวมัสจากเศษซากใบไม้และการเกิดสารเชิงซ้อนฮิวมัส-ดินเหนียว
(Humification of leaf litter and formation of clay-humus complexes)
ปุ๋ยหมักที่พร้อมจะย่อยสลายต่อไปได้อีกบางครั้งก็ถูกจัดว่าเป็นฮิวมัสที่มีประสิทธิภาพหรือสามารถออกฤทธิ์ได้แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะกล่าวว่ามันยังไม่เสถียรย่อมไม่ใช่ฮิวมัส ปุ๋ยหมักประเภทนี้โดยหลักการแล้วมีที่มาจากน้ำตาล แป้ง และโปรตีนและประกอบขึ้นด้วยกรดอินทรีย์ง่ายๆคือกรดฟุลวิค (Fulvic acid) ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของอาหารพืชชั้นเยี่ยมแต่มีคุณค่าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับโครงสร้างของดินระยะยาว ส่วนฮิวมัสที่เสถียรประกอบด้วยกรดฮิวมิค(humic acid)และฮิวมิน(humin) หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นสารที่ละลายได้ยาก(หรือถูกยึดติดอยู่อย่างเหนียวแน่นกับอนุภาคของดินเหนียวทำให้จุลินทรีย์ไม่อาจเข้าถึงได้)จึงมีความต้านทานต่อการย่อยสลายในลำดับขั้นต่อๆไป ดังนั้นฮิวมัสที่เสถียรแล้วจึงเป็นตัวเพิ่มธาตุอาหารพร้อมใช้ที่มีอยู่แล้วจำนวนเล็กน้อยให้แก่ดินแต่มีบทบาทสำคัญในการรักษโครงสร้างทางกายภาพของดิน ฮิวมัสเชิงซ้อนบางตัวที่เสถียรมากๆสามารถคงสภาพอยู่ได้นับพันๆปี ฮิวมัสที่เสถียรมักมีแหล่งกำเหนิดมาจากวัสดุที่เกิดจากพืชไม้เนื้อแข็งเช่น เซลลูโลส(cellulose)และลิกนิน(lignin) สัตว์ที่ช่วยเพิ่มเนื้อดินโดยทำหน้าที่ย่อยพืชที่กินเข้าไปแล้วแปรสภาพไปเป็นอินทรีย์วัตถุในลำไส้นั้นก็จัดเป็นตัวการสำคัญในการก่อฮิวมัส(humifiation)โดยทำงานร่วมกับราและแบคทีเรีย: ฮิวมัสส่วนใหญ่ในดินได้แก่มูลสัตว์ซึ่งอาจมีสีเข้มหรือจางเป็นไปตามปริมาณของอินทรีย์วัตถุที่มี
ประโยชน์ของฮิวมัส (Benefit of humus)
1. กระบวนการเกิดแร่ธาตุ (คือการเกิดสารอนินทรีย์จากสารอินทรีย์ตามธรรมชาติ) ทำให้อินทรีย์วัตถุแปลสภาพไปเป็นสารที่เสถียรมากขึ้นกว่าเดิมคือฮิวมัส ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นอาหารเลี้ยงบรรดาสิ่งที่มีชัวิตทั้งหลายในดินตั้งแต่จุลินทรีย์ไปจนถึงสัตว์เล็กอื่นๆที่อาศัยอยู่ ดังนั้นจึงเป็นการรักษาอายุของดินให้อยู่ในระดับที่สมบูรณ์เต็มที่
2. อัตราการเปลี่ยนอินทรีย์วัตถุไปเป็นฮิวมัสถ้าดำเนินไปอย่างรวดเร็วก็จะเกื้อประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันของ พืช และสัตว์รวมทั้งจุลินทรีย์ตามระบบนิเวศวิทยาของโลกในทำนองกลับกันถ้าอัตราการเปลี่ยนนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้าประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันดังกล่าวก็จะลดลง
