ชื่อสินค้า:
วิธีดูว่านอย่างง่าย ๆ
รหัส:
127342
ประเภท:
ราคา:
1.00 บาท
/อัน
ติดต่อ:
คุณเอก รังค์ว่าน
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองตาก จ.ตาก
ร้านนี้แจ้งเลขทะเบียนพานิชย์แล้ว
เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 11 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
วิธีดูว่านอย่างง่าย ๆ
โดยทั่วไปแล้ว บรรดานักนิยมว่านทั้งหลาย
ส่วนมากมักจะเห็นแต่ลักษณะเดียวคือ
เห็นแต่ใบ, ก้านใบ, ลำต้น, สีต่าง ๆ ที่ปรากฏบนใบ
ตลอดจนลายทั้งหน้าใบและหลังใบประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่งก็คือ เห็นแต่หัว คือเห็นหัวว่านวางเป็นกอง ๆ
แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นต้น เพราะหัวว่านที่เขานำมาขายนั้น
ได้ตัดต้นทิ้งเสียแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นต้นและใบก็หมดไป
ฉะนี้แลจึ่งว่า เห็นหัวไม่เห็นใบอีกประการหนึ่ง
ในบรรดานักเลงว่านที่เยี่ยมเยียนไปมาหาสู่กันนั้น
ส่วนมากก็มักจะได้ชม ต้น, ใบ อยู่ในกระถางส่วย ๆ
ก็ได้แต่ฮือฮา อือออ กันไปตามประสา
ยากนักที่จะรักจะชอบกันถึงขนาดถอนต้นให้ดูหัวว่าน
สาเหตุนี้เอง เป็นเหตุให้ชื่อของว่านบางต้นผิดเพี้ยนไปจากชื่อเดิม
บางทีมาคราวหนึ่งเรียกชื่ออย่างหนึ่ง บางทีก็เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่ง
เมื่อพบไม้ต้นเดียวกันในปีต่อไป ทำความสับสนและไม่แน่ใจให้
กับนักเลงว่านหน้าใหม่ ๆ เป็นอันมาก
แม้แต่เกจิอาจารย์บางท่านก็ยังบ่นอยู่เสมอ
ส่วนมากใบว่านจะเขียว ๆ เหมือนกันหมด
แต่ก็มีสิ่งอันควรแก่การสังเกต คือการดูลักษณะใบดังนี้
๑. ใบดั่งใบโพธิ์ ได้แก่ว่านเสน่ห์จันทน์แดง, -ขาว, -เขียว ฯลฯ
หรืออื่น ๆ ที่มีใบลักษณะเช่นกัน
๒. ลักษณะใบดั่งใบพลับพลึง แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น ว่านแร้งคอดำ เป็นต้น
๓. ลักษณะใบดั่งใบหอก บางต้นก็ใบเรียวเล็ก บางต้นก็ปลายแหลม
ที่ใบบาง, อ่อน,หักกลางใบก็มี และที่กระดูกกลางใบแข็ง
ชูใบแข็งตลอดก็มี
๔. ลักษณะใบดั่งใบข้าว ยาวเรียวตลอดใบ มีทั้งอย่างก้านสั้นและก้านยาว
เป็นที่สังเกตได้ชัด ใบยาวพวกนี้มีใบแบนเรียบตลอดใบ
เช่น ว่านหางช้าง เป็นต้น
๕. ลักษณะใบดั่งใบบอน บางทีก็มีขนาดใหญ่กว่า
บางทีก็มีขนาดเล็กกว่า บางทีก็มีใบสีเขียวจัด บางทีก็มีสีคล้ำ
เช่น ว่านสิงหโมรา ซึ่งมีสีของใบออกไปทางม่วงคล้ำ
และมีขนาดของใบใหญ่โตมโหฬารมาก
๖. ลักษณะใบดั่งใบขนุน ว่านประเภทนี้ส่วนมากกระดูกกลางใบ
มักจะมองเห็นได้ชัด และมักจะมีสีแดงเป็นประ
เป็นแต้มที่ใบมองเห็นได้ชัดเจน ก้านใบมักจะแข็ง เช่น ว่านนกคุ่ม
ว่าด้วยลักษณะหัวพอสังเขป
๑. หัวเหมือนหัวขิง ว่านชนิดนี้มีทั้งหัวขนาดเล็กและขนาดใหญ่
บางทีก็ซ้อนเป็นแผงหลาย ๆ ชั้น อย่างว่านห้าร้อยนาง เป็นต้น
บางทีก็เป็นแง่งเดี่ยว ๆ แต่มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร เช่น ขมิ้นอ้อย เป็นต้น
๒.หัวเหมือนหอมใหญ่ เช่น ว่านแร้งคอดำ และว่านสี่ทิศ เป็นต้น
๓.หัวดั่งหอมแดง เช่น ว่านพญาลิ้นงู และว่านหอมแดง ว่านแสนพันล้อม เป็นต้น
๔.หัวเป็นรากดั่งหัวกระชาย เช่น ว่ารกระชายดำ, ว่านกระชายแดง
นั้นก็มีหัวคล้ายกระชายดำ แต่มีตุ้มกลมตอนปลายทุกอัน
๕.หัวยาวดั่งรากหญ้าคา ที่หัวจะมีลายเป็นข้อ ๆ
พอมองเห็นแต่ละหัว จะแยกเดี่ยวไม่ติดกันเป็นแผง
เช่น ว่านปัดตลอด และว่านดินสอฤาษี เป็นต้น
