ชื่อสินค้า:
ตรีชวา
รหัส:
150517
ประเภท:
ราคา:
200.00 บาท
/ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 3 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นตรีชวา ขายต้นตรีชวา ต้นปลูก ความสูง 30-60 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุง ส่งสินค้าแบบอีเอมเอส ค่าส่งต้นไม้ 1-4 ต้น/กล่อง/ ค่าส่ง100 บาท
ต้นตรีขวา
ชื่อพื้นเมือง : ตรีชวา (ทั่วไป) ; หางกระรอก, หางแมว (กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum (L.) Moon var. wallichii C.B.Clarke
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะ
ต้น : ไม้พุ่มสูง ประมาณ 0.5 - 1 เมตร
ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปรี กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 - 8 ซม. ปลายและโคนแหลม
ดอก : สีขาวหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีใบประดับรูปหัวใจ สีขาวลายเขียว 3 ใบ กลีบดอกเป็นหลอดเล็กปลายแยกเป็น 2 ส่วน
ผล : กลมเล็กเมื่อแก่แตกได้
การขยายพันธุ์ ปักชำ
ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร : ปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : นำไปบูชาพระ
สรรพคุณทางยาเคยเห็นตำรับยาที่เข้าดอกตรีชวาร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นใช้แก้โรคเกี่ยวกับปอดและกระดูก
รามเกียรติ์
๏ ซึ่งพระน้องต้องหอกอสุรินทร์
ยังไม่สิ้นชีวังสังขาร์
แม้นได้สังกรณีตรีชวา
กับปัญจมหานที
ประสมเป็นโอสถบดพอก
ให้แก้หอกโมกขศักดิ์ยักษี
พระลักษมณ์ก็จะคืนสมประดี
ภูมีจงดำริตริการ ฯ
รัชกาลที่ ๑
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
เป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่า เรื่องราวของรามเกียรติ์ที่ถูกสลัก
อยู่บนกำแพงวัดพระแก้วซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของไทย
รวมทั้งปรากฏอยู่ในตำราสมัยมัธยมของผู้อ่านหลายท่านในที่นี้
ถูกดัดแปลงมาจาก ‘รามายณะ’ มหากาพย์ที่เป็นวรรณคดีอันยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดีย
(ดังนั้นก็อย่าได้ว่ากล่าวเด็กสมัยนี้เลย ว่าพากันไปคลั่งญี่ปุ่นเกาหลี
ในเมื่อแต่ก่อนแต่ไร คนไทยเราก็เคยคลั่งอินเดีย ขอม พม่า มาแต่โบราณนานนัก)
รามเกียรติ์ในบทที่ยกมาข้างต้น เป็นตอนที่พระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์
ของกุมภกรรณแล้วล้มลงแต่ยังไม่ตาย พิเภกยักษาเข้ามาดูอาการแล้วแถลงไขแก่พระรามว่า
หอกนี้มียาแก้พิษคือต้นสังกรณีตรีชวา และน้ำจากปัญจมหานที
ให้รีบนำมารักษาก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น งานนี้ไม่พ้นหนุมานชาญสมร
ต้องไปห้ามล้อพระอาทิตย์แล้วโลดโผนโจนทะยานไปยังเขาสรรพยา
เพื่อจะไปเด็ดเอาสังกรณีตรีชวามาให้ทันการ ในวรรณคดีนั้น
สังกรณีและตรีชวามีฤทธิ์มาก หลอกล่อหนุมานเสียหัวหมุนดังคำบรรยาย
๏ ครั้นถึงสรรพยาสิงขร วานรลงเดินริมเนินผา
ร้องเรียกสังกรณีตรีชวา อยู่ไหนออกมาอย่าช้าที
ได้ยินขานข้างล่างลงไปค้น กลับขึ้นไปกู่อยู่บนคิรีศรี
จึงเอาหางกระหวัดรัดคิรี มือกระบี่คอยจับสรรพยา ฯ
นั่นคือพอหนุมานร้องเรียกหาพืชทั้งสองชนิดนี้ สังกรณีและตรีชวา
ก็พากันขานรับอยู่ด้านล่างเขา หนุมานรีบกระโจนลงไปตีนเขาร้องหาอีกครั้ง
สังกรณีและตรีชวาก็กลับไปขานรับอยู่บนยอดเขา
หนุมานโกรธก็หักกลางเขาแล้วแบกเหาะไปด้วยกันทั้งหมด
(มีอำเภอหนึ่งในจังหวัดชัยนาทชื่อว่าอำเภอสรรพยา มีสถานที่ท่องเที่ยวคือบึงสรรพยา
ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าเป็นนิทานให้หลานฟังว่า เดิมเขาสรรพยาก็อยู่บริเวณนี้