3. อิวมัสที่มีประสิทธิภาพ และเสถียร ทำหน้าที่เป็นแหล่งอาหารเพื่อการดำรงชีพต่อไปของจุลินทรีย์ ประสิทธิภาพของฮิวมัสคือการเป็นอาหารพร้อมใช้ ส่วนความเสถียรของฮิวมัสคือการเป็นแหล่งอาหารสำรองระยะยาว
4. การเกิดฮิวมัสจากวัสดุที่ได้จากพืชที่ตายแล้วทำให้สารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อนที่เกิดขึ้นถูกย่อยสลายหรือแตกตัวไปเป็นสารอินทรีย์พร้อมใช้ในรูปแบบที่ง่ายต่อการดูดซึมผ่านรากพืชที่กำลังจะเจริญเติบโต
5. ฮิวมัสเป็นสารประเภทคอลลอยด์(คือสสารในสถานะต่างๆที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กมาก--เป็นอนุภาคที่มีขนาดตั้งแต่ 1ถึง100 นาโนเมตร—ซึ่งจะสามารถแขวนลอยในน้ำและเป็นเนื้อเดียวกัน เช่นน้ำนมเป็นต้น(จากพจนานุกรมอักฤษ-ไทย Se-Ed New Compact English DictionaryMillennium2000Edition, และTaber’sCylopedic Medical Dictionary)และฮิวมัสจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแลกเปลี่ยนไอออนที่มีประจุบวก(Cation)จึงทำให้ไอออนดังกล่าวมีความสามารถในการเก็บอาหารโดยวิธียึดธาตุอาหารติดไว้กับตัวมันเช่นเดียวกับที่อณุภาคของดินเหนียวจะพึงกระทำ ดังนั้นในขณะที่พวกไอออนประจุบวกที่มีธาตุอาหารเหล่านี้หาทางเข้าสู่พืชได้ก็จะยังสามารถอยู่ในดินได้อย่างปลอดภัยจากการชะล้างด้วยน้ำฝนหรือการชลประทาน
6. ฮิวมัสสามารถรักษาคุณสมบัติให้มีความชื้นคงที่อยู่ที่80-90% ได้ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มศักย์ภาพให้ทนต่อสภาวะแห้งแล้งได้
7. ด้วยโครงสร้างทางชีวะเคมีทำให้ฮิวมัสสามารถรักษาความเป็นกลาง---หรือเป็นตัวกันชน---ช่วยลดความเป็นกรดด่างที่มากเกินในดินได้
8. ระหว่างที่มีการเกิดฮิวมัส จุลินทรีย์ จะหลั่งสารที่มีลักษณะเป็นยางเหนียวซึ่งช่วยให้โครงสร้างของดินที่กระจายตัวยึดอนุภาคต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้ดินร่วนและโปร่งอากาศ สารพิษเช่นธาตุโลหะหนักต่างๆ และธาตุอาหารที่มากเกินใช้ของพืชจะถูกกันไม่ให้เกิดพิษร้ายหรือออกฤทธิ์ได้โดยวิธีผนวกเข้ากับโมเลกุลสารอินทรีย์เชิงซ้อนของฮิวมัสและขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันไม่ให้สารดังกล่าวแพร่เข้าสู่ระบบนิเวศที่กว้างออกไปกว่าเดิม
9. สารสีเข้มของฮิวมัส(โดยปกติจะมีสีดำหรือน้ำตาลดำ)ช่วยให้ดินอุ่นขึ้นในฤดูใบไม้ผลิ
เอกสารอ้างอิง:
HUMUS: 2008/9 Schools Wikipedia Slection. Related subjects :Geology and geophysics
Retrieved from “ http://en. Wikipedia.org/wiki/Humus”
ติดต่อ 082 617 4954 แก้ไขข้อมูลเมื่อ 27 Feb 12 10:43
คำสำคัญ: ฮิวมิค