วิธีดูลักษณะหัวว่านนี้ กล่าวแต่พอสังเขป
ผู้ที่สนใจควรติดตามดูจากของจริง และหมั่นดู
รูปเปรียบเทียบกันบ่อย ๆ ก็จะมีความชำนาญ
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 17 Nov 24 08:16
โดยทั่วไปแล้ว บรรดานักนิยมว่านทั้งหลาย
ส่วนมากมักจะเห็นแต่ลักษณะเดียวคือ
เห็นแต่ใบ, ก้านใบ, ลำต้น, สีต่าง ๆ ที่ปรากฏบนใบ
ตลอดจนลายทั้งหน้าใบและหลังใบประการหนึ่ง
อีกประการหนึ่งก็คือ เห็นแต่หัว คือเห็นหัวว่านวางเป็นกอง ๆ
แต่ไม่มีโอกาสได้เห็นต้น เพราะหัวว่านที่เขานำมาขายนั้น
ได้ตัดต้นทิ้งเสียแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นต้นและใบก็หมดไป
ฉะนี้แลจึ่งว่า เห็นหัวไม่เห็นใบอีกประการหนึ่ง
ในบรรดานักเลงว่านที่เยี่ยมเยียนไปมาหาสู่กันนั้น
ส่วนมากก็มักจะได้ชม ต้น, ใบ อยู่ในกระถางส่วย ๆ
ก็ได้แต่ฮือฮา อือออ กันไปตามประสา
ยากนักที่จะรักจะชอบกันถึงขนาดถอนต้นให้ดูหัวว่าน
สาเหตุนี้เอง เป็นเหตุให้ชื่อของว่านบางต้นผิดเพี้ยนไปจากชื่อเดิม
บางทีมาคราวหนึ่งเรียกชื่ออย่างหนึ่ง บางทีก็เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่ง
เมื่อพบไม้ต้นเดียวกันในปีต่อไป ทำความสับสนและไม่แน่ใจให้
กับนักเลงว่านหน้าใหม่ ๆ เป็นอันมาก
แม้แต่เกจิอาจารย์บางท่านก็ยังบ่นอยู่เสมอ
ส่วนมากใบว่านจะเขียว ๆ เหมือนกันหมด
แต่ก็มีสิ่งอันควรแก่การสังเกต คือการดูลักษณะใบดังนี้
๑. ใบดั่งใบโพธิ์ ได้แก่ว่านเสน่ห์จันทน์แดง, -ขาว, -เขียว ฯลฯ
หรืออื่น ๆ ที่มีใบลักษณะเช่นกัน
๒. ลักษณะใบดั่งใบพลับพลึง แต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น ว่านแร้งคอดำ เป็นต้น
๓. ลักษณะใบดั่งใบหอก บางต้นก็ใบเรียวเล็ก บางต้นก็ปลายแหลม
ที่ใบบาง, อ่อน,หักกลางใบก็มี และที่กระดูกกลางใบแข็ง
ชูใบแข็งตลอดก็มี
๔. ลักษณะใบดั่งใบข้าว ยาวเรียวตลอดใบ มีทั้งอย่างก้านสั้นและก้านยาว
เป็นที่สังเกตได้ชัด ใบยาวพวกนี้มีใบแบนเรียบตลอดใบ
เช่น ว่านหางช้าง เป็นต้น
๕. ลักษณะใบดั่งใบบอน บางทีก็มีขนาดใหญ่กว่า
บางทีก็มีขนาดเล็กกว่า บางทีก็มีใบสีเขียวจัด บางทีก็มีสีคล้ำ
เช่น ว่านสิงหโมรา ซึ่งมีสีของใบออกไปทางม่วงคล้ำ
และมีขนาดของใบใหญ่โตมโหฬารมาก
๖. ลักษณะใบดั่งใบขนุน ว่านประเภทนี้ส่วนมากกระดูกกลางใบ
มักจะมองเห็นได้ชัด และมักจะมีสีแดงเป็นประ
เป็นแต้มที่ใบมองเห็นได้ชัดเจน ก้านใบมักจะแข็ง เช่น ว่านนกคุ่ม
ว่าด้วยลักษณะหัวพอสังเขป
๑. หัวเหมือนหัวขิง ว่านชนิดนี้มีทั้งหัวขนาดเล็กและขนาดใหญ่
บางทีก็ซ้อนเป็นแผงหลาย ๆ ชั้น อย่างว่านห้าร้อยนาง เป็นต้น
บางทีก็เป็นแง่งเดี่ยว ๆ แต่มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร เช่น ขมิ้นอ้อย เป็นต้น
๒.หัวเหมือนหอมใหญ่ เช่น ว่านแร้งคอดำ และว่านสี่ทิศ เป็นต้น
๓.หัวดั่งหอมแดง เช่น ว่านพญาลิ้นงู และว่านหอมแดง ว่านแสนพันล้อม เป็นต้น
๔.หัวเป็นรากดั่งหัวกระชาย เช่น ว่ารกระชายดำ, ว่านกระชายแดง
นั้นก็มีหัวคล้ายกระชายดำ แต่มีตุ้มกลมตอนปลายทุกอัน
๕.หัวยาวดั่งรากหญ้าคา ที่หัวจะมีลายเป็นข้อ ๆ
พอมองเห็นแต่ละหัว จะแยกเดี่ยวไม่ติดกันเป็นแผง
เช่น ว่านปัดตลอด และว่านดินสอฤาษี เป็นต้น
วิธีดูลักษณะหัวว่านนี้ กล่าวแต่พอสังเขป
ผู้ที่สนใจควรติดตามดูจากของจริง และหมั่นดู
รูปเปรียบเทียบกันบ่อย ๆ ก็จะมีความชำนาญ
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 17 Nov 24 08:16
คำสำคัญ:
ว่านมงคล