ชื่อสินค้า:
ซิงค์คีเลท 75%
รหัส:
133564
ประเภท:
ราคา:
250.00 บาท
ติดต่อ:
คุณชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ที่อยู่ร้าน:
เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์
เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 7 เดือน
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
กลุ่มผลิตภัณฑ์: ผลิตภัณฑ์บำรุงรักษาต้นไม้
ราคาต่อหน่วย: 250 บาท
ค่าขนส่ง: 80 บาท
รายละเอียด :
ป้องกันพืชไม่ให้มีการแพ้แดด ทำให้พืชมีความต้านทานต่อ แสงแดด ป้องกันการเกิดรอยไหม้จากแดด พืชทนทานต่อ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของโปแตสเซียม ทำให้ผลไม้มีการสร้าง น้ำตาลดีขึ้น ผลไม้มีรสชาติหวาน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต เป็นตัวกระตุ้นทำให้พืชสะสมอาหาร
ธาตุอาหารสำหรับพืช
สังกะสี เป็นจุลธาตุที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ฮอร์โมนพืชในกลุ่มของออกซิน ( auxin) ปกติพืชดูดเอาธาตุสังกะสีจากดินได้ต่ำมาก เพราะการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มากเกินไป ทำให้พืชดูดธาตุสังกะสีได้ยากขึ้น ในสภาพดินด่าง หรือพีเอชสูงสังกะสีจะไม่ละลายน้ำ เมื่อทำปฏิกิริยากันจึงตกตะกอนในดินพืชดูดไม่ได้ เพื่อแก้ปัญหาจึงมีการเติมสารอินทรีย์บางชนิด เรียกว่า สารคีเลท ซึ่งจะไปรวมตัวกับ สังกะสี เกิดเป็นสารประกอบ “ซิงค์75%+คีเลท” และจะค่อยๆปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้ทีละน้อย การได้รับสังกะสีอย่างเพียงพอจะเหมือนเป็น แพลนแบลงเก็ต คือ เป็นผ้าห่มของพืช
ซิงค์75%+คีเลท ประกอบด้วย สังกะสี 75% และ สารคีเลท 25 %
คุณสมบัติ
ทำหน้าที่สังเคราะห์ทริปโตเฟน (tryptophane) ซึ่งเป็นสารหลักในการสร้างฮอร์โมนออกซิน (auxin) เช่น แนพทินอะซิติก แอซิค หรือ NAA กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนในพืช ส่งผลทางอ้อมในการสร้างเม็ดสีเขียว
อาการพืชขาดสังกะสี
มีใบขนาดเล็ก (little leaf) แคระแกรน ข้อปล้องสั้นไม่ขยาย ใบเป็นกระจุก (rosette) ใบอ่อนและใบอยู่ใกล้ยอดจะลีบ ปลายรากไม่เจริญ เพราะขาดออกซิน ไม่ทนต่อสภาวะแดดร้อน-หนาวจัด ใน ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ และ ไม้ผล เช่น ส้ม มะนาว ทุเรียน เป็นต้น ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ ขอบใบเขียวแผ่นใบซีด เซลล์แห้งตายเป็นจุด ใบส้ม เรียกว่า “ โรคใบแก้ว ”
ความสำคัญของซิงค์75%+คีเลท
• ทำให้ขั้วดอก-ขั้วผลเหนียว ป้องกันดอกและผลร่วง อันเนื่องมาจากสภาพอากาศแปรปรวน
• ช่วยส่งเสริมขบวนการสร้างคลอโรฟิลล์ พืชสร้างอาหาร หรือสังเคราะห์แสงได้เพิ่มขึ้น
• ช่วยทำให้โปแตสเซียมทำงานได้ดีขึ้น เช่น ช่วยสร้างน้ำตาล แล้วเปลี่ยนเป็นแป้ง และควบคุมการเคลื่อนย้ายสารอาหารต่างๆ
• ป้องกันพืชแพ้แดด-หนาว
• ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้สูงขึ้น
วิธีใช้ และอัตราที่ใช้
ใส่ทางดิน ทำเป็นปุ๋ยละลายช้า โดยผสม ปุ๋ยเคมี 100 กก. ซิงค์75%+คีเลท 1 กก. โบรอนพืช 1 กก. และ ภูไมท์ 10 กก. หรือ ภูไมท์ซัลเฟต 15-20 กก. กรณีที่ต้นพืชแสดงอาการขาดชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาให้ทันท่วงที ใช้ ไวตาไล้เซ่อร์ ฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 5-7 วัน อาการของพืชจะดีขึ้นเป็นลำดับ หรืออาจจะใช้ฉีดพ่นทางใบควบคู่กันไปก็ได้
พืชที่ควรใช้
ไม้ผล เช่น ส้ม มะนาว ทุเรียน องุ่น ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ฝรั่ง มังคุด มะม่วง เป็นต้น
พืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ แตงโม ฟักทอง เป็นต้น
ไม้ดอก-ไม้ประดับ เช่น กุหลาบ มะลิ ดาวเรือง เบญจมาศ ตลอดจน พืชผัก หลายชนิด
ขนาดบรรจุ 500กรัม/กระป๋อง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 16 Mar 18 09:30
ราคาต่อหน่วย: 250 บาท
ค่าขนส่ง: 80 บาท
รายละเอียด :
ป้องกันพืชไม่ให้มีการแพ้แดด ทำให้พืชมีความต้านทานต่อ แสงแดด ป้องกันการเกิดรอยไหม้จากแดด พืชทนทานต่อ การเปลี่ยนแปลงของอากาศ เป็นตัวกระตุ้นการทำงานของโปแตสเซียม ทำให้ผลไม้มีการสร้าง น้ำตาลดีขึ้น ผลไม้มีรสชาติหวาน เพิ่มคุณภาพของผลผลิต เป็นตัวกระตุ้นทำให้พืชสะสมอาหาร
ธาตุอาหารสำหรับพืช
สังกะสี เป็นจุลธาตุที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ฮอร์โมนพืชในกลุ่มของออกซิน ( auxin) ปกติพืชดูดเอาธาตุสังกะสีจากดินได้ต่ำมาก เพราะการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มากเกินไป ทำให้พืชดูดธาตุสังกะสีได้ยากขึ้น ในสภาพดินด่าง หรือพีเอชสูงสังกะสีจะไม่ละลายน้ำ เมื่อทำปฏิกิริยากันจึงตกตะกอนในดินพืชดูดไม่ได้ เพื่อแก้ปัญหาจึงมีการเติมสารอินทรีย์บางชนิด เรียกว่า สารคีเลท ซึ่งจะไปรวมตัวกับ สังกะสี เกิดเป็นสารประกอบ “ซิงค์75%+คีเลท” และจะค่อยๆปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืชได้ทีละน้อย การได้รับสังกะสีอย่างเพียงพอจะเหมือนเป็น แพลนแบลงเก็ต คือ เป็นผ้าห่มของพืช
ซิงค์75%+คีเลท ประกอบด้วย สังกะสี 75% และ สารคีเลท 25 %
คุณสมบัติ
ทำหน้าที่สังเคราะห์ทริปโตเฟน (tryptophane) ซึ่งเป็นสารหลักในการสร้างฮอร์โมนออกซิน (auxin) เช่น แนพทินอะซิติก แอซิค หรือ NAA กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนในพืช ส่งผลทางอ้อมในการสร้างเม็ดสีเขียว
อาการพืชขาดสังกะสี
มีใบขนาดเล็ก (little leaf) แคระแกรน ข้อปล้องสั้นไม่ขยาย ใบเป็นกระจุก (rosette) ใบอ่อนและใบอยู่ใกล้ยอดจะลีบ ปลายรากไม่เจริญ เพราะขาดออกซิน ไม่ทนต่อสภาวะแดดร้อน-หนาวจัด ใน ธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ และ ไม้ผล เช่น ส้ม มะนาว ทุเรียน เป็นต้น ใบเหลืองระหว่างเส้นใบ ขอบใบเขียวแผ่นใบซีด เซลล์แห้งตายเป็นจุด ใบส้ม เรียกว่า “ โรคใบแก้ว ”
ความสำคัญของซิงค์75%+คีเลท
• ทำให้ขั้วดอก-ขั้วผลเหนียว ป้องกันดอกและผลร่วง อันเนื่องมาจากสภาพอากาศแปรปรวน
• ช่วยส่งเสริมขบวนการสร้างคลอโรฟิลล์ พืชสร้างอาหาร หรือสังเคราะห์แสงได้เพิ่มขึ้น
• ช่วยทำให้โปแตสเซียมทำงานได้ดีขึ้น เช่น ช่วยสร้างน้ำตาล แล้วเปลี่ยนเป็นแป้ง และควบคุมการเคลื่อนย้ายสารอาหารต่างๆ
• ป้องกันพืชแพ้แดด-หนาว
• ช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตให้สูงขึ้น
วิธีใช้ และอัตราที่ใช้
ใส่ทางดิน ทำเป็นปุ๋ยละลายช้า โดยผสม ปุ๋ยเคมี 100 กก. ซิงค์75%+คีเลท 1 กก. โบรอนพืช 1 กก. และ ภูไมท์ 10 กก. หรือ ภูไมท์ซัลเฟต 15-20 กก. กรณีที่ต้นพืชแสดงอาการขาดชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาให้ทันท่วงที ใช้ ไวตาไล้เซ่อร์ ฉีดพ่นทางใบ ทุกๆ 5-7 วัน อาการของพืชจะดีขึ้นเป็นลำดับ หรืออาจจะใช้ฉีดพ่นทางใบควบคู่กันไปก็ได้
พืชที่ควรใช้
ไม้ผล เช่น ส้ม มะนาว ทุเรียน องุ่น ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ฝรั่ง มังคุด มะม่วง เป็นต้น
พืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ แตงโม ฟักทอง เป็นต้น
ไม้ดอก-ไม้ประดับ เช่น กุหลาบ มะลิ ดาวเรือง เบญจมาศ ตลอดจน พืชผัก หลายชนิด
ขนาดบรรจุ 500กรัม/กระป๋อง แก้ไขข้อมูลเมื่อ 16 Mar 18 09:30
คำสำคัญ:
สารป้องกันพืชจากสภาพอากาศแปรปรวน