ค้นหาสินค้า

ชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดหนอน(ดื้อยา) "บาร์ท๊อป"

ร้าน ภควัตเพื่อนเกษตร
ชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดหนอน(ดื้อยา) "บาร์ท๊อป"
ชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดหนอน(ดื้อยา) "บาร์ท๊อป"
ชื่อสินค้า:

ชีวภัณฑ์ป้องกันและกำจัดหนอน(ดื้อยา) "บาร์ท๊อป"

รหัส:
138369
ราคา:
150.00 บาท
ติดต่อ:
คุณบริษัท ภควัตเพื่อนเกษตร จำกัด
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ
ร้านนี้แจ้งเลขทะเบียนพานิชย์แล้ว เปิดร้านมาแล้ว 14 ปี 1 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชีวภัณฑ์(ปลอดสารพิษ)ป้องกันและกำจัดหนอน(ดื้อยา)และแมลงศัตรูพืช บาร์ท๊อป
สามารถใช้ได้กับการปลูกพืชปลอดสารพิษ หรือ พืชอินทรีย์
ขนาดบรรจุ : 250 กรัม

คุณสมบัติ : ใช้ในการกำจัดหนอนศัตรูพืชของพืชเศรษฐกิจ,ไม้ผล,ผัก,ข้าว : หนอนเจาะสมอฝ้าย หรือหนอนเจาะผลมะเขือเทศ หนอนกินใบสัก,หนอนหญ้าแมวในปาล์มน้ำมัน,หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอมในผักต่าง ๆ ,หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน ,หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ ,หนอนแปะใบส้ม และ หนอนม้วนใบข้าว
วิธีใช้งานและอัตราการผสม : ฉีดพ่นเมื่อพบการระบาดใช้ บาร์ท๊อป อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 3-5 วัน ซ้ำ 2-3 ครั้ง
วิธีเพิ่มประสิทธิภาพการใช้บาร์ท๊อป
1. บาร์ท๊อปอยู่ในรูปผงละเอียด เมื่อนำมาละลายน้ำ ไม่ควรผสมบาร์ท๊อปกับน้ำในถังโดยตรงแต่ควรแบ่งใส่ในน้ำจำนวน 1-2 ลิตรโดยผสมกับไข่, น้ำมะพร้าว หรือนมข้นหวาน กวนผสมให้เนื้อสารเข้ากันให้ดี แล้วตีฟอง หมักและทิ้งไว้ประมาณ 5-8 ชั่วโมง จึงนำไปใช้ผสมกับน้ำส่วนที่เหลือ จากนั้นจึงเทลงในถังเครื่องพ่นสาร