แต่ถูกหนุมานแบกไป และบึงที่หนุมานแวะดื่มน้ำก็กลายเป็นบึงสรรพยานี้เอง)
ฟังตำนานแล้วคุณผู้อ่านคงเริ่มสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องสังกรณีและตรีชวาขึ้นมาบ้าง
แต่คุณผู้เขียนก็มิได้ตอบแทนน้ำใจเสียทั้งหมด วันนี้เห็นทีจะขอเอ่ยถึงตรีชวาแต่ต้นเดียว
(ใครรักใครชอบสังกรณีอย่าน้อยใจไป วันหลังค่อยว่ากันใหม่)
ตรีชวามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Justica betonica L. มีชื่อสามัญว่า White shrimp plant
(คนไทยเราตั้งชื่อ เห็นรูปดอกใบรวมกันเป็นช่อเรียวปลายแหลม มองเห็นเป็นตรีชวาก็เข้าทีอยู่
ส่วนฝรั่งที่ตั้งชื่อ ขณะมาเห็นคงกำลังหูตาลายด้วยความหิว จึงเห็นตรีชวาของไทยเราเป็นกุ้งตัวขาวๆ
ข้อนี้ใครตั้งได้สมจริงกว่ากันก็ขอละไว้อีกครั้ง)
ตรีชวาอยู่ในวงศ์ ACANTACEAE มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
ใบเดี่ยวออกดอกตรงข้ามรูปรี ดอกช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก
แต่ละดอกมีใบประดับรูปหัวใจ รวมกันกับใบอยู่ตรงปลายยอด
ตำราหลายแห่งบอกไว้ไม่ตรงกัน บ้างก็บอกชัด
ว่าตรีชวาหาได้มีฤทธิ์รักษาโรคใดๆอย่างที่ปรากฏในรามเกียรติ์ไม่
แต่ทั้งนี้ก็ปรากฏรายงานวิจัยอยู่บ้าง ว่าส่วนเหนือดินของตรีชวา
มีสารประกอบพวก Triterpenoid glycosides
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า สารนี้มีคุณสมบัติในการลดรอยแผลเป็น
มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ และลดการอักเสบที่ผิวหนัง
เหลือแต่ว่าจะทำการสกัดออกมาจากตรีชวาเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างไรเท่านั้น
ข้อนี้หนุมานรู้ดีที่สุด ว่าตรีชวานั้นเล่นตัวขนาดไหน
จะนำมาใช้งานสักครั้ง ถึงกับต้องแบกเขาทั้งลูกก็ทำมาแล้ว
ที่มาhttp://www.magnoliathailand.com/webboard/index.phptopic=3666.0
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 28 Sep 20 05:16
ต้นตรีขวา
ชื่อพื้นเมือง : ตรีชวา (ทั่วไป) ; หางกระรอก, หางแมว (กลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum serratum (L.) Moon var. wallichii C.B.Clarke
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะ
ต้น : ไม้พุ่มสูง ประมาณ 0.5 - 1 เมตร
ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามรูปรี กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 - 8 ซม. ปลายและโคนแหลม
ดอก : สีขาวหรือม่วงอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง แต่ละดอกมีใบประดับรูปหัวใจ สีขาวลายเขียว 3 ใบ กลีบดอกเป็นหลอดเล็กปลายแยกเป็น 2 ส่วน
ผล : กลมเล็กเมื่อแก่แตกได้
การขยายพันธุ์ ปักชำ
ประโยชน์
ข้อมูลจากเอกสาร : ปลูกเป็นไม้ประดับตามอาคารบ้านเรือน
ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : นำไปบูชาพระ
สรรพคุณทางยาเคยเห็นตำรับยาที่เข้าดอกตรีชวาร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นใช้แก้โรคเกี่ยวกับปอดและกระดูก
รามเกียรติ์
๏ ซึ่งพระน้องต้องหอกอสุรินทร์
ยังไม่สิ้นชีวังสังขาร์
แม้นได้สังกรณีตรีชวา
กับปัญจมหานที
ประสมเป็นโอสถบดพอก
ให้แก้หอกโมกขศักดิ์ยักษี
พระลักษมณ์ก็จะคืนสมประดี
ภูมีจงดำริตริการ ฯ
รัชกาลที่ ๑
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
เป็นเรื่องที่ทราบกันดีว่า เรื่องราวของรามเกียรติ์ที่ถูกสลัก
อยู่บนกำแพงวัดพระแก้วซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของไทย
รวมทั้งปรากฏอยู่ในตำราสมัยมัธยมของผู้อ่านหลายท่านในที่นี้
ถูกดัดแปลงมาจาก ‘รามายณะ’ มหากาพย์ที่เป็นวรรณคดีอันยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดีย
(ดังนั้นก็อย่าได้ว่ากล่าวเด็กสมัยนี้เลย ว่าพากันไปคลั่งญี่ปุ่นเกาหลี
ในเมื่อแต่ก่อนแต่ไร คนไทยเราก็เคยคลั่งอินเดีย ขอม พม่า มาแต่โบราณนานนัก)
รามเกียรติ์ในบทที่ยกมาข้างต้น เป็นตอนที่พระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์
ของกุมภกรรณแล้วล้มลงแต่ยังไม่ตาย พิเภกยักษาเข้ามาดูอาการแล้วแถลงไขแก่พระรามว่า
หอกนี้มียาแก้พิษคือต้นสังกรณีตรีชวา และน้ำจากปัญจมหานที
ให้รีบนำมารักษาก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น งานนี้ไม่พ้นหนุมานชาญสมร
ต้องไปห้ามล้อพระอาทิตย์แล้วโลดโผนโจนทะยานไปยังเขาสรรพยา
เพื่อจะไปเด็ดเอาสังกรณีตรีชวามาให้ทันการ ในวรรณคดีนั้น
สังกรณีและตรีชวามีฤทธิ์มาก หลอกล่อหนุมานเสียหัวหมุนดังคำบรรยาย
๏ ครั้นถึงสรรพยาสิงขร วานรลงเดินริมเนินผา
ร้องเรียกสังกรณีตรีชวา อยู่ไหนออกมาอย่าช้าที
ได้ยินขานข้างล่างลงไปค้น กลับขึ้นไปกู่อยู่บนคิรีศรี
จึงเอาหางกระหวัดรัดคิรี มือกระบี่คอยจับสรรพยา ฯ
นั่นคือพอหนุมานร้องเรียกหาพืชทั้งสองชนิดนี้ สังกรณีและตรีชวา
ก็พากันขานรับอยู่ด้านล่างเขา หนุมานรีบกระโจนลงไปตีนเขาร้องหาอีกครั้ง
สังกรณีและตรีชวาก็กลับไปขานรับอยู่บนยอดเขา
หนุมานโกรธก็หักกลางเขาแล้วแบกเหาะไปด้วยกันทั้งหมด
(มีอำเภอหนึ่งในจังหวัดชัยนาทชื่อว่าอำเภอสรรพยา มีสถานที่ท่องเที่ยวคือบึงสรรพยา
ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าเป็นนิทานให้หลานฟังว่า เดิมเขาสรรพยาก็อยู่บริเวณนี้
แต่ถูกหนุมานแบกไป และบึงที่หนุมานแวะดื่มน้ำก็กลายเป็นบึงสรรพยานี้เอง)
ฟังตำนานแล้วคุณผู้อ่านคงเริ่มสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องสังกรณีและตรีชวาขึ้นมาบ้าง
แต่คุณผู้เขียนก็มิได้ตอบแทนน้ำใจเสียทั้งหมด วันนี้เห็นทีจะขอเอ่ยถึงตรีชวาแต่ต้นเดียว
(ใครรักใครชอบสังกรณีอย่าน้อยใจไป วันหลังค่อยว่ากันใหม่)
ตรีชวามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Justica betonica L. มีชื่อสามัญว่า White shrimp plant
(คนไทยเราตั้งชื่อ เห็นรูปดอกใบรวมกันเป็นช่อเรียวปลายแหลม มองเห็นเป็นตรีชวาก็เข้าทีอยู่
ส่วนฝรั่งที่ตั้งชื่อ ขณะมาเห็นคงกำลังหูตาลายด้วยความหิว จึงเห็นตรีชวาของไทยเราเป็นกุ้งตัวขาวๆ
ข้อนี้ใครตั้งได้สมจริงกว่ากันก็ขอละไว้อีกครั้ง)
ตรีชวาอยู่ในวงศ์ ACANTACEAE มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก
ใบเดี่ยวออกดอกตรงข้ามรูปรี ดอกช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก
แต่ละดอกมีใบประดับรูปหัวใจ รวมกันกับใบอยู่ตรงปลายยอด
ตำราหลายแห่งบอกไว้ไม่ตรงกัน บ้างก็บอกชัด
ว่าตรีชวาหาได้มีฤทธิ์รักษาโรคใดๆอย่างที่ปรากฏในรามเกียรติ์ไม่
แต่ทั้งนี้ก็ปรากฏรายงานวิจัยอยู่บ้าง ว่าส่วนเหนือดินของตรีชวา
มีสารประกอบพวก Triterpenoid glycosides
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า สารนี้มีคุณสมบัติในการลดรอยแผลเป็น
มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล เร่งการสร้างเนื้อเยื่อ และลดการอักเสบที่ผิวหนัง
เหลือแต่ว่าจะทำการสกัดออกมาจากตรีชวาเพื่อใช้ประโยชน์ได้อย่างไรเท่านั้น
ข้อนี้หนุมานรู้ดีที่สุด ว่าตรีชวานั้นเล่นตัวขนาดไหน
จะนำมาใช้งานสักครั้ง ถึงกับต้องแบกเขาทั้งลูกก็ทำมาแล้ว
ที่มาhttp://www.magnoliathailand.com/webboard/index.phptopic=3666.0
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 28 Sep 20 05:16
คำสำคัญ:
ตรีชวา
พันธุ์ไม้หายาก