ชื่อสินค้า:
มะพลับ
รหัส:
150509
ประเภท:
ราคา:
150.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปฐมา เดชะ (ชื่อเล่น นาย)
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 9 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
มะพลับ จำหน่ายต้นละ 150 บาท ขนาดตามในภาพค่ะ
เชิญอ่านข้อมูลของต้นมะพลับค่ะ
คติความเชื่อ
มะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ (ทักษิณ) ตามโบราณเชื่อกันว่าการปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น
ชื่อพื้นเมือง
มะพลับ, ม่ากาลับตอง, ม่ากับต๋อง(เชียงราย) พลับ,มาสูละ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Diospyros areolata King & Gamble.
วงศ์
EBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะพลับเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลปนเขียวอ่อน หรือปนดำ
1. ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ตัวใบรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-20 ซม. โคนใบโค้งมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวทู่ เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน หรือมีขนประปรายบ้างตามเส้นกลางใบด้านล่าง เส้นใบมี 6-12 คู่ แต่ละเส้นคดงอไปมา พอมองเห็นทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. มีขนประปราย
2. ดอก มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. มีขนหนาแน่น ดอกเพศเมียมักออกเดี่ยวๆ ตามกิ่งเล็กๆ ก้านดอกยาว 5-10 มม. มีขนคลุมแน่น
3. ผล กลมหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ผลแก่ค่อนข้างนุ่ม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดงคลุม เกล็ดเหล่านี้หลุดง่าย กลีบจุกผลแต่ละกลีบเกือบไม่ติดกัน เกลี้ยงหรืออาจมีขนบ้างทั้งสองด้าน กลีบส่วนมากจะพับกลับ มีบ้างที่แผ่กางออก ขอบกลีบมักเป็นคลื่น ไม่มีเส้นลายกลีบ
การปลูก
พบขึ้นตามป่าดงดิบ และตามบริเวณป่าชายเลน เหนือระดับน้ำทะเล 2-30 เมตร ทางภาคใต้ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกต้น เนื้อไม้
รสและสรรพคุณ
ตามตำรายาไทยกล่าวว่า เปลือกต้นและเนื้อไม้มีรสฝาดมีสรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง ขับผายลม แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด
ขนาดและวิธีใช้
1. บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ใช้เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม
2. แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด นำเปลือกต้นและเนื้อไม้ ย่างไฟให้กรอบ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ชงดื่ม
ประโยชน์อื่น
ยางของลูกมะพลับนำมาละลายน้ำใช้ย้อมแหและอวน เพื่อให้ทนทานเช่นเดียวกับตะโกแต่ยางของลูกมะพลับใช้ได้ดีกว่ามาก เพราะไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบเหมือนผลตะโก จึงทำให้ยางของมะพลับมีราคาดีกว่าตะโกมาก จึงมีพ่อค้าหัวใสนำยางของผลตะโกปลอมขายเป็นยางมะพลับจึงได้เกิดมีคำพังเพยว่า “ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก”
ที่มา เวปของสถาบันการแพทย์แผนไทย
http://ittm.dtam.moph.go.th/data_articles/direct_tree/directtree03.htm แก้ไขข้อมูลเมื่อ 24 Nov 11 04:34
เชิญอ่านข้อมูลของต้นมะพลับค่ะ
คติความเชื่อ
มะพลับเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งของคนไทย กำหนดปลูกไว้ทางทิศใต้ (ทักษิณ) ตามโบราณเชื่อกันว่าการปลูกต้นมะพลับในบริเวณบ้านจะทำให้ร่ำรวยยิ่งขึ้น
ชื่อพื้นเมือง
มะพลับ, ม่ากาลับตอง, ม่ากับต๋อง(เชียงราย) พลับ,มาสูละ
ชื่อวิทยาศาสตร์
Diospyros areolata King & Gamble.
วงศ์
EBENACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะพลับเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาลปนเขียวอ่อน หรือปนดำ
1. ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ตัวใบรูปขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-20 ซม. โคนใบโค้งมน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวทู่ เนื้อใบหนา ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน หรือมีขนประปรายบ้างตามเส้นกลางใบด้านล่าง เส้นใบมี 6-12 คู่ แต่ละเส้นคดงอไปมา พอมองเห็นทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. มีขนประปราย
2. ดอก มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างกัน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ก้านดอกยาวประมาณ 2 มม. มีขนหนาแน่น ดอกเพศเมียมักออกเดี่ยวๆ ตามกิ่งเล็กๆ ก้านดอกยาว 5-10 มม. มีขนคลุมแน่น
3. ผล กลมหรือค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ผลแก่ค่อนข้างนุ่ม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดงคลุม เกล็ดเหล่านี้หลุดง่าย กลีบจุกผลแต่ละกลีบเกือบไม่ติดกัน เกลี้ยงหรืออาจมีขนบ้างทั้งสองด้าน กลีบส่วนมากจะพับกลับ มีบ้างที่แผ่กางออก ขอบกลีบมักเป็นคลื่น ไม่มีเส้นลายกลีบ
การปลูก
พบขึ้นตามป่าดงดิบ และตามบริเวณป่าชายเลน เหนือระดับน้ำทะเล 2-30 เมตร ทางภาคใต้ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา เปลือกต้น เนื้อไม้
รสและสรรพคุณ
ตามตำรายาไทยกล่าวว่า เปลือกต้นและเนื้อไม้มีรสฝาดมีสรรพคุณ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้ท้องร่วง ขับผายลม แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด
ขนาดและวิธีใช้
1. บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ใช้เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม
2. แก้กามตายด้าน บำรุงความกำหนัด นำเปลือกต้นและเนื้อไม้ ย่างไฟให้กรอบ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ชงดื่ม
ประโยชน์อื่น
ยางของลูกมะพลับนำมาละลายน้ำใช้ย้อมแหและอวน เพื่อให้ทนทานเช่นเดียวกับตะโกแต่ยางของลูกมะพลับใช้ได้ดีกว่ามาก เพราะไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบเหมือนผลตะโก จึงทำให้ยางของมะพลับมีราคาดีกว่าตะโกมาก จึงมีพ่อค้าหัวใสนำยางของผลตะโกปลอมขายเป็นยางมะพลับจึงได้เกิดมีคำพังเพยว่า “ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก”
ที่มา เวปของสถาบันการแพทย์แผนไทย
http://ittm.dtam.moph.go.th/data_articles/direct_tree/directtree03.htm แก้ไขข้อมูลเมื่อ 24 Nov 11 04:34
คำสำคัญ:
มะพลับ