2. ฉีดพ่นเปียกชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำ เพื่อให้หนอนสามารถกินเชื้อบีทีที่ขยายออกมาได้มากเท่าที่จะมากได้
3. การเปลี่ยนแปลงในหนอน วัน แรกไม่พบหนอนตาย แต่เริ่มเชื่องช้าลง วันที่ 2 หนอนเล็กๆเริ่มตายมาก วันที่ 3-4 หนอนตายเกือบหมด ยกเว้นหนอนตัวโต ๆ แบบหนอนหนังเหนียวตัวใหญ่ แต่หยุดการกินอาหารไม่ทำลายพืชอีก ตามรายงานหนอนจะไม่กลับมารบกวนอีกนับ 20 วันขึ้นไป
4. เมื่อเปิดใช้แล้ว ส่วนที่เหลือให้มัดปากถุงให้สนิท เก็บไว้ในที่ร่ม อากาศเย็น และควรใช้ให้หมดหลังจากเปิด ไม่เกิน 60 วัน
5. การใช้ บาร์ท๊อป ควรผสมสารจับใบ / สารเสริมฤทธิ์ด้วยทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ฉีดพ่นในพืชตระกูลกะหล่ำปลี คะน้า ซึ่งมีลักษณะใบเป็นมัน สารจับใบจะช่วยให้แบคทีเรียบาร์ท๊อปเคลือบคลุมผิวใบให้ทั่วใบได้ดีขึ้น และช่วยลดการชะล้างของน้ำฝนหรือน้ำที่รดแปลงต่อบาร์ท๊อปที่พ่นไว้บนพืช
6. ควรศึกษาอุปนิสัยของแมลงศัตรูพืชว่าลงทำลายและอาศัยกัดกินอยู่บริเวณส่วนใดของพืช ตัวอย่างเช่น กะหล่ำปลี จะมีหนอนใยผักและหนอนคืบกะหล่ำปลี ซึ่งอาศัยกัดกินอยู่ทางด้านล่างของใบกะหล่ำปลี ดังนั้น การพ่นบนพืชตระกูลกะหล่ำ ควรเอียงหัวฉีดเข้าทางด้านล่างของใบเพื่อให้ละอองของสารลงสู่ส่วนล่างของใบซึ่งเป็นแหล่งที่หนอนใยผักและหนอนคืบกะหล่ำปลีกัดกินอยู่ สำหรับหนอนที่หลบอยู่ในที่อับ เช่น หนอนเจาะผล,หนอนด้วงมะพร้าว,หนอนหญ้าแมวในปาล์มน้ำมัน,หนอนม้วนใบ,หนอนเจาะสมอฝ้าย แนะนำให้ผสมบาร์ท๊อป กับสารล่อ(นมข้นหวาน,น้ำมะพร้าว)ก่อนการฉีดพ่นทุกครั้ง เพื่อให้หนอนศัตรูเป้าหมายออกมากิน ทำให้ได้ประสิทธิภาพในการกำจัดมากขึ้น
7. การฉีดพ่นแบคทีเรียบาร์ท๊อปละอองขนาดใหญ่เกินไปจะทำให้สารไหลลงดินเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงควรปรับขนาดละอองของหัวฉีดเครื่องพ่นสารให้มีละอองเล็กที่สุด จะทำให้ละอองจับผิวใบได้ดีกว่า ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดการสิ้นเปลือง
8. ควรหลีกเลี่ยงการพ่นบาร์ท๊อปในขณะแสงแดดจัดในช่วง 10.00 น. ถึง 15.00 น. หลังจากเวลา 15.00 น.ไปแล้วเป็นช่วงที่เหมาะสม จะช่วยให้แบคทีเรียบาร์ท๊อปคงอยู่บนต้นพืชได้นานขึ้น
9. ควรใช้บาร์ท๊อปตามอัตราที่แนะนำบนฉลาก การใช้บาร์ท๊อปต่ำกว่าอัตราที่ได้แนะนำเอาไว้ พืชผักอาจได้รับความเสียหาย บางครั้งพบว่าการใช้อัตราต่ำไม่สามารถกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงได้หรือใช้ในอัตราสูงมากเกินไป ทำให้สิ้นเปลืองโดยไม่มีผลดีต่อการกำจัดศัตรูพืชมากขึ้นควรหมั่นตรวจตราดูแปลงปลูกพืช โดยเดินสำรวจและพลิกใบเพื่อดูชนิดหนอนที่ลงทำลาย ยกตัวอย่างเช่น หนอนใยผักเป็นต้น การป้องกันกำจัดที่ให้ผลดีควรจะเริ่มทำในระยะแรกที่พบหนอนขนาดตัวเล็ก ๆ ที่เพิ่งฟักออกจากไข่ โดยสังเกตดูจากจำนวนของแม่ผีเสื้อ หมั่นตรวจดูให้คุ้นเคยกับรูปร่างลักษณะของไข่หนอนใยผัก การใช้บาร์ท๊อปกับหนอนใยผักที่มีขนาดตัวโตมักจะได้ผลไม่เต็มที่นัก ต้องเพิ่มปริมาณสารทำให้สิ้นเปลืองเพิ่มขึ้น ในกะหล่ำปลี ถ้าสามารถสุ่มนับจำนวนของหนอนใยผักได้ในแปลงขนาด 1-3 ไร่ สุ่มนับให้ทั่วแปลง
- ในกะหล่ำปลี 10-20 ต้น ถ้าพบหนอนใยผักในระยะที่กะหล่ำก่อนเข้าปลีเฉลี่ยเกิน 3 ตัวต่อต้น ให้ฉีดพ่น บาร์ท๊อป อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 5-7 วัน
- การพ่นบาร์ท๊อปในแหล่งที่มีการระบาดของหนอนใยผักไม่รุนแรงควรพ่นสัปดาห์ละครั้งในแหล่งที่พบการระบาดอยู่เป็นประจำ เช่น แหล่งปลูกผักที่ราบภาคกลาง การใช้บาร์ท๊อปควรพ่นทุก 3-5 วัน เมื่อปริมาณหนอนเพิ่มถึงจำนวนที่กำหนดเอาไว้ในช่วงหน้าแล้งในท้องที่ภาคกลาง พบว่าถ้ามีการระบาดของหนอนใยผักจะต้องลดช่วงพ่นบาร์ท๊อปลงมาเป็น 4 วันต่อครั้ง จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตผักให้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อฝ่ายบริการฯ โทร 08-4154-4858
หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ http://www.phkaset.com แก้ไขข้อมูลเมื่อ 06 Oct 15 07